คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการดำเนินการโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย ครบ 3 ปี ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2544 ถึงวันที่ 31 มีนาคม 2547 ผลการดำเนินงานและรายงานการประเมินผลโครงการ มีสาระสำคัญโดยสรุป ดังต่อไปนี้
1. ผลการดำเนินงาน เมื่อเริ่มต้นโครงการ ณ วันที่ 1 เมษายน 2544 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน2,309,966 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 94,329 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรขอเป็นผู้ใช้สิทธิ์พักชำระหนี้ จำนวน 1,171,817 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 53,039 ล้านบาท และเป็นผู้ใช้สิทธิ์ลดภาระหนี้ 1,138,149 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 41,290 ล้านบาท ผลการรับชำระหนี้ในช่วงระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี มีเกษตรกรลูกค้าชำระหนี้และออกจากโครงการทั้งสิ้น 365,937 ราย จำนวนเงิน 18,853 ล้านบาท มีเกษตรกรคงเหลือ ณ 31 มีนาคม 2547 จำนวน 1,944,029 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 75,476 ล้านบาท เป็นผู้ใช้สิทธิ์พักชำระหนี้ จำนวน 878,555 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 41,006 ล้านบาท และเป็นผู้ใช้สิทธิ์ลดภาระหนี้ 1,065,474 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 34,470 ล้านบาท ในส่วนของเกษตรกรลูกค้าพักชำระหนี้มีเงินกู้ถึงกำหนดชำระในเดือนมิถุนายน 2547 จำนวน 2,177 ล้านบาท เดือนกันยายน 2547 จำนวน 969 ล้านบาท เดือนธันวาคม 2547 จำนวน 1,186 ล้านบาท และเดือนมีนาคม 2548 จำนวน 22,614 ล้านบาท จำนวนหนี้ที่เหลือเกษตรกรจะทยอยชำระในปีถัด ๆ ไป
อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ได้ทำการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าพักชำระหนี้ โดยให้พนักงานพัฒนาธุรกิจทำการตรวจเยี่ยมลูกค้าพักชำระหนี้ให้พบตัวทุกราย และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลรายได้ และค่าใช้จ่ายมาทำการประมวลผลจัดกลุ่มตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยดำเนินการครั้งแรกระหว่างเดือนเมษายน2546 - สิงหาคม 2546 ครั้งที่ 2 ซึ่งดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2546 - ธันวาคม 2546 ผลปรากฏว่าสามารถตรวจเยี่ยมลูกค้าได้จำนวน 989,546 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.75 ของจำนวนลูกค้าคงเหลือในโครงการ และจำแนกเป็นกลุ่มที่คาดว่าจะไม่มีปัญหาในการชำระหนี้เมื่อสิ้นสุดโครงการจำนวน 881,251 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.06 เมื่อพิจารณาจำนวนหนี้คงเหลือในโครงการจะสามารถชำระหนี้ได้ 39,689 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 87.36 และเป็นกลุ่มที่คาดว่าจะมีปัญหาในการชำระหนี้ จำนวน 108,295 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.94 เมื่อพิจารณาหนี้คงเหลือในโครงการจะมีปัญหาในการชำระหนี้ จำนวน 5,774 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.64
