คณะรัฐมนตรีเห็นชอบแผนแม่บทกำลังคนด้านสาธารณสุข และอนุมัติเพิ่มการผลิตพยาบาลในวิทยาลัยพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขเพิ่มอีกปีละ 1,000 คน ระยะเวลา 10 ปี (ปี 2547 - 2556) สำหรับงบประมาณสำหรับการเพิ่มการผลิตให้เป็นงบดำเนินการเหมาจ่ายรายหัว 28,800 บาทต่อคนต่อปี ตามที่กระทรวงสาธารณสุขเสนอโดยให้กระทรวงสาธารณสุขรับข้อสังเกตของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 5 ไปดำเนินการด้วย
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า
1. จากสถานการณ์ความขาดแคลนกำลังคนด้านสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทำแผนกำลังคนด้านสาธารณสุขโดยยึดหลักภูมิศาสตร์สารสนเทศ ซึ่งจากการจัดทำแผนฯ ดังกล่าวพบว่า บางสาขามีความขาดแคลนสูงจำเป็นต้องปรับแผนผลิตเพิ่มจากแผนปกติที่ดำเนินการในปัจจุบัน รวมทั้งกำหนดแนวทางอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนกำลังคนให้มีปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน
2. กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งเป็นคณะทำงานร่วม เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ปัญหาพนักงานของรัฐฯ และการจัดทำแผนกำลังคนด้านสาธารณสุข โดยจัดทำเป็นข้อเสนอ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกระจายกำลังคนให้มีประสิทธิภาพทั้งระดับกระทรวงสาธารณสุขและภาพรวมระดับประเทศ เช่น ระดับประเทศในปัจจุบันมีความต้องการแพทย์ 38,340 คน ในขณะที่มีแพทย์ปฏิบัติงานเพียง25,932 คน และใน 10 ปีข้างหน้า ความต้องการแพทย์ จะเป็น 41,151 คน กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดทำแผนการกระจายกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการตามแผน GIS โดยมีค่าตอบแทนที่จูงใจ มีแผนการพัฒนาศักยภาพกำลังคนมีการพัฒนาระบบข้อมูลด้านกำลังคนให้ทันสมัย กำหนดระบบการบริหารตำแหน่ง โดยมีงบประมาณสนับสนุนเพื่อให้มีความคล่องตัวในการปรับเพิ่มหรือลดกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการ และกำหนดแนวทางการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ กำลังคนให้อยู่ในระบบได้อย่างมีความสุข และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการ จึงเสนอมาตรการปรับแผนผลิต เช่นปรับเพิ่มการผลิตแพทย์อีกปีละประมาณ 700 คน และเพิ่มการผลิตทันตแพทย์อีกปีละประมาณ 200 คน ซึ่งจำเป็นต้องปรับหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการทำงานในชนบท โดยใช้หน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุขเป็นสถาบันร่วมผลิตในชั้นคลินิก การเพิ่มการผลิตพยาบาลในหน่วยผลิตของกระทรวงสาธารณสุขปีละ 1,000คน โดยการเพิ่มการผลิตทั้ง 3 สาขา กำหนดเป็นแผนระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 - 2546 และของบประมาณสนับสนุนเพื่อดำเนินการผลิตและงบประมาณ เพื่อการพัฒนาความพร้อมทั้งการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และครุภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ส่วนในสาขาอื่น ๆ ให้คงระดับปริมาณและคุณภาพการผลิตตามแผนปกติของหน่วยผลิตในปัจจุบัน ตลอดจนการสนับสนุนให้มีการแสวงหากำลังคนเพิ่มจากนอกระบบการผลิตของรัฐ
