คณะรัฐมนตรีเห็นชอบหลักการร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน และการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา พ.ศ. …. และร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. รวม 2 ฉบับ ตามที่กระทรวงแรงงานเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน และการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา พ.ศ. …. มีสาระสำคัญกำหนดกลุ่มคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่จะขอรับใบอนุญาตทำงานและสถานที่ยื่นคำขอ และกำหนดแบบคำขอใบอนุญาต และเอกสารประกอบการยื่นคำขอ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอใบอนุญาตต่าง ๆ
แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ มีสาระสำคัญในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะที่หนึ่ง (มิถุนายน - ตุลาคม 2547) ผ่อนผันให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (สัญชาติพม่าลาว และกัมพูชา) อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ขณะที่ยังมีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง
1.1 การจัดทำทะเบียนราษฎรคนต่างด้าวโดยการจัดทำทะเบียนราษฎร พิมพ์ลายนิ้วมือ และออกเลขประจำตัวต่างด้าว 13 หลัก และให้คนต่างด้าวมีสถานะเป็นผู้อยู่ระหว่างรอการส่งกลับ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา มาจัดทำทะเบียนราษฎรคนต่างด้าวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีประกอบกับพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
1.2 การรับจดทะเบียนนายจ้างเพื่อทราบจำนวนความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวที่แท้จริง นายจ้างรายใดที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด จะจ้างแรงงานต่างด้าวไม่ได้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงานและกำหนดแบบการจดทะเบียนนายจ้างเรียบร้อยแล้ว
1.3 การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพเพื่อการขออนุญาตทำงาน
1.4 การอนุญาตให้คนต่างด้าวที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับทำงานนายจ้างที่จดทะเบียนไว้ ตามจำนวนที่ได้รับอนุญาตและประเภทกิจการที่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำได้ 2 งาน คือ งานคนรับใช้ในบ้านและงานกรรมกรซึ่งกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ออกประกาศกำหนดงานที่จะให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับทำงานได้
2) ยกร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา พ.ศ. ….
3) ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1.5 การป้องกันและสกัดกั้นการเข้ามาใหม่ มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าภาพดำเนินการป้องกันและสกัดกั้นการเข้ามาของแรงงานต่างด้าวรายใหม่
2. ระยะที่สอง การปรับเปลี่ยนสถานะให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย (มีผลในทางปฏิบัติก่อนเดือนมิถุนายน 2548) โดยดำเนินการ ดังนี้
2.1 การเจรจากับประเทศคู่ภาคี (ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา) เพื่อให้การดำเนินการจ้างแรงงานต่างด้าว มีผลในทางปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) ตามที่รัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงไว้
2.2 การปรับเปลี่ยนสถานะให้เป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา ดำเนินการพิสูจน์และรับรองสถานะคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับ โดยการออกหนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล และกระทรวงการต่างประเทศหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองออกวีซ่าให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานเป็นกรรมกรหรือรับจ้างตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 ให้กระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 12 (1) และมาตรา 12 (3) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
2.3 การอนุญาตทำงานให้กับคนต่างด้าวที่ปรับเปลี่ยนสถานะเป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะได้ยกร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำต่อไป
2.4 การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าว (Levy) เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าว (Levy) จากนายจ้าง และได้หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับข้อเสนอแนะว่า ควรยกร่างพระราชบัญญัติการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าวเป็นการเฉพาะต่อไป
2.5 การอนุญาตให้เข้ามาทำงานแบบขาเข้า - กลับเย็น เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจาร่วมกับประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อกำหนดเอกสารการเข้าเมืองและแนวทางการปฏิบัติร่วมกันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
ร่างกฎกระทรวงกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงาน และการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติ พม่า ลาว และกัมพูชา พ.ศ. …. มีสาระสำคัญกำหนดกลุ่มคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่จะขอรับใบอนุญาตทำงานและสถานที่ยื่นคำขอ และกำหนดแบบคำขอใบอนุญาต และเอกสารประกอบการยื่นคำขอ
