คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการภาษีเพื่อพัฒนาตลาดทุน ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ โดยมีหลักการ ดังนี้
1. ขยายเวลาการให้บริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) เพื่อให้ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเดิมที่กำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2547 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ โดยให้ได้รับการลดอัตราภาษีจากร้อยละ 30 เหลือ
2.1 ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี กรณีนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่
2.2 ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี กรณีนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ภาษี กรณีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้
2.1 ผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถนำเงินได้ทุกประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพฯ โดยให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินและจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท ของปีภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จากเดิมที่กำหนดได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการนำเงินได้บางประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น
2.2 ผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพฯ จากเดิมที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะกรณีขายคืนเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไป หรือทุพพลภาพ หรือตายเท่านั้น
3. การให้สิทธิประโยชน์ภาษี สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้
3.1 กำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ที่จัดตั้งขึ้นและจำหน่ายหน่วยลงทุนครั้งแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาทของปีภาษีนั้น
3.2 กำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดามีเงินได้หรือผลประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี คืนให้กับกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ที่ได้รับ
3.3 การได้รับสิทธิในการลดหย่อนและยกเว้นภาษีข้างต้น ผู้ลงทุนจะต้องมีการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด หากมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขดังกล่าวจะหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษี และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับส่วนที่ได้รับยกเว้นมาแล้วให้ครบถ้วนต่อไป
สำหรับแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ประกอบด้วย
1. การขยายเวลาให้บริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ได้รับการลดตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องมีการตราเป็นพระราชกฎษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ
2. การผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ภาษี กรณีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพฯ และการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ จะต้องมีการออกกฎกระทรวง ตามความในประมวลรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ และประกาศกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องต่อไป
การวิเคราะห์ผลกระทบ
1. การขยายเวลาให้บริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีตามเสนอ จะทำให้บริษัทฯ มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีมาตรฐานยิ่งขึ้น และเป็นการกระจายการนำหุ้นใหม่เข้าเสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่กระจุกตัวมากเกินไป มาตรการนี้อาจมีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บภาษีบ้างในระยะสั้น แต่ผลของการจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่เปิดเผยในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้บริษัทฯ มีการเสียภาษีที่โปร่งใส อันจะเป็นผลดีต่อระบบการจัดเก็บภาษีในระยะยาว
2. การผ่อนปรนหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพฯ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้มีการลงทุนในกองทุนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนภายหลังจากการเกษียณอายุ รวมทั้งทำให้กองทุนสามารถนำเงินไปลงทุนในตลาดทุนระยะยาวได้มากขึ้นด้วย มาตรการนี้มีผลกระทบต่อรายได้ภาษีเพียงเล็กน้อย แต่จะมีผลสร้างความมั่นคงทางสังคมในระยะยาว
3. การให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนผู้ลงทุนรายย่อยที่เป็นบุคคลธรรมดาให้สามารถลงทุนระยะยาว เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้นผ่านกองทุน อันมีผลต่อเนื่องถึงการระดมเงินทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มากขึ้น ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเจริญเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น มาตรการนี้จะมีผลทำให้รายได้ภาษีลดลงปีละประมาณ 2,200 ล้านบาท แต่จะมีส่วนสนับสนุนในด้านการลงทุนซึ่งมีผลต่อเนื่องทำให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-
1. ขยายเวลาการให้บริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลากหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย หรือตลาดหลักทรัพย์ใหม่ (MAI) เพื่อให้ได้รับการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากเดิมที่กำหนดให้สิ้นสุดในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2547 ออกไปจนถึงวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2548 ทั้งนี้ โดยให้ได้รับการลดอัตราภาษีจากร้อยละ 30 เหลือ
