คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่องการกำหนดอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล (ร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. ….) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอแล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบให้กำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล (กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา) ลูกบาศก์เมตรละ 8.50 บาท โดยทยอยขึ้นไตรมาสละ 1.00 บาทต่อลูกบาศก์เมตร
2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแก้ไขตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ในข้อ 1. แล้วดำเนินการต่อไปได้
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในอนาคต ตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ไปศึกษาและพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
3.1 คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบันในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ชั้นบาดาลจนอาจทำให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน หรือการแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาลหรือการลดตัวลงของระดับน้ำในชั้นน้ำบาดาล หรือผลกระทบสำคัญอื่นต่อสิ่งแวดล้อม จึงเห็นควรกำหนดอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล (กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา) ลูกบาศก์เมตรละ 8.50 บาท โดยทยอยขึ้นไตรมาสละ 1.00 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอเพิ่มเติม และต่อไปในอนาคตให้กระทรวงทรัพยากร- ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคิดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลให้เหมาะสมในอัตราสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับเขตที่มีระบบประปาผิวดิน เนื่องจากการใช้น้ำบาดาลเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.2 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า การกำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลควรเปรียบเทียบกับการเก็บค่าใช้น้ำประปาและควรคิดค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำบาดาล ซึ่งได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมไปด้วย และกรณีการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ที่ติดกับทะเล เช่น เกาะต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของความเค็มจากน้ำทะเลเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาลในที่ดินบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว จึงควรเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย
3.2 อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลชี้แจงว่า ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) ไปตรวจเยี่ยมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้นโยบายและข้อสั่งการในเรื่องการกำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลว่า ควรใช้หลักการผู้ใดก่อให้เกิดความเสียหายผู้นั้นจะต้องเป็นผู้จ่าย (PPP: Polluter Pays Principle) เพื่อนำเงินที่เรียกเก็บได้มาใช้ในการศึกษา วิจัย พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลและสิ่งแวดล้อมในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล โดยไม่ได้นำภาษีอากรของทุกคนมารับภาระการแก้ไขปัญหานี้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ มีดังนี้
1. ประเภทการใช้น้ำบาดาลมี 3 ประเภท
2. การกำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
3. การคำนวณค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบให้กำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล (กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี ปทุมธานี สมุทรสาคร นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา) ลูกบาศก์เมตรละ 8.50 บาท โดยทยอยขึ้นไตรมาสละ 1.00 บาทต่อลูกบาศก์เมตร
2. อนุมัติหลักการร่างกฎกระทรวง ฉบับที่ .. (พ.ศ. .... ) ออกตามความในพระราชบัญญัติน้ำบาดาล พ.ศ. 2520 ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณาแก้ไขตามมติคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตร ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ในข้อ 1. แล้วดำเนินการต่อไปได้
3. ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรับความเห็นเกี่ยวกับการกำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในอนาคต ตามประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) ไปศึกษาและพิจารณาดำเนินการต่อไป ดังนี้
3.1 คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.2 (ฝ่ายการเกษตรทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม) พิจารณาแล้วเห็นว่า เนื่องจากปัจจุบันในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล มีการสูบน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ในปริมาณที่มากเกินกว่าปริมาณน้ำที่ไหลลงสู่ชั้นบาดาลจนอาจทำให้เกิดการทรุดตัวของแผ่นดิน หรือการแพร่กระจายของน้ำเค็มเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาลหรือการลดตัวลงของระดับน้ำในชั้นน้ำบาดาล หรือผลกระทบสำคัญอื่นต่อสิ่งแวดล้อม จึงเห็นควรกำหนดอัตราค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล (กรุงเทพมหานคร สมุทรปราการ นนทบุรี สมุทรสาคร นครปฐม และพระนครศรีอยุธยา) ลูกบาศก์เมตรละ 8.50 บาท โดยทยอยขึ้นไตรมาสละ 1.00 บาท ต่อลูกบาศก์เมตร ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอเพิ่มเติม และต่อไปในอนาคตให้กระทรวงทรัพยากร- ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมคิดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลให้เหมาะสมในอัตราสูงสุดเมื่อเปรียบเทียบกับเขตที่มีระบบประปาผิวดิน เนื่องจากการใช้น้ำบาดาลเป็นการทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
3.2 ผู้แทนสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเห็นว่า การกำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลควรเปรียบเทียบกับการเก็บค่าใช้น้ำประปาและควรคิดค่าใช้จ่ายในการใช้น้ำบาดาล ซึ่งได้ทำลายทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรวมไปด้วย และกรณีการใช้น้ำบาดาลในพื้นที่ที่ติดกับทะเล เช่น เกาะต่าง ๆ ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยว จะทำให้เกิดการแพร่กระจายของความเค็มจากน้ำทะเลเข้าสู่ชั้นน้ำบาดาลในที่ดินบริเวณใกล้เคียงกับแหล่งท่องเที่ยวดังกล่าว จึงควรเก็บค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วย
3.2 อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำบาดาลชี้แจงว่า ในโอกาสที่นายกรัฐมนตรี (พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร) ไปตรวจเยี่ยมกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้ให้นโยบายและข้อสั่งการในเรื่องการกำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลว่า ควรใช้หลักการผู้ใดก่อให้เกิดความเสียหายผู้นั้นจะต้องเป็นผู้จ่าย (PPP: Polluter Pays Principle) เพื่อนำเงินที่เรียกเก็บได้มาใช้ในการศึกษา วิจัย พัฒนาและอนุรักษ์แหล่งน้ำบาดาลและสิ่งแวดล้อมในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล โดยไม่ได้นำภาษีอากรของทุกคนมารับภาระการแก้ไขปัญหานี้
สาระสำคัญของร่างกฎกระทรวงฯ มีดังนี้
1. ประเภทการใช้น้ำบาดาลมี 3 ประเภท
2. การกำหนดค่าอนุรักษ์น้ำบาดาลในเขตวิกฤตการณ์น้ำบาดาล
3. การคำนวณค่าอนุรักษ์น้ำบาดาล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-