สำหรับกลุ่มที่คาดว่าจะมีปัญหาในการชำระหนี้เมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาหนี้สินหลายทาง ลูกค้าที่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติและใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ ธ.ก.ส. จะทำการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพและอาชีพลูกค้าเหล่านี้เป็นรายบุคคล เพื่อให้ลูกค้ามีความเข้มแข็งสามารถกลับมาชำระหนี้คืนได้ในที่สุด ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป
ผลการออมเงิน การออมเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2547 มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้ออมเงินผ่านระบบ ธ.ก.ส. ยอดเงินออมคงเหลือจำนวนเงิน 14,749 ล้านบาท แยกเป็นการออมเงินเกษตรกรพักชำระหนี้ ยอดเงินออมคงเหลือจำนวนเงิน 5,047 ล้านบาท และเกษตรกรลดภาระหนี้ ยอดเงินออมคงเหลือจำนวนเงิน 9,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อเริ่มต้นโครงการ จำนวน 8,339 ล้านบาท แยกเป็นเงินออมพักชำระหนี้เพิ่มขึ้น จำนวน 3,012 ล้านบาท และเงินออมลดภาระหนี้เพิ่มขึ้น จำนวน 5,327 ล้านบาท
ผลการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรดำเนินการได้ จำนวน 901,117 ราย และการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร โดยแยกเป็นการฟื้นฟูอาชีพจำนวน 443,393 ราย การสนับสนุนการสร้างแกนนำอาสา (ครูบัญชีเกษตรและหมอดิน) จำนวน 129,593 ราย นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังได้ช่วยสนับสนุนฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรอีกทางหนึ่ง โดยมุ่งเน้นการปรับวิธีคิดในการจัดการตนเองและชุมชนจากกระบวนการเรียนรู้สามารถคิดวางแผนได้ด้วยตนเอง โดยมีเกษตรกรที่ผ่านการอบรมแล้วจนถึงวันที่31 มีนาคม 2547 จำนวน 658,415 ราย
2. การใช้จ่ายเงินงบประมาณ ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย รัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณ จำนวน 18,000 ล้านบาท ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณดังกล่าวแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 15,541.81 ล้านบาท เป็นการชดเชยดอกเบี้ย
3. การประเมินผลความสำเร็จของโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธ.ก.ส. ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทำการประเมินผลโครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เพื่อทราบถึงผลการดำเนินงานโครงการ โดยได้เริ่มการประเมินผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 ถึงเดือนมกราคม 2547
ผลการประเมินโครงการ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2544 ถึง มกราคม 2547 ดังนี้
3.1 รายได้ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.2 มีรายได้มาจากภาคการเกษตร (มูลค่า 70,737.26บาท) และร้อยละ 39.8 มาจากนอกภาคการเกษตร (มูลค่า 46,835.24 บาท) จากความเห็นของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.8 เห็นว่าตนเองมีรายได้จากภาคการเกษตรในปัจจุบันดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ และร้อยละ 51.8 เห็นว่าตนเองมีรายได้นอกภาคการเกษตรเท่าเดิม
3.2 เงินออม เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.3 เห็นว่าตนเองมีเงินออมเพิ่มขึ้นและร้อยละ 41.9 เห็นว่าตนเองมีเงินออมเท่าเดิม
