คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลความก้าวหน้าโครงการประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด ตามที่กองอำนวยการประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด (กอ.ปพส.) กระทรวงมหาดไทย เสนอ 4 เรื่อง ดังนี้
1. เรื่อง การกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์พลังแผ่นดิน
สำนักงาน กอ.ปพส. (กรมการปกครอง) ได้ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์พลังแผ่นดิน เพื่อให้ผู้ประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดมีเป้าหมายทิศทาง และกรอบแนวทางที่ชัดเจนในภารกิจตาม Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 3 รวมทั้งภารกิจสำคัญอื่น ๆ ของชาติ ระหว่างวันที่ 29 - 31มกราคม 2547 ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้แทนจาก ศตส.ศตส.มท. นักวิชาการ องค์กรเอกชน ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำทางศาสนา และผู้แทนผู้ประสานพลังแผ่นดินของกรุงเทพมหานคร และภูมิภาค รวม 40 คน โดยมีข้อสรุปเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของพลังแผ่นดิน ดังนี้
เป้าหมายของพลังแผ่นดิน
"รวมพลังทุกภาคส่วนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของอย่างเท่าเทียม เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชาติ และสร้างความสุข ความพอเพียงตามวิถีไทยอย่างยั่งยืน"
วิสัยทัศน์ของพลังแผ่นดิน
"พลังแผ่นดินเป็นพลังหลักและเป็นวาระแห่งชาติที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชาติไทย"
เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวกับ "พลังแผ่นดิน" มีแนวทางเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นเอกภาพและเป็นไปตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการศูนย์อำนวจการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบและแจ้งให้หน่วยงานทั้งขององค์กรของรัฐและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ยึดถือเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพของการใช้พลังแผ่นดินต่อไป ตลอดจนขอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพ-มหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัด แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ยึดถือเป็นหลักการในการดำเนินการเกี่ยวกับพลังแผ่นดิน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสานพลังแผ่นดินปฏิบัติภารกิจในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอย่างต่อเนื่องรวมถึงการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ของชาติ โดยยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแพร่หลายกว้างขวาง และร่วมเป็นพลังแผ่นดินอย่างแท้จริง
2. เรื่อง ความก้าวหน้าการจัดตั้งชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคี
ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) ได้เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคีในพื้นที่อำเภอ/กิ่งอำเภอ และเขตทุกแห่ง โดยมีหลักการที่การนำจุดแข็งขององค์กรต่าง ๆ มาผนึกกำลังกันเพื่อให้เป็นองค์กรของภาคประชาชนในพื้นที่ในการส่งเสริมสนับสนุนผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้ปรากฏผลดีอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม นั้น
กระทรวงมหาดไทยได้ซักซ้อมความเข้าใจให้จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยการให้มีการจัดตั้งชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคีให้ครบทุกพื้นที่ภายในสิ้นเดือนเมษายน 2547 โดยกำหนดเป้าหมายในการจัดตั้งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2547 จัดตั้งให้ครบร้อยละ 50
ภายในวันที่ 15 เมษายน 2547 จัดตั้งให้ครบร้อยละ 80
ภายในสิ้นเดือนเมษายน 2547 จัดตั้งให้ครบทุกพื้นที่
ขณะนี้ได้รับรายงานการจัดตั้งชมรมฯ แล้ว 217 แห่ง จำนวนสมาชิก 173,522 คน และอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งอีก 659 แห่ง
