แท็ก
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
กระทรวงยุติธรรม
คณะรัฐมนตรี
ยาเสพติด
คณะรัฐมนตรีรับทราบผลการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 4 (1 พฤศจิกายน 2546 - 31 มกราคม 2547) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) และสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 4 (1 พฤศจิกายน 2546 - 31 มกราคม 2547) ซึ่งอยู่ในช่วงของการดำเนินงานตามRoadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 3 (3 ธันวาคม 2546 - 30 กันยายน 2547) เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 8 - 29 มีนาคม 2547 โดยใช้แบบสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติดกับหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายที่มีโรงเรียนในสังกัด สปช. เดิม จำนวน 30,191 หมู่บ้าน ชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 2,441 ชุมชนและชุมชนที่ตั้งอยู่ใน กทม. 1,720 ชุมชน รวมจำนวนตัวอย่าง 171,760 คน ได้รับแบบสำรวจตอบกลับ ณ วันที่ 12เมษายน 2547 จำนวน 97,740 คน (ร้อยละ 57) ผลการสำรวจพบข้อพึงระวัง (Warning) ดังนี้
1. ดัชนีสถานการณ์ยาเสพติดในภาพรวมทั่วประเทศ จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนพบว่าประชาชนมีความเห็นว่าปัญหายาเสพติดเริ่มรุนแรงขึ้น จากเดิมซึ่งมีความเห็นว่าปัญหาอยู่ในระดับเบาบาง (31.9) ได้เพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ในระดับปานกลาง (34.5)
2. ดัชนีสถานการณ์ยาเสพติดรายด้าน พบว่า
2.1 ด้านกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) พบว่าประชาชนในทุกภาคมีความเห็นว่าการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลได้ผล ทำให้กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองลดลงไปมากจนอยู่ในระดับเบาบาง
2.2 ด้านกลุ่มผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) พบว่าประชาชนในทุกภาคยังมีความห่วงใยปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ซึ่งจากการสำรวจประชาชนได้แสดงความคิดเห็นว่าในชุมชน/หมู่บ้านของตนเริ่มมีจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดสูงขึ้นกว่าการสำรวจครั้งที่ผ่านมา
2.3 ด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) พบว่าประชาชนในทุกภาคมีความเห็นว่ากลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติดมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ แม้ว่าจะยังคงอยู่ในระดับปานกลาง (38.9) แต่มีแนวโน้มของสถานการณ์ที่ดีขึ้นจากเดิม (40.5)
กล่าวโดยสรุป ในความรู้สึกของประชาชนสถานการณ์ด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) เริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่สถานการณ์ด้านกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) และด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด(Potential Demand) มีแนวโน้มที่ลดลง
3. ความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล(Satisfaction) ประชาชนให้คะแนนเท่ากับ 87.6 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งสูงขึ้นกว่าการสำรวจครั้งที่ผ่านมาเล็กน้อย (87.4) แสดงว่าประชาชนยังรู้สึกพึงพอใจการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลอยู่ในระดับที่สูง โดยเรียงตามลำดับมาตรการที่รัฐบาลดำเนินการและประชาชนรู้สึกพึงพอใจ คือ ด้านการปราบปราม (86.8) ด้านการป้องกัน (83.8) และด้านการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (80.6) แม้ว่าคะแนนความพึงพอใจของประชาชนครั้งนี้จะไม่สูงเท่ากับการสำรวจในช่วงการประกาศสงครามขั้นแตกหักกับยาเสพติด(ในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2546) ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มข้นและจริงจัง ในลักษณะที่แก้ปัญหาได้ตรงจุดกับสิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศต้องการ จนทำให้เกิดกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งชาติ ส่งผลให้ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงถึง 95.4
