คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการตรวจสอบเชื้อไข้หวัดนกในแหล่งน้ำ ตามที่กระทรวงทรัพยากร ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกรณีโครงการป้องกันภัยอันเนื่องมาจากไวรัสไข้หวัดนก โดยได้รับมอบหมายให้ติดตามตรวจสอบเชื้อไวรัส H5N1 ในตัวอย่างน้ำจากลุ่มน้ำที่จัดอยู่ในพื้นที่ประกาศเป็นจังหวัดควบคุม (ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่27 มกราคม 2547) เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพการปนเปื้อนเชื้อไวรัสดังกล่าวในแหล่งน้ำ เพื่อจะได้เร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ จัดทำแผนติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อการตรวจเชื้อไข้หวัดนก โดยจัดลำดับความสำคัญตามแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงภัยซึ่งอาจได้รับการปนเปื้อนจากการทิ้งซากสัตว์ปีกลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้เก็บตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 ในพื้นที่ 12 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี สิงห์บุรีชัยนาท อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี และนนทบุรี โดยได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีศักยภาพในการตรวจสอบหาเชื้อไวรัสดังกล่าวในตัวอย่างน้ำ คือ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่างคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผลการวิเคราะห์การตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในตัวอย่างน้ำทั้งหมดแสดงผลเป็นลบ (Negative) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก จึงมีความปลอดภัยในการนำน้ำไปใช้ได้ทั้งด้านอุปโภคบริโภคโดยผ่านขบวนการจัดการที่ถูกต้อง ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสก็ได้ให้ข้อชี้แนะแล้วว่า เชื้อไวรัสจำเป็นต้องอาศัยร่างกายของสิ่งมีชีวิตถึงจะดำรงชีวิตและขยายการเจริญเติบโตต่อไปได้ ประเด็นที่จะมีเชื้อไวรัสปนเปื้อนในแหล่งน้ำนั้นเป็นไปได้ยากมาก ซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ได้ก็เป็นข้อสนับสนุนที่สอดคล้องตามหลักวิชาการดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอว่า ได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้องกรณีโครงการป้องกันภัยอันเนื่องมาจากไวรัสไข้หวัดนก โดยได้รับมอบหมายให้ติดตามตรวจสอบเชื้อไวรัส H5N1 ในตัวอย่างน้ำจากลุ่มน้ำที่จัดอยู่ในพื้นที่ประกาศเป็นจังหวัดควบคุม (ตามประกาศกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เมื่อวันที่27 มกราคม 2547) เพื่อให้ได้ข้อมูลเกี่ยวกับสถานภาพการปนเปื้อนเชื้อไวรัสดังกล่าวในแหล่งน้ำ เพื่อจะได้เร่งประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการวางมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาที่อาจเกิดขึ้นได้อย่างทันท่วงที
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจึงได้มอบหมายให้กรมควบคุมมลพิษ จัดทำแผนติดตามตรวจสอบคุณภาพน้ำเพื่อการตรวจเชื้อไข้หวัดนก โดยจัดลำดับความสำคัญตามแหล่งน้ำที่มีความเสี่ยงภัยซึ่งอาจได้รับการปนเปื้อนจากการทิ้งซากสัตว์ปีกลงสู่แหล่งน้ำโดยตรง ซึ่งกรมควบคุมมลพิษได้เก็บตัวอย่างน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติ ระหว่างวันที่ 29 มกราคม ถึงวันที่ 8 กุมภาพันธ์ 2547 ในพื้นที่ 12 จังหวัด ซึ่งประกอบด้วยจังหวัดสุพรรณบุรี กาญจนบุรี สิงห์บุรีชัยนาท อุตรดิตถ์ พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร พิจิตร อุทัยธานี และนนทบุรี โดยได้ประสานความร่วมมือกับหน่วยงานที่มีศักยภาพในการตรวจสอบหาเชื้อไวรัสดังกล่าวในตัวอย่างน้ำ คือ มหาวิทยาลัยมหิดล ซึ่งดำเนินการร่วมกันระหว่างคณะสาธารณสุขศาสตร์ และคณะแพทย์ศาสตร์ศิริราชพยาบาล
ผลการวิเคราะห์การตรวจหาเชื้อไวรัสไข้หวัดนกในตัวอย่างน้ำทั้งหมดแสดงผลเป็นลบ (Negative) ซึ่งแสดงให้เห็นว่าน้ำในแหล่งน้ำธรรมชาติไม่มีการปนเปื้อนของเชื้อไวรัสไข้หวัดนก จึงมีความปลอดภัยในการนำน้ำไปใช้ได้ทั้งด้านอุปโภคบริโภคโดยผ่านขบวนการจัดการที่ถูกต้อง ซึ่งคณะผู้เชี่ยวชาญด้านไวรัสก็ได้ให้ข้อชี้แนะแล้วว่า เชื้อไวรัสจำเป็นต้องอาศัยร่างกายของสิ่งมีชีวิตถึงจะดำรงชีวิตและขยายการเจริญเติบโตต่อไปได้ ประเด็นที่จะมีเชื้อไวรัสปนเปื้อนในแหล่งน้ำนั้นเป็นไปได้ยากมาก ซึ่งผลการวิเคราะห์ที่ได้ก็เป็นข้อสนับสนุนที่สอดคล้องตามหลักวิชาการดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-