คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานการติดตามสถานการณ์ภัยธรรมชาติ (ด้านการเกษตร)
ในช่วงฤดูแล้งปี 2547 ช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2547 ดังนี้
1. การติดตามสภาวะอากาศและการแจ้งเตือนภัย
ดำเนินการติดตามสภาวะอากาศคาดหมายลักษณะอากาศทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ และแจ้งเตือนไปยังสำนักงาน
เกษตรและสหกรณ์จังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานีวิทยุกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
เกษตรกรทราบ เพื่อเตรียมการป้องกัน
ผลการดำเนินงาน ได้แจ้งเตือนภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งไปแล้ว จำนวน 19 ครั้ง โดยมีคำเตือนเกี่ยวกับ
พายุลมแรง มวลอากาศเย็น คลื่นลมแรง พายุฝนและลมกระโชกแรง พายุฤดูร้อน และลูกเห็บ ซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดความเสียหาย
ด้านการเกษตร
2. การกำหนดพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ
กรมชลประทานได้ประกาศให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ไปแล้ว 2 ครั้ง ปัจจุบันเกษตรกรเก็บเกี่ยว
แล้ว 2.16 ล้านไร่ และมีการปลูกข้าวนาปรัง ครั้งที่ 2 ไปแล้ว จำนวน 0.90 ล้านไร่ ในเขตจังหวัดพิจิตรพิษณุโลก ชัยนาท สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครนายก นครปฐมฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
แนวโน้มยังคงมีการปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบกับพื้นที่เป้าหมายและการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น กรมชลประทานได้แจ้งข่าวขอให้
เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปรัง เพราะจะส่งผลให้มีการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกรมชลประทานจะไม่สามารถจัดสรรน้ำให้ได้อย่าง
เพียงพอ
3. สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน
สภาพน้ำท่าในแม่น้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ยกเว้น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำชี
แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำปัตตานี สภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศเฉลี่ยประมาณร้อยละ 57 ของความจุเก็บกัก หรือ 38,608
ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2546 ในช่วงเวลาเดียวกันประมาณร้อยละ 14 ยกเว้น อ่างเก็บน้ำแม่กวงจังหวัดเชียงใหม่
อ่างเก็บน้ำกิ่วลม จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี และอ่างเก็บน้ำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร มีปริมาตรน้ำน้อยกว่า
ร้อยละ 30 ของความจุเก็บกัก แต่ก็สามารถบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอสำหรับพื้นที่ชลประทานในฤดูแล้งนี้ได้ หากมีการใช้น้ำอย่าง
ประหยัด
ผลการจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนการปลูกพืชฤดูแล้งในเขตโครงการเจ้าพระยาใหญ่ และพิษณุโลกจำนวน
4,759 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าแผน 83 ล้านลูกบาศก์เมตร
