คณะรัฐมนตรีรับทราบการรายงานความก้าวหน้าของโครงการหรือเรื่องเร่งด่วนของรัฐบาล ด้านการป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติด ปีงบประมาณ 2547 (ธันวาคม 2546-มีนาคม 2547) ตามที่กระทรวงยุติธรรมเสนอ ดังนี้
ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาตัวยา/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักด้านการแก้ไขปัญหาตัวยา ผู้ค้ายาเสพติดประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ย่อยดังต่อไปนี้
1. ยุทธศาสตร์การทำลายโครงสร้างเครือข่ายการผลิตการค้ารายใหญ่และผู้มีอิทธิพล
การปราบปรามทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติด จำเป็นที่จะต้องทำลายองค์ประกอบของขบวนการค้าในทุกลักษณะทั้งผู้ผลิตผู้ค้าในทุกระดับผลการปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในทุกลักษณะความผิดและประเภทตัวยาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2546-มีนาคม 2547 สามารถจับกุมผู้ผลิตได้ 727 คดี ผู้ต้องหา 612 คน จับกุมผู้ค้ารายสำคัญได้ 3,217 คดี ผู้ต้องหา 3,735 คน จำนวนของกลางยาบ้าที่ยึดได้ 51.72 ล้านเม็ด ยึด/อายัดทรัพย์สิน (ตามมาตรการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด) ได้ 2,312.30 ล้านบาท ยึด/อายัดทรัพย์สิน (ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) ได้ 1,647.62 ล้านบาท ใช้มาตรการทางภาษีทั้งหมด 553.29 ล้านบาท
นอกจากนี้ได้มีการพิจารณาจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติดและการจ่ายเงินรางวัล หรือเงินช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในปีงบประมาณ 2547 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 - มกราคม 2547 รวมทั้งสิ้น 1,406 คดี จำนวนเงิน 47,663,905 บาท
ร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเสร็จสิ้นและมีผลบังคับใช้ คือ พระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 2547 ตอนที่ 6ก ลงวันที่ 12 มกราคม 2547
สาระสำคัญของการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ มีดังนี้
1. ให้อำนาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกำหนดให้สถานประกอบการเป็นสถานบริการภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้
2. กำหนดมาตรการป้องกันมิให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้าไปใช้บริการในสถานบริการและกำหนดหน้าที่ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการในสถานบริการ
3. ให้เข้มงวดกวดขันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ
2. ยุทธศาสตร์การควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่
ผลการดำเนินการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่โดยตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด 778,619 แห่ง ดำเนินการปิดล้อมตรวจค้น 210,551 ครั้ง จับกุมผู้ค้ารายย่อยได้ 23,709 คดี ผู้ต้องหา 26,775 คน ตรวจค้นสถานบริการ 395,362 แห่ง ตรวจปัสสาวะผลเป็นสีม่วง 4,213 คน ผู้ค้ารายย่อยเข้ามารายงานตัว 44,016 คน ผู้เสพ/ผู้ติดเข้ามารายงานตัว 331,039 คน
3. ยุทธศาสตร์การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน
รัฐบาลมีนโยบายในการสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดนไม่ให้เข้ามาในราชการอาณาจักรอย่างจริงจัง โดยมีมาตรการที่สำคัญคือ มาตรการเสริมสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติดตามแนวชายแดน ซึ่ง กอ.รมน.ได้กำหนดจำนวนหมู่บ้านเป้าหมายที่เข้าปฏิบัติการไว้ 929 หมู่บ้าน สามารถดำเนินการได้จำนวน 292 หมู่บ้าน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2547) สำหรับมาตรการสกัดกั้นตามแนวชายแดนของ ศตส.กองทัพไทย นับตั้งแต่ห้วงเวลา 1 กุมภาพันธ์ 2546-25 มีนาคม 2547 โดยจัดกำลังลาดตระเวณ/พิสูจน์ทราบพื้นที่เป้าหมาย 65,160 ครั้ง จัดกำลังปิดล้อม/ตรวจค้น 3,832 ครั้ง ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจตามแนวชายแดน 52,927 ครั้ง ปฏิบัติการจับกุม 2,146 ครั้ง ผู้ต้องหา 3,328 คน ของกลางประกอบด้ายยาบ้า 32.61 ล้านเม็ด เงินสด 12,619,036 บาท
4. ยุทธศาสตร์การควบคุมเคมีภัณฑ์
การควบคุมเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด ที่ถูกส่งผ่านประเทศไทยในห้วงเวลาตั้งแต่ ตุลาคม 2546 -มกราคม 2547 มีสารเคมีที่ได้รับการตรวจสอบและควบคุมการนำเข้ามาทั้งหมด 47,797,372 กิโลกรัม และส่งออก 73,066,900 กิโลกรัม
5. ยุทธศาสตร์การปราบปรามเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำเกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ดำเนินการตรวจสอบตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2546-พฤศจิกายน 2546 ได้รับรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมทั้งสิ้น 1,257 ราย ซึ่งได้ดำเนินการทางอาญาจำนวน 28 คน ดำเนินการทางวินัย ทางการปกครองและให้พ้นจากหน้าที่ไปแล้ว จำนวน 515 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ 328 ราย เสียชีวิต 18 ราย และไม่มีพฤติการ 368 ราย ทั้งนี้ตั้งแต่ประกาศชัยชนะสงครามยาเสพติด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 ได้มีการดำเนินงานอย่างเข้มข้นต่อเนื่องแต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
6. ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังยาเสพติดชนิดใหม่
สถานการณ์ยาเสพติดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้การเฝ้าระวังยาเสพติดชนิดใหม่มีความจำเป็น และมีกลไกการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพและพร้อมที่จะรายงานได้ทันที โดยกำหนดระดับความรุนแรงในแต่ละพื้นที่ และหน่วยงานรับผิดชอบอย่างชัดเจนพร้อมทั้งวิธีการป้องกันและแก้ไขซึ่งจะช่วยสกัดกั้นไม่ให้ตัวยานั้น ๆ แพร่ระบาดไปในพื้นที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการข่าว และเทคโนโลยีการปราบปราม
งานการข่าวหากได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบสามารถสนับสนุนการปราบปราม การลักลอบนำเข้าหรือส่งออกสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์และตลอดจนเครือข่ายนักค้า และเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรจัดทำและพัฒนาข้อมูลด้านการข่าวให้มีความเป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์และเชื่อถือได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานได้ นอกจากนี้การพัฒนาเทคโนโลยีการปราบปรามให้ทันสมัย ก็มีความจำเป็นและสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยีซึ่งฝ่ายตรงข้ามใช้ในการลักลอบค้ายาเสพติด