4. ข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติดและการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแยกตามรายด้านตามประเด็นข้อคำถาม
4.1 ด้านกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มีผู้ค้ายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน และยาเสพติดหาซื้อไม่ได้ และสำหรับประชาชนที่พอรู้เรื่องราคายาบ้าได้ระบุว่ามีราคาเฉลี่ยเม็ดละ196.98 บาท ซึ่งราคาเฉลี่ยจากการสำรวจครั้งนี้จะสูงขึ้นกว่าการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา (195.47 บาท/เม็ด) และสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐจากการสำรวจประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
4.2 ด้านกลุ่มผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีความรู้สึกว่าจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาบ้า สารระเหย และกัญชาเริ่มมีแนวดโน้มสูงขึ้นกว่าการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา ในด้านการดูแลแก้ไขฟื้นฟู พัฒนาอาชีพ และรายได้ให้กับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่ายังไม่มีการดูแลในเรื่องดังกล่าว และสำหรับผู้ที่ผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกว่ายังไม่ได้รับการยอมรับจากคนในหมู่บ้าน/ชุมชน
4.3 ด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่รับผิดชอบการแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนผู้ประสานพลังแผ่นดิน กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มแกนนำในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ฯลฯ มีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งมีการจัดกลไกเฝ้าระวังหรือแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองเป็นอย่างดี และในส่วนของผู้ประสานพลังแผ่นดินนั้นได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับมาก แต่การจัดระบบการติดตามและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ค้ายาเสพติดที่ผ่านโครงการทำความดีเพื่อแผ่นดินประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ายังทำได้ในระดับปานกลาง สำหรับเรื่องการสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ตามความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าโครงการดังกล่าวช่วยสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ในระดับมาก
แหล่งมั่วสุมหรือแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติด แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าไม่มีแหล่งมั่วสุมหรือแหล่งแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีประชาชนบางส่วนเห็นว่าจำนวนแหล่งมั่วสุมและแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา
5. พื้นที่ 10 จังหวัดแรกของแต่ละภาคที่ประชาชนเห็นว่าแนวโน้มของปัญหายาเสพติดเพิ่มสูงขึ้นประชาชนที่ตอบแบบสำรวจได้ระบุสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนตามความคิดเห็นของตนเอง เมื่อประมวลผลข้อมูลในภาพรวมพบว่า พื้นที่ 10 จังหวัดแรกของแต่ละภาคที่ประชาชนเห็นว่าแนวโน้มของปัญหายาเสพติดเพิ่มสูงขึ้น คือ
5.1 ภาคเหนือ คือ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เชียงใหม่ สุโขทัย เชียงราย กำแพงเพชรนครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน และพะเยา
5.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดอุบลราชธานี หนองคาย ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์อุดรธานี อำนาจเจริญ มหาสารคาม ยโสธร สุรินทร์ และกาฬสินธุ์
5.3 ภาคกลาง คือ จังหวัดเพชรบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ราชบุรี สระแก้วพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง และชลบุรี
