เรื่อง การพิจารณาร่างเอกสารสัญญาการจัดหาและส่งมอบปืนใหญ่เบา 105 มม. ระหว่างรัฐบาลไทย
โดยกระทรวงกลาโหม และรัฐบาลสหราชอาณาจักรโดยบริษัท Royal Ordnance Plc ภายใต้
โครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจแห่งชาติ (เฉพาะกรณีความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศ
สหราชอาณาจักร)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการร่างเอกสารสัญญาการจัดหาและส่งมอบปืนใหญ่เบา 105 มม. ระหว่างรัฐบาลไทย โดยกระทรวงกลาโหม และรัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยบริษัท Royal Ordnance Plc ภายใต้โครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจแห่งชาติ (เฉพาะกรณีความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศสหราชอาณาจักร) โดยให้ใช้กฎธรรมเนียมปฏิบัติในการดำเนินการแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล รวมทั้งให้ร่างสัญญาฯ ดังกล่าว มีผลบังคับครอบคลุมสัญญาในโครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย ภายใต้โครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจฉบับอื่นต่อไปด้วย
อนึ่ง ร่างสัญญาจัดหาและส่งมอบปืนใหญ่เบา 105 มม. เป็นร่างสัญญาจัดหายุทโธปกรณ์ร่างแรกที่ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยซึ่งเป็นการดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยฝ่ายสหราชอาณาจักรได้มอบให้บริษัท BAE SYSTEMS เป็นผู้ดำเนินการทั้งสองโครงการดังกล่าว ซึ่งฝ่ายไทยจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าการดำเนินการในรูปแบบเดิม เพราะนอกจากที่ฝ่ายไทยจะได้รับประโยชน์จากการได้รับยุทโธปกรณ์ที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของเหล่าทัพ เป็นยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีราคาเหมาะสมและเป็นธรรม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาเพิ่มเติม (fix and firm price) ฝ่ายไทยยังจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการต่างๆ ที่ฝ่ายสหราชอาณาจักรจะให้การสนับสนุน ได้แก่
1. การตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจ (economic compensation) กระทรวง และส่วนราชการต่างๆ ของไทย ซึ่งมูลค่าของการตอบแทนกลับคืนนั้น อย่างน้อยจะเท่ากับมูลค่าของยุทโธปกรณ์ที่จัดหา โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำข้อตกลงว่าด้วยการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในการจัดทำข้อตกลงดังกล่าวไปแล้ว ทั้งนี้ ฝ่ายสหราชอาณาจักรได้เริ่มดำเนินโครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจโครงการแรก ได้แก่ โครงการโรงเรียนสมัยใหม่ (Smart School) ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการแล้ว จำนวน 3 ห้องเรียน ใน 2 โรงเรียนนำร่อง พร้อมกับอบรมครูผู้สอน (Master Trainer) ไปแล้ว 2 ครั้ง จำนวน 40 คน และจะดำเนินการในอีก 7 โรงเรียน รวมเป็น 10 โรงเรียน
2. การนำสินค้าของไทยไปจำหน่าย (commodity trade) โดยฝ่ายสหราชอาณาจักรจะให้ความช่วยเหลือในการนำสินค้าของไทยไปจำหน่ายในตลาดโลก ซึ่งจะเริ่มดำเนินการควบคู่กับโครงการนำร่อง (Pilot Project) และโครงการอื่นๆ ต่อไป
3. การถ่ายทอดความรู้ (transfer knowhow) ฝ่ายสหราชอาณาจักรได้เสนอการให้ความช่วยเหลือในการสาธิตและถ่ายทอดความรู้ในการซ่อมคืนสภาพรถถังเบา scorpion ให้แก่กองทัพบกไทยโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งฝ่ายไทยจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าการดำเนินการในรูปแบบเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
