คณะรัฐมนตรีพิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การค้าที่ดิน) ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ แล้วมีมติอนุมัติตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธานที่อนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การค้าที่ดิน) ตามแผนพัฒนากฎหมายแห่งชาติมาเพื่อดำเนินการ ซึ่งคณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารสิทธิให้มีความเป็นเอกภาพพิจารณาแล้ว ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแล้วส่งให้คณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดินฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. ยกเลิกบทนิยามคำว่า “การค้าที่ดิน” ในมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
2. ยกเลิกหมวด 10 การค้าที่ดิน มาตรา 101 และมาตรา 102 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
3. ยกเลิกบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการค้าที่ดินของนิติบุคคล ตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
4. ตัดบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการค้าที่ดินในมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารสิทธิให้มีควมเป็นเอกภาพ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การค้าที่ดิน) ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ ) แล้ว เห็นว่า
1. การควบคุมผู้ค้าที่ดินไม่เข้ากรณีต้องขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 คือ จำหน่ายที่ดินไม่ถึง 10 แปลง และหากจะควบคุมเพื่อประโยชน์เรื่องผังเมืองก็ไม่ได้เพราะจำนวนไม่ถึง 10 แปลง และหากจะควบคุมก็ไม่อาจควบคุมได้ทั้งหมด จึงเห็นว่าบทบัญญัติเรื่องการกำหนดสิทธิในที่ดินไม่สอดคล้องหรือส่งเสริมสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
2. บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กำหนดให้มีการควบคุมเฉพาะการจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปมีความเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดินและสอดรับกับการวางผังเมือง อีกทั้งยังมีบทสันนิษฐานของกฎหมายที่สนับสนุนมาตรการป้องกัน การหลีกเลี่ยงการจัดสรรที่ดินตามมาตรา 22 แล้ว ดังนั้น การกำหนดให้การจัดสรรที่ดินจะต้องขออนุญาตค้าที่ดินด้วย จึงเป็นการใช้บังคับกฎหมายซ้ำซ้อน และเป็นคนละเรื่องกับบทบัญญัติเรื่องการค้าที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
3. คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นว่าบทบัญญัติเรื่องค้าที่ดินไม่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดิน สมควรยกเลิกบทบัญญัติเรื่องการค้าที่ดิน เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนและมีสภาพบังคับที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการในปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--
ร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดินฯ มีสาระสำคัญดังนี้
1. ยกเลิกบทนิยามคำว่า “การค้าที่ดิน” ในมาตรา 1 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
2. ยกเลิกหมวด 10 การค้าที่ดิน มาตรา 101 และมาตรา 102 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
3. ยกเลิกบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการค้าที่ดินของนิติบุคคล ตามมาตรา 112 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
4. ตัดบทกำหนดโทษเกี่ยวกับการค้าที่ดินในมาตรา 11 แห่งประมวลกฎหมายที่ดิน
ทั้งนี้ คณะอนุกรรมการปรับปรุงกฎหมายเกี่ยวกับการจัดทำเอกสารสิทธิให้มีควมเป็นเอกภาพ ได้พิจารณาร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายที่ดิน (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ... (การค้าที่ดิน) ตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ ) แล้ว เห็นว่า
1. การควบคุมผู้ค้าที่ดินไม่เข้ากรณีต้องขออนุญาตจัดสรรที่ดิน ตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 คือ จำหน่ายที่ดินไม่ถึง 10 แปลง และหากจะควบคุมเพื่อประโยชน์เรื่องผังเมืองก็ไม่ได้เพราะจำนวนไม่ถึง 10 แปลง และหากจะควบคุมก็ไม่อาจควบคุมได้ทั้งหมด จึงเห็นว่าบทบัญญัติเรื่องการกำหนดสิทธิในที่ดินไม่สอดคล้องหรือส่งเสริมสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจของประเทศ
2. บทบัญญัติของกฎหมายว่าด้วยการจัดสรรที่ดินตามพระราชบัญญัติการจัดสรรที่ดิน พ.ศ. 2543 กำหนดให้มีการควบคุมเฉพาะการจำหน่ายที่ดินที่ได้แบ่งเป็นแปลงย่อยรวมกันตั้งแต่สิบแปลงขึ้นไปมีความเหมาะสมต่อการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดินและสอดรับกับการวางผังเมือง อีกทั้งยังมีบทสันนิษฐานของกฎหมายที่สนับสนุนมาตรการป้องกัน การหลีกเลี่ยงการจัดสรรที่ดินตามมาตรา 22 แล้ว ดังนั้น การกำหนดให้การจัดสรรที่ดินจะต้องขออนุญาตค้าที่ดินด้วย จึงเป็นการใช้บังคับกฎหมายซ้ำซ้อน และเป็นคนละเรื่องกับบทบัญญัติเรื่องการค้าที่ดินตามประมวลกฎหมายที่ดิน
3. คณะอนุกรรมการฯ จึงเห็นว่าบทบัญญัติเรื่องค้าที่ดินไม่สอดคล้องกับการดำเนินธุรกิจการจัดสรรที่ดิน สมควรยกเลิกบทบัญญัติเรื่องการค้าที่ดิน เพราะเป็นการเพิ่มภาระให้แก่ประชาชนและมีสภาพบังคับที่ไม่เหมาะสมกับสภาพการในปัจจุบัน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 ธันวาคม 2548--จบ--