คณะรัฐมนตรีรับทราบการแก้ไขปัญหาราคาอ้อยและน้ำตาลทรายทั้งระบบ ตามที่กระทรวงพาณิชย์เสนอ
ผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในส่วนของกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศ ณ เดือนมีนาคม 2547 ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ให้กรมการค้าต่างประเทศพัฒนาตลาดส่งออกให้มีการขายให้กับผู้ซื้อโดยตรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายในลักษณะรัฐต่อรัฐเพื่อลดการพึ่งพาการซื้อขายผ่านพ่อค้าคนกลาง
ความคืบหน้าการดำเนินการ มีดังนี้
1. ได้ประสานกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีนญี่ปุ่น และเวียดนาม เพื่อขอทราบช่องทางการจำหน่ายน้ำตาลโดยตรง (เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546) ได้ทราบว่าการค้าน้ำตาลระหว่างประเทศที่ปฏิบัติกันเป็นการขายน้ำตาลในตลาดล่วงหน้าผ่านผู้ค้าน้ำตาลระหว่างประเทศ (Trader) หรือBroker ซึ่งมีการผูกขาดเพียงไม่กี่บริษัท และมีรากฐานการค้าน้ำตาลมานานหลายปี
2. คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้มีคำสั่งที่ 3/2546 แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาการซื้อขายน้ำตาลโดยตรงกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2546 ในคราวประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะทำงานฯ เสนอแนวทางและเงื่อนไขการซื้อขายน้ำตาลโดยตรงกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อเป็นการชดเชยในกรณีที่ประเทศดังกล่าวขอชะลอการลดภาษีน้ำตาลภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ดังนี้
2.1 ปริมาณน้ำตาลและอัตราภาษี
1) กำหนดเป็นโควตาน้ำตาลพิเศษของรัฐบาลในการซื้อขายน้ำตาลทรายกับฟิลิปปินส์ โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดโควตาตามปริมาณที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศตกลงกับประเทศดังกล่าว
2) กำหนดอัตราภาษีให้เป็นไปตามที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้เจรจาตกลงกับฟิลิปปินส์แต่ขอให้เจรจาลดภาษีนำเข้าน้ำตาลแก่ไทยให้น้อยที่สุด จากข้อเสนอเดิมที่ฟิลิปปินส์จะลดอัตราภาษีลงเหลือเพียงร้อยละ 48
2.2 ราคาน้ำตาล รัฐบาลและคณะเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจะเป็นผู้เจรจาต่อรองกับฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ราคาน้ำตาลจะต้องสูงกว่าราคาตลาดโลก ณ เวลาที่ขาย (เพราะภาษีนำเข้าที่ถูกลง) บวกด้วยพรีเมี่ยมน้ำตาลไทยและบวกด้วยพรีเมี่ยมความหวานน้ำตาล
2.3 วิธีการขาย เป็นการซื้อขายในลักษณะรัฐต่อรัฐตามปริมาณที่เจรจาตกลงกัน และราคาที่สูงกว่าราคาในตลาดโลก
2.4 ให้กำหนดแนวทางและเงื่อนไขการซื้อขายน้ำตาลโดยตรงกับฟิลิปปินส์ ตามแนวทางการซื้อขายน้ำตาลในโควตาสหรัฐฯ (US Quota)
3. ผลการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ยังไม่มีการดำเนินการตามมติดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ เนื่องจากปีนี้ฟิลิปปินส์มีผลผลิตน้ำตาลภายในประเทศเพียงพอ จึงไม่จำเป็นต้องนำเข้า และจากผลการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีพาณิชย์ฟิลิปปินส์ในคราวประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เมื่อวันที่6 - 8 ตุลาคม 2546 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์แจ้งว่าอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นการนำเข้าข้าวแทน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
ผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีในส่วนของกระทรวงพาณิชย์โดยกรมการค้าต่างประเทศ ณ เดือนมีนาคม 2547 ตามมติ คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 กรกฎาคม 2546 ให้กรมการค้าต่างประเทศพัฒนาตลาดส่งออกให้มีการขายให้กับผู้ซื้อโดยตรงมากขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการซื้อขายในลักษณะรัฐต่อรัฐเพื่อลดการพึ่งพาการซื้อขายผ่านพ่อค้าคนกลาง
ความคืบหน้าการดำเนินการ มีดังนี้
1. ได้ประสานกับสำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศหลายประเทศ อาทิ มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ จีนญี่ปุ่น และเวียดนาม เพื่อขอทราบช่องทางการจำหน่ายน้ำตาลโดยตรง (เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 2546) ได้ทราบว่าการค้าน้ำตาลระหว่างประเทศที่ปฏิบัติกันเป็นการขายน้ำตาลในตลาดล่วงหน้าผ่านผู้ค้าน้ำตาลระหว่างประเทศ (Trader) หรือBroker ซึ่งมีการผูกขาดเพียงไม่กี่บริษัท และมีรากฐานการค้าน้ำตาลมานานหลายปี
2. คณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายได้มีคำสั่งที่ 3/2546 แต่งตั้งคณะทำงานพิจารณาการซื้อขายน้ำตาลโดยตรงกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เมื่อวันที่ 12 พฤษภาคม 2546 ในคราวประชุมคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทรายครั้งที่ 1/2547 เมื่อวันที่ 5 กุมภาพันธ์ 2547 ได้มีมติเห็นชอบตามที่คณะทำงานฯ เสนอแนวทางและเงื่อนไขการซื้อขายน้ำตาลโดยตรงกับฟิลิปปินส์ อินโดนีเซีย และมาเลเซีย เพื่อเป็นการชดเชยในกรณีที่ประเทศดังกล่าวขอชะลอการลดภาษีน้ำตาลภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีอาเซียน (AFTA) ดังนี้
2.1 ปริมาณน้ำตาลและอัตราภาษี
1) กำหนดเป็นโควตาน้ำตาลพิเศษของรัฐบาลในการซื้อขายน้ำตาลทรายกับฟิลิปปินส์ โดยรัฐบาลเป็นผู้กำหนดโควตาตามปริมาณที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศตกลงกับประเทศดังกล่าว
2) กำหนดอัตราภาษีให้เป็นไปตามที่กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศได้เจรจาตกลงกับฟิลิปปินส์แต่ขอให้เจรจาลดภาษีนำเข้าน้ำตาลแก่ไทยให้น้อยที่สุด จากข้อเสนอเดิมที่ฟิลิปปินส์จะลดอัตราภาษีลงเหลือเพียงร้อยละ 48
2.2 ราคาน้ำตาล รัฐบาลและคณะเจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจะเป็นผู้เจรจาต่อรองกับฟิลิปปินส์ ทั้งนี้ราคาน้ำตาลจะต้องสูงกว่าราคาตลาดโลก ณ เวลาที่ขาย (เพราะภาษีนำเข้าที่ถูกลง) บวกด้วยพรีเมี่ยมน้ำตาลไทยและบวกด้วยพรีเมี่ยมความหวานน้ำตาล
2.3 วิธีการขาย เป็นการซื้อขายในลักษณะรัฐต่อรัฐตามปริมาณที่เจรจาตกลงกัน และราคาที่สูงกว่าราคาในตลาดโลก
2.4 ให้กำหนดแนวทางและเงื่อนไขการซื้อขายน้ำตาลโดยตรงกับฟิลิปปินส์ ตามแนวทางการซื้อขายน้ำตาลในโควตาสหรัฐฯ (US Quota)
3. ผลการดำเนินงานตามมติคณะกรรมการอ้อยและน้ำตาลทราย ยังไม่มีการดำเนินการตามมติดังกล่าวแต่อย่างใด ทั้งนี้ เนื่องจากปีนี้ฟิลิปปินส์มีผลผลิตน้ำตาลภายในประเทศเพียงพอ จึงไม่จำเป็นต้องนำเข้า และจากผลการหารือทวิภาคีระหว่างนายกรัฐมนตรีกับรัฐมนตรีพาณิชย์ฟิลิปปินส์ในคราวประชุมสุดยอดผู้นำอาเซียน เมื่อวันที่6 - 8 ตุลาคม 2546 ณ เมืองบาหลี ประเทศอินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์แจ้งว่าอาจจำเป็นต้องเปลี่ยนเป็นการนำเข้าข้าวแทน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-