เรื่อง รายงานการศึกษาและวิเคราะห์โครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้าง บริหารและประกอบการ
ท่าเทียบเรือ A3 และท่าเทียบเรือในโครงการท่าเรือแหลมฉบับ ขั้นที่ 2 ที่เหลือ
(ท่าเทียบเรือ C1, C2, D1, D2 และ D3)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้าง บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ A3 และท่าเทียบเรือในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ที่เหลือ (ท่าเทียบเรือ C1,C2,D1,D2 และ D3) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. กระทรวงคมนาคมไขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาโครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้าง บริหารและประกอบการท่าเรือท่าเทียบเรือ A3 รวมกับท่าเทียบเรือ ในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ที่เหลือ C1,C2,D1,D2 และ D3 เป็นโครงการเดียวกัน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
2. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทเอกชนเพื่อจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ทั้งสองโครงการตามข้อ 1 ซึ่งผลการทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
2.1 ความเป็นไปได้ทางการเงิน เห็นสมควรรวมท่าทั้งหมดเป็นโครงการเดียว เพราะมีผลตอบแทนทางการเงินสูง เนื่องจากทำให้การบริหารจัดการท่าเทียบเรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ความสามารถในการขนถ่ายสินค้าเพิ่มขึ้นจากเดิม 20% และยังทำให้เกิดการประหยัดในขนาด (Economy of Scale) ทั้งในด้านเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งนำไปสู่กระแสเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น
2.2 ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในการให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะท่าเทียบเรือที่มีขนาดความยาวหน้าท่าต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารท่าเทียบเรือ และติดตั้งอุปกรณ์ยกขนสินค้า และเพื่อสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่หลายลำในเวลาเดียวกัน
2.3 ความสอดคล้องของโครงการ ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543
3. กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว เห็นชอบรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และจากผลการพัฒนาและลงทุนของเอกชนในท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 เป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จของการพัฒนาเป็นอย่างดี
4. กระทรวงการคลัง พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้ความเห็นชอบ โดยมีเหตุผลประกอบสรุปได้ดังนี้
4.1 การลงทุนในโครงการ ฯ มีมูลค่าทั้งสิ้น 24,430.37 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินลงทุนในส่วน กทท. เป็นจำนวน 7,796.83 ล้านบาท เอกชนลงทุนเพิ่มเติมจำนวน 16,633.54 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท จึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 7 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว กทท. ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเบี้องต้นไว้แล้ว ดังนั้น จึงถือว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีสินทรัพย์อยู่แล้ว จึงต้องดำเนินการมาตรา 8 (2) และมาตรา 9 (2) (ก) ที่กำหนดให้กระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณานำเสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการต่อกระทรวงการคลัง และในกรณีที่กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับโครงการให้เสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบในหลักการต่อไป
4.2 โครงการมีความสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543
4.3 โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน ลดการลงทุนหรือการค้ำประกันของภาครัฐและประหยัดเวลาและลดต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) นอกจากนี้ยังสามารถสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ท่าเรือแหลมฉบังในการดึงดูดสินค้าของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และเสริมสร้างความได้เปรียบในภาคการส่งออกของประเทศ ซึ่งจะส่งผลทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าเรือหลักที่มีศักยภาพเป็นศูนย์กลาง (Hub) ในภูมิภาคต่อไป
4.4 การนำท่าเทียบเรือทั้งสองมารวมให้เป็นโครงการเดียวจะสามารถดึงดูดความสนใจของนักลงทุนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงการท่าเทียบเรือ A3 มีผลตอบแทนทางการเงินอยู่ในระดับที่ดี และสามารถดำเนินการท่าเทียบเรือ A3 ได้ภายใน 3 ปี นับจากวันลงนามในสัญญา และภายหลังการเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ที่เหลือทั้งหมด ผู้ประกอบการสามารถใช้ท่าเทียบเรือ A3 เป็นท่าเทียบเรือเสริมให้กับท่าเรือในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการท่าเทียบเรือได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
ท่าเทียบเรือ A3 และท่าเทียบเรือในโครงการท่าเรือแหลมฉบับ ขั้นที่ 2 ที่เหลือ
(ท่าเทียบเรือ C1, C2, D1, D2 และ D3)
คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการโครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้าง บริหารและประกอบการท่าเทียบเรือ A3 และท่าเทียบเรือในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ที่เหลือ (ท่าเทียบเรือ C1,C2,D1,D2 และ D3) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ
กระทรวงการคลังเสนอว่า
1. กระทรวงคมนาคมไขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาโครงการให้เอกชนลงทุนก่อสร้าง บริหารและประกอบการท่าเรือท่าเทียบเรือ A3 รวมกับท่าเทียบเรือ ในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ที่เหลือ C1,C2,D1,D2 และ D3 เป็นโครงการเดียวกัน และนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาอนุมัติในหลักการต่อไป เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535
2. การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) ได้ดำเนินการว่าจ้างบริษัทเอกชนเพื่อจัดทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์ทั้งสองโครงการตามข้อ 1 ซึ่งผลการทำรายงานการศึกษาและวิเคราะห์สรุปได้ดังนี้
2.1 ความเป็นไปได้ทางการเงิน เห็นสมควรรวมท่าทั้งหมดเป็นโครงการเดียว เพราะมีผลตอบแทนทางการเงินสูง เนื่องจากทำให้การบริหารจัดการท่าเทียบเรือมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ความสามารถในการขนถ่ายสินค้าเพิ่มขึ้นจากเดิม 20% และยังทำให้เกิดการประหยัดในขนาด (Economy of Scale) ทั้งในด้านเงินลงทุนและค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานและค่าดอกเบี้ยจ่าย ซึ่งนำไปสู่กระแสเงินสดสุทธิเพิ่มขึ้น
2.2 ความเป็นไปได้ทางเศรษฐกิจ จะเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพในการขนส่งสินค้าและเพิ่มศักยภาพในการแข่งขันของประเทศ และสามารถดึงดูดนักลงทุนต่างประเทศมาลงทุนในการให้บริการขนส่งสินค้าเพิ่มขึ้น เพราะท่าเทียบเรือที่มีขนาดความยาวหน้าท่าต่อเนื่องมากยิ่งขึ้น เพื่อให้สะดวกต่อการบริหารท่าเทียบเรือ และติดตั้งอุปกรณ์ยกขนสินค้า และเพื่อสามารถรองรับเรือขนาดใหญ่หลายลำในเวลาเดียวกัน
2.3 ความสอดคล้องของโครงการ ความสอดคล้องกับแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 9 (พ.ศ. 2545-2549) และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543
3. กระทรวงคมนาคมพิจารณาแล้ว เห็นชอบรายงานผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการฯ โดยให้ดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 และจากผลการพัฒนาและลงทุนของเอกชนในท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 1 เป็นสิ่งยืนยันความสำเร็จของการพัฒนาเป็นอย่างดี
4. กระทรวงการคลัง พิจารณาแล้ว เห็นสมควรให้ความเห็นชอบ โดยมีเหตุผลประกอบสรุปได้ดังนี้
4.1 การลงทุนในโครงการ ฯ มีมูลค่าทั้งสิ้น 24,430.37 ล้านบาท ประกอบด้วย เงินลงทุนในส่วน กทท. เป็นจำนวน 7,796.83 ล้านบาท เอกชนลงทุนเพิ่มเติมจำนวน 16,633.54 ล้านบาท ซึ่งมีมูลค่าเกิน 5,000 ล้านบาท จึงต้องดำเนินการตามขั้นตอนของพระราชบัญญัติว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมงานหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ พ.ศ. 2535 ตามมาตรา 7 ทั้งนี้ โครงการดังกล่าว กทท. ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐานเบี้องต้นไว้แล้ว ดังนั้น จึงถือว่าโครงการนี้เป็นโครงการที่มีสินทรัพย์อยู่แล้ว จึงต้องดำเนินการมาตรา 8 (2) และมาตรา 9 (2) (ก) ที่กำหนดให้กระทรวงเจ้าสังกัดพิจารณานำเสนอผลการศึกษาและวิเคราะห์โครงการต่อกระทรวงการคลัง และในกรณีที่กระทรวงการคลังเห็นด้วยกับโครงการให้เสนอ คณะรัฐมนตรีพิจารณาเห็นชอบในหลักการต่อไป
4.2 โครงการมีความสอดคล้องกับมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2529 และมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 22 สิงหาคม 2543
4.3 โครงการดังกล่าวสอดคล้องกับนโยบายของรัฐในการเพิ่มบทบาทของภาคเอกชน ลดการลงทุนหรือการค้ำประกันของภาครัฐและประหยัดเวลาและลดต้นทุนค่าเสียโอกาส (Opportunity cost) นอกจากนี้ยังสามารถสร้างศักยภาพในการแข่งขันให้แก่ท่าเรือแหลมฉบังในการดึงดูดสินค้าของประเทศเพื่อนบ้านในภูมิภาค และเสริมสร้างความได้เปรียบในภาคการส่งออกของประเทศ ซึ่งจะส่งผลทำให้ประเทศไทยสามารถพัฒนาท่าเรือแหลมฉบังให้เป็นท่าเรือหลักที่มีศักยภาพเป็นศูนย์กลาง (Hub) ในภูมิภาคต่อไป
4.4 การนำท่าเทียบเรือทั้งสองมารวมให้เป็นโครงการเดียวจะสามารถดึงดูดความสนใจของนักลงทุนมากยิ่งขึ้น เนื่องจากโครงการท่าเทียบเรือ A3 มีผลตอบแทนทางการเงินอยู่ในระดับที่ดี และสามารถดำเนินการท่าเทียบเรือ A3 ได้ภายใน 3 ปี นับจากวันลงนามในสัญญา และภายหลังการเปิดดำเนินการท่าเทียบเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ที่เหลือทั้งหมด ผู้ประกอบการสามารถใช้ท่าเทียบเรือ A3 เป็นท่าเทียบเรือเสริมให้กับท่าเรือในโครงการท่าเรือแหลมฉบัง ขั้นที่ 2 ซึ่งจะทำให้ผู้ประกอบการสามารถบริหารจัดการท่าเทียบเรือได้อย่างคล่องตัว และมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-