3. เรื่อง การจัดโครงการหรือกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 ของชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคี
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ กระทรวงมหาดไทย โดยกองอำนวยการประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดมอบผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ร่วมประชุมกับชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคี จัดให้มีโครงการ/กิจกรรมสาธารณประโยชน์ เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด การส่งเสริมศีลธรรม วัฒนธรรม การรักษาความสวยงามการรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยชมรมละ 1 โครงการ/กิจกรรม โดยให้เป็นไปตามมติร่วมกันของสมาชิกชมรมให้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นสิริมงคลอย่างสูงยิ่งของสมาชิกชมรม โดยรวบรวมโครงการ/กิจกรรม ส่งให้กระทรวงมหาดไทยภายในสิ้นเดือนเมษายน 2547 เพื่อจะได้ประชาสัมพันธ์และดำเนินการในส่วนเกี่ยวข้องต่อไป
4. เรื่อง โครงการมอบทุนการศึกษาแก่บุตรผู้ประสานพลังแผ่นดิน
ผู้ประสานพลังแผ่นดินคือ ประชาชนที่มีจิตสำนึกต่อชาติ ต้องการให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็ง มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย อยากเห็นสังคมที่ลูกหลานโตมาเป็นสังคมที่ปลอดยาเสพติด การปฏิบัติหน้าที่อยู่ในความเสี่ยง ไม่มีอาวุธ ไม่มีเงินเดือน ซึ่งขณะนี้ทั่วประเทศมีผู้ประสานพลังแผ่นดินรวมทั้งสิ้น 2,830,895 คน ผลจากการปฏิบัติงานของผู้ประสานพลังแผ่นดินทั่วประเทศ มีส่วนทำให้การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่งจนนายกรัฐมนตรีได้ประกาศชัยชนะสงครามยาเสพติดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมา
นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายในการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่บุตรผู้ประสานพลังแผ่นดินในพิธีเปิดปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณผู้ประสานพลังแผ่นดินที่เสียสละและยังแสดงให้เห็นว่า "คนที่เสียสละให้บ้านเมืองยังมีความหวังว่าลูกเขาถ้าประพฤติดีก็จะมีความก้าวหน้าในชีวิตได้" โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นผู้รับผิดชอบ
กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมการปกครองในฐานะสำนักงานกองอำนวยการประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด จัดทำโครงการมอบทุนการศึกษาแก่บุตรผู้ประสานพลังแผ่นดิน โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย
1) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของบุตรผู้ประสานพลังแผ่นดิน ตลอดจนเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสานพลังแผ่นดิน โดยจัดสรรให้ในระดับตำบลและเทศบาล แยกเป็น ระดับตำบลจำนวน7,255 ตำบล ระดับเทศบาล จำนวน 1,134 เทศบาล รวม 8,389 ตำบล/เทศบาล รวมทั้งสิ้น 25,167 ทุน เป็นจำนวนเงิน167,780,000 บาท
2) ทุนการศึกษา เป็นการให้ทุนการศึกษาในแต่ละปี แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 8,389 ทุน ๆ ละ 4,000 บาท
- ระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จำนวน 8,389 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
- ระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า จำนวน 8,389 ทุน ๆ ละ 10,000 บาท
3) ผลที่คาดว่าจะได้รับ บุตรผู้ประสานพลังแผ่นดินมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและต่อเนื่อง ผู้ประสานพลังแผ่นดินมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคีมีการเคลื่อนไหวมีกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ โดยสำนักงานกองอำนวยการประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด/กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างเตรียมการนำเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับแก้ไขปัญหาเด็กยากจนและเด็กผู้ด้อยโอกาสซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน และสำนักงาน กอ.ปพส. ได้รายงานให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ทราบโดยตรงแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เรื่อง การกำหนดเป้าหมายและวิสัยทัศน์พลังแผ่นดิน
