แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
คณะรัฐมนตรี
ครอบครัว
คณะรัฐมนตรีพิจารณา (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการและให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใช้เป็นกรอบในการจัดทำ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547 - 2556 และแผนปฏิบัติการต่อไป โดยให้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
2. ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ เพื่อให้การแปลงยุทธศาสตร์เป็นไปอย่างครบวงจร
สรุปสาระสำคัญ (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ประกอบด้วย4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 หลักการและเหตุผล ปัจจุบันสถาบันครอบครัวไทยอ่อนแอลงด้วยสาเหตุปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ และนำไปสู่ปัญหาสังคมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก แต่การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังขาดการทำงานเชิงรุกและเป็นองค์รวมเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติการพัฒนา
ส่วนที่ 2 สถานการณ์และแนวโน้มที่มีผลต่อสถาบันครอบครัว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินสถานการณ์โดยใช้ดัชนีความอยู่ดีมีสุขของชีวิตครอบครัวไทยพบว่า ภาวะความอยู่ดีมีสุขของประชาชนด้านชีวิตครอบครัวโดยรวมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และครอบครัวไทยต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญ ๆ หลายประการ ประกอบกับในระยะต่อไปประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วทำให้ภาวะพึ่งพิงของวัยผู้สูงอายุสูงขึ้น และจะเป็นภาระของรัฐหากไม่มีการเตรียมความพร้อมให้ครอบครัวสามารถพึ่งตนเองได้
ส่วนที่ 3 การดำเนินงานในปัจจุบัน ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและชุมชนดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันครอบครัวอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันรักลูกบริษัท แปลนพับลิชชิ่ง จำกัด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานยังเน้นตามบทบาทและภารกิจหลักของหน่วยงานนั้น ๆ เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น การทำงานยังขาดเอกภาพไม่เป็นองค์รวมครอบคลุมทุกด้าน และยังขาดการทำงานเชิงรุกรวมทั้งมีขอบเขตการดำเนินงานค่อนข้างจำกัดทำให้การพัฒนาสถาบันครอบครัวขาดพลังเท่าที่ควร
ส่วนที่ 4 (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ได้แก่
1. กรอบแนวคิด เน้นการพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการเชื่อมโยงมิติการพัฒนาต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้ครอบครัวไทยมีความสุข ความอบอุ่น มีภูมิคุ้มกัน ปรับตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
2. เป้าหมายการพัฒนา ครอบคลุมครอบครัวไทยทั้งหมด โดยเน้นไปที่ครอบครัวยากจน 1.65 ล้านครัวเรือนเป็นลำดับแรก
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นองค์รวมการสร้างหลักประกันคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคมในรูปแบบที่เหมาะสม การสร้างระบบและกลไกการบริหารจัดการให้เกื้อหนุนการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง และการสนับสนุนบทบาทของสถาบันครอบครัวในการเป็นทุนทางสังคม
