คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การลดการใช้พลาสติกและโฟม ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟม ในระหว่างเดือนธันวาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 โดยประเมินผลและรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. มาตรการระยะสั้น
1.1 มาตรการจัดการพลาสติกและโฟมในอุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ออกประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน2546 เรื่อง การนำบรรจุภัณฑ์เข้าไปในบริเวณพื้นที่ควบคุมพิเศษในอุทยานแห่งชาติ โดยให้อุทยานแห่งชาติทุกแห่งดำเนินการประกาศกำหนดพื้นที่ที่ต้องการควบคุมพิเศษในการนำบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก แก้ว อลูมิเนียม หรือวัสดุที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภทเข้าไป และดำเนินการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ KU-Greenเพื่อนำไปใช้ในอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ
1.2 มาตรการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันรณรงค์ประชา-สัมพันธ์การลดการใช้พลาสติกและโฟม โดยจัดทำแผ่นพับ ป้ายผ้า คัทเอ๊าท์ และดำเนินการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า สถาบันการศึกษา โรงแรม ที่พักอาศัย และในชุมชนต่าง ๆ ส่งเสริมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของพลาสติกและโฟม สำหรับนักเรียน นักศึกษา ออกประกาศเทศบาลเรื่อง การลดการใช้พลาสติกและโฟม ฝึกอบรมและจัดกิจกรรมรณรงค์การคัดแยกมูลฝอยให้กับนักเรียน นักศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม จัดนิทรรศการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ด้านการลดและคัดแยกมูลฝอยในงานนิทรรศการต่าง ๆ รวมทั้งการแจ้งมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การลดการใช้พลาสติกและโฟม เพื่อให้ประชาชนทราบและร่วมมือในการดำเนินงานของภาครัฐ
1.3 มาตรการด้านเทคโนโลยี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟม โดยจัดให้อยู่ในกิจการผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร และกิจการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารซึ่งกิจการทั้ง 2 ประเภท จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งในเขตใด
1.4 มาตรการด้านกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษได้มอบหมายให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการยกร่างกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ ได้นำเสนอสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ ซึ่งรวมของเสียประเภทพลาสติกและโฟม รวมทั้งแนวทางการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ และขณะนี้โครงการความร่วมมือไทย - เยอรมนี โดย German TechnicalCooperation (GIZ) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำปรึกษาด้านการจัดการทั้งระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบการผลิต การบริโภค และการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น
2. มาตรการระยะยาว ได้แก่ มาตรการจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกและโฟมในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ มาตรการข้อกำหนดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำจากพลาสติกใช้แล้ว และมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์นั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการของกรมควบคุมมลพิษได้นำเสนอผลการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สภาพการจัดการผลิตภัณฑ์พลาสติกในปัจจุบัน รวมทั้งกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานเบื้องต้น ซึ่งเป็นประเด็นการพิจารณาความเป็นไปได้ในการบังคับใช้ และผลกระทบที่เกิดจากการนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ และจะจัดให้มีการประชุมพิจารณากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป ก่อนนำแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยกรมควบคุมมลพิษ รายงานความก้าวหน้าผลการดำเนินการตามมาตรการลดการใช้พลาสติกและโฟม ในระหว่างเดือนธันวาคม 2546 - กุมภาพันธ์ 2547 โดยประเมินผลและรวบรวมข้อมูลจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1. มาตรการระยะสั้น
