คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการปฏิบัติงานตามมาตรการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ปี 2547 และเห็นชอบให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องเร่งรัดดำเนินการตามยุทธศาสตร์และมาตรการที่สำคัญเร่งด่วน ตามที่ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนเสนอ ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การบังคับใช้กฎหมาย
1.1 มาตรการบังคับใช้กฎหมาย "3 ม 2 ข 1 ร" ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย มอเตอร์ไซค์ปลอดภัยเมาแล้วขับ ไม่มีใบขับขี่ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับรถเร็วเกินกำหนด ต้องดำเนินการมากขึ้น โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร่วมกันรับผิดชอบ กำหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน จำนวนวันตรวจเข้มต่อจำนวนรถ ต่อประชากรในพื้นที่ และต่อเครื่องมือที่มี กำหนดมาตรการให้รางวัลและลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยพิจารณาถึงผลการปฏิบัติงานตั้งจุดตรวจตามมาตรการ "3 ม 2 ข 1 ร" ความถี่ของการตั้งด่านตรวจจับ การดำเนินคดีจำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ในพื้นที่รับผิดชอบประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และในการปฏิบัติงานให้สนธิกำลังเพิ่มอาสาสมัครให้มีส่วนร่วมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานด้วย
การรณรงค์ควบคุมวินัยจราจรใน 6 พื้นที่ ได้แก่ สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจ สถานศึกษาสถานประกอบการและโรงงาน คิวรถจักรยานยนต์/รถรับจ้าง ตลาดและชุมชน ถนนทางเข้าออกสายหลักของจังหวัดต้องปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไป
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจังหวัดทุกจังหวัด
1.2 แบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบดูแลเส้นทางถนนทางหลวงแผ่นดิน ให้แก่ตำรวจทางหลวงมากขึ้น โดยเพิ่มทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขสามตัวให้อยู่ในความรับผิดชอบอีกประมาณ 5,000 กิโลเมตร (เดิมรับผิดชอบ 15,000 กิโลเมตร) เพื่อสามารถตรวจตราป้องปรามระงับพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย เช่น เมาแล้วขับรถขับรถเร็วเกินกำหนด ไม่สวมหมวกนิรภัย รถบรรทุกน้ำหนักเกิน โดยเพิ่มอัตรากำลังให้เพียงพอ ใช้อาสาสมัครเข้าช่วยเหลือและจัดหาเครื่องมือตรวจจับที่ทันสมัย เช่น เครื่องตรวจจับความเร็วชนิด LASER บันทึกภาพอัตโนมัติ และการจัดหาเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์เพิ่มเติมให้ เป็นต้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานตำรวจแห่งชาติกรมทางหลวง
1.3 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขกฎหมายด้านต่าง ๆ เร่งรัดดำเนินการ ได้แก่ การเพิ่มโทษเมาแล้วขับรถ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) การให้ผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรไปทำงานสาธารณะ ทำงานบริการสังคม(กรมคุมประพฤติ) การเจาะเลือดผู้ประสบอุบัติเหตุ (คณะอนุกรรมการฯ) การจัดตั้งศาลจราจร (สำนักงานศาลยุติธรรม)การควบคุมบริโภคสุรา (กระทรวงสาธารณสุข) การบันทึกคะแนน (ตัดแต้ม) และอบรมทดสอบผู้ขับขี่ (กรมการขนส่งทางบก) ฯลฯ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบไว้แล้ว (มติ 29 กรกฎาคม 2546 และมติ 6 มกราคม 2547)ต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2. ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และการมีส่วนร่วม
เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมีวินัยจราจร ซึ่งนำไปสู่การลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุได้อย่างแท้จริง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
2.1 ให้หน่วยงานและจังหวัดเร่งรัดในการประชาสัมพันธ์ ดังนี้
1) ในส่วนกลางมอบให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบ และประสานขอความร่วมมือ มูลนิธิ องค์กร ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพให้การสนับสนุนงบประมาณ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่6 มกราคม 2547
2. ในระดับจังหวัดมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบ โดยบูรณาการใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์ภายในจังหวัดที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณและดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด และใช้กระบวนการประชาคมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนให้เกิดความตระหนัก มีวินัยจราจรและปฏิบัติตามกฎหมาย โดยมีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2.2 ให้สถานศึกษาทุกแห่งเป็นตัวอย่างการมีวินัยจราจรและปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องจัดระเบียบวินัยการจราจรของนักเรียน นักศึกษาของสถาบันอย่างจริงจัง โดยให้ความรู้ด้านจราจรและรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่นักเรียน นักศึกษา ตระหนักถึงความปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งวิทยากรไปอบรมให้ความรู้ กำหนดมาตรการลงโทษให้แก่ผู้ฝ่าฝืน เช่น ตัดคะแนนความประพฤติ พักการเรียน ทั้งนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะต้องให้นักเรียน นักศึกษามีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการสวมหมวกนิรภัย เป็นต้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดทุกจังหวัด กรมการขนส่งทางบก ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน สสส.