5.4 ภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ภูเก็ต พังงา นราธิวาส สตูล นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ ตรังและสงขลา
5.5 กรุงเทพมหานคร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
ศูนย์อำนวยการต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติดแห่งชาติ (ศตส.) และสำนักงาน ป.ป.ส. ร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน กรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น และกรุงเทพมหานคร ดำเนินการสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติด ครั้งที่ 4 (1 พฤศจิกายน 2546 - 31 มกราคม 2547) ซึ่งอยู่ในช่วงของการดำเนินงานตามRoadmap การต่อสู้เพื่อเอาชนะยาเสพติด ระยะที่ 3 (3 ธันวาคม 2546 - 30 กันยายน 2547) เก็บรวบรวมข้อมูลในระหว่างวันที่ 8 - 29 มีนาคม 2547 โดยใช้แบบสำรวจประเมินสถานการณ์ยาเสพติดกับหมู่บ้าน/ชุมชนเป้าหมายที่มีโรงเรียนในสังกัด สปช. เดิม จำนวน 30,191 หมู่บ้าน ชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองและเทศบาลนคร 2,441 ชุมชนและชุมชนที่ตั้งอยู่ใน กทม. 1,720 ชุมชน รวมจำนวนตัวอย่าง 171,760 คน ได้รับแบบสำรวจตอบกลับ ณ วันที่ 12เมษายน 2547 จำนวน 97,740 คน (ร้อยละ 57) ผลการสำรวจพบข้อพึงระวัง (Warning) ดังนี้
1. ดัชนีสถานการณ์ยาเสพติดในภาพรวมทั่วประเทศ จากการสำรวจความคิดเห็นของประชาชนพบว่าประชาชนมีความเห็นว่าปัญหายาเสพติดเริ่มรุนแรงขึ้น จากเดิมซึ่งมีความเห็นว่าปัญหาอยู่ในระดับเบาบาง (31.9) ได้เพิ่มสูงขึ้นจนอยู่ในระดับปานกลาง (34.5)
2. ดัชนีสถานการณ์ยาเสพติดรายด้าน พบว่า
2.1 ด้านกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) พบว่าประชาชนในทุกภาคมีความเห็นว่าการปราบปรามยาเสพติดของรัฐบาลได้ผล ทำให้กลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองลดลงไปมากจนอยู่ในระดับเบาบาง
2.2 ด้านกลุ่มผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) พบว่าประชาชนในทุกภาคยังมีความห่วงใยปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ซึ่งจากการสำรวจประชาชนได้แสดงความคิดเห็นว่าในชุมชน/หมู่บ้านของตนเริ่มมีจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดสูงขึ้นกว่าการสำรวจครั้งที่ผ่านมา
2.3 ด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) พบว่าประชาชนในทุกภาคมีความเห็นว่ากลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติดมีแนวโน้มลดลงตามลำดับ แม้ว่าจะยังคงอยู่ในระดับปานกลาง (38.9) แต่มีแนวโน้มของสถานการณ์ที่ดีขึ้นจากเดิม (40.5)
กล่าวโดยสรุป ในความรู้สึกของประชาชนสถานการณ์ด้านผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) เริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้น ในขณะที่สถานการณ์ด้านกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) และด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด(Potential Demand) มีแนวโน้มที่ลดลง
3. ความพึงพอใจของประชาชนต่อผลการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของรัฐบาล(Satisfaction) ประชาชนให้คะแนนเท่ากับ 87.6 จากคะแนนเต็ม 100 คะแนน ซึ่งสูงขึ้นกว่าการสำรวจครั้งที่ผ่านมาเล็กน้อย (87.4) แสดงว่าประชาชนยังรู้สึกพึงพอใจการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างต่อเนื่องของรัฐบาลอยู่ในระดับที่สูง โดยเรียงตามลำดับมาตรการที่รัฐบาลดำเนินการและประชาชนรู้สึกพึงพอใจ คือ ด้านการปราบปราม (86.8) ด้านการป้องกัน (83.8) และด้านการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (80.6) แม้ว่าคะแนนความพึงพอใจของประชาชนครั้งนี้จะไม่สูงเท่ากับการสำรวจในช่วงการประกาศสงครามขั้นแตกหักกับยาเสพติด(ในช่วงวันที่ 1 กุมภาพันธ์ - 30 เมษายน 2546) ซึ่งเป็นช่วงที่รัฐบาลดำเนินการป้องกันและปราบปรามยาเสพติดอย่างเข้มข้นและจริงจัง ในลักษณะที่แก้ปัญหาได้ตรงจุดกับสิ่งที่ประชาชนทั้งประเทศต้องการ จนทำให้เกิดกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนทั้งชาติ ส่งผลให้ได้รับคะแนนความพึงพอใจสูงถึง 95.4
