คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนเกี่ยวกับโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) พ.ศ. 2547 ตามที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารเสนอ โดยสอบถามประชาชนอายุ 18 ปีขึ้นไป ทุกจังหวัดทั่วประเทศมีประชาชนถูกเลือกเป็นตัวอย่าง 5,800 คน เก็บรวบรวมข้อมูลระหว่างวันที่ 1-18 มีนม 2547 และได้จัดทำสรุปผลการสำรวจเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งมีสาระสำคัญ สรุปดังนี้
1. การใช้หรือบริโภคสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP พบว่า มีประชาชนระบุว่ามีการใช้หรือบริโภคสินค้าชุมชนสินค้า OTOP ร้อยละ 56.9 ไม่ได้ใช้หรือบริโภค ร้อยละ 43.1 โดยในกลุ่มผู้ที่ใช้หรือบริโภค ร้อยละ 35.4 ระบุว่ามีการใช้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนที่รัฐบาลจะจัดให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีการใช้เท่าเดิมและใช้น้อยลง มีร้อยละ 18.1 และ 3.4 อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามเกี่ยวกับการคิดจะใช้สินค้าชุมชน/สินค้า OTOP ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่า คิดจะใช้ถึงร้อยละ 78.0 ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่คิดจะใช้ และยังไม่แน่ใจมีเพียงน้อยละ 7.6 และร้อยละ 14.4
2. สำหรับความยากง่ายในการหาซื้อสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP พบว่า ในทุกภาคโดยรวมมีประชาชนระบุว่าหาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 52.8 หาซื้อได้ยาก ร้อยละ 31.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.1
3. การทราบว่ามีเว๊บไซต์สินค้าชุมชน/สินค้า OTOP และการสั่งซื้อสินค้า OTOP ได้ทางไปรษณีย์ในทั้งสองเรื่อง ผลการสำรวจพบว่ามีประชาชนระบุว่าไม่ทราบสูงถึง ร้อยละ 81 ส่วนผู้ที่ทราบมีเพียงประมาณ ร้อยละ 19 เท่านั้น
4. คุณภาพมาตรฐานของสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP ประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.9 ระบุว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่วนผู้ที่ระบุว่ายังไม่ได้มาตรฐาน มีร้อยละ 29.1
5. การพัฒนาสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP ให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อการส่งออกนั้น ประชาชนในทุกภาคโดยรวมร้อยละ 72.0 เห็นว่าสามารถพัฒนาได้ ส่วนผู้ที่ระบุว่าพัฒนาไม่ได้มีเพียงร้อยละ 5.2 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 22.8
6. การใช้วัตถุดิบ/ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าในทุกภาคโดยรวมผู้ผลิต ร้อยละ 41.5 ระบุว่ามีการนำวัตถุดิบ/ทรัพยากรมาใช้ผลิตสินค้าในระดับปานกลาง ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีการนำมาใช้มากและนำมาใช้น้อย มีร้อยละ 37.7 และ 20.9 นอกจากนั้น เมื่อสอบถามถึงการนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า ผู้ผลิตทุกภาคโดยรวม ร้อยละ 50.0 ระบุว่ามีการนำมาใช้ในระดับปานกลาง ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีการนำมาใช้มาก ร้อยละ 35.6 และนำมาใช้น้อย ร้อยละ 14.4
7. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.3 ระบุว่ามีปัญหา/อุปสรรค ซึ่งปัญหา/อุปสรรคที่สำคัญใน 3 เรื่องแรก คือ ไม่มีตลาดจำหน่ายสินค้าถึงร้อยล 63.7 แหล่งเงินทุน ร้อยละ 38.0 ขาดบุคลากรของรัฐที่ให้ความรู้ ร้อยละ 31.4
8. ประโยชน์ของโครงการ OTOP ประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่ถึงร้อยล 89.1 เห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่เห็นว่าประโยชน์น้อย และไม่มีประโยชน์มีเพียงร้อยละ 9.0 และ 1.9 เท่านั้น
9. ความพึงพอใจการดำเนินงานของรัฐบาลต่อโครงการ OTOP พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.0 มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในระดับหานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีความพึงพอใจน้อยและไม่พึงพอใจมีเพียง ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 1.7