3. ยุทธศาสตร์การด้านวิศวกรรมจราจร
3.1 ให้จังหวัดสำรวจข้อมูลถนนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จุดที่เป็นอันตราย ทางโค้ง ทางแยก ป้ายสัญญาณ ป้ายเตือน ป้ายบอกเส้นทาง แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางดังกล่าวไปดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยจังหวัดจะต้องติดตามผลการดำเนินการดังกล่าว
3.2 ให้จัดทำระบบประมวลผลสาเหตุของปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร (รถและถนน) ในแต่ละจังหวัดเพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบทั่วทั้งประเทศ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : จังหวัดทุกจังหวัด กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมการขนส่งทางบก
4. ยุทธศาสตร์ด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
4.1 ให้โรงพยาบาลจัดเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุในที่เกิดเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 จัดการฝึกอบรมอาสาสมัครและเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุโดยระบบ EMS อย่างถูกหลักวิชาการเพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพให้มีการประสานงานการปฏิบัติร่วมกับศูนย์นเรนทร โดยวางระบบการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5. ยุทธศาสตร์ด้านการประเมินผลและพัฒนาระบบข้อมูล
5.1 ให้ฝ่ายเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน จัดระบบติดตามประเมินผลเพื่อสามารถควบคุม สั่งการและแสดงผลชี้วัดการปฏิบัติงานตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริหารใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและสั่งการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนตามสาเหตุที่แท้จริง
5.2 ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด มอบให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบ รายงานให้ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนทราบทุกระยะ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำหรับสรุปผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2547ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ดังนี้
1. ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 9 - 18 เมษายน 2547 รวม 10 วัน
2. จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น 25,533 ครั้ง
- เสียชีวิต 654 คน (ลดลงจากปี 2546 จำนวน 194 คน ต่ำกว่าค่าคาดคะเนปี 2547 จำนวน 277 คน)
- บาดเจ็บ 36,642 คน (ลดลงจากปี 2546 จำนวน 15,416 คน ต่ำกว่าค่าคาดคะเนปี 2547 จำนวน 20,482 คน)
3. จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิต ลดลง 48 จังหวัด เท่าเดิม 8 จังหวัด เพิ่มขึ้น 20 จังหวัด
4. จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บ ลดลง 68 จังหวัด เพิ่มขึ้น 8 จังหวัด
5. ตั้งจุดตรวจทุกวัน ทั่วประเทศ จำนวน 4,563 - 6,676 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานวันละ จำนวน87,833 - 116,015 คน เรียกตรวจตามมาตรการ "3 ม 2 ข 1 ร" จำนวน 9,871,186 คัน ดำเนินคดี 508,523 รายแยกเป็น ไม่สวมหมวกนิรภัย 168,606 ราย ไม่มีใบขับขี่ 166,252 ราย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 93,106 ราย มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย 41,754 ราย เมาแล้วขับ 28,040 ราย ขับรถเร็วเกินกำหนด 10,765 ราย
6. มูลเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ช่วง 10 วัน เทศกาลสงกรานต์ปี 2547
6.1 คน
1) สาเหตุ ขับรถโดยประมาท ร้อยละ 70.10 ขับรถเร็ว ร้อยละ 25.77 อื่น ๆ ร้อยละ 4.13
2) เพศ ชาย ร้อยละ 76.02 หญิง ร้อยละ 23.98
3) อายุ ต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 9.23 15 - 19 ปี ร้อยละ 11.45 20 - 24 ปี ร้อยละ 19.1525 - 29 ปี ร้อยละ 13.85 30 - 39 ปี ร้อยละ 15.56 40 - 49 ปี ร้อยละ 13.16 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.61
6.2 รถ มอเตอไซค์ ร้อยละ 66.49 รถปิกอัพ ร้อยละ 14.81 รถเก๋ง/แท็กซี่ ร้อยละ 4.94 รถตู้ร้อยละ 0.88 รถโดยสาร 4 ล้อขึ้นไป ร้อยละ 1.23 รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ร้อยละ 1.23 อื่น ๆ ร้อยละ 10.41
6.3 พฤติกรรมเสี่ยง ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 53.77 เมาสุรา ร้อยละ 34.22 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 12.01
6.4 ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ เวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 23.68 เวลา 20.01 - 24.00 น. ร้อยละ17.88 เวลา 00.01 - 04.00 น. ร้อยละ 14.07 เวลา 04.01 - 08.00 น. ร้อยละ 12.09 เวลา 08.01 - 12.00 น.ร้อยละ 12.25 เวลา 12.01 - 16.00 น. ร้อยละ 20.03
6.5 ถนนที่เกิดเหตุ ทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 49.22 ทางหลวงชนบท ร้อยละ 10.74 ในเมือง(เทศบาล) ร้อยละ 11.63 ท้องถิ่น (อบต.) ร้อยละ 23.71 อื่น ๆ ร้อยละ 4.70
7. จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เหนถึงความสำเร็จของมาตรการที่ได้วางไว้ และการนำมาตรการไปสู่การปฏิบัติ พบว่า
7.1 ยุทธศาสตร์และมาตรการบังคับใช้กฎหมาย ได้มีการปฏิบัติตามมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในหลายจังหวัด โดยมีการเรียกตรวจมาก และจับกุมดำเนินคดีมาก โดยเฉพาะการเรียกตรวจแอลกอฮอล์เป็นมูลเหตุทำให้อุบัติเหตุทางถนนลดลงอย่างชัดเจน แต่ในบางจังหวัดที่มีการบังคับใช้กฎหมายเรียกตรวจจับกุมดำเนินคดีน้อยทำให้อุบัติเหตุยังคงมีค่อนข้างอัตราสูง
ในด้านการตรวจจับความเร็วดำเนินการได้น้อย เนื่องจากยังขาดเครื่องมือ ประกอบกับการดูแลรับผิดชอบบนถนนทางหลวงแผ่นดิน ตำรวจทางหลวง ดูแลรับผิดชอบเพียง 15,000 กิโลเมตร (ทางหลวงเลขตัวเดียวและสองตัว) ควรมอบให้ตำรวจทางหลวงรับผิดชอบดูแลถนนทางหลวงแผ่นดินเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 5,000 กิโลเมตร เพื่อดูแลทางหลวงสายรองระหว่างอำเภอกับอำเภอ (ที่มีเลขสามตัว) ที่มีการใช้รถใช้ถนนมากด้วย นอกจากนั้น ต้องจำกัดความเร็วรถปิกอัพที่มีผู้โดยสารนั่งท้ายกระบะมิให้ใช้ความเร็วเกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก (ปัจจุบันกฎหมายกำหนดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
7.2 ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรมจราจร ถนนทางหลวงแผ่นดินทั้งสายหลักและสายรองมีป้ายสัญญาณเตือนจุดเสี่ยงอันตรายน้อย โดยเฉพาะบนถนนทางหลวงชนบทและถนนในเขตเทศบาล/ถนน อบต. ที่มีทางแยก/ทางเชื่อม ต้องมีการสำรวจและปรับปรุงแก้ไข เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนผู้ใช้เส้นทางทราบเป็นระยะ ๆ