4. ผลการช่วยเหลือเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
- สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 730 เครื่อง ใน 39 จังหวัด ภาคเหนือ 275 เครื่อง (14 จังหวัด)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 208 เครื่อง (11 จังหวัด) ภาคกลาง 124 เครื่อง (6 จังหวัด) ภาคตะวันออก 91 เครื่อง (5 จังหวัด)
ภาคตะวันตก 30 เครื่อง (2 จังหวัด) ภาคใต้ 2 เครื่อง (1 จังหวัด) ช่วยเหลือพื้นที่นาปรัง 563,073 ไร่พืชไร่ 20,280 ไร่
- สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 23 เครื่อง ในบริเวณ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำพูนเชียงใหม่
นครสวรรค์ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชัยภูมิ มหาสารคาม และจังหวัดอุดรธานี
- สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ ช่วยเหลือด้านอุปโภค - บริโภค และสวนผลไม้ในภาคตะวันออกแล้วจำนวน 25 คัน
ในบริเวณ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ระยอง สระแก้ว และจังหวัดตราด
5. ผลการปฏิบัติการฝนหลวง
ดำเนินการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 8 ศูนย์ 9 ฐานบิน ในจังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลกจันทบุรี ระยอง
ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น และจังหวัดสงขลา และได้ตั้งฐานปฏิบัติงานย่อยจำนวน 3 ฐาน คือ จังหวัดสระแก้ว
บุรีรัมย์ และจังหวัดอุดรธานี มีหนังสือขอฝนจำนวน 26 ฉบับ เพื่อให้ปฏิบัติการใน24 จังหวัด ซึ่งได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้ว
ผลการปฏิบัติการช่วงวันที่ 19 - 25 เมษายน 2547 จำนวนการขึ้นบินปฏิบัติการ 112 เที่ยวบินมีฝนตก 33
จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัยพิษณุโลก กำแพงเพชร
นครสวรรค์ อุทัยธานี หนองคาย เลย อุดรธานี นครพนม สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคามกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ อุบลราชธานี
จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สงขลา พัทลุง ตรัง และจังหวัดสตูล
6. การเฝ้าระวังและเตือนศัตรูพืชระบาด
ดำเนินการแจ้งการเฝ้าระวังและเตือนศัตรูพืชระบาดของกรมวิชาการเกษตร ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์
จังหวัด แจ้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบทุกสัปดาห์ โดยแจ้งผ่านทาง E-mail และโทรสารจำนวน10 ครั้ง คือ การระบาดของ
หนอนกินช่อดอกเงาะ หนอนเจาะฝักข้าวโพด มวลลำไย หนอนเจาะผลทุเรียน เพลี้ยไฟพริกและเพลี้ยแป้งในเงาะ หนอนห่อใบข้าว
แมลงวันผลไม้ในมะม่วง ด้วงหนวดยาวในอ้อย เพลี้ยไฟในมังคุด แมลงดำหนามลงยอดมะพร้าว
7. สรุปพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับรายงานพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยในช่วงฤดูแล้ง ดังนี้
ประเภทภัย ช่วงเวลา ความเสียหาย (ไร่) หมายเหตุ
จังหวัด พื้นที่ประสบภัย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย
1. ภัยแล้ง 15 ม.ค.-19 เม.ย. 47 14* 677,566.00 390,569.00 *จังหวัดที่ประสบภัยและสำรวจ