ร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. …. มีสาระสำคัญกำหนดอัตราค่าธรรมเนียมในการยื่นคำขอใบอนุญาตต่าง ๆ
แนวทางการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวทั้งระบบ มีสาระสำคัญในการบริหารจัดการแรงงานต่างด้าวแบ่งการดำเนินการเป็น 2 ระยะ คือ
1. ระยะที่หนึ่ง (มิถุนายน - ตุลาคม 2547) ผ่อนผันให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมือง (สัญชาติพม่าลาว และกัมพูชา) อาศัยอยู่ในราชอาณาจักรเป็นการชั่วคราว ขณะที่ยังมีสถานะเป็นผู้หลบหนีเข้าเมือง
1.1 การจัดทำทะเบียนราษฎรคนต่างด้าวโดยการจัดทำทะเบียนราษฎร พิมพ์ลายนิ้วมือ และออกเลขประจำตัวต่างด้าว 13 หลัก และให้คนต่างด้าวมีสถานะเป็นผู้อยู่ระหว่างรอการส่งกลับ เป็นระยะเวลาไม่เกิน 1 ปี และไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรา 54 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 และกระทรวงมหาดไทยได้ยกร่างประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา มาจัดทำทะเบียนราษฎรคนต่างด้าวโดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมือง พ.ศ. 2522 ตามความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีประกอบกับพระราชบัญญัติการทะเบียนราษฎร พ.ศ. 2534
1.2 การรับจดทะเบียนนายจ้างเพื่อทราบจำนวนความต้องการจ้างแรงงานต่างด้าวที่แท้จริง นายจ้างรายใดที่ไม่ได้จดทะเบียนไว้ในช่วงระยะเวลาที่กำหนด จะจ้างแรงงานต่างด้าวไม่ได้ กระทรวงแรงงานได้ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงานและกำหนดแบบการจดทะเบียนนายจ้างเรียบร้อยแล้ว
1.3 การตรวจสุขภาพและประกันสุขภาพเพื่อการขออนุญาตทำงาน
1.4 การอนุญาตให้คนต่างด้าวที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับทำงานนายจ้างที่จดทะเบียนไว้ ตามจำนวนที่ได้รับอนุญาตและประเภทกิจการที่อนุญาตให้คนต่างด้าวทำได้ 2 งาน คือ งานคนรับใช้ในบ้านและงานกรรมกรซึ่งกระทรวงแรงงานได้ดำเนินการในส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนี้
1) ยกร่างประกาศกระทรวงแรงงาน โดยอาศัยอำนาจตามมาตรา 12 แห่งพระราชบัญญัติการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ. 2521 ออกประกาศกำหนดงานที่จะให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับทำงานได้
2) ยกร่างกฎกระทรวงเพื่อกำหนดแบบ หลักเกณฑ์ และวิธีการในการขอรับใบอนุญาตทำงานและการออกใบอนุญาตทำงานสำหรับคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองสัญชาติพม่า ลาว และกัมพูชา พ.ศ. ….
3) ยกร่างกฎกระทรวงกำหนดค่าธรรมเนียมการทำงานของคนต่างด้าว (ฉบับที่ ..) พ.ศ. ….
1.5 การป้องกันและสกัดกั้นการเข้ามาใหม่ มอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นเจ้าภาพดำเนินการป้องกันและสกัดกั้นการเข้ามาของแรงงานต่างด้าวรายใหม่
2. ระยะที่สอง การปรับเปลี่ยนสถานะให้คนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองเป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมาย (มีผลในทางปฏิบัติก่อนเดือนมิถุนายน 2548) โดยดำเนินการ ดังนี้
2.1 การเจรจากับประเทศคู่ภาคี (ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา) เพื่อให้การดำเนินการจ้างแรงงานต่างด้าว มีผลในทางปฏิบัติตามบันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (MOU) ตามที่รัฐบาลไทยได้ทำข้อตกลงไว้
2.2 การปรับเปลี่ยนสถานะให้เป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายเพื่อให้ประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา ดำเนินการพิสูจน์และรับรองสถานะคนต่างด้าวหลบหนีเข้าเมืองที่อยู่ระหว่างรอการส่งกลับ โดยการออกหนังสือเดินทาง (Passport) หรือเอกสารรับรองบุคคล และกระทรวงการต่างประเทศหรือสำนักงานตรวจคนเข้าเมืองออกวีซ่าให้อยู่ในราชอาณาจักร โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อการทำงานเป็นกรรมกรหรือรับจ้างตามมาตรา 17 แห่งพระราชบัญญัติคนเข้าเมืองพ.ศ. 2522 ให้กระทรวงมหาดไทยโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรี ออกประกาศกระทรวงมหาดไทยเพื่อยกเว้นการบังคับใช้มาตรา 12 (1) และมาตรา 12 (3) ของพระราชบัญญัติดังกล่าว
2.3 การอนุญาตทำงานให้กับคนต่างด้าวที่ปรับเปลี่ยนสถานะเป็นผู้เข้าเมืองโดยถูกต้องตามกฎหมายซึ่งจะได้ยกร่างแก้ไขพระราชกฤษฎีกากำหนดงานในอาชีพ และวิชาชีพที่ห้ามคนต่างด้าวทำต่อไป
2.4 การเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าว (Levy) เนื่องจากไม่มีกฎหมายรองรับให้มีการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าว (Levy) จากนายจ้าง และได้หารือกับคณะกรรมการกฤษฎีกาได้รับข้อเสนอแนะว่า ควรยกร่างพระราชบัญญัติการจัดเก็บค่าธรรมเนียมการใช้แรงงานต่างด้าวเป็นการเฉพาะต่อไป
2.5 การอนุญาตให้เข้ามาทำงานแบบขาเข้า - กลับเย็น เห็นควรให้กระทรวงการต่างประเทศและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเจรจาร่วมกับประเทศพม่า ลาว และกัมพูชา เพื่อกำหนดเอกสารการเข้าเมืองและแนวทางการปฏิบัติร่วมกันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-