คณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ ให้ คปร. พิจารณาจัดสรรอัตราข้าราชการครูที่ลาออกตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลง คืนให้สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (สพฐ.) ร้อยละ 50 ของข้าราชการครูที่ได้รับอนุมัติให้ลาออกเพื่อแต่งตั้งเข้ารับราชการครูสายผู้สอนให้ทันภาคเรียนแรกของปีการศึกษา 2547 และหากดำเนินการแล้วยังขาดแคลนครูอยู่อีก ให้กระทรวงศึกษาธิการทำความตกลงกับสำนักงาน ก.พ. และสำนักงบประมาณเพื่อกำหนดอัตราครูจ้างชั่วคราวหรือพนักงานราชการตามความจำเป็นและเหมาะสมไปก่อน และให้กระทรวงศึกษาธิการเร่งรัดการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2546 เพื่อให้ได้ข้อมูลจำนวนครูที่ขาดแคลนที่เป็นจริง เพื่อจะได้กำหนดมาตรการและแนวทางแก้ไขปัญหาขาดแคลนครูในระยะยาวต่อไป
กระทรวงศึกษาธิการได้รายงานสภาพปัญหาของการขาดแคลนอัตรากำลังครูอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนฯ และได้เสนอแนวทางการบรรจุใหม่เข้าทดแทนการขาดครู เพื่อคงอัตราข้าราชการครูไว้ให้เท่ากับจำนวนข้าราชการครูที่ลาออกตามมาตรการดังกล่าว ดังนี้
1. ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 มีข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสมัครลาออกตามมาตรการนี้ จำนวน 28,270 คน จำแนกเป็นข้าราชการครูสายงานการสอน 24,370 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 2,820 คน ข้าราชการพลเรือนสามัญ 515 คน ศึกษานิเทศก์ 371 คน และอีก 194 คน เป็นผู้บริหารนอกสถานศึกษา
2. การลาออกของข้าราชการครูตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนฯ ครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อสภาพความขาดแคลนอัตรากำลังครูในสังกัดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันขาดแคลนครูสำหรับการสอนทั้งระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ ก.ค.กำหนด รวม 73,793 อัตรา โดยขาดในโรงเรียนประถมศึกษา 45,322 อัตรา และโรงเรียนมัธยมศึกษา 28,471 อัตรา
ทั้งนี้ เพราะต้องดำเนินการตามมาตรการปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ ถูกยุบเลิกอัตราจากผลเกษียณอายุราชการ และการลาออกของข้าราชการครูตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด 3 รุ่น (ปีงบประมาณ พ.ศ.2543-2545) ที่ผ่านมา (ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และกรมสามัญศึกษาเดิม) สูญเสียอัตราครูรวม 41,186 อัตรา ได้รับจัดสรรคืนเพียง 6,391 อัตรา ไม่เพียงพอต่อสภาพปัญหาของการขาดครู โดยทางปฏิบัติได้พยายามเกลี่ยอัตรากำลังครูจากสถานศึกษาที่เกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์น้อยกว่าไปให้สถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาก โดยรวมสถานศึกษาในสังกัดขาดครูซึ่งยากต่อการเกลี่ยอัตรากำลังครู