7.3 ยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ ประชาชนให้ความร่วมมือมากขึ้น สื่อมวลชนมีความตื่นตัวให้ความสนใจในปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเสนอข่าวและบทบความอย่างต่อเนื่อง องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในความปลอดภัยทางถนนนอกจากนั้นยังให้ความเห็นแจ้งเบาะแสวิจารณ์การทำงานทำให้มีการปรับแผนเป็นระยะ
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มเยาวชนช่วงอายุต่ำกว่า 29 ปีลงมา ยังคงเป็นกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมากที่สุด และมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนน เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย เมาสุราแล้วขับรถ ใช้ความเร็วเกินกำหนด ขับรถโดยประมาท และไม่มีใบอนุญาตขับขี่ จำเป็นต้องสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
สำหรับยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและด้านระบบข้อมูล ได้มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานและมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดีขึ้น ถึงแม้จะมีปัญหาด้านการประสานงานบ้าง จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อความสมบูรณ์ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ยุทธศาสตร์การบังคับใช้กฎหมาย
1.1 มาตรการบังคับใช้กฎหมาย "3 ม 2 ข 1 ร" ได้แก่ ไม่สวมหมวกนิรภัย มอเตอร์ไซค์ปลอดภัยเมาแล้วขับ ไม่มีใบขับขี่ ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ขับรถเร็วเกินกำหนด ต้องดำเนินการมากขึ้น โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัดแบบบูรณาการ (CEO) และผู้บังคับการตำรวจภูธรจังหวัดร่วมกันรับผิดชอบ กำหนดตัวชี้วัดการปฏิบัติงาน จำนวนวันตรวจเข้มต่อจำนวนรถ ต่อประชากรในพื้นที่ และต่อเครื่องมือที่มี กำหนดมาตรการให้รางวัลและลงโทษเจ้าหน้าที่ผู้รับผิดชอบ โดยพิจารณาถึงผลการปฏิบัติงานตั้งจุดตรวจตามมาตรการ "3 ม 2 ข 1 ร" ความถี่ของการตั้งด่านตรวจจับ การดำเนินคดีจำนวนอุบัติเหตุ ผู้เสียชีวิต ผู้บาดเจ็บ ในพื้นที่รับผิดชอบประกอบการพิจารณา ทั้งนี้ ต้องมีการดำเนินการอย่างต่อเนื่องสม่ำเสมอ และในการปฏิบัติงานให้สนธิกำลังเพิ่มอาสาสมัครให้มีส่วนร่วมช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ตำรวจในการปฏิบัติงานด้วย
การรณรงค์ควบคุมวินัยจราจรใน 6 พื้นที่ ได้แก่ สถานที่ราชการและรัฐวิสาหกิจ สถานศึกษาสถานประกอบการและโรงงาน คิวรถจักรยานยนต์/รถรับจ้าง ตลาดและชุมชน ถนนทางเข้าออกสายหลักของจังหวัดต้องปฏิบัติอย่างจริงจังต่อไป
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานตำรวจแห่งชาติจังหวัดทุกจังหวัด
1.2 แบ่งมอบหน้าที่ความรับผิดชอบดูแลเส้นทางถนนทางหลวงแผ่นดิน ให้แก่ตำรวจทางหลวงมากขึ้น โดยเพิ่มทางหลวงแผ่นดินที่มีหมายเลขสามตัวให้อยู่ในความรับผิดชอบอีกประมาณ 5,000 กิโลเมตร (เดิมรับผิดชอบ 15,000 กิโลเมตร) เพื่อสามารถตรวจตราป้องปรามระงับพฤติกรรมเสี่ยงทั้งหลาย เช่น เมาแล้วขับรถขับรถเร็วเกินกำหนด ไม่สวมหมวกนิรภัย รถบรรทุกน้ำหนักเกิน โดยเพิ่มอัตรากำลังให้เพียงพอ ใช้อาสาสมัครเข้าช่วยเหลือและจัดหาเครื่องมือตรวจจับที่ทันสมัย เช่น เครื่องตรวจจับความเร็วชนิด LASER บันทึกภาพอัตโนมัติ และการจัดหาเครื่องตรวจวัดแอลกอฮอล์เพิ่มเติมให้ เป็นต้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานตำรวจแห่งชาติกรมทางหลวง
