คณะรัฐมนตรีพิจารณาการกู้เงินเพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้งของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ แล้วมีมติอนุมัติหลักการและเงื่อนไขการจัดหาเงินกู้โดยให้บริษัท การบินไทยฯ ดำเนินการกู้เงินในรูป Asset Based Financing เพื่อชำระค่าจัดซื้อเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 400 ลำที่ 17 และ 18 และให้รับข้อสังเกตของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติเกี่ยวกับการทบทวนแผนวิสาหกิจ แผนการเงิน และการลงทุนให้มีความชัดเจนไปพิจารณาดำเนินการด้วย
กระทรวงการคลังรายงานว่าตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 เห็นชอบในหลักการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจประจำปี 2543/44 -2547/48 ของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ซึ่งกำหนดที่จะจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม จำนวน 5 ลำ โดยการจัดหาเงินลงทุนสำหรับการจัดซื้อเครื่องบินให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท การบินไทยฯ ต่อไป นั้น กระทรวงการคลังได้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. ภายใต้แผนวิสาหกิจฯ ซึ่งบริษัท การบินไทยฯ ได้ผูกพันจัดซื้อเครื่องบินรวม 5 ลำ โดย ณ สิ้นปี 2546 บริษัทการบินไทยฯ ได้จัดหาเครื่องบินพิสัยไกลไปแล้วจำนวน 4 ลำ โดยการเช่าซื้อในรูป Financial Lease สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 400 ลำที่ 15 และ 16 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 และการกู้เงินในรูป Bridge Lease พร้อมกับกู้เงินระยะสั้นในรูป Euro Commercial Paper (ECP) สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 400 ลำที่ 17 และ 18 โดยกำหนดจะจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนต่อไป
2. การจัดหาเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 400 ลำที่ 17 และ 18 ซึ่งได้ทำการรับมอบเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2546 และ 4 พฤศจิกายน 2546 ตามลำดับ นั้น คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้ให้ความเห็นชอบในการบรรจุโครงการเงินกู้สำหรับการจัดหาเครื่องบินดังกล่าวไว้ในแผนการก่อหนี้ต่างประเทศของภาครัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2546 ในวงเงินรวม 359.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบในหลักการจัดหาเงินกู้ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจาก US Exim Bank (Export Import Bank of the United States) เนื่องจากเห็นว่า การกู้เงินในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจะมีเงื่อนไขดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการกู้เงินจากต่างประเทศโดยวิธีอื่นที่พึงจัดหาได้ตามภาวะตลาดปัจจุบัน และสอดคล้องกับการบริหารรายได้ของบริษัท การบินไทยฯ ซึ่งอยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ และต่อมาบริษัท การบินไทยฯ ได้ใช้เงินรายได้สำรองจ่ายจำนวน 170 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้กู้เงินในรูป Bridge Lease จากบริษัทโบอิ้ง จำกัด ในวงเงิน 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับกู้เงินระยะสั้นในรูป ECP วงเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐจากกระทรวงการคลังเพื่อชำระค่าเครื่องบินตามกำหนดรับมอบก่อน โดยจะดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
กระทรวงการคลังรายงานว่าตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 17 ตุลาคม 2543 เห็นชอบในหลักการจัดหาเครื่องบินตามแผนวิสาหกิจประจำปี 2543/44 -2547/48 ของบริษัท การบินไทย จำกัด(มหาชน) ซึ่งกำหนดที่จะจัดหาเครื่องบินเพิ่มเติม จำนวน 5 ลำ โดยการจัดหาเงินลงทุนสำหรับการจัดซื้อเครื่องบินให้กระทรวงการคลังเป็นผู้พิจารณาความเหมาะสม เพื่อก่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดต่อบริษัท การบินไทยฯ ต่อไป นั้น กระทรวงการคลังได้เสนอข้อเท็จจริงและความเห็นเพื่อประกอบการพิจารณาของคณะรัฐมนตรี ดังนี้
1. ภายใต้แผนวิสาหกิจฯ ซึ่งบริษัท การบินไทยฯ ได้ผูกพันจัดซื้อเครื่องบินรวม 5 ลำ โดย ณ สิ้นปี 2546 บริษัทการบินไทยฯ ได้จัดหาเครื่องบินพิสัยไกลไปแล้วจำนวน 4 ลำ โดยการเช่าซื้อในรูป Financial Lease สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 400 ลำที่ 15 และ 16 เมื่อวันที่ 17 ธันวาคม 2545 และการกู้เงินในรูป Bridge Lease พร้อมกับกู้เงินระยะสั้นในรูป Euro Commercial Paper (ECP) สำหรับเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 400 ลำที่ 17 และ 18 โดยกำหนดจะจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนต่อไป
2. การจัดหาเครื่องบินโบอิ้ง 747 - 400 ลำที่ 17 และ 18 ซึ่งได้ทำการรับมอบเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม 2546 และ 4 พฤศจิกายน 2546 ตามลำดับ นั้น คณะกรรมการนโยบายหนี้ของประเทศได้ให้ความเห็นชอบในการบรรจุโครงการเงินกู้สำหรับการจัดหาเครื่องบินดังกล่าวไว้ในแผนการก่อหนี้ต่างประเทศของภาครัฐบาลประจำปีงบประมาณ 2546 ในวงเงินรวม 359.8 ล้านเหรียญสหรัฐ และกระทรวงการคลังได้ให้ความเห็นชอบในหลักการจัดหาเงินกู้ในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจาก US Exim Bank (Export Import Bank of the United States) เนื่องจากเห็นว่า การกู้เงินในรูปสินเชื่อเพื่อการส่งออกจะมีเงื่อนไขดีที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับการกู้เงินจากต่างประเทศโดยวิธีอื่นที่พึงจัดหาได้ตามภาวะตลาดปัจจุบัน และสอดคล้องกับการบริหารรายได้ของบริษัท การบินไทยฯ ซึ่งอยู่ในรูปเงินตราต่างประเทศ และต่อมาบริษัท การบินไทยฯ ได้ใช้เงินรายได้สำรองจ่ายจำนวน 170 ล้านเหรียญสหรัฐ และได้กู้เงินในรูป Bridge Lease จากบริษัทโบอิ้ง จำกัด ในวงเงิน 17.5 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับกู้เงินระยะสั้นในรูป ECP วงเงิน 100 ล้านเหรียญสหรัฐจากกระทรวงการคลังเพื่อชำระค่าเครื่องบินตามกำหนดรับมอบก่อน โดยจะดำเนินการจัดหาเงินกู้ระยะยาวมาทดแทนต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-