3. จากการคำนวณอัตราเงินเดือนของข้าราชการที่ลาออกตามมาตรการพัฒนาและบริการกำลังคนฯ ตามจำนวนที่ได้รับ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 จำนวน 28,270 คน พบว่ามีเงินเดือนรวม 8,430,849,600 บาทต่อปี หรือ 702,570,800 บาทต่อเดือน หากปรับลดอัตราเงินเดือนเป็นระดับบรรจุครูใหม่(ปริญญาตรี ระดับบรรจุ ระดับ 3 ขั้น 6,360 บาท : เดือน : อัตรา) เท่ากับจำนวนที่ลาออก จะเป็นเงิน 2,157,566,000 บาทต่อปี หรือ 179,797,200 บาทต่อเดือน
4. ด้วยข้อจำกัดตามนโยบายยุทธศาสตร์ปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ ทำให้ขออัตรากำลังข้าราชการครูเพิ่มใหม่ไม่ได้ จึงจำเป็นต้อเสนอแนวทางการบรรจุครูใหม่เข้าทดแทนอัตราข้าราชการครูที่ลาออกตามมาตรการพัฒนาและบริการกำลังคนฯ โดยขอรับจัดสรรอัตราคืนเท่าจำนวนข้าราชการครูที่ลาออกในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และตำแหน่งข้าราชการครูสายงานการสอนเพื่อจัดสรรไปเฉพาะสถานศึกษาที่ขาดครูตามเกณฑ์ ก.ค.อยู่เดิม จำนวน 73,793 อัตรา หรือขาดสืบเนื่องจากการลาออกตามมาตรการครั้งนี้ ในระดับประถมศึกษา 23,664 โรง และระดับมัธยมศึกษา 2,160 โรง รวมทั้งขอรับจัดสรรอัตราคืนในตำแหน่งศึกษานิเทศก์และข้าราชการพลเรือนสามัญเท่าจำนวนที่ลาออกด้วย เพื่อรองรับปริมาณงานและคุณภาพของงานในความรับผิดชอบที่ยังขาดบุคลากรด้านนิเทศการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาใน 175 เขตและสถานศึกษา
อนึ่ง หากได้รับการอนุมัติจัดสรรอัตราคืนในครั้งนี้ จะสามารถแก้ไขปัญหาสภาพการขาดแคลนครูอย่างฉับพลัน โดยการบรรจุผู้สอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการที่ขึ้นบัญชีไว้ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอยู่เดิมใน 15 จังหวัด จำนวน 47,619 คน เป็นข้าราชการครูต่อไป หรือถ้าหากได้รับอนุมัติครูอัตราจ้างชั่วคราวรายเดือน หรือพนักงานราชการสถานศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็จะสามารถดำเนินการสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้โดยทันที อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-พธ-
กระทรวงศึกษาธิการได้รายงานสภาพปัญหาของการขาดแคลนอัตรากำลังครูอันเนื่องมาจากการดำเนินการตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนฯ และได้เสนอแนวทางการบรรจุใหม่เข้าทดแทนการขาดครู เพื่อคงอัตราข้าราชการครูไว้ให้เท่ากับจำนวนข้าราชการครูที่ลาออกตามมาตรการดังกล่าว ดังนี้
1. ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 มีข้าราชการสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสมัครลาออกตามมาตรการนี้ จำนวน 28,270 คน จำแนกเป็นข้าราชการครูสายงานการสอน 24,370 คน ผู้บริหารสถานศึกษา 2,820 คน ข้าราชการพลเรือนสามัญ 515 คน ศึกษานิเทศก์ 371 คน และอีก 194 คน เป็นผู้บริหารนอกสถานศึกษา
2. การลาออกของข้าราชการครูตามมาตรการพัฒนาและบริหารกำลังคนฯ ครั้งนี้ ส่งผลกระทบต่อสภาพความขาดแคลนอัตรากำลังครูในสังกัดเพิ่มมากขึ้น ซึ่งปัจจุบันขาดแคลนครูสำหรับการสอนทั้งระดับก่อนประถมศึกษา ประถมศึกษา และมัธยมศึกษาตอนต้นและตอนปลาย ตามเกณฑ์มาตรฐานที่ ก.ค.กำหนด รวม 73,793 อัตรา โดยขาดในโรงเรียนประถมศึกษา 45,322 อัตรา และโรงเรียนมัธยมศึกษา 28,471 อัตรา