8. ยุทธศาสตร์การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ
ความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้กรอบทวิภาคี
ความร่วมมือไทย-จีน ระหว่างวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2547 ณ จังหวัดภูเก็ต การประชุมใช้รูปแบบ 2 ลักษณะ คือ เป็นการประชุมแบบเต็มคณะ และการประชุมย่อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย กล่าวคือ ด้านการปราบปรามยาเสพติด (Law Enforcement) และด้านการลดอุปสงค์ยาเสพติดและการพัฒนาทางเลือก (Demand Reduction and Altemative Development)
การประชุมภายใต้กรอบความร่วมมือ 5 ฝ่าย ด้านการควบคุมเคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดภายใต้กรอบความร่วมมือ 5 ฝ่าย ระหว่างประเทศไทย สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย
การแต่งตั้งอนุกรรมการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด
การพัฒนาทางเลือกสำหรับเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดต่างปรเทศประจำประเทศไทยและคณะทำงานด้านการพัฒนาทางเลือก ณ พื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2547
ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด/ผู้ติดยาเสพติดประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ย่อย ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การสำรวจค้นหา ชักจูงให้ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟูและพัฒนา
โครงการประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทย ปี 2546
โครงการประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2546 เป็นการดำเนินการครั้งที่ 2 โดยดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประมาณการผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทย การศึกษาพฤติกรรมการเสพ ความคิดเห็นของสมาชิกในครัวเรือนต่อผู้เสพ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผู้เสพในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับบุคคล ครัวเรือนและสังคม ระยะเวลาดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2546-2547 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยระยะสุดท้าย โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2546 -มกราคม 2547 จะทำการประมวลผล วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล และคาดว่าจะจะสามารถนำเสนอผลการศึกษาประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยได้ในเดือนพฤษภาคม 2547
โครงการพัฒนาระบบข้อมูลผู้ใช้/ผู้ติดยาเสพติด
ระบบข้อมูลด้านการบำบัดรักษาได้มีการปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมในการกำหนดนโยบายและวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สถาบันยาเสพติดธัญญารักษ์ เป็นต้น ได้มีการพัฒนาและจัดทำแบบรายงานข้อมูลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดขึ้นแทนการจัดเก็บตามแบบรายงานผู้ผ่านการบำบัดรักษา (แบบ ป.ป.ส.1-2541) เดิม ซึ่งแบบรายงานที่ปรับปรุงและพัฒนาขึ้นใหม่คือ แบบรายงาน "แบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด" (แบบ บสต. 1-5)
สำหรับการดำเนินการในการจัดทำระบบรายงาน ระบบติดตาม และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดนั้น กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติด (จัดทำแบบรายงาน บสต. 3) ได้ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการบำบัดรักษาจัดทำแบบรายงาน บสต. 3 ซึ่งมีการรายงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่ http://antidrug-hass.moph.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2546 เป็นต้นมา นอกจากนี้กรมสนับสนุนการบริการ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านบำบัดรักษาทุกระบบ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการรายงานข้อมูลตามแบบ บสต. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547
2. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในงานด้านการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ได้สรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2546-25 มีนาคม 2547 ได้ดังนี้ จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ 497,511 ราย ในระบบบังคับบำบัด 13,477 ราย และระบบต้องโทษ 27,193 ราย
การดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยกรมควบคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เพื่อเป็นการจำแนกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน และสนับสนุนให้มีมาตรการดูแลบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมทั่วประเทศและมีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม 2546 - 28 มีนาคม 2547 รวม 14,391 คน
3. ยุทธศาสตร์การติดตาม ดูแลช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถภาพ สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม พึ่งตนเองได้และได้รับการยอมรับ โดยให้โอกาสในการเข้ารับการศึกษาต่อ และประกอบสัมมาอาชีพไม่กลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ ดังนั้น การติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่ผ่านการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาจึงเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดอย่างยั่งยืน
ในการสร้างแรงจูงใจแก่สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือในการสร้างงานสร้างอาชีพรองรับผู้ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพจึงได้จัดพิจารณาให้สิทธิประโยชน์แก่สถานประกอบการดังกล่าว เช่น การลดหย่อน/ยกเว้นภาษี การสนับสนุนเงินทุนตามโควต้าที่รับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูเข้าทำงาน และการเชิดชูเกียรติ เป็นต้น
4. ยุทธศาสตร์การปรับทัศนคติ เตรียมความพร้อมของชุมชน อาสาสมัคร เพื่อดูแลช่วยเหลือให้ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดกลับคืนสู่ชุมชน
โครงการสู่ชีวิตใหม่คนดีศรีสังคม การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อปรับเจตคติของสังคมให้ยอมรับ ให้โอกาสและเอื้ออาทรต่อผู