2.3 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการบริหารงานบุคคลและการแก้ปัญหาพนักงานของรัฐฯ โดยขออนุมัติเปลี่ยนพนักงานของรัฐฯ ทั้งหมดให้เป็นข้าราชการระบบเดิมไปก่อน และปรับระบบการบริหารงานบุคคลเป็นการบริหารข้าราชการสาธารณสุขในระบบปฏิรูป โดยจำแนกกำลังคนของกระทรวงสาธารณสุขเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหาร (Executive) กลุ่มวิชาชีพ (Profession) และกลุ่มสนับสนุน (Supportive) มีการกำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนในระบบใหม่ ควบคู่ไปกับระบบการประเมินผล และการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน โดยให้มีโครงการนำร่อง และจัดทำ/แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.4 ยุทธศาสตร์การปรับระบบการบริหารองค์กร เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและมีรูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ โดยหน่วยบริการที่เหมาะสมในการปรับระบบการบริหารองค์กรควรเป็นระดับเครือข่ายที่มีขนาดเหมาะสมและรูปแบบอาจกำหนดเป็นรูปแบบ Service Delivery Unit : SDU ตามแนวทางของ ก.พ.ร. หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมโดยมีการบริหารระหว่างองค์การมหาชนและราชการระบบปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและมีความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล
3. เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหากำลังคนให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีข้อเสนอมาตรการดำเนินการ ดังนี้
3.1 มาตรการระยะสั้น ซึ่งประกอบด้วย
1) ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหากำลังคน และการวางแผนความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุข ตามแผน GIS เพื่อให้เป็นกรอบความต้องการกำลังคนที่เหมาะสมกับการจัดบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพสำหรับประชาชน โดยขอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรายละเอียดเพื่อการดำเนินการต่อไป
2) ขออนุมัติให้มีคณะกรรมการนโยบายกำลังคนด้านสาธารณสุขแห่งชาติที่มีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน เพื่อรับผิดชอบด้านนโยบายและการบริหารจัดการด้านการกระจายกำลังคนให้มีประสิทธิภาพ
3) ขออนุมัติการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนในระบบใหม่ และการสร้างแรงจูงใจอื่น ๆ ที่เหมาะสมสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข โดยให้มีคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดรายละเอียดเพื่อการดำเนินการ
4) ขออนุมัติกำหนดระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานควบคู่กับการปรับระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนระบบใหม่ รวมทั้งการกำหนดรูปแบบและระบบการจ้างงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข โดยให้มีคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดรายละเอียดเพื่อการดำเนินการ
5) ขออนุมัติปรับแผนเพิ่มการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 - 2556 ได้แก่ แพทย์ที่ต้องผลิตเพิ่มอีกประมาณ ปีละ 700 คน ทันตแพทย์ผลิตเพิ่มอีกประมาณปีละ200 คน และพยาบาลผลิตเพิ่มอีกปีละ 1,000 คน โดยของบประมาณสนับสนุนการผลิตเพิ่มเป็นงบประมาณดำเนินการและงบประมาณเพื่อการพัฒนาอาจารย์และครุภัณฑ์จัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานเดิมที่เกี่ยวข้องเพื่อลดภาระงบประมาณด้านการลงทุนและไม่ต้องใช้เวลาเตรียมการมาก โดยขอให้กระทรวงสาธารณสุขประสานกับหน่วยผลิตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการและงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