โดยกระทรวงกลาโหม และรัฐบาลสหราชอาณาจักรโดยบริษัท Royal Ordnance Plc ภายใต้
โครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจแห่งชาติ (เฉพาะกรณีความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศ
สหราชอาณาจักร)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้ดำเนินการร่างเอกสารสัญญาการจัดหาและส่งมอบปืนใหญ่เบา 105 มม. ระหว่างรัฐบาลไทย โดยกระทรวงกลาโหม และรัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยบริษัท Royal Ordnance Plc ภายใต้โครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจแห่งชาติ (เฉพาะกรณีความร่วมมือกับรัฐบาลประเทศสหราชอาณาจักร) โดยให้ใช้กฎธรรมเนียมปฏิบัติในการดำเนินการแบบรัฐบาลต่อรัฐบาล รวมทั้งให้ร่างสัญญาฯ ดังกล่าว มีผลบังคับครอบคลุมสัญญาในโครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทย ภายใต้โครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจฉบับอื่นต่อไปด้วย
อนึ่ง ร่างสัญญาจัดหาและส่งมอบปืนใหญ่เบา 105 มม. เป็นร่างสัญญาจัดหายุทโธปกรณ์ร่างแรกที่ดำเนินการภายใต้โครงการพัฒนาขีดความสามารถด้านยุทโธปกรณ์ของกองทัพไทยซึ่งเป็นการดำเนินการแบบรัฐต่อรัฐ (G to G) ระหว่างรัฐบาลไทยกับรัฐบาลสหราชอาณาจักร โดยฝ่ายสหราชอาณาจักรได้มอบให้บริษัท BAE SYSTEMS เป็นผู้ดำเนินการทั้งสองโครงการดังกล่าว ซึ่งฝ่ายไทยจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าการดำเนินการในรูปแบบเดิม เพราะนอกจากที่ฝ่ายไทยจะได้รับประโยชน์จากการได้รับยุทโธปกรณ์ที่ตรงตามความต้องการที่แท้จริงของเหล่าทัพ เป็นยุทโธปกรณ์ที่ทันสมัย พร้อมการถ่ายทอดเทคโนโลยี และมีราคาเหมาะสมและเป็นธรรม โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงราคาเพิ่มเติม (fix and firm price) ฝ่ายไทยยังจะได้รับประโยชน์จากการดำเนินการต่างๆ ที่ฝ่ายสหราชอาณาจักรจะให้การสนับสนุน ได้แก่
1. การตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจ (economic compensation) กระทรวง และส่วนราชการต่างๆ ของไทย ซึ่งมูลค่าของการตอบแทนกลับคืนนั้น อย่างน้อยจะเท่ากับมูลค่าของยุทโธปกรณ์ที่จัดหา โดยทั้งสองฝ่ายได้ร่วมกันจัดทำข้อตกลงว่าด้วยการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจ และคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบในการจัดทำข้อตกลงดังกล่าวไปแล้ว ทั้งนี้ ฝ่ายสหราชอาณาจักรได้เริ่มดำเนินโครงการตอบแทนกลับคืนทางเศรษฐกิจโครงการแรก ได้แก่ โครงการโรงเรียนสมัยใหม่ (Smart School) ให้แก่กระทรวงศึกษาธิการแล้ว จำนวน 3 ห้องเรียน ใน 2 โรงเรียนนำร่อง พร้อมกับอบรมครูผู้สอน (Master Trainer) ไปแล้ว 2 ครั้ง จำนวน 40 คน และจะดำเนินการในอีก 7 โรงเรียน รวมเป็น 10 โรงเรียน
2. การนำสินค้าของไทยไปจำหน่าย (commodity trade) โดยฝ่ายสหราชอาณาจักรจะให้ความช่วยเหลือในการนำสินค้าของไทยไปจำหน่ายในตลาดโลก ซึ่งจะเริ่มดำเนินการควบคู่กับโครงการนำร่อง (Pilot Project) และโครงการอื่นๆ ต่อไป
3. การถ่ายทอดความรู้ (transfer knowhow) ฝ่ายสหราชอาณาจักรได้เสนอการให้ความช่วยเหลือในการสาธิตและถ่ายทอดความรู้ในการซ่อมคืนสภาพรถถังเบา scorpion ให้แก่กองทัพบกไทยโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งฝ่ายไทยจะได้รับประโยชน์ทางเศรษฐกิจและสังคมมากกว่าการดำเนินการในรูปแบบเดิม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-