3.3 ขีดความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกร พบว่ากระแสเงินสดของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 117,527.81 บาท สูงกว่าค่าใช้จ่ายปกติของครัวเรือน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษ) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 104,228.67บาท
3.4 อัตราส่วนสินทรัพย์ต่อหนี้สินของเกษตรกร พบว่ากลุ่มเกษตรกรตัวอย่างมีมูลค่าสินทรัพย์รวมเฉลี่ยต่อยอดหนี้สินรวมเฉลี่ยคิดเป็นอัตราส่วน 18 : 1 (1,022,762.75 บาท ต่อ 55,511.31 บาท) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีมากกว่ามูลค่าของหนี้สินค่อนข้างชัดเจน
3.5 ขีดความสามารถของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในการส่งชำระหนี้ได้เมื่อสิ้นสุดโครงการ จากการพิจารณาข้อมูลในเบื้องต้น พบว่าเกษตรกรมีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเงินออมเพิ่มขึ้น มีสัดส่วนสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินและมีความเต็มใจที่จะชำระหนี้คืนตามสัญญาเฉลี่ยร้อยละ 86.3
3.6 ความพึงพอใจต่อนโยบายโครงการพักชำระหนี้ กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อนโยบายโครงการพักชำระหนี้ในระดับที่มากถึงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 83.2
4. มาตรการรองรับเกษตรกรลูกค้าภายหลังสิ้นสุดโครงการ
4.1 มาตรการจูงใจสำหรับลูกค้าที่ชำระหนี้ได้
1) กรณีที่ลูกค้าที่ไม่มีหนี้ค้างชำระก่อนเข้าร่วมโครงการ สามารถชำระต้นเงินกู้ที่เข้าร่วมโครงการและดอกเบี้ยค้างชำระก่อนเข้าโครงการ รวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดโครงการได้ทั้งหมดก่อนหรือภายในกำหนดชำระงวดแรก ธ.ก.ส. จะปรับชั้นลูกค้ารายนั้นให้สูงขึ้น 1 ชั้นทันที
2) กรณีที่เป็นลูกค้าหนี้ค้างชำระเดิมก่อนเข้าร่วมโครงการ สามารถชำระต้นเงินกู้ได้ตามกำหนดชำระและสามารถชำระดอกเบี้ยทั้งหมด ทั้งดอกเบี้ยค้างชำระและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดโครงการได้ภายในกำหนดชำระงวดแรก ธ.ก.ส. จะงดคิดเบี้ยปรับแก่ลูกค้าเหล่านั้น และจะปรับเลื่อนชั้นลูกค้าให้ทันที
4.2 มาตรการสำหรับเกษตรกรลูกค้าที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนด
1) การพัฒนาเป็นรายบุคคล โดยให้เกษตรกรได้รับการอบรมฟื้นฟูตามกระบวนการที่กำหนดไว้ เช่น หลักสูตรสัจธรรมชีวิต การบริหารทุนและหนี้สิน เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการจัดการดูแลตนเอง ซึ่งมีผลให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น ลด ละ เลิก อบายมุขต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถดูแลครอบครัวได้ดีขึ้น และลดต้นทุนการผลิตการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีส่วนช่วยให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น
2) การบริหารจัดการกลุ่มและการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการคิด การแก้ไขปัญหา การวางแผนร่วมกันเป็นกลุ่ม รวมทั้งร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยพัฒนาชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
3) ผัดผ่อนชำระหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่เกษตรกร ตามวิธีปฏิบัติปกติของ ธ.ก.ส.
4) การจัดทำกระแสเงินสดและทบทวนงวดชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับรายได้
5. การประกาศผลความสำเร็จของโครงการ
5.1 จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)ประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2547