6) ขออนุมัติให้ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดโควตาเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ชนบทห่างไกล ทุรกันดาร และขาดแคลนกำลังคน ให้เพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน โดยต้องพัฒนาตั้งแต่ระดับพื้นฐานความรู้ที่ทัดเทียมกับนักเรียนในเมืองใหม่ ที่จะสามารถแข่งขันในระบบพิเศษเพื่อเข้าศึกษาในสาขาขาดแคลน โดยให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
7) ขออนุมัติดำเนินการโครงการนำร่อง เพื่อปรับระบบการบริหารข้าราชการสาธารณสุขในระบบปฏิรูป โดยมีระบบการประเมินผล ระบบการกำหนดข้อตกลงการปฏิบัติงาน ควบคู่กับการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนตามระบบใหม่ ซึ่งจะดำเนินการกับข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขที่เข้าหลักเกณฑ์และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
3.2 มาตรการระยะปานกลาง ประกอบด้วย
1) ขออนุมัติในหลักการให้กระทรวงสาธารณสุขปรับระบบการบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นการบริหารข้าราชการสาธารณสุขในระบบปฏิรูป โดยมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารข้าราชการสาธารณสุขในระบบปฏิรูปเป็นการเฉพาะ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำรายละเอียดเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2) ขออนุมัติในหลักการให้กระทรวงสาธารณสุขปรับระบบการบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน มีการกำหนดข้อตกลงการดำเนินงาน มีการวัดผลและประเมินผลงาน โดยจะเป็นการปรับประสิทธิภาพของเครือข่ายบริการให้มีลักษณะการบริหารงานที่อยู่ระหว่างองค์การมหาชนและระบบราชการเดิม โดยอาจเป็นรูปแบบ Service Delivery Unit หรือ SDU ที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) พัฒนาขึ้น หรือกำหนดเป็นรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำรายละเอียดเพื่อการดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงสาธารณสุขรายงานว่า
1. จากสถานการณ์ความขาดแคลนกำลังคนด้านสาธารณสุข กระทรวงสาธารณสุขจึงได้จัดทำแผนกำลังคนด้านสาธารณสุขโดยยึดหลักภูมิศาสตร์สารสนเทศ ซึ่งจากการจัดทำแผนฯ ดังกล่าวพบว่า บางสาขามีความขาดแคลนสูงจำเป็นต้องปรับแผนผลิตเพิ่มจากแผนปกติที่ดำเนินการในปัจจุบัน รวมทั้งกำหนดแนวทางอื่น ๆ เพื่อแก้ปัญหาขาดแคลนกำลังคนให้มีปริมาณและคุณภาพที่เพียงพอในการให้บริการด้านสุขภาพแก่ประชาชน
2. กระทรวงสาธารณสุขได้ร่วมกับคณะกรรมการกำหนดเป้าหมายและนโยบายกำลังคนภาครัฐ (คปร.)คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) ซึ่งเป็นคณะทำงานร่วม เพื่อพิจารณากำหนดแนวทางการแก้ปัญหาพนักงานของรัฐฯ และการจัดทำแผนกำลังคนด้านสาธารณสุข โดยจัดทำเป็นข้อเสนอ ยุทธศาสตร์ ดังนี้