4. ข้อมูลสถานการณ์ยาเสพติดและการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดแยกตามรายด้านตามประเด็นข้อคำถาม
4.1 ด้านกลุ่มผู้ผลิต/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มีผู้ค้ายาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน และยาเสพติดหาซื้อไม่ได้ และสำหรับประชาชนที่พอรู้เรื่องราคายาบ้าได้ระบุว่ามีราคาเฉลี่ยเม็ดละ196.98 บาท ซึ่งราคาเฉลี่ยจากการสำรวจครั้งนี้จะสูงขึ้นกว่าการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา (195.47 บาท/เม็ด) และสำหรับเจ้าหน้าที่ของรัฐจากการสำรวจประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มีเจ้าหน้าที่ของรัฐเข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
4.2 ด้านกลุ่มผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่าไม่มีผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีความรู้สึกว่าจำนวนผู้เสพ/ผู้ติดยาบ้า สารระเหย และกัญชาเริ่มมีแนวดโน้มสูงขึ้นกว่าการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา ในด้านการดูแลแก้ไขฟื้นฟู พัฒนาอาชีพ และรายได้ให้กับผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ประชาชนส่วนใหญ่คิดว่ายังไม่มีการดูแลในเรื่องดังกล่าว และสำหรับผู้ที่ผ่านกระบวนการบำบัดฟื้นฟูและพัฒนาแล้ว ประชาชนส่วนใหญ่รู้สึกว่ายังไม่ได้รับการยอมรับจากคนในหมู่บ้าน/ชุมชน
4.3 ด้านกลุ่มผู้มีโอกาสเข้าไปใช้ยาเสพติด (Potential Demand) ประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าในหมู่บ้าน/ชุมชนของตน กลุ่มบุคคลหรือองค์กรที่รับผิดชอบการแก้ไขปัญหายาเสพติด เช่น คณะกรรมการหมู่บ้าน/ชุมชนผู้ประสานพลังแผ่นดิน กลุ่มอาสาสมัคร กลุ่มแกนนำในการแก้ไขปัญหายาเสพติด ฯลฯ มีการดำเนินงานป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดอย่างจริงจังและต่อเนื่อง รวมทั้งมีการจัดกลไกเฝ้าระวังหรือแจ้งเตือนภัยเกี่ยวกับยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนของตนเองเป็นอย่างดี และในส่วนของผู้ประสานพลังแผ่นดินนั้นได้เข้ามามีบทบาทในการแก้ไขปัญหายาเสพติดในระดับมาก แต่การจัดระบบการติดตามและให้ความช่วยเหลือแก่ผู้ค้ายาเสพติดที่ผ่านโครงการทำความดีเพื่อแผ่นดินประชาชนส่วนใหญ่เห็นว่ายังทำได้ในระดับปานกลาง สำหรับเรื่องการสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดตามโครงการทูบีนัมเบอร์วัน ตามความคิดเห็นของประชาชนส่วนใหญ่คิดว่าโครงการดังกล่าวช่วยสร้างกระแสการมีส่วนร่วมของประชาชนในการแก้ไขปัญหายาเสพติดได้ในระดับมาก
แหล่งมั่วสุมหรือแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติด แม้ว่าประชาชนส่วนใหญ่ระบุว่าไม่มีแหล่งมั่วสุมหรือแหล่งแพร่ระบาดในหมู่บ้าน/ชุมชน แต่มีประชาชนบางส่วนเห็นว่าจำนวนแหล่งมั่วสุมและแหล่งแพร่ระบาดยาเสพติดในหมู่บ้าน/ชุมชนเริ่มมีแนวโน้มสูงขึ้นกว่าการสำรวจในครั้งที่ผ่านมา
5. พื้นที่ 10 จังหวัดแรกของแต่ละภาคที่ประชาชนเห็นว่าแนวโน้มของปัญหายาเสพติดเพิ่มสูงขึ้นประชาชนที่ตอบแบบสำรวจได้ระบุสถานการณ์ปัญหายาเสพติดในพื้นที่หมู่บ้าน/ชุมชนตามความคิดเห็นของตนเอง เมื่อประมวลผลข้อมูลในภาพรวมพบว่า พื้นที่ 10 จังหวัดแรกของแต่ละภาคที่ประชาชนเห็นว่าแนวโน้มของปัญหายาเสพติดเพิ่มสูงขึ้น คือ
5.1 ภาคเหนือ คือ จังหวัดพิจิตร เพชรบูรณ์ พิษณุโลก เชียงใหม่ สุโขทัย เชียงราย กำแพงเพชรนครสวรรค์ แม่ฮ่องสอน และพะเยา
5.2 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ คือ จังหวัดอุบลราชธานี หนองคาย ศรีสะเกษ หนองบัวลำภู บุรีรัมย์อุดรธานี อำนาจเจริญ มหาสารคาม ยโสธร สุรินทร์ และกาฬสินธุ์
5.3 ภาคกลาง คือ จังหวัดเพชรบุรี ลพบุรี ประจวบคีรีขันธ์ กาญจนบุรี ราชบุรี สระแก้วพระนครศรีอยุธยา สิงห์บุรี อ่างทอง และชลบุรี
5.4 ภาคใต้ คือ จังหวัดปัตตานี ภูเก็ต พังงา นราธิวาส สตูล นครศรีธรรมราช พัทลุง กระบี่ ตรังและสงขลา
5.5 กรุงเทพมหานคร
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-