1.3 ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบแก้ไขกฎหมายด้านต่าง ๆ เร่งรัดดำเนินการ ได้แก่ การเพิ่มโทษเมาแล้วขับรถ (สำนักงานตำรวจแห่งชาติ) การให้ผู้กระทำผิดกฎหมายจราจรไปทำงานสาธารณะ ทำงานบริการสังคม(กรมคุมประพฤติ) การเจาะเลือดผู้ประสบอุบัติเหตุ (คณะอนุกรรมการฯ) การจัดตั้งศาลจราจร (สำนักงานศาลยุติธรรม)การควบคุมบริโภคสุรา (กระทรวงสาธารณสุข) การบันทึกคะแนน (ตัดแต้ม) และอบรมทดสอบผู้ขับขี่ (กรมการขนส่งทางบก) ฯลฯ ตามที่คณะรัฐมนตรีมีมติให้ความเห็นชอบไว้แล้ว (มติ 29 กรกฎาคม 2546 และมติ 6 มกราคม 2547)ต้องเร่งรัดดำเนินการให้แล้วเสร็จโดยเร็ว
2. ยุทธศาสตร์การประชาสัมพันธ์ ให้ความรู้ และการมีส่วนร่วม
เพื่อให้ประชาชนผู้ใช้รถใช้ถนนได้ตระหนักถึงความสำคัญและความจำเป็นในการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย และมีวินัยจราจร ซึ่งนำไปสู่การลดความสูญเสียจากอุบัติเหตุได้อย่างแท้จริง ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
2.1 ให้หน่วยงานและจังหวัดเร่งรัดในการประชาสัมพันธ์ ดังนี้
1) ในส่วนกลางมอบให้กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์เป็นผู้รับผิดชอบ และประสานขอความร่วมมือ มูลนิธิ องค์กร ภาคเอกชน เครือข่ายภาคประชาชน ได้มีส่วนร่วมในการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ โดยสำนักงานกองทุนการสร้างเสริมสุขภาพให้การสนับสนุนงบประมาณ ตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่6 มกราคม 2547
2. ในระดับจังหวัดมอบให้ผู้ว่าราชการจังหวัดรับผิดชอบ โดยบูรณาการใช้เครื่องมือประชาสัมพันธ์ภายในจังหวัดที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด ทั้งนี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นต้องมีส่วนร่วมสนับสนุนงบประมาณและดำเนินการตามมาตรการที่กำหนด และใช้กระบวนการประชาคมเพื่อประชาสัมพันธ์ให้ความรู้แก่ประชาชนในพื้นที่โดยเฉพาะกลุ่มเยาวชนให้เกิดความตระหนัก มีวินัยจราจรและปฏิบัติตามกฎหมาย โดยมีการดำเนินการอย่างจริงจังและต่อเนื่อง
2.2 ให้สถานศึกษาทุกแห่งเป็นตัวอย่างการมีวินัยจราจรและปฏิบัติตามกฎหมาย ต้องจัดระเบียบวินัยการจราจรของนักเรียน นักศึกษาของสถาบันอย่างจริงจัง โดยให้ความรู้ด้านจราจรและรณรงค์สร้างจิตสำนึกให้แก่นักเรียน นักศึกษา ตระหนักถึงความปลอดภัยและปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยประสานความร่วมมือจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดส่งวิทยากรไปอบรมให้ความรู้ กำหนดมาตรการลงโทษให้แก่ผู้ฝ่าฝืน เช่น ตัดคะแนนความประพฤติ พักการเรียน ทั้งนี้ ถือเป็นความรับผิดชอบของผู้บริหารสถานศึกษาที่จะต้องให้นักเรียน นักศึกษามีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างจริงจัง โดยเฉพาะการสวมหมวกนิรภัย เป็นต้น
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมประชาสัมพันธ์ กระทรวงศึกษาธิการ จังหวัดทุกจังหวัด กรมการขนส่งทางบก ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น สำนักงาน สสส.