2.1 ยุทธศาสตร์การพัฒนาการกระจายกำลังคนให้มีประสิทธิภาพทั้งระดับกระทรวงสาธารณสุขและภาพรวมระดับประเทศ เช่น ระดับประเทศในปัจจุบันมีความต้องการแพทย์ 38,340 คน ในขณะที่มีแพทย์ปฏิบัติงานเพียง25,932 คน และใน 10 ปีข้างหน้า ความต้องการแพทย์ จะเป็น 41,151 คน กระทรวงสาธารณสุขจึงจัดทำแผนการกระจายกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการตามแผน GIS โดยมีค่าตอบแทนที่จูงใจ มีแผนการพัฒนาศักยภาพกำลังคนมีการพัฒนาระบบข้อมูลด้านกำลังคนให้ทันสมัย กำหนดระบบการบริหารตำแหน่ง โดยมีงบประมาณสนับสนุนเพื่อให้มีความคล่องตัวในการปรับเพิ่มหรือลดกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการ และกำหนดแนวทางการเสริมสร้างขวัญกำลังใจ กำลังคนให้อยู่ในระบบได้อย่างมีความสุข และทำงานอย่างมีประสิทธิภาพ
2.2 ยุทธศาสตร์การผลิตกำลังคนให้สอดคล้องกับความต้องการ จึงเสนอมาตรการปรับแผนผลิต เช่นปรับเพิ่มการผลิตแพทย์อีกปีละประมาณ 700 คน และเพิ่มการผลิตทันตแพทย์อีกปีละประมาณ 200 คน ซึ่งจำเป็นต้องปรับหลักสูตรและกระบวนการเรียนการสอนให้เหมาะสมกับการทำงานในชนบท โดยใช้หน่วยบริการของกระทรวงสาธารณสุขเป็นสถาบันร่วมผลิตในชั้นคลินิก การเพิ่มการผลิตพยาบาลในหน่วยผลิตของกระทรวงสาธารณสุขปีละ 1,000คน โดยการเพิ่มการผลิตทั้ง 3 สาขา กำหนดเป็นแผนระยะ 10 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 - 2546 และของบประมาณสนับสนุนเพื่อดำเนินการผลิตและงบประมาณ เพื่อการพัฒนาความพร้อมทั้งการพัฒนาศักยภาพอาจารย์ และครุภัณฑ์ที่จำเป็นสำหรับการเรียนการสอน ส่วนในสาขาอื่น ๆ ให้คงระดับปริมาณและคุณภาพการผลิตตามแผนปกติของหน่วยผลิตในปัจจุบัน ตลอดจนการสนับสนุนให้มีการแสวงหากำลังคนเพิ่มจากนอกระบบการผลิตของรัฐ
2.3 ยุทธศาสตร์การปฏิรูปการบริหารงานบุคคลและการแก้ปัญหาพนักงานของรัฐฯ โดยขออนุมัติเปลี่ยนพนักงานของรัฐฯ ทั้งหมดให้เป็นข้าราชการระบบเดิมไปก่อน และปรับระบบการบริหารงานบุคคลเป็นการบริหารข้าราชการสาธารณสุขในระบบปฏิรูป โดยจำแนกกำลังคนของกระทรวงสาธารณสุขเป็น 3 กลุ่ม คือ กลุ่มบริหาร (Executive) กลุ่มวิชาชีพ (Profession) และกลุ่มสนับสนุน (Supportive) มีการกำหนดเงินเดือนและค่าตอบแทนในระบบใหม่ ควบคู่ไปกับระบบการประเมินผล และการจัดทำข้อตกลงการปฏิบัติงาน โดยให้มีโครงการนำร่อง และจัดทำ/แก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้องต่อไป
2.4 ยุทธศาสตร์การปรับระบบการบริหารองค์กร เพื่อเพิ่มความคล่องตัวและมีรูปแบบการบริหารที่มีประสิทธิภาพ โดยหน่วยบริการที่เหมาะสมในการปรับระบบการบริหารองค์กรควรเป็นระดับเครือข่ายที่มีขนาดเหมาะสมและรูปแบบอาจกำหนดเป็นรูปแบบ Service Delivery Unit : SDU ตามแนวทางของ ก.พ.ร. หรือรูปแบบอื่นที่เหมาะสมโดยมีการบริหารระหว่างองค์การมหาชนและราชการระบบปัจจุบัน ซึ่งจะทำให้มีประสิทธิภาพในการบริหารจัดการและมีความคล่องตัวในการบริหารงานบุคคล
3. เพื่อให้สามารถแก้ไขปัญหากำลังคนให้บรรลุเป้าหมายตามยุทธศาสตร์ที่กำหนดไว้ กระทรวงสาธารณสุขจึงมีข้อเสนอมาตรการดำเนินการ ดังนี้
3.1 มาตรการระยะสั้น ซึ่งประกอบด้วย
1) ขอความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีต่อยุทธศาสตร์เพื่อการแก้ปัญหากำลังคน และการวางแผนความต้องการกำลังคนด้านสาธารณสุข ตามแผน GIS เพื่อให้เป็นกรอบความต้องการกำลังคนที่เหมาะสมกับการจัดบริการด้านสุขภาพที่มีคุณภาพสำหรับประชาชน โดยขอให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการในรายละเอียดเพื่อการดำเนินการต่อไป
2) ขออนุมัติให้มีคณะกรรมการนโยบายกำลังคนด้านสาธารณสุขแห่งชาติที่มีองค์ประกอบจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีนายกรัฐมนตรีหรือรองนายกรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายเป็นประธาน และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นรองประธาน เพื่อรับผิดชอบด้านนโยบายและการบริหารจัดการด้านการกระจายกำลังคนให้มีประสิทธิภาพ
3) ขออนุมัติการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนในระบบใหม่ และการสร้างแรงจูงใจอื่น ๆ ที่เหมาะสมสำหรับกำลังคนด้านสาธารณสุขของกระทรวงสาธารณสุข โดยให้มีคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดรายละเอียดเพื่อการดำเนินการ
4) ขออนุมัติกำหนดระบบการประเมินผลการปฏิบัติงานควบคู่กับการปรับระบบเงินเดือนและค่าตอบแทนระบบใหม่ รวมทั้งการกำหนดรูปแบบและระบบการจ้างงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุข โดยให้มีคณะกรรมการร่วมระหว่างกระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นผู้กำหนดรายละเอียดเพื่อการดำเนินการ
5) ขออนุมัติปรับแผนเพิ่มการผลิตกำลังคนในสาขาที่ขาดแคลนในระยะเวลา 10 ปี ตั้งแต่ปีการศึกษา 2547 - 2556 ได้แก่ แพทย์ที่ต้องผลิตเพิ่มอีกประมาณ ปีละ 700 คน ทันตแพทย์ผลิตเพิ่มอีกประมาณปีละ200 คน และพยาบาลผลิตเพิ่มอีกปีละ 1,000 คน โดยของบประมาณสนับสนุนการผลิตเพิ่มเป็นงบประมาณดำเนินการและงบประมาณเพื่อการพัฒนาอาจารย์และครุภัณฑ์จัดการเรียนการสอน ซึ่งเป็นการพัฒนาศักยภาพหน่วยงานเดิมที่เกี่ยวข้องเพื่อลดภาระงบประมาณด้านการลงทุนและไม่ต้องใช้เวลาเตรียมการมาก โดยขอให้กระทรวงสาธารณสุขประสานกับหน่วยผลิตและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดแผนปฏิบัติการและงบประมาณเสนอคณะรัฐมนตรีอีกครั้ง
6) ขออนุมัติให้ดำเนินการเกี่ยวกับการกำหนดโควตาเพื่อเปิดโอกาสให้นักเรียนในพื้นที่ชนบทห่างไกล ทุรกันดาร และขาดแคลนกำลังคน ให้เพิ่มมากขึ้นกว่าในปัจจุบัน โดยต้องพัฒนาตั้งแต่ระดับพื้นฐานความรู้ที่ทัดเทียมกับนักเรียนในเมืองใหม่ ที่จะสามารถแข่งขันในระบบพิเศษเพื่อเข้าศึกษาในสาขาขาดแคลน โดยให้กระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปดำเนินการต่อไป
7) ขออนุมัติดำเนินการโครงการนำร่อง เพื่อปรับระบบการบริหารข้าราชการสาธารณสุขในระบบปฏิรูป โดยมีระบบการประเมินผล ระบบการกำหนดข้อตกลงการปฏิบัติงาน ควบคู่กับการปรับเงินเดือนและค่าตอบแทนตามระบบใหม่ ซึ่งจะดำเนินการกับข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขที่เข้าหลักเกณฑ์และสมัครใจเข้าร่วมโครงการ
3.2 มาตรการระยะปานกลาง ประกอบด้วย
1) ขออนุมัติในหลักการให้กระทรวงสาธารณสุขปรับระบบการบริหารงานบุคคลของกระทรวงสาธารณสุขให้เป็นการบริหารข้าราชการสาธารณสุขในระบบปฏิรูป โดยมีการปรับปรุงแก้ไขกฎหมายที่เกี่ยวข้อง และกำหนดให้มีคณะกรรมการบริหารข้าราชการสาธารณสุขในระบบปฏิรูปเป็นการเฉพาะ โดยให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำรายละเอียดเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป
2) ขออนุมัติในหลักการให้กระทรวงสาธารณสุขปรับระบบการบริหารองค์การให้มีประสิทธิภาพมีความคล่องตัวในการปฏิบัติงาน มีการกำหนดข้อตกลงการดำเนินงาน มีการวัดผลและประเมินผลงาน โดยจะเป็นการปรับประสิทธิภาพของเครือข่ายบริการให้มีลักษณะการบริหารงานที่อยู่ระหว่างองค์การมหาชนและระบบราชการเดิม โดยอาจเป็นรูปแบบ Service Delivery Unit หรือ SDU ที่คณะกรรมการพัฒนาระบบราชการ (ก.พ.ร.) พัฒนาขึ้น หรือกำหนดเป็นรูปแบบอื่น ๆ ที่เหมาะสม โดยให้กระทรวงสาธารณสุขจัดทำรายละเอียดเพื่อการดำเนินการต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-