ทั้งนี้ เพราะต้องดำเนินการตามมาตรการปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ ถูกยุบเลิกอัตราจากผลเกษียณอายุราชการ และการลาออกของข้าราชการครูตามโครงการเปลี่ยนเส้นทางชีวิต : เกษียณก่อนกำหนด 3 รุ่น (ปีงบประมาณ พ.ศ.2543-2545) ที่ผ่านมา (ทั้งสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติ และกรมสามัญศึกษาเดิม) สูญเสียอัตราครูรวม 41,186 อัตรา ได้รับจัดสรรคืนเพียง 6,391 อัตรา ไม่เพียงพอต่อสภาพปัญหาของการขาดครู โดยทางปฏิบัติได้พยายามเกลี่ยอัตรากำลังครูจากสถานศึกษาที่เกินเกณฑ์หรือต่ำกว่าเกณฑ์น้อยกว่าไปให้สถานศึกษาที่ต่ำกว่าเกณฑ์มาก โดยรวมสถานศึกษาในสังกัดขาดครูซึ่งยากต่อการเกลี่ยอัตรากำลังครู
3. จากการคำนวณอัตราเงินเดือนของข้าราชการที่ลาออกตามมาตรการพัฒนาและบริการกำลังคนฯ ตามจำนวนที่ได้รับ ณ วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2547 จำนวน 28,270 คน พบว่ามีเงินเดือนรวม 8,430,849,600 บาทต่อปี หรือ 702,570,800 บาทต่อเดือน หากปรับลดอัตราเงินเดือนเป็นระดับบรรจุครูใหม่(ปริญญาตรี ระดับบรรจุ ระดับ 3 ขั้น 6,360 บาท : เดือน : อัตรา) เท่ากับจำนวนที่ลาออก จะเป็นเงิน 2,157,566,000 บาทต่อปี หรือ 179,797,200 บาทต่อเดือน
4. ด้วยข้อจำกัดตามนโยบายยุทธศาสตร์ปรับขนาดกำลังคนภาครัฐ ทำให้ขออัตรากำลังข้าราชการครูเพิ่มใหม่ไม่ได้ จึงจำเป็นต้อเสนอแนวทางการบรรจุครูใหม่เข้าทดแทนอัตราข้าราชการครูที่ลาออกตามมาตรการพัฒนาและบริการกำลังคนฯ โดยขอรับจัดสรรอัตราคืนเท่าจำนวนข้าราชการครูที่ลาออกในตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา และตำแหน่งข้าราชการครูสายงานการสอนเพื่อจัดสรรไปเฉพาะสถานศึกษาที่ขาดครูตามเกณฑ์ ก.ค.อยู่เดิม จำนวน 73,793 อัตรา หรือขาดสืบเนื่องจากการลาออกตามมาตรการครั้งนี้ ในระดับประถมศึกษา 23,664 โรง และระดับมัธยมศึกษา 2,160 โรง รวมทั้งขอรับจัดสรรอัตราคืนในตำแหน่งศึกษานิเทศก์และข้าราชการพลเรือนสามัญเท่าจำนวนที่ลาออกด้วย เพื่อรองรับปริมาณงานและคุณภาพของงานในความรับผิดชอบที่ยังขาดบุคลากรด้านนิเทศการศึกษาและบุคลากรทางการศึกษาใน 175 เขตและสถานศึกษา
อนึ่ง หากได้รับการอนุมัติจัดสรรอัตราคืนในครั้งนี้ จะสามารถแก้ไขปัญหาสภาพการขาดแคลนครูอย่างฉับพลัน โดยการบรรจุผู้สอบแข่งขันเพื่อบรรจุเข้ารับราชการที่ขึ้นบัญชีไว้ในสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีอยู่เดิมใน 15 จังหวัด จำนวน 47,619 คน เป็นข้าราชการครูต่อไป หรือถ้าหากได้รับอนุมัติครูอัตราจ้างชั่วคราวรายเดือน หรือพนักงานราชการสถานศึกษาหรือสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาก็จะสามารถดำเนินการสอบคัดเลือกตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดได้โดยทันที อันจะส่งผลต่อประสิทธิภาพการจัดการเรียนการสอนของสถานศึกษาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-พธ-