คณะรัฐมนตรีพิจารณาการแก้ปัญหาของกลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ (สกน.) ตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์เสนอ แล้วมีมติอนุมัติ ดังนี้
1. ให้ระงับยับยั้งการยกเลิกคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ
2. ให้ยืนยันผลการดำเนินงานของอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ที่ได้มีคำสั่งไว้ และได้มีการดำเนินการคืบหน้ามากแล้วในส่วนของหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคณะก็ให้ดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง
3. ปรับปรุงคณะกรรมการฯ และปรับเปลี่ยนผู้แทนสหพันธ์ฯ ภาคประชาชน เพื่อจะได้มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ และมีการหารือระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
ทั้งนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพบสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ ซึ่งได้มีการชุมนุมเรียกร้องอยู่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เดินทางไปพบกับผู้แทนสหพันธ์ฯ เพื่อร่วมหารือณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2547 เวลา 17.30 น. แล้ว สรุปผลการประชุมหารือได้ดังนี้
ผู้แทนสหพันธ์ฯ (นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด) ได้เรียนให้ทราบถึงความเดือดร้อนที่เคยเสนอปัญหาไว้แล้ว8 เรื่องเร่งด่วน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2545 โดยมีการแต่งตั้งให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธานในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว และมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาปัญหาและร่วมแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ คือ 1) กรณีป่าไม้และที่ดินในเขตป่า 2) กรณีปัญหาการถือครองที่ดิน 3) กรณีปัญหาการจัดการน้ำ 4) กรณีปัญหาราคาพืชผล 5) กรณีปัญหาหนี้สินเกษตรกร 6) กรณีปัญหาชนเผ่าและชาติพันธุ์ 7) กรณีปัญหาเหล้าพื้นบ้าน 8) กรณีปัญหาโครงการรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 8.1) กรณีอ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง8.2) กรณีโรงอบลำไยแห้งระเบิด อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 8.3) กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
คณะอนุกรรมการฯ แต่ละชุดได้มีการประชุมหารือในการแก้ไขกรณีปัญหาต่าง ๆ มาโดยลำดับแต่เมื่อวันที่14 กุมภาพันธ์ 2547 กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับทราบบ้างว่า มีการเสนอให้ยกเลิกคณะอนุกรรมการฯ แก้ไขปัญหาทุกชุด ซึ่งผู้แทนของสหพันธ์ฯ และผู้ชุมนุมเรียกร้องเห็นว่า ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดำเนินการมีผลในการแก้ไขปัญหาคืบหน้าไปแล้วในหลายประเด็นจึงเห็นว่าไม่ควรยกเลิกคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฯ ด้านต่าง ๆ จึงเสนอขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำข้อเรียกร้องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ให้ระงับยับยั้งการยกเลิกคณะกรรมการติดตามการแก้ไขปัญหากลุ่มสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ
2. ให้ยืนยันผลการดำเนินงานของอนุกรรมการด้านต่าง ๆ ที่ได้มีคำสั่งไว้ และได้มีการดำเนินการคืบหน้ามากแล้วในส่วนของหน้าที่ความรับผิดชอบของแต่ละคณะก็ให้ดำเนินการต่อไปอย่างต่อเนื่อง
3. ปรับปรุงคณะกรรมการฯ และปรับเปลี่ยนผู้แทนสหพันธ์ฯ ภาคประชาชน เพื่อจะได้มอบหมายให้มีผู้รับผิดชอบ และมีการหารือระดมความคิดเห็นเพื่อแก้ปัญหาร่วมกัน
ทั้งนี้ ตามที่นายกรัฐมนตรีได้มอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ไปพบสหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือและเครือข่ายองค์กรประชาชนภาคเหนือ ซึ่งได้มีการชุมนุมเรียกร้องอยู่บริเวณด้านหน้าศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้เดินทางไปพบกับผู้แทนสหพันธ์ฯ เพื่อร่วมหารือณ ห้องประชุมศาลากลางจังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 2 เมษายน 2547 เวลา 17.30 น. แล้ว สรุปผลการประชุมหารือได้ดังนี้
ผู้แทนสหพันธ์ฯ (นายสุริยันต์ ทองหนูเอียด) ได้เรียนให้ทราบถึงความเดือดร้อนที่เคยเสนอปัญหาไว้แล้ว8 เรื่องเร่งด่วน ซึ่งคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2545 โดยมีการแต่งตั้งให้รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธานในการพิจารณาเรื่องดังกล่าว และมีการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการฯ เพื่อพิจารณาปัญหาและร่วมแก้ไขปัญหาด้านต่าง ๆ คือ 1) กรณีป่าไม้และที่ดินในเขตป่า 2) กรณีปัญหาการถือครองที่ดิน 3) กรณีปัญหาการจัดการน้ำ 4) กรณีปัญหาราคาพืชผล 5) กรณีปัญหาหนี้สินเกษตรกร 6) กรณีปัญหาชนเผ่าและชาติพันธุ์ 7) กรณีปัญหาเหล้าพื้นบ้าน 8) กรณีปัญหาโครงการรัฐที่ส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม 8.1) กรณีอ่างเก็บน้ำแม่มอก จังหวัดลำปาง8.2) กรณีโรงอบลำไยแห้งระเบิด อำเภอสันป่าตอง จังหวัดเชียงใหม่ 8.3) กรณีโรงไฟฟ้าถ่านหินแม่เมาะ จังหวัดลำปาง
คณะอนุกรรมการฯ แต่ละชุดได้มีการประชุมหารือในการแก้ไขกรณีปัญหาต่าง ๆ มาโดยลำดับแต่เมื่อวันที่14 กุมภาพันธ์ 2547 กลุ่มผู้ชุมนุมได้รับทราบบ้างว่า มีการเสนอให้ยกเลิกคณะอนุกรรมการฯ แก้ไขปัญหาทุกชุด ซึ่งผู้แทนของสหพันธ์ฯ และผู้ชุมนุมเรียกร้องเห็นว่า ในการแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ได้ดำเนินการมีผลในการแก้ไขปัญหาคืบหน้าไปแล้วในหลายประเด็นจึงเห็นว่าไม่ควรยกเลิกคณะกรรมการและคณะอนุกรรมการฯ ด้านต่าง ๆ จึงเสนอขอให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้นำข้อเรียกร้องกราบเรียนนายกรัฐมนตรีเพื่อเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 7 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-