5.2 จัดงานปิดโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยอย่างเป็นทางการในวันที่8 เมษายน 2547 ณ อาคารยิมเนเซี่ยม 1 ฮอลล์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลสำเร็จของการดำเนินงาน และประกาศการสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการหนี้สินภาคประชาชนต่อไปในภายหน้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ผลการดำเนินงาน เมื่อเริ่มต้นโครงการ ณ วันที่ 1 เมษายน 2544 มีเกษตรกรเข้าร่วมโครงการจำนวน2,309,966 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 94,329 ล้านบาท โดยมีเกษตรกรขอเป็นผู้ใช้สิทธิ์พักชำระหนี้ จำนวน 1,171,817 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 53,039 ล้านบาท และเป็นผู้ใช้สิทธิ์ลดภาระหนี้ 1,138,149 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 41,290 ล้านบาท ผลการรับชำระหนี้ในช่วงระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี มีเกษตรกรลูกค้าชำระหนี้และออกจากโครงการทั้งสิ้น 365,937 ราย จำนวนเงิน 18,853 ล้านบาท มีเกษตรกรคงเหลือ ณ 31 มีนาคม 2547 จำนวน 1,944,029 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 75,476 ล้านบาท เป็นผู้ใช้สิทธิ์พักชำระหนี้ จำนวน 878,555 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 41,006 ล้านบาท และเป็นผู้ใช้สิทธิ์ลดภาระหนี้ 1,065,474 ราย ต้นเงินคงเป็นหนี้ 34,470 ล้านบาท ในส่วนของเกษตรกรลูกค้าพักชำระหนี้มีเงินกู้ถึงกำหนดชำระในเดือนมิถุนายน 2547 จำนวน 2,177 ล้านบาท เดือนกันยายน 2547 จำนวน 969 ล้านบาท เดือนธันวาคม 2547 จำนวน 1,186 ล้านบาท และเดือนมีนาคม 2548 จำนวน 22,614 ล้านบาท จำนวนหนี้ที่เหลือเกษตรกรจะทยอยชำระในปีถัด ๆ ไป
อย่างไรก็ตาม ธ.ก.ส. ได้ทำการประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของลูกค้าพักชำระหนี้ โดยให้พนักงานพัฒนาธุรกิจทำการตรวจเยี่ยมลูกค้าพักชำระหนี้ให้พบตัวทุกราย และทำการเก็บรวบรวมข้อมูลรายได้ และค่าใช้จ่ายมาทำการประมวลผลจัดกลุ่มตามความสามารถในการชำระหนี้ โดยดำเนินการครั้งแรกระหว่างเดือนเมษายน2546 - สิงหาคม 2546 ครั้งที่ 2 ซึ่งดำเนินการระหว่างเดือนตุลาคม 2546 - ธันวาคม 2546 ผลปรากฏว่าสามารถตรวจเยี่ยมลูกค้าได้จำนวน 989,546 ราย คิดเป็นร้อยละ 97.75 ของจำนวนลูกค้าคงเหลือในโครงการ และจำแนกเป็นกลุ่มที่คาดว่าจะไม่มีปัญหาในการชำระหนี้เมื่อสิ้นสุดโครงการจำนวน 881,251 ราย คิดเป็นร้อยละ 89.06 เมื่อพิจารณาจำนวนหนี้คงเหลือในโครงการจะสามารถชำระหนี้ได้ 39,689 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 87.36 และเป็นกลุ่มที่คาดว่าจะมีปัญหาในการชำระหนี้ จำนวน 108,295 ราย คิดเป็นร้อยละ 10.94 เมื่อพิจารณาหนี้คงเหลือในโครงการจะมีปัญหาในการชำระหนี้ จำนวน 5,774 ล้านบาท คิดเป็นร้อยละ 12.64
สำหรับกลุ่มที่คาดว่าจะมีปัญหาในการชำระหนี้เมื่อสิ้นสุดโครงการ เป็นกลุ่มลูกค้าที่มีปัญหาหนี้สินหลายทาง ลูกค้าที่ประสบปัญหาภัยธรรมชาติและใช้เงินกู้ผิดวัตถุประสงค์ ธ.ก.ส. จะทำการฟื้นฟูพัฒนาศักยภาพและอาชีพลูกค้าเหล่านี้เป็นรายบุคคล เพื่อให้ลูกค้ามีความเข้มแข็งสามารถกลับมาชำระหนี้คืนได้ในที่สุด ซึ่งจะเป็นการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืนต่อไป