1.1 มาตรการจัดการพลาสติกและโฟมในอุทยานแห่งชาติ และแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติ โดยกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ได้ออกประกาศกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช ลงวันที่ 7 พฤศจิกายน2546 เรื่อง การนำบรรจุภัณฑ์เข้าไปในบริเวณพื้นที่ควบคุมพิเศษในอุทยานแห่งชาติ โดยให้อุทยานแห่งชาติทุกแห่งดำเนินการประกาศกำหนดพื้นที่ที่ต้องการควบคุมพิเศษในการนำบรรจุภัณฑ์ที่ทำจากพลาสติก แก้ว อลูมิเนียม หรือวัสดุที่มีผลกระทบต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมทุกประเภทเข้าไป และดำเนินการจัดซื้อผลิตภัณฑ์ KU-Greenเพื่อนำไปใช้ในอุทยานแห่งชาติต่าง ๆ
1.2 มาตรการด้านการรณรงค์ประชาสัมพันธ์ หน่วยงานที่รับผิดชอบ ได้แก่ กระทรวงมหาดไทยกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการ และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ร่วมกันรณรงค์ประชา-สัมพันธ์การลดการใช้พลาสติกและโฟม โดยจัดทำแผ่นพับ ป้ายผ้า คัทเอ๊าท์ และดำเนินการประชาสัมพันธ์เสียงตามสายหอกระจายข่าวประจำหมู่บ้าน ห้างสรรพสินค้า สถาบันการศึกษา โรงแรม ที่พักอาศัย และในชุมชนต่าง ๆ ส่งเสริมการรณรงค์ประชาสัมพันธ์เกี่ยวกับประโยชน์และโทษของพลาสติกและโฟม สำหรับนักเรียน นักศึกษา ออกประกาศเทศบาลเรื่อง การลดการใช้พลาสติกและโฟม ฝึกอบรมและจัดกิจกรรมรณรงค์การคัดแยกมูลฝอยให้กับนักเรียน นักศึกษาเพื่อส่งเสริมการมีส่วนร่วมในการรักษาสิ่งแวดล้อม จัดนิทรรศการส่งเสริมเผยแพร่ความรู้ด้านการลดและคัดแยกมูลฝอยในงานนิทรรศการต่าง ๆ รวมทั้งการแจ้งมติคณะรัฐมนตรี เรื่อง การลดการใช้พลาสติกและโฟม เพื่อให้ประชาชนทราบและร่วมมือในการดำเนินงานของภาครัฐ
1.3 มาตรการด้านเทคโนโลยี คณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนได้มีการส่งเสริมการผลิตผลิตภัณฑ์ที่ทำจากวัสดุธรรมชาติทดแทนการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติกและโฟม โดยจัดให้อยู่ในกิจการผลิตภัณฑ์จากผลพลอยได้หรือเศษวัสดุทางการเกษตร และกิจการผลิตวัสดุบรรจุภัณฑ์สำหรับอาหารซึ่งกิจการทั้ง 2 ประเภท จัดเป็นกิจการที่ให้ความสำคัญเป็นพิเศษ และยกเว้นภาษีเงินได้นิติบุคคลเป็นเวลา 8 ปี ไม่ว่าจะตั้งในเขตใด
1.4 มาตรการด้านกฎหมาย กรมควบคุมมลพิษได้มอบหมายให้ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการยกร่างกฎหมายการจัดการของเสียบรรจุภัณฑ์ ได้นำเสนอสภาพปัญหาและแนวทางการจัดการขยะบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ ซึ่งรวมของเสียประเภทพลาสติกและโฟม รวมทั้งแนวทางการกำหนดแผนยุทธศาสตร์ด้านการจัดการบรรจุภัณฑ์และของเสียบรรจุภัณฑ์ และขณะนี้โครงการความร่วมมือไทย - เยอรมนี โดย German TechnicalCooperation (GIZ) ได้จัดส่งผู้เชี่ยวชาญมาให้คำแนะนำปรึกษาด้านการจัดการทั้งระบบ ตั้งแต่ขั้นตอนการออกแบบการผลิต การบริโภค และการจัดการของเสียที่เกิดขึ้น
2. มาตรการระยะยาว ได้แก่ มาตรการจัดการบรรจุภัณฑ์พลาสติกและโฟมในห้างสรรพสินค้าและร้านสะดวกซื้อ มาตรการข้อกำหนดผลิตภัณฑ์สำเร็จรูปทำจากพลาสติกใช้แล้ว และมาตรการด้านเศรษฐศาสตร์นั้น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ซึ่งเป็นที่ปรึกษาโครงการของกรมควบคุมมลพิษได้นำเสนอผลการรวบรวมข้อมูลและวิเคราะห์สภาพการจัดการผลิตภัณฑ์พลาสติกในปัจจุบัน รวมทั้งกำหนดกรอบแนวทางการดำเนินงานเบื้องต้น ซึ่งเป็นประเด็นการพิจารณาความเป็นไปได้ในการบังคับใช้ และผลกระทบที่เกิดจากการนำมาตรการดังกล่าวไปใช้ในทางปฏิบัติ และจะจัดให้มีการประชุมพิจารณากับผู้ที่เกี่ยวข้อง เช่น ผู้ประกอบการ และประชาชนทั่วไป ก่อนนำแนวทางและมาตรการต่าง ๆ ไปใช้ได้อย่างเหมาะสมและเป็นรูปธรรมต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-