10. สำหรับข้อเสนอแนะ มีผู้แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 38.6 โดยได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรจัดหาตลาดจำหน่ายสินค้าภายใน / ภายนอกประเทศ ร้อยละ 14.2 จัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 10.7 จัดหาวิทยากรของรัฐมาให้คำแนะนำ/ช่วยพัฒนาฝีมือและทักษะในการผลิตร้อยละ 10.4
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การใช้หรือบริโภคสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP พบว่า มีประชาชนระบุว่ามีการใช้หรือบริโภคสินค้าชุมชนสินค้า OTOP ร้อยละ 56.9 ไม่ได้ใช้หรือบริโภค ร้อยละ 43.1 โดยในกลุ่มผู้ที่ใช้หรือบริโภค ร้อยละ 35.4 ระบุว่ามีการใช้เพิ่มขึ้น เมื่อเปรียบเทียบกับก่อนที่รัฐบาลจะจัดให้มีโครงการหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ (OTOP) ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีการใช้เท่าเดิมและใช้น้อยลง มีร้อยละ 18.1 และ 3.4 อย่างไรก็ตาม เมื่อสอบถามเกี่ยวกับการคิดจะใช้สินค้าชุมชน/สินค้า OTOP ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่า คิดจะใช้ถึงร้อยละ 78.0 ส่วนผู้ที่ระบุว่าไม่คิดจะใช้ และยังไม่แน่ใจมีเพียงน้อยละ 7.6 และร้อยละ 14.4
2. สำหรับความยากง่ายในการหาซื้อสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP พบว่า ในทุกภาคโดยรวมมีประชาชนระบุว่าหาซื้อได้ง่าย ร้อยละ 52.8 หาซื้อได้ยาก ร้อยละ 31.1 ไม่แน่ใจ ร้อยละ 16.1
3. การทราบว่ามีเว๊บไซต์สินค้าชุมชน/สินค้า OTOP และการสั่งซื้อสินค้า OTOP ได้ทางไปรษณีย์ในทั้งสองเรื่อง ผลการสำรวจพบว่ามีประชาชนระบุว่าไม่ทราบสูงถึง ร้อยละ 81 ส่วนผู้ที่ทราบมีเพียงประมาณ ร้อยละ 19 เท่านั้น
4. คุณภาพมาตรฐานของสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP ประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่ ร้อยละ 70.9 ระบุว่าเป็นสินค้าที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน ส่วนผู้ที่ระบุว่ายังไม่ได้มาตรฐาน มีร้อยละ 29.1
5. การพัฒนาสินค้าชุมชน/สินค้า OTOP ให้เป็นสินค้าที่มีคุณภาพและได้มาตรฐานเพื่อการส่งออกนั้น ประชาชนในทุกภาคโดยรวมร้อยละ 72.0 เห็นว่าสามารถพัฒนาได้ ส่วนผู้ที่ระบุว่าพัฒนาไม่ได้มีเพียงร้อยละ 5.2 และไม่แน่ใจ ร้อยละ 22.8
6. การใช้วัตถุดิบ/ทรัพยากรและภูมิปัญญาท้องถิ่น พบว่าในทุกภาคโดยรวมผู้ผลิต ร้อยละ 41.5 ระบุว่ามีการนำวัตถุดิบ/ทรัพยากรมาใช้ผลิตสินค้าในระดับปานกลาง ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีการนำมาใช้มากและนำมาใช้น้อย มีร้อยละ 37.7 และ 20.9 นอกจากนั้น เมื่อสอบถามถึงการนำภูมิปัญญาในท้องถิ่นมาใช้ในการพัฒนาสินค้า ผู้ผลิตทุกภาคโดยรวม ร้อยละ 50.0 ระบุว่ามีการนำมาใช้ในระดับปานกลาง ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีการนำมาใช้มาก ร้อยละ 35.6 และนำมาใช้น้อย ร้อยละ 14.4
7. ปัญหาและอุปสรรคในการดำเนินการ ประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่ ร้อยละ 83.3 ระบุว่ามีปัญหา/อุปสรรค ซึ่งปัญหา/อุปสรรคที่สำคัญใน 3 เรื่องแรก คือ ไม่มีตลาดจำหน่ายสินค้าถึงร้อยล 63.7 แหล่งเงินทุน ร้อยละ 38.0 ขาดบุคลากรของรัฐที่ให้ความรู้ ร้อยละ 31.4
8. ประโยชน์ของโครงการ OTOP ประชาชนในทุกภาคส่วนใหญ่ถึงร้อยล 89.1 เห็นว่าเป็นโครงการที่มีประโยชน์ในระดับปานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่เห็นว่าประโยชน์น้อย และไม่มีประโยชน์มีเพียงร้อยละ 9.0 และ 1.9 เท่านั้น
9. ความพึงพอใจการดำเนินงานของรัฐบาลต่อโครงการ OTOP พบว่า ประชาชนส่วนใหญ่ ร้อยละ 91.0 มีความพึงพอใจต่อการดำเนินงานในระดับหานกลางถึงมาก ส่วนผู้ที่ระบุว่ามีความพึงพอใจน้อยและไม่พึงพอใจมีเพียง ร้อยละ 7.3 และร้อยละ 1.7
10. สำหรับข้อเสนอแนะ มีผู้แสดงความคิดเห็น ร้อยละ 38.6 โดยได้ให้ข้อเสนอแนะว่าควรจัดหาตลาดจำหน่ายสินค้าภายใน / ภายนอกประเทศ ร้อยละ 14.2 จัดหาแหล่งเงินทุนที่ใช้ในการประกอบอาชีพ ร้อยละ 10.7 จัดหาวิทยากรของรัฐมาให้คำแนะนำ/ช่วยพัฒนาฝีมือและทักษะในการผลิตร้อยละ 10.4
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-