2.1 ร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี กรณีนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์ใหม่
2.2 ร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิเป็นเวลา 5 รอบระยะเวลาบัญชี กรณีนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
2. ผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ภาษี กรณีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้
2.1 ผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาสามารถนำเงินได้ทุกประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพฯ โดยให้ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเท่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุน ในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมินและจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาท ของปีภาษีนั้น เมื่อรวมกับเงินที่ลงทุนในกองทุนสำรองเลี้ยงชีพหรือกองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ (กบข.) จากเดิมที่กำหนดได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการนำเงินได้บางประเภทมาซื้อหน่วยลงทุนเท่านั้น
2.2 ผ่อนปรนให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้หรือผลประโยชน์ใด ๆ ที่ได้รับจากการขายคืนหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี ให้แก่กองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพฯ จากเดิมที่กำหนดให้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้เฉพาะกรณีขายคืนเมื่อมีอายุ 55 ปีขึ้นไป หรือทุพพลภาพ หรือตายเท่านั้น
3. การให้สิทธิประโยชน์ภาษี สำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาว ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ดังนี้
3.1 กำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดาซึ่งมีการซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ที่จัดตั้งขึ้นและจำหน่ายหน่วยลงทุนครั้งแรกภายในวันที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2550 ได้รับการลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เท่ากับเงินที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในอัตราไม่เกินร้อยละ 15 ของเงินได้พึงประเมิน และจะต้องมีจำนวนไม่เกิน 300,000 บาทของปีภาษีนั้น
3.2 กำหนดให้ผู้ลงทุนที่เป็นบุคคลธรรมดามีเงินได้หรือผลประโยชน์ใด ๆ เนื่องจากการขายหน่วยลงทุนที่ถือมาแล้วไม่น้อยกว่า 5 ปี คืนให้กับกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ได้รับการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเงินได้ที่ได้รับ
3.3 การได้รับสิทธิในการลดหย่อนและยกเว้นภาษีข้างต้น ผู้ลงทุนจะต้องมีการถือหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ ซึ่งเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขที่กำหนด หากมิได้ปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไขดังกล่าวจะหมดสิทธิได้รับยกเว้นภาษี และต้องเสียภาษีเงินได้สำหรับส่วนที่ได้รับยกเว้นมาแล้วให้ครบถ้วนต่อไป
สำหรับแนวทางการปรับปรุงกฎหมาย ประกอบด้วย
1. การขยายเวลาให้บริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ เพื่อให้ได้รับการลดตราภาษีเงินได้นิติบุคคล จะต้องมีการตราเป็นพระราชกฎษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ
2. การผ่อนปรนหลักเกณฑ์การให้สิทธิประโยชน์ภาษี กรณีการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพฯ และการให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ จะต้องมีการออกกฎกระทรวง ตามความในประมวลรัษฎากร จำนวน 1 ฉบับ และประกาศกรมสรรพากรที่เกี่ยวข้องต่อไป
การวิเคราะห์ผลกระทบ
1. การขยายเวลาให้บริษัทที่มีการนำหลักทรัพย์เข้าจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีตามเสนอ จะทำให้บริษัทฯ มีการเตรียมความพร้อมเพื่อเข้าตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยมีมาตรฐานยิ่งขึ้น และเป็นการกระจายการนำหุ้นใหม่เข้าเสนอขายในตลาดหลักทรัพย์ฯ โดยไม่กระจุกตัวมากเกินไป มาตรการนี้อาจมีผลกระทบต่อรายได้การจัดเก็บภาษีบ้างในระยะสั้น แต่ผลของการจัดทำงบดุลและบัญชีกำไรขาดทุนที่เปิดเผยในตลาดหลักทรัพย์ฯ จะทำให้บริษัทฯ มีการเสียภาษีที่โปร่งใส อันจะเป็นผลดีต่อระบบการจัดเก็บภาษีในระยะยาว
2. การผ่อนปรนหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติในการได้รับสิทธิประโยชน์ภาษีจากการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพฯ จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้มีการลงทุนในกองทุนมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการสร้างความมั่นคงในด้านรายได้ให้แก่ผู้ลงทุนภายหลังจากการเกษียณอายุ รวมทั้งทำให้กองทุนสามารถนำเงินไปลงทุนในตลาดทุนระยะยาวได้มากขึ้นด้วย มาตรการนี้มีผลกระทบต่อรายได้ภาษีเพียงเล็กน้อย แต่จะมีผลสร้างความมั่นคงทางสังคมในระยะยาว
3. การให้สิทธิประโยชน์ภาษีสำหรับการลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการลงทุนในตราสารแห่งทุนในระยะยาวฯ จะมีส่วนช่วยสนับสนุนผู้ลงทุนรายย่อยที่เป็นบุคคลธรรมดาให้สามารถลงทุนระยะยาว เพื่อผลตอบแทนที่สูงขึ้นผ่านกองทุน อันมีผลต่อเนื่องถึงการระดมเงินทุนผ่านตลาดหลักทรัพย์ฯ ได้มากขึ้น ทำให้ตลาดหลักทรัพย์ฯ มีการเจริญเติบโตได้อย่างมีเสถียรภาพมากขึ้น มาตรการนี้จะมีผลทำให้รายได้ภาษีลดลงปีละประมาณ 2,200 ล้านบาท แต่จะมีส่วนสนับสนุนในด้านการลงทุนซึ่งมีผลต่อเนื่องทำให้การจัดเก็บภาษีเพิ่มขึ้นในระยะยาว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 27 เมษายน 2547--จบ--
-กภ-