3. ยุทธศาสตร์การด้านวิศวกรรมจราจร
3.1 ให้จังหวัดสำรวจข้อมูลถนนที่เกิดอุบัติเหตุบ่อยครั้ง จุดที่เป็นอันตราย ทางโค้ง ทางแยก ป้ายสัญญาณ ป้ายเตือน ป้ายบอกเส้นทาง แล้วแจ้งให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเส้นทางดังกล่าวไปดำเนินการแก้ไขให้แล้วเสร็จภายใน 3 เดือน โดยจังหวัดจะต้องติดตามผลการดำเนินการดังกล่าว
3.2 ให้จัดทำระบบประมวลผลสาเหตุของปัญหาด้านวิศวกรรมจราจร (รถและถนน) ในแต่ละจังหวัดเพื่อให้ปรับปรุงแก้ไขอย่างเป็นระบบทั่วทั้งประเทศ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : จังหวัดทุกจังหวัด กรมทางหลวง กรมทางหลวงชนบท องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) กรมการขนส่งทางบก
4. ยุทธศาสตร์ด้านระบบการแพทย์ฉุกเฉิน
4.1 ให้โรงพยาบาลจัดเตรียมความพร้อมในการช่วยเหลือผู้ประสบอุบัติเหตุในที่เกิดเหตุอย่างมีประสิทธิภาพ
4.2 จัดการฝึกอบรมอาสาสมัครและเพิ่มศักยภาพในการช่วยเหลือผู้ประสบภัยเบื้องต้น ณ จุดเกิดเหตุโดยระบบ EMS อย่างถูกหลักวิชาการเพื่อลดจำนวนผู้เสียชีวิตหรือทุพพลภาพให้มีการประสานงานการปฏิบัติร่วมกับศูนย์นเรนทร โดยวางระบบการทำงานร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : กระทรวงสาธารณสุข กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย
5. ยุทธศาสตร์ด้านการประเมินผลและพัฒนาระบบข้อมูล
5.1 ให้ฝ่ายเลขานุการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน จัดระบบติดตามประเมินผลเพื่อสามารถควบคุม สั่งการและแสดงผลชี้วัดการปฏิบัติงานตามมาตรการต่าง ๆ เพื่อให้ผู้บริหารใช้ประโยชน์ในการกำหนดนโยบายและสั่งการแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนตามสาเหตุที่แท้จริง
5.2 ในการประเมินผลการปฏิบัติงาน ทั้งส่วนกลางและระดับจังหวัด มอบให้ผู้ตรวจราชการสำนักนายกรัฐมนตรี เป็นผู้รับผิดชอบ รายงานให้ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนนทราบทุกระยะ
หน่วยงานที่รับผิดชอบ : ศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี กระทรวงมหาดไทย กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงคมนาคม กระทรวงศึกษาธิการ สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
สำหรับสรุปผลการปฏิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนช่วงเทศกาลสงกรานต์ปี 2547ของศูนย์อำนวยการความปลอดภัยทางถนน ได้ดังนี้
1. ระยะเวลาปฏิบัติงาน ตั้งแต่วันที่ 9 - 18 เมษายน 2547 รวม 10 วัน
2. จำนวนอุบัติเหตุที่เกิดขึ้น 25,533 ครั้ง
