เรื่อง ร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้
สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 และสภาวการณ์ปัจจุบัน)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 และสภาวการณ์ปัจจุบัน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า บทบัญญัติมาตรา 11 ทวิ และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2543 ได้บัญญัติให้อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดราคาศุลกากรในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าราคาสำแดงของของที่นำเข้ามีราคาต่ำอย่างปรากฎชัดหรือไม่น่าจะเป็นมูลค่าอันแท้จริงหรือในกรณีที่ไม่ตกลงในเรื่องราคาศุลกากรสำหรับของอย่างใด ๆ และให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจรับของนั้นไว้เป็นค่าภาษีหรือจะซื้อของนั้นไว้ หรืออธิบดีและเจ้าของต่างตั้งอนุญาโตตุลาการมีจำนาวนเท่ากัน เป็นบทบัญญัติที่ขัดแย้งกับความตกลงในการนำมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 มาถือปฏิบัติ ตามพันธกรณีที่มีต่อองค์การการค้าโลก สมควรยกเลิกเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณี นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติอื่น ๆ ที่สมควรปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลการกรดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกบทบัญญัติที่ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการกำหนดราคาศุลกากรในกรณีที่พิจารณาเห็นว่า ราคาสำแดงของของที่นำเข้ามีราคาต่ำอย่างปรากำชัดหรือไม่น่าจะเป็นมูลค่าอันแท้จริง และบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีที่ไม่อาจตกลงกันในเรื่องราคาศุลกากรสำหรับของอย่างใด ๆ ให้อธิบดีมีอำนาจรับของไว้เป็นค่าภาษีหรือซื้อของนั้นไว้ หรืออธิบดีและเจ้าของต่างตั้งอนุญาโตตุลาการจำนวนเท่ากัน
2. แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการยึดสิ่งอันพึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรพระพุทธศักราช 2469 เป็นยึดหรืออายัดสิ่งอันจะพึงต้องริบตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3. เพิ่มเติมให้การนำของที่ยังมิได้เสียภาษี หรือของต้องห้าม หรือของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 27 ให้ถือเป็นความผิดโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้กระทำมีเจตนา หรือมีเจตนาจะแอค่าภาษี หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ และให้ริบของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิด โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ใดจะต้องรับโทษ
4. แก้ไขเพิ่มเติมให้มีการนำบทบัญญัติว่าด้วยการศุลกากรและอำนาจพนักงานศุกากรตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นในส่วนที่ว่าด้วยการตรวจและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร การตรวจค้น การยึด การริบของ หรือการจับกุมผู้กระทำความผิด การสำแดงเท็จ และการฟ้องร้อง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
5. แก้ไขเพิ่มเติมกรณีที่ส่งออกซึ่งหากเป็นของต้องห้ามมิให้นำเข้ามาให้ริบไว้เว้นแต่อธิบดีจะอนุญาตให้ส่งออกได้ เป็น ถ้ามีของต้องห้ามมิให้นำเข้ามาหรือมีของต้องจำกัดในการนำเข้า ให้ยึดของนั้นไว้เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่อธิบดีจะอนุมัติให้ส่งออกได้
6. เพิ่มเติมให้กรณีการกระทำหรือจัดหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ หรือยื่นหรือจัดให้ผู้อื่นซึ่งใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นความเท็จ ไม่สมบูรณ์ หรือชักพาให้ผิดหลง ตามมาตรา 99 ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่
7. ยกเลิกมาตรา 16 และมาตรา 17 เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 27 และมาตรา 99
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 และสภาวการณ์ปัจจุบัน)
