คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการดำเนินงานการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ปีงบประมาณ 2547 (1 ตุลาคม - 31 ธันวาคม 2546) ตามที่สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเสนอ สรุปได้ดังนี้
1. ความครอบคลุมการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 มีจำนวนประชากรผู้ขึ้นทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งสิ้น 46.45 ล้านคน (ร้อยละ 100.98 ของเป้าหมาย 46 ล้านคน) คิดเป็นร้อยละ 74.21 ของประชากรไทย 62.59 ล้านคน และทำให้ประชากรไทยมีสิทธิประกันสุขภาพรวมร้อยละ93.75 โดยมีประชากรที่รอการตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพจำนวน 3.91 ล้านคน และมีหน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งสิ้น 1,051 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2546 (981 แห่ง) ร้อยละ 7.14 แยกเป็นสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 818 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 77.83) นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 102 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 9.71) เอกชน จำนวน 74 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 7.04) และคลินิกชุมชนอบอุ่น จำนวน 57 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 5.42)
2. การส่งเสริมและสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิประชาชน ได้ดำเนินการให้มีเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจหลักประกันสุขภาพร่วมกับตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนใน 8 ภูมิภาค มีการจัดกิจกรรมร่วมกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และกลุ่มที่ควรได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น กลุ่มผู้รับบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง และริเริ่มให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางเครือข่ายระบบส่งต่อผู้ป่วยอย่างครบวงจรเพื่อลดระยะเวลาการรอเข้ารับการรักษาในหน่วยบริการ โดยเฉพาะผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคสมอง เป็นต้น ให้ได้รับการรักษาทันเวลา และได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2547 ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้รับงบค่าบริการทางการแพทย์เพื่อดำเนินการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอัตราเหมาจ่าย 1,308.5 บาท/ประชากร โดยคิดที่เป้าหมายประชากรจำนวน 46 ล้านคน ทั้งนี้ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะได้รับเงินจริงเฉพาะงบดำเนินการรวมงบเงินเดือนหน่วยบริการภาคเอกชน แต่การบริหารจัดการให้ถือเสมือนได้รับงบบุคลากรภาครัฐโดยได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 32,572.87 ล้านบาท ในไตรมาสแรกได้จัดสรรงบประมาณค่าบริการทางการแพทย์ในส่วนบริการผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และบริการส่งเสริมและป้องกันโรค ให้หน่วยงานบริการคู่สัญญาแล้วรวมจำนวน 7,193.473ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ความครอบคลุมการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2546 มีจำนวนประชากรผู้ขึ้นทะเบียนสิทธิหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าทั้งสิ้น 46.45 ล้านคน (ร้อยละ 100.98 ของเป้าหมาย 46 ล้านคน) คิดเป็นร้อยละ 74.21 ของประชากรไทย 62.59 ล้านคน และทำให้ประชากรไทยมีสิทธิประกันสุขภาพรวมร้อยละ93.75 โดยมีประชากรที่รอการตรวจสอบสิทธิประกันสุขภาพจำนวน 3.91 ล้านคน และมีหน่วยบริการคู่สัญญาในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติทั้งสิ้น 1,051 แห่ง เพิ่มขึ้นจากปีงบประมาณ 2546 (981 แห่ง) ร้อยละ 7.14 แยกเป็นสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 818 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 77.83) นอกสังกัดกระทรวงสาธารณสุข จำนวน 102 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 9.71) เอกชน จำนวน 74 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 7.04) และคลินิกชุมชนอบอุ่น จำนวน 57 แห่ง (คิดเป็นร้อยละ 5.42)
2. การส่งเสริมและสนับสนุนการคุ้มครองสิทธิประชาชน ได้ดำเนินการให้มีเวทีสร้างความรู้ความเข้าใจหลักประกันสุขภาพร่วมกับตัวแทนเครือข่ายภาคประชาชนใน 8 ภูมิภาค มีการจัดกิจกรรมร่วมกับประชาชนกลุ่มเป้าหมายเฉพาะ และกลุ่มที่ควรได้รับการช่วยเหลือเกื้อกูล เช่น กลุ่มผู้รับบริการที่มีค่าใช้จ่ายสูง และริเริ่มให้มีการจัดตั้งศูนย์กลางเครือข่ายระบบส่งต่อผู้ป่วยอย่างครบวงจรเพื่อลดระยะเวลาการรอเข้ารับการรักษาในหน่วยบริการ โดยเฉพาะผู้ป่วยผ่าตัดหัวใจ ผู้ป่วยโรคมะเร็ง ผู้ป่วยโรคสมอง เป็นต้น ให้ได้รับการรักษาทันเวลา และได้รับการส่งต่อไปยังหน่วยบริการอย่างมีประสิทธิภาพ
3. การบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ปีงบประมาณ 2547 ระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้รับงบค่าบริการทางการแพทย์เพื่อดำเนินการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในอัตราเหมาจ่าย 1,308.5 บาท/ประชากร โดยคิดที่เป้าหมายประชากรจำนวน 46 ล้านคน ทั้งนี้ กองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะได้รับเงินจริงเฉพาะงบดำเนินการรวมงบเงินเดือนหน่วยบริการภาคเอกชน แต่การบริหารจัดการให้ถือเสมือนได้รับงบบุคลากรภาครัฐโดยได้รับงบประมาณทั้งสิ้น 32,572.87 ล้านบาท ในไตรมาสแรกได้จัดสรรงบประมาณค่าบริการทางการแพทย์ในส่วนบริการผู้ป่วยนอก ผู้ป่วยใน และบริการส่งเสริมและป้องกันโรค ให้หน่วยงานบริการคู่สัญญาแล้วรวมจำนวน 7,193.473ล้านบาท
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-