- เสียชีวิต 654 คน (ลดลงจากปี 2546 จำนวน 194 คน ต่ำกว่าค่าคาดคะเนปี 2547 จำนวน 277 คน)
- บาดเจ็บ 36,642 คน (ลดลงจากปี 2546 จำนวน 15,416 คน ต่ำกว่าค่าคาดคะเนปี 2547 จำนวน 20,482 คน)
3. จังหวัดที่มีผู้เสียชีวิต ลดลง 48 จังหวัด เท่าเดิม 8 จังหวัด เพิ่มขึ้น 20 จังหวัด
4. จังหวัดที่มีผู้บาดเจ็บ ลดลง 68 จังหวัด เพิ่มขึ้น 8 จังหวัด
5. ตั้งจุดตรวจทุกวัน ทั่วประเทศ จำนวน 4,563 - 6,676 จุด เจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานวันละ จำนวน87,833 - 116,015 คน เรียกตรวจตามมาตรการ "3 ม 2 ข 1 ร" จำนวน 9,871,186 คัน ดำเนินคดี 508,523 รายแยกเป็น ไม่สวมหมวกนิรภัย 168,606 ราย ไม่มีใบขับขี่ 166,252 ราย ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย 93,106 ราย มอเตอร์ไซค์ไม่ปลอดภัย 41,754 ราย เมาแล้วขับ 28,040 ราย ขับรถเร็วเกินกำหนด 10,765 ราย
6. มูลเหตุของการเกิดอุบัติเหตุ ช่วง 10 วัน เทศกาลสงกรานต์ปี 2547
6.1 คน
1) สาเหตุ ขับรถโดยประมาท ร้อยละ 70.10 ขับรถเร็ว ร้อยละ 25.77 อื่น ๆ ร้อยละ 4.13
2) เพศ ชาย ร้อยละ 76.02 หญิง ร้อยละ 23.98
3) อายุ ต่ำกว่า 15 ปี ร้อยละ 9.23 15 - 19 ปี ร้อยละ 11.45 20 - 24 ปี ร้อยละ 19.1525 - 29 ปี ร้อยละ 13.85 30 - 39 ปี ร้อยละ 15.56 40 - 49 ปี ร้อยละ 13.16 50 ปีขึ้นไป ร้อยละ 17.61
6.2 รถ มอเตอไซค์ ร้อยละ 66.49 รถปิกอัพ ร้อยละ 14.81 รถเก๋ง/แท็กซี่ ร้อยละ 4.94 รถตู้ร้อยละ 0.88 รถโดยสาร 4 ล้อขึ้นไป ร้อยละ 1.23 รถบรรทุก 6 ล้อขึ้นไป ร้อยละ 1.23 อื่น ๆ ร้อยละ 10.41
6.3 พฤติกรรมเสี่ยง ไม่สวมหมวกนิรภัย ร้อยละ 53.77 เมาสุรา ร้อยละ 34.22 ไม่คาดเข็มขัดนิรภัย ร้อยละ 12.01
6.4 ช่วงเวลาที่เกิดเหตุ เวลา 16.01 - 20.00 น. ร้อยละ 23.68 เวลา 20.01 - 24.00 น. ร้อยละ17.88 เวลา 00.01 - 04.00 น. ร้อยละ 14.07 เวลา 04.01 - 08.00 น. ร้อยละ 12.09 เวลา 08.01 - 12.00 น.ร้อยละ 12.25 เวลา 12.01 - 16.00 น. ร้อยละ 20.03
6.5 ถนนที่เกิดเหตุ ทางหลวงแผ่นดิน ร้อยละ 49.22 ทางหลวงชนบท ร้อยละ 10.74 ในเมือง(เทศบาล) ร้อยละ 11.63 ท้องถิ่น (อบต.) ร้อยละ 23.71 อื่น ๆ ร้อยละ 4.70
7. จากตัวเลขดังกล่าวข้างต้น ชี้ให้เหนถึงความสำเร็จของมาตรการที่ได้วางไว้ และการนำมาตรการไปสู่การปฏิบัติ พบว่า
7.1 ยุทธศาสตร์และมาตรการบังคับใช้กฎหมาย ได้มีการปฏิบัติตามมาตรการบังคับใช้กฎหมายอย่างจริงจังในหลายจังหวัด โดยมีการเรียกตรวจมาก และจับกุมดำเนินคดีมาก โดยเฉพาะการเรียกตรวจแอลกอฮอล์เป็นมูลเหตุทำให้อุบัติเหตุทางถนนลดลงอย่างชัดเจน แต่ในบางจังหวัดที่มีการบังคับใช้กฎหมายเรียกตรวจจับกุมดำเนินคดีน้อยทำให้อุบัติเหตุยังคงมีค่อนข้างอัตราสูง