2. วาตภัย 12 ม.ค.-20 เม.ย. 47 23 46,505.50 32,520.26 ความเสียหายแล้ว ส่วน
3. อัคคีภัย 12 ม.ค.-1 เม.ย. 47 11 879.00 747.00 จังหวัดอื่น ๆ อยู่ระหว่างสำรวจ
4. ศัตรูพืชระบาด 15 ม.ค.-5 เม.ย. 47 5 492,453.20 353,119.20
รวมทั้งหมด 53 1,217,403.70 776,955.46
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
ในช่วงฤดูแล้งปี 2547 ช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 26 เมษายน 2547 ดังนี้
1. การติดตามสภาวะอากาศและการแจ้งเตือนภัย
ดำเนินการติดตามสภาวะอากาศคาดหมายลักษณะอากาศทุกวันจันทร์ พุธ และศุกร์ และแจ้งเตือนไปยังสำนักงาน
เกษตรและสหกรณ์จังหวัด หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง สถานีวิทยุกรมส่งเสริมการเกษตร เพื่อประชาสัมพันธ์ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องและ
เกษตรกรทราบ เพื่อเตรียมการป้องกัน
ผลการดำเนินงาน ได้แจ้งเตือนภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้งไปแล้ว จำนวน 19 ครั้ง โดยมีคำเตือนเกี่ยวกับ
พายุลมแรง มวลอากาศเย็น คลื่นลมแรง พายุฝนและลมกระโชกแรง พายุฤดูร้อน และลูกเห็บ ซึ่งอาจมีผลทำให้เกิดความเสียหาย
ด้านการเกษตร
2. การกำหนดพื้นที่ปลูกพืชฤดูแล้งให้เหมาะสมกับปริมาณน้ำ
กรมชลประทานได้ประกาศให้เกษตรกรงดปลูกข้าวนาปรังครั้งที่ 2 ไปแล้ว 2 ครั้ง ปัจจุบันเกษตรกรเก็บเกี่ยว
แล้ว 2.16 ล้านไร่ และมีการปลูกข้าวนาปรัง ครั้งที่ 2 ไปแล้ว จำนวน 0.90 ล้านไร่ ในเขตจังหวัดพิจิตรพิษณุโลก ชัยนาท สิงห์บุรี
สุพรรณบุรี พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี นนทบุรี กรุงเทพมหานคร นครนายก นครปฐมฉะเชิงเทรา สมุทรปราการ และสมุทรสาคร
แนวโน้มยังคงมีการปลูกข้าวนาปรังเพิ่มขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบกับพื้นที่เป้าหมายและการใช้น้ำที่เพิ่มขึ้น กรมชลประทานได้แจ้งข่าวขอให้
เกษตรกรงดการปลูกข้าวนาปรัง เพราะจะส่งผลให้มีการใช้น้ำเพิ่มมากขึ้น ซึ่งกรมชลประทานจะไม่สามารถจัดสรรน้ำให้ได้อย่าง
เพียงพอ
3. สถานการณ์น้ำในปัจจุบัน
สภาพน้ำท่าในแม่น้ำต่าง ๆ ทั่วประเทศ โดยทั่วไปอยู่ในเกณฑ์ต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ยกเว้น แม่น้ำป่าสัก แม่น้ำชี
แม่น้ำบางปะกง และแม่น้ำปัตตานี สภาพน้ำอยู่ในเกณฑ์ปกติ
ปริมาตรน้ำในอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ทั่วประเทศเฉลี่ยประมาณร้อยละ 57 ของความจุเก็บกัก หรือ 38,608
ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งน้อยกว่าปี 2546 ในช่วงเวลาเดียวกันประมาณร้อยละ 14 ยกเว้น อ่างเก็บน้ำแม่กวงจังหวัดเชียงใหม่
อ่างเก็บน้ำกิ่วลม จังหวัดลำปาง อ่างเก็บน้ำทับเสลา จังหวัดอุทัยธานี และอ่างเก็บน้ำน้ำอูน จังหวัดสกลนคร มีปริมาตรน้ำน้อยกว่า
ร้อยละ 30 ของความจุเก็บกัก แต่ก็สามารถบริหารจัดการน้ำให้เพียงพอสำหรับพื้นที่ชลประทานในฤดูแล้งนี้ได้ หากมีการใช้น้ำอย่าง
ประหยัด
ผลการจัดสรรน้ำเพื่อสนับสนุนการปลูกพืชฤดูแล้งในเขตโครงการเจ้าพระยาใหญ่ และพิษณุโลกจำนวน
4,759 ล้านลูกบาศก์เมตร มากกว่าแผน 83 ล้านลูกบาศก์เมตร
4. ผลการช่วยเหลือเครื่องสูบน้ำและรถบรรทุกน้ำ