สำนักงาน กอ.ปพส. (กรมการปกครอง) ได้ดำเนินการจัดประชุมสัมมนาเชิงปฏิบัติการเพื่อกำหนดวิสัยทัศน์พลังแผ่นดิน เพื่อให้ผู้ประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดมีเป้าหมายทิศทาง และกรอบแนวทางที่ชัดเจนในภารกิจตาม Roadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 3 รวมทั้งภารกิจสำคัญอื่น ๆ ของชาติ ระหว่างวันที่ 29 - 31มกราคม 2547 ณ โรงแรมเอสดี อเวนิว เขตบางพลัด กรุงเทพมหานคร ผู้เข้าร่วมสัมมนาประกอบด้วย ผู้แทนจาก ศตส.ศตส.มท. นักวิชาการ องค์กรเอกชน ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง ผู้นำทางศาสนา และผู้แทนผู้ประสานพลังแผ่นดินของกรุงเทพมหานคร และภูมิภาค รวม 40 คน โดยมีข้อสรุปเป้าหมายและวิสัยทัศน์ของพลังแผ่นดิน ดังนี้
เป้าหมายของพลังแผ่นดิน
"รวมพลังทุกภาคส่วนบนพื้นฐานของการมีส่วนร่วมเป็นหุ้นส่วนและเป็นเจ้าของอย่างเท่าเทียม เพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาของชาติ และสร้างความสุข ความพอเพียงตามวิถีไทยอย่างยั่งยืน"
วิสัยทัศน์ของพลังแผ่นดิน
"พลังแผ่นดินเป็นพลังหลักและเป็นวาระแห่งชาติที่จะร่วมกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาชาติไทย"
เพื่อให้การดำเนินการที่เกี่ยวกับ "พลังแผ่นดิน" มีแนวทางเป้าหมายที่ชัดเจนเป็นเอกภาพและเป็นไปตามเป้าหมายและวิสัยทัศน์ดังกล่าว กระทรวงมหาดไทยได้มีหนังสือถึงผู้อำนวยการศูนย์อำนวจการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติพิจารณาให้ความเห็นชอบและแจ้งให้หน่วยงานทั้งขององค์กรของรัฐและองค์กรเอกชนที่เกี่ยวข้องได้ยึดถือเป็นแนวทางเดียวกัน เพื่อความเป็นเอกภาพของการใช้พลังแผ่นดินต่อไป ตลอดจนขอให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพ-มหานคร และผู้ว่าราชการจังหวัด แจ้งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่ยึดถือเป็นหลักการในการดำเนินการเกี่ยวกับพลังแผ่นดิน และประชาสัมพันธ์ให้ผู้ประสานพลังแผ่นดินปฏิบัติภารกิจในการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดอย่างต่อเนื่องรวมถึงการแก้ไขปัญหาอื่น ๆ ของชาติ โดยยึดถือขนบธรรมเนียมประเพณีของท้องถิ่นเพื่อให้ประชาชนมีส่วนร่วมอย่างแพร่หลายกว้างขวาง และร่วมเป็นพลังแผ่นดินอย่างแท้จริง
2. เรื่อง ความก้าวหน้าการจัดตั้งชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคี
ตามที่ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) ได้เห็นชอบให้กระทรวงมหาดไทยจัดตั้งชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคีในพื้นที่อำเภอ/กิ่งอำเภอ และเขตทุกแห่ง โดยมีหลักการที่การนำจุดแข็งขององค์กรต่าง ๆ มาผนึกกำลังกันเพื่อให้เป็นองค์กรของภาคประชาชนในพื้นที่ในการส่งเสริมสนับสนุนผลักดันและขับเคลื่อนนโยบายของรัฐบาลให้ปรากฏผลดีอย่างชัดเจนเป็นรูปธรรม นั้น
กระทรวงมหาดไทยได้ซักซ้อมความเข้าใจให้จังหวัดและกรุงเทพมหานคร ส่งเสริมสนับสนุนและอำนวยการให้มีการจัดตั้งชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคีให้ครบทุกพื้นที่ภายในสิ้นเดือนเมษายน 2547 โดยกำหนดเป้าหมายในการจัดตั้งออกเป็น 3 ระยะ คือ
ภายในวันที่ 15 มีนาคม 2547 จัดตั้งให้ครบร้อยละ 50
ภายในวันที่ 15 เมษายน 2547 จัดตั้งให้ครบร้อยละ 80
ภายในสิ้นเดือนเมษายน 2547 จัดตั้งให้ครบทุกพื้นที่
ขณะนี้ได้รับรายงานการจัดตั้งชมรมฯ แล้ว 217 แห่ง จำนวนสมาชิก 173,522 คน และอยู่ระหว่างการดำเนินการจัดตั้งอีก 659 แห่ง
3. เรื่อง การจัดโครงการหรือกิจกรรมเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถเนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 ของชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคี
เนื่องในโอกาสพระราชพิธีมหามงคล เฉลิมพระชนมพรรษา 6 รอบ 12 สิงหาคม 2547 สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์พระบรมราชินีนาถ กระทรวงมหาดไทย โดยกองอำนวยการประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติดได้แจ้งให้ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครและผู้ว่าราชการจังหวัดทุกจังหวัดมอบผู้อำนวยการเขต นายอำเภอ ปลัดอำเภอผู้เป็นหัวหน้าประจำกิ่งอำเภอ ร่วมประชุมกับชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคี จัดให้มีโครงการ/กิจกรรมสาธารณประโยชน์ เช่น กิจกรรมเกี่ยวกับการแก้ไขปัญหายาเสพติด การส่งเสริมศีลธรรม วัฒนธรรม การรักษาความสวยงามการรักษาสิ่งแวดล้อม อย่างน้อยชมรมละ 1 โครงการ/กิจกรรม โดยให้เป็นไปตามมติร่วมกันของสมาชิกชมรมให้ถือเป็นเรื่องสำคัญ และเป็นสิริมงคลอย่างสูงยิ่งของสมาชิกชมรม โดยรวบรวมโครงการ/กิจกรรม ส่งให้กระทรวงมหาดไทยภายในสิ้นเดือนเมษายน 2547 เพื่อจะได้ประชาสัมพันธ์และดำเนินการในส่วนเกี่ยวข้องต่อไป
4. เรื่อง โครงการมอบทุนการศึกษาแก่บุตรผู้ประสานพลังแผ่นดิน
ผู้ประสานพลังแผ่นดินคือ ประชาชนที่มีจิตสำนึกต่อชาติ ต้องการให้ประเทศชาติมีความเข้มแข็ง มีความภาคภูมิใจในความเป็นไทย อยากเห็นสังคมที่ลูกหลานโตมาเป็นสังคมที่ปลอดยาเสพติด การปฏิบัติหน้าที่อยู่ในความเสี่ยง ไม่มีอาวุธ ไม่มีเงินเดือน ซึ่งขณะนี้ทั่วประเทศมีผู้ประสานพลังแผ่นดินรวมทั้งสิ้น 2,830,895 คน ผลจากการปฏิบัติงานของผู้ประสานพลังแผ่นดินทั่วประเทศ มีส่วนทำให้การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดประสบผลสำเร็จเป็นอย่างดียิ่งจนนายกรัฐมนตรีได้ประกาศชัยชนะสงครามยาเสพติดเมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 ที่ผ่านมา
นายกรัฐมนตรีได้ให้นโยบายในการสนับสนุนทุนการศึกษาแก่บุตรผู้ประสานพลังแผ่นดินในพิธีเปิดปฏิบัติการพลังแผ่นดินร่วมกวาดล้างยาเสพติดครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2547 เพื่อเป็นการแสดงความขอบคุณผู้ประสานพลังแผ่นดินที่เสียสละและยังแสดงให้เห็นว่า "คนที่เสียสละให้บ้านเมืองยังมีความหวังว่าลูกเขาถ้าประพฤติดีก็จะมีความก้าวหน้าในชีวิตได้" โดยมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นผู้รับผิดชอบ
กระทรวงมหาดไทยได้มอบหมายให้กรมการปกครองในฐานะสำนักงานกองอำนวยการประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด จัดทำโครงการมอบทุนการศึกษาแก่บุตรผู้ประสานพลังแผ่นดิน โดยมีรายละเอียดประกอบด้วย
1) วัตถุประสงค์ เพื่อส่งเสริมสนับสนุนการศึกษาของบุตรผู้ประสานพลังแผ่นดิน ตลอดจนเป็นการสร้างขวัญกำลังใจให้แก่ผู้ประสานพลังแผ่นดิน โดยจัดสรรให้ในระดับตำบลและเทศบาล แยกเป็น ระดับตำบลจำนวน7,255 ตำบล ระดับเทศบาล จำนวน 1,134 เทศบาล รวม 8,389 ตำบล/เทศบาล รวมทั้งสิ้น 25,167 ทุน เป็นจำนวนเงิน167,780,000 บาท
2) ทุนการศึกษา เป็นการให้ทุนการศึกษาในแต่ละปี แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่
- ระดับประถมศึกษา จำนวน 8,389 ทุน ๆ ละ 4,000 บาท
- ระดับมัธยมศึกษาหรือเทียบเท่า จำนวน 8,389 ทุน ๆ ละ 6,000 บาท
- ระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่า จำนวน 8,389 ทุน ๆ ละ 10,000 บาท
3) ผลที่คาดว่าจะได้รับ บุตรผู้ประสานพลังแผ่นดินมีโอกาสได้รับทุนการศึกษาในระดับที่สูงขึ้นและต่อเนื่อง ผู้ประสานพลังแผ่นดินมีขวัญกำลังใจในการปฏิบัติหน้าที่ รวมทั้งเป็นการสนับสนุนให้ชมรมพลังแผ่นดินท้องถิ่นท้องที่สามัคคีมีการเคลื่อนไหวมีกิจกรรมตามวัตถุประสงค์ โดยสำนักงานกองอำนวยการประสานพลังแผ่นดินเอาชนะยาเสพติด/กระทรวงมหาดไทย ได้เสนอโครงการเพื่อขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล ขณะนี้เรื่องอยู่ระหว่างเตรียมการนำเข้าที่ประชุมของคณะกรรมการพัฒนายุทธศาสตร์สำหรับแก้ไขปัญหาเด็กยากจนและเด็กผู้ด้อยโอกาสซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) เป็นประธาน และสำนักงาน กอ.ปพส. ได้รายงานให้รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ทราบโดยตรงแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-