คณะรัฐมนตรีอนุมัติหลักการร่างพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. (ปรับปรุงกฎหมายว่าด้วยศุลกากรให้สอดคล้องกับความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 และสภาวการณ์ปัจจุบัน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา โดยรับประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 7 (ฝ่ายกฎหมายฯ) ซึ่งมีรองนายกรัฐมนตรี (นายวิษณุ เครืองาม) เป็นประธาน และข้อสังเกตของสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีไปพิจารณาด้วย แล้วให้ส่งคณะกรรมการประสานงานสภาผู้แทนราษฎรพิจารณา ก่อนนำเสนอสภาผู้แทนราษฎรพิจารณาต่อไป
กระทรวงการคลังรายงานว่า บทบัญญัติมาตรา 11 ทวิ และมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร พระพุทธศักราช 2469 ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยมาตรา 5 และมาตรา 6 แห่งพระราชบัญญัติศุลกากร (ฉบับที่ 17) พ.ศ. 2543 ได้บัญญัติให้อธิบดีกรมศุลกากรกำหนดราคาศุลกากรในกรณีที่พิจารณาเห็นว่าราคาสำแดงของของที่นำเข้ามีราคาต่ำอย่างปรากฎชัดหรือไม่น่าจะเป็นมูลค่าอันแท้จริงหรือในกรณีที่ไม่ตกลงในเรื่องราคาศุลกากรสำหรับของอย่างใด ๆ และให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรมีอำนาจรับของนั้นไว้เป็นค่าภาษีหรือจะซื้อของนั้นไว้ หรืออธิบดีและเจ้าของต่างตั้งอนุญาโตตุลาการมีจำนาวนเท่ากัน เป็นบทบัญญัติที่ขัดแย้งกับความตกลงในการนำมาตรา 7 ของความตกลงทั่วไปว่าด้วยภาษีศุลกากรและการค้า 1994 มาถือปฏิบัติ ตามพันธกรณีที่มีต่อองค์การการค้าโลก สมควรยกเลิกเพื่อให้เป็นไปตามพันธกรณี นอกจากนี้ยังมีบทบัญญัติอื่น ๆ ที่สมควรปรับปรุงเพื่อให้เหมาะสมและสอดคล้องกับสภาวการณ์ปัจจุบัน จึงได้เสนอร่างพระราชบัญญัติดังกล่าว มาเพื่อดำเนินการ
ร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวเป็นการแก้ไขเพิ่มเติมกฎหมายว่าด้วยศุลการกรดังต่อไปนี้
1. ยกเลิกบทบัญญัติที่ให้อำนาจอธิบดีกรมศุลกากรในการกำหนดราคาศุลกากรในกรณีที่พิจารณาเห็นว่า ราคาสำแดงของของที่นำเข้ามีราคาต่ำอย่างปรากำชัดหรือไม่น่าจะเป็นมูลค่าอันแท้จริง และบทบัญญัติเกี่ยวกับกรณีที่ไม่อาจตกลงกันในเรื่องราคาศุลกากรสำหรับของอย่างใด ๆ ให้อธิบดีมีอำนาจรับของไว้เป็นค่าภาษีหรือซื้อของนั้นไว้ หรืออธิบดีและเจ้าของต่างตั้งอนุญาโตตุลาการจำนวนเท่ากัน
2. แก้ไขเพิ่มเติมกรณีการยึดสิ่งอันพึงต้องริบตามพระราชบัญญัติศุลกากรพระพุทธศักราช 2469 เป็นยึดหรืออายัดสิ่งอันจะพึงต้องริบตามกฎหมายว่าด้วยศุลกากร
3. เพิ่มเติมให้การนำของที่ยังมิได้เสียภาษี หรือของต้องห้าม หรือของที่ยังมิได้ผ่านศุลกากรโดยถูกต้องเข้ามาในราชอาณาจักรตามมาตรา 27 ให้ถือเป็นความผิดโดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้กระทำมีเจตนา หรือมีเจตนาจะแอค่าภาษี หรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่ และให้ริบของใด ๆ อันเนื่องด้วยความผิด โดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้ใดจะต้องรับโทษ
4. แก้ไขเพิ่มเติมให้มีการนำบทบัญญัติว่าด้วยการศุลกากรและอำนาจพนักงานศุกากรตามกฎหมายว่าด้วยการนั้นในส่วนที่ว่าด้วยการตรวจและป้องกันการลักลอบหนีศุลกากร การตรวจค้น การยึด การริบของ หรือการจับกุมผู้กระทำความผิด การสำแดงเท็จ และการฟ้องร้อง มาใช้บังคับโดยอนุโลม
5. แก้ไขเพิ่มเติมกรณีที่ส่งออกซึ่งหากเป็นของต้องห้ามมิให้นำเข้ามาให้ริบไว้เว้นแต่อธิบดีจะอนุญาตให้ส่งออกได้ เป็น ถ้ามีของต้องห้ามมิให้นำเข้ามาหรือมีของต้องจำกัดในการนำเข้า ให้ยึดของนั้นไว้เพื่อดำเนินคดี เว้นแต่อธิบดีจะอนุมัติให้ส่งออกได้
6. เพิ่มเติมให้กรณีการกระทำหรือจัดหรือยอมให้ผู้อื่นกระทำ หรือยื่นหรือจัดให้ผู้อื่นซึ่งใบขนสินค้า คำสำแดง ใบรับรอง บันทึกเรื่องราว หรือตราสารต่อพนักงานเจ้าหน้าที่อันเป็นความเท็จ ไม่สมบูรณ์ หรือชักพาให้ผิดหลง ตามมาตรา 99 ให้ถือว่าเป็นความผิดโดยไม่ต้องคำนึงว่าผู้กระทำมีเจตนาหรือกระทำโดยประมาทเลินเล่อหรือไม่
7. ยกเลิกมาตรา 16 และมาตรา 17 เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขเพิ่มเติม มาตรา 27 และมาตรา 99
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-