ผลการออมเงิน การออมเงิน ณ วันที่ 31 มีนาคม 2547 มีเกษตรกรที่เข้าร่วมโครงการได้ออมเงินผ่านระบบ ธ.ก.ส. ยอดเงินออมคงเหลือจำนวนเงิน 14,749 ล้านบาท แยกเป็นการออมเงินเกษตรกรพักชำระหนี้ ยอดเงินออมคงเหลือจำนวนเงิน 5,047 ล้านบาท และเกษตรกรลดภาระหนี้ ยอดเงินออมคงเหลือจำนวนเงิน 9,702 ล้านบาท เพิ่มขึ้นจากเมื่อเริ่มต้นโครงการ จำนวน 8,339 ล้านบาท แยกเป็นเงินออมพักชำระหนี้เพิ่มขึ้น จำนวน 3,012 ล้านบาท และเงินออมลดภาระหนี้เพิ่มขึ้น จำนวน 5,327 ล้านบาท
ผลการฟื้นฟูเกษตรกรหลังการพักชำระหนี้ โดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ โดยวิธีการถ่ายทอดเทคโนโลยีให้เกษตรกรดำเนินการได้ จำนวน 901,117 ราย และการฟื้นฟูอาชีพเกษตรกร โดยแยกเป็นการฟื้นฟูอาชีพจำนวน 443,393 ราย การสนับสนุนการสร้างแกนนำอาสา (ครูบัญชีเกษตรและหมอดิน) จำนวน 129,593 ราย นอกจากนี้ ธ.ก.ส. ยังได้ช่วยสนับสนุนฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพเกษตรกรอีกทางหนึ่ง โดยมุ่งเน้นการปรับวิธีคิดในการจัดการตนเองและชุมชนจากกระบวนการเรียนรู้สามารถคิดวางแผนได้ด้วยตนเอง โดยมีเกษตรกรที่ผ่านการอบรมแล้วจนถึงวันที่31 มีนาคม 2547 จำนวน 658,415 ราย
2. การใช้จ่ายเงินงบประมาณ ในการสนับสนุนการดำเนินงานตามนโยบายพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย รัฐบาลได้จัดสรรเงินงบประมาณ จำนวน 18,000 ล้านบาท ธ.ก.ส. ได้ดำเนินการเบิกจ่ายเงินงบประมาณดังกล่าวแล้วเป็นเงินทั้งสิ้น 15,541.81 ล้านบาท เป็นการชดเชยดอกเบี้ย
3. การประเมินผลความสำเร็จของโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้แก่เกษตรกรรายย่อยโดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ธ.ก.ส. ได้ว่าจ้างสถาบันวิจัยและให้คำปรึกษาแห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ให้ทำการประเมินผลโครงการพักชำระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เพื่อทราบถึงผลการดำเนินงานโครงการ โดยได้เริ่มการประเมินผลตั้งแต่เดือนตุลาคม 2546 ถึงเดือนมกราคม 2547
ผลการประเมินโครงการ ตั้งแต่ 1 เมษายน 2544 ถึง มกราคม 2547 ดังนี้
3.1 รายได้ เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 60.2 มีรายได้มาจากภาคการเกษตร (มูลค่า 70,737.26บาท) และร้อยละ 39.8 มาจากนอกภาคการเกษตร (มูลค่า 46,835.24 บาท) จากความเห็นของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 47.8 เห็นว่าตนเองมีรายได้จากภาคการเกษตรในปัจจุบันดีขึ้นกว่าก่อนเข้าร่วมโครงการ และร้อยละ 51.8 เห็นว่าตนเองมีรายได้นอกภาคการเกษตรเท่าเดิม
3.2 เงินออม เกษตรกรกลุ่มตัวอย่างร้อยละ 46.3 เห็นว่าตนเองมีเงินออมเพิ่มขึ้นและร้อยละ 41.9 เห็นว่าตนเองมีเงินออมเท่าเดิม
3.3 ขีดความสามารถในการชำระหนี้ของเกษตรกร พบว่ากระแสเงินสดของกลุ่มเกษตรกรตัวอย่างมีรายได้เฉลี่ย 117,527.81 บาท สูงกว่าค่าใช้จ่ายปกติของครัวเรือน (ไม่รวมค่าใช้จ่ายพิเศษ) ซึ่งมีค่าเฉลี่ย 104,228.67บาท
3.4 อัตราส่วนสินทรัพย์ต่อหนี้สินของเกษตรกร พบว่ากลุ่มเกษตรกรตัวอย่างมีมูลค่าสินทรัพย์รวมเฉลี่ยต่อยอดหนี้สินรวมเฉลี่ยคิดเป็นอัตราส่วน 18 : 1 (1,022,762.75 บาท ต่อ 55,511.31 บาท) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าสินทรัพย์ของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างมีมากกว่ามูลค่าของหนี้สินค่อนข้างชัดเจน