ในด้านการตรวจจับความเร็วดำเนินการได้น้อย เนื่องจากยังขาดเครื่องมือ ประกอบกับการดูแลรับผิดชอบบนถนนทางหลวงแผ่นดิน ตำรวจทางหลวง ดูแลรับผิดชอบเพียง 15,000 กิโลเมตร (ทางหลวงเลขตัวเดียวและสองตัว) ควรมอบให้ตำรวจทางหลวงรับผิดชอบดูแลถนนทางหลวงแผ่นดินเพิ่มขึ้นจากเดิมอีก 5,000 กิโลเมตร เพื่อดูแลทางหลวงสายรองระหว่างอำเภอกับอำเภอ (ที่มีเลขสามตัว) ที่มีการใช้รถใช้ถนนมากด้วย นอกจากนั้น ต้องจำกัดความเร็วรถปิกอัพที่มีผู้โดยสารนั่งท้ายกระบะมิให้ใช้ความเร็วเกิน 80 กิโลเมตร/ชั่วโมง เพราะเมื่อเกิดอุบัติเหตุทำให้มีผู้เสียชีวิตและบาดเจ็บแต่ละครั้งเป็นจำนวนมาก (ปัจจุบันกฎหมายกำหนดความเร็วไม่เกิน 90 กิโลเมตร/ชั่วโมง)
7.2 ยุทธศาสตร์ด้านวิศวกรรมจราจร ถนนทางหลวงแผ่นดินทั้งสายหลักและสายรองมีป้ายสัญญาณเตือนจุดเสี่ยงอันตรายน้อย โดยเฉพาะบนถนนทางหลวงชนบทและถนนในเขตเทศบาล/ถนน อบต. ที่มีทางแยก/ทางเชื่อม ต้องมีการสำรวจและปรับปรุงแก้ไข เพื่อประชาสัมพันธ์แจ้งเตือนประชาชนผู้ใช้เส้นทางทราบเป็นระยะ ๆ
7.3 ยุทธศาสตร์ด้านการประชาสัมพันธ์ ประชาชนให้ความร่วมมือมากขึ้น สื่อมวลชนมีความตื่นตัวให้ความสนใจในปัญหาอุบัติเหตุทางถนนเสนอข่าวและบทบความอย่างต่อเนื่อง องค์กรเครือข่ายภาคประชาชนให้ความร่วมมือ ช่วยเหลือรณรงค์ประชาสัมพันธ์ในหลายรูปแบบเพื่อให้ประชาชนเกิดความตระหนักในความปลอดภัยทางถนนนอกจากนั้นยังให้ความเห็นแจ้งเบาะแสวิจารณ์การทำงานทำให้มีการปรับแผนเป็นระยะ
อย่างไรก็ตาม ในกลุ่มเยาวชนช่วงอายุต่ำกว่า 29 ปีลงมา ยังคงเป็นกลุ่มที่ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจราจรมากที่สุด และมีพฤติกรรมเสี่ยงในการใช้รถใช้ถนน เช่น ไม่สวมหมวกนิรภัย เมาสุราแล้วขับรถ ใช้ความเร็วเกินกำหนด ขับรถโดยประมาท และไม่มีใบอนุญาตขับขี่ จำเป็นต้องสื่อไปยังกลุ่มเป้าหมายดังกล่าวให้ตรงจุดมากยิ่งขึ้น
สำหรับยุทธศาสตร์ด้านการบำบัดรักษาและด้านระบบข้อมูล ได้มีการปรับปรุงการปฏิบัติงานและมีการบูรณาการระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดีขึ้น ถึงแม้จะมีปัญหาด้านการประสานงานบ้าง จึงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขเพื่อความสมบูรณ์ต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 20 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-