4. ข้อเสนอการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคีต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ การจัดทำโครงการนำร่องแบบบูรณาการในพื้นที่วิกฤตหรือครอบครัววิกฤต การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ และการสร้างระบบและกระบวนการติดตามประเมินผลที่ดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบในหลักการ (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการและให้กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ใช้เป็นกรอบในการจัดทำ (ร่าง) นโยบายและยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัว พ.ศ. 2547 - 2556 และแผนปฏิบัติการต่อไป โดยให้มีการประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน
2. ให้สำนักงบประมาณสนับสนุนงบประมาณการพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ เพื่อให้การแปลงยุทธศาสตร์เป็นไปอย่างครบวงจร
สรุปสาระสำคัญ (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ประกอบด้วย4 ส่วน คือ
ส่วนที่ 1 หลักการและเหตุผล ปัจจุบันสถาบันครอบครัวไทยอ่อนแอลงด้วยสาเหตุปัจจัยทางเศรษฐกิจและสังคมหลายประการ และนำไปสู่ปัญหาสังคมต่าง ๆ เป็นอย่างมาก แต่การดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องยังขาดการทำงานเชิงรุกและเป็นองค์รวมเท่าที่ควร จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการครอบคลุมทุกมิติการพัฒนา
ส่วนที่ 2 สถานการณ์และแนวโน้มที่มีผลต่อสถาบันครอบครัว สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติได้ประเมินสถานการณ์โดยใช้ดัชนีความอยู่ดีมีสุขของชีวิตครอบครัวไทยพบว่า ภาวะความอยู่ดีมีสุขของประชาชนด้านชีวิตครอบครัวโดยรวมมีแนวโน้มลดลงอย่างต่อเนื่องนับตั้งแต่เกิดวิกฤตเศรษฐกิจ และครอบครัวไทยต้องเผชิญกับปัญหาสำคัญ ๆ หลายประการ ประกอบกับในระยะต่อไปประเทศไทยจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็วทำให้ภาวะพึ่งพิงของวัยผู้สูงอายุสูงขึ้น และจะเป็นภาระของรัฐหากไม่มีการเตรียมความพร้อมให้ครอบครัวสามารถพึ่งตนเองได้
ส่วนที่ 3 การดำเนินงานในปัจจุบัน ปัจจุบันหน่วยงานภาครัฐ เอกชนและชุมชนดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาสถาบันครอบครัวอยู่เป็นจำนวนมาก อาทิ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวงศึกษาธิการ กระทรวงสาธารณสุข สถาบันแห่งชาติเพื่อการพัฒนาเด็กและครอบครัว มหาวิทยาลัยมหิดล สถาบันรักลูกบริษัท แปลนพับลิชชิ่ง จำกัด เป็นต้น อย่างไรก็ตาม การดำเนินงานยังเน้นตามบทบาทและภารกิจหลักของหน่วยงานนั้น ๆ เฉพาะเรื่องใดเรื่องหนึ่งเท่านั้น การทำงานยังขาดเอกภาพไม่เป็นองค์รวมครอบคลุมทุกด้าน และยังขาดการทำงานเชิงรุกรวมทั้งมีขอบเขตการดำเนินงานค่อนข้างจำกัดทำให้การพัฒนาสถาบันครอบครัวขาดพลังเท่าที่ควร
ส่วนที่ 4 (ร่าง) กรอบยุทธศาสตร์การพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ ได้แก่
1. กรอบแนวคิด เน้นการพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการเชื่อมโยงมิติการพัฒนาต่าง ๆ อย่างเป็นองค์รวม เพื่อให้ครอบครัวไทยมีความสุข ความอบอุ่น มีภูมิคุ้มกัน ปรับตัวได้ทันการเปลี่ยนแปลงได้อย่างเหมาะสม
2. เป้าหมายการพัฒนา ครอบคลุมครอบครัวไทยทั้งหมด โดยเน้นไปที่ครอบครัวยากจน 1.65 ล้านครัวเรือนเป็นลำดับแรก
3. ยุทธศาสตร์การพัฒนา ประกอบด้วย การพัฒนาศักยภาพของสมาชิกในครอบครัวอย่างเป็นองค์รวมการสร้างหลักประกันคุ้มครองทางเศรษฐกิจและสังคมในรูปแบบที่เหมาะสม การสร้างระบบและกลไกการบริหารจัดการให้เกื้อหนุนการสร้างครอบครัวที่เข้มแข็ง และการสนับสนุนบทบาทของสถาบันครอบครัวในการเป็นทุนทางสังคม
4. ข้อเสนอการแปลงยุทธศาสตร์สู่การปฏิบัติ ประกอบด้วย การสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างภาคีต่าง ๆ อย่างเป็นระบบ การจัดทำโครงการนำร่องแบบบูรณาการในพื้นที่วิกฤตหรือครอบครัววิกฤต การสนับสนุนการสร้างนวัตกรรมใหม่ที่เป็นประโยชน์ต่อการพัฒนาสถาบันครอบครัวแบบบูรณาการ และการสร้างระบบและกระบวนการติดตามประเมินผลที่ดี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-