3.5 ขีดความสามารถของเกษตรกรกลุ่มตัวอย่างในการส่งชำระหนี้ได้เมื่อสิ้นสุดโครงการ จากการพิจารณาข้อมูลในเบื้องต้น พบว่าเกษตรกรมีรายได้มากกว่ารายจ่าย มีเงินออมเพิ่มขึ้น มีสัดส่วนสินทรัพย์มากกว่าหนี้สินและมีความเต็มใจที่จะชำระหนี้คืนตามสัญญาเฉลี่ยร้อยละ 86.3
3.6 ความพึงพอใจต่อนโยบายโครงการพักชำระหนี้ กลุ่มเกษตรกรตัวอย่างมีความพึงพอใจต่อนโยบายโครงการพักชำระหนี้ในระดับที่มากถึงมากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 83.2
4. มาตรการรองรับเกษตรกรลูกค้าภายหลังสิ้นสุดโครงการ
4.1 มาตรการจูงใจสำหรับลูกค้าที่ชำระหนี้ได้
1) กรณีที่ลูกค้าที่ไม่มีหนี้ค้างชำระก่อนเข้าร่วมโครงการ สามารถชำระต้นเงินกู้ที่เข้าร่วมโครงการและดอกเบี้ยค้างชำระก่อนเข้าโครงการ รวมทั้งดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดโครงการได้ทั้งหมดก่อนหรือภายในกำหนดชำระงวดแรก ธ.ก.ส. จะปรับชั้นลูกค้ารายนั้นให้สูงขึ้น 1 ชั้นทันที
2) กรณีที่เป็นลูกค้าหนี้ค้างชำระเดิมก่อนเข้าร่วมโครงการ สามารถชำระต้นเงินกู้ได้ตามกำหนดชำระและสามารถชำระดอกเบี้ยทั้งหมด ทั้งดอกเบี้ยค้างชำระและดอกเบี้ยที่เกิดขึ้นหลังสิ้นสุดโครงการได้ภายในกำหนดชำระงวดแรก ธ.ก.ส. จะงดคิดเบี้ยปรับแก่ลูกค้าเหล่านั้น และจะปรับเลื่อนชั้นลูกค้าให้ทันที
4.2 มาตรการสำหรับเกษตรกรลูกค้าที่ไม่สามารถชำระหนี้ตามกำหนด
1) การพัฒนาเป็นรายบุคคล โดยให้เกษตรกรได้รับการอบรมฟื้นฟูตามกระบวนการที่กำหนดไว้ เช่น หลักสูตรสัจธรรมชีวิต การบริหารทุนและหนี้สิน เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้และเข้าใจกระบวนการจัดการดูแลตนเอง ซึ่งมีผลให้เกษตรกรลดค่าใช้จ่ายในครัวเรือนเพื่อเพิ่มรายได้ เช่น ลด ละ เลิก อบายมุขต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยให้ลูกค้าสามารถดูแลครอบครัวได้ดีขึ้น และลดต้นทุนการผลิตการเกษตร เพื่อเพิ่มรายได้ เช่น การใช้ปุ๋ยชีวภาพ ปุ๋ยอินทรีย์ ซึ่งมีส่วนช่วยให้สภาพแวดล้อมดีขึ้น
2) การบริหารจัดการกลุ่มและการพัฒนาอาชีพ เพื่อให้เกษตรกรได้เรียนรู้การทำงานร่วมกันเป็นกลุ่ม มีการคิด การแก้ไขปัญหา การวางแผนร่วมกันเป็นกลุ่ม รวมทั้งร่วมกันฟื้นฟูและพัฒนาอาชีพตามความต้องการของลูกค้า ซึ่งเป็นแนวทางที่จะช่วยพัฒนาชุมชนหรือกลุ่มเกษตรกรให้เข้มแข็งยิ่งขึ้น
3) ผัดผ่อนชำระหนี้หรือปรับปรุงโครงสร้างหนี้ให้แก่เกษตรกร ตามวิธีปฏิบัติปกติของ ธ.ก.ส.
4) การจัดทำกระแสเงินสดและทบทวนงวดชำระหนี้ใหม่ให้เหมาะสมกับรายได้
5. การประกาศผลความสำเร็จของโครงการ
5.1 จัดแถลงข่าวต่อสื่อมวลชน โดยรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการคลัง (นายวราเทพ รัตนากร)ประธานกรรมการ ธ.ก.ส. เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2547
5.2 จัดงานปิดโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อยอย่างเป็นทางการในวันที่8 เมษายน 2547 ณ อาคารยิมเนเซี่ยม 1 ฮอลล์ 1 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ศูนย์รังสิต อำเภอคลองหลวง จังหวัดปทุมธานี โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเผยแพร่ผลสำเร็จของการดำเนินงาน และประกาศการสิ้นสุดโครงการพักชำระหนี้และลดภาระหนี้ให้แก่เกษตรกรรายย่อย เพื่อใช้เป็นแนวทางในการจัดการหนี้สินภาคประชาชนต่อไปในภายหน้า
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-