- สนับสนุนเครื่องสูบน้ำ 730 เครื่อง ใน 39 จังหวัด ภาคเหนือ 275 เครื่อง (14 จังหวัด)
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 208 เครื่อง (11 จังหวัด) ภาคกลาง 124 เครื่อง (6 จังหวัด) ภาคตะวันออก 91 เครื่อง (5 จังหวัด)
ภาคตะวันตก 30 เครื่อง (2 จังหวัด) ภาคใต้ 2 เครื่อง (1 จังหวัด) ช่วยเหลือพื้นที่นาปรัง 563,073 ไร่พืชไร่ 20,280 ไร่
- สนับสนุนเครื่องสูบน้ำเพื่อการอุปโภคบริโภค 23 เครื่อง ในบริเวณ 10 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดลำพูนเชียงใหม่
นครสวรรค์ ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี ปราจีนบุรี ชัยภูมิ มหาสารคาม และจังหวัดอุดรธานี
- สนับสนุนรถบรรทุกน้ำ ช่วยเหลือด้านอุปโภค - บริโภค และสวนผลไม้ในภาคตะวันออกแล้วจำนวน 25 คัน
ในบริเวณ 6 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดฉะเชิงเทรา ปราจีนบุรี จันทบุรี ระยอง สระแก้ว และจังหวัดตราด
5. ผลการปฏิบัติการฝนหลวง
ดำเนินการตั้งศูนย์ปฏิบัติการฝนหลวงจำนวน 8 ศูนย์ 9 ฐานบิน ในจังหวัดนครสวรรค์ พิษณุโลกจันทบุรี ระยอง
ประจวบคีรีขันธ์ เชียงใหม่ นครราชสีมา ขอนแก่น และจังหวัดสงขลา และได้ตั้งฐานปฏิบัติงานย่อยจำนวน 3 ฐาน คือ จังหวัดสระแก้ว
บุรีรัมย์ และจังหวัดอุดรธานี มีหนังสือขอฝนจำนวน 26 ฉบับ เพื่อให้ปฏิบัติการใน24 จังหวัด ซึ่งได้ดำเนินการให้เรียบร้อยแล้ว
ผลการปฏิบัติการช่วงวันที่ 19 - 25 เมษายน 2547 จำนวนการขึ้นบินปฏิบัติการ 112 เที่ยวบินมีฝนตก 33
จังหวัด คือ จังหวัดเชียงราย ลำพูน ลำปาง พะเยา เชียงใหม่ ตาก แม่ฮ่องสอน น่าน แพร่ อุตรดิตถ์ สุโขทัยพิษณุโลก กำแพงเพชร
นครสวรรค์ อุทัยธานี หนองคาย เลย อุดรธานี นครพนม สกลนคร ขอนแก่น มหาสารคามกาฬสินธุ์ ร้อยเอ็ด ชัยภูมิ อุบลราชธานี
จันทบุรี ชลบุรี ฉะเชิงเทรา สงขลา พัทลุง ตรัง และจังหวัดสตูล
6. การเฝ้าระวังและเตือนศัตรูพืชระบาด
ดำเนินการแจ้งการเฝ้าระวังและเตือนศัตรูพืชระบาดของกรมวิชาการเกษตร ให้สำนักงานเกษตรและสหกรณ์
จังหวัด แจ้งประชาสัมพันธ์ให้เกษตรกรทราบทุกสัปดาห์ โดยแจ้งผ่านทาง E-mail และโทรสารจำนวน10 ครั้ง คือ การระบาดของ
หนอนกินช่อดอกเงาะ หนอนเจาะฝักข้าวโพด มวลลำไย หนอนเจาะผลทุเรียน เพลี้ยไฟพริกและเพลี้ยแป้งในเงาะ หนอนห่อใบข้าว
แมลงวันผลไม้ในมะม่วง ด้วงหนวดยาวในอ้อย เพลี้ยไฟในมังคุด แมลงดำหนามลงยอดมะพร้าว
7. สรุปพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติในช่วงฤดูแล้ง
กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ได้รับรายงานพื้นที่การเกษตรที่ประสบภัยในช่วงฤดูแล้ง ดังนี้
ประเภทภัย ช่วงเวลา ความเสียหาย (ไร่) หมายเหตุ
จังหวัด พื้นที่ประสบภัย พื้นที่คาดว่าจะเสียหาย
1. ภัยแล้ง 15 ม.ค.-19 เม.ย. 47 14* 677,566.00 390,569.00 *จังหวัดที่ประสบภัยและสำรวจ
2. วาตภัย 12 ม.ค.-20 เม.ย. 47 23 46,505.50 32,520.26 ความเสียหายแล้ว ส่วน
3. อัคคีภัย 12 ม.ค.-1 เม.ย. 47 11 879.00 747.00 จังหวัดอื่น ๆ อยู่ระหว่างสำรวจ
4. ศัตรูพืชระบาด 15 ม.ค.-5 เม.ย. 47 5 492,453.20 353,119.20
รวมทั้งหมด 53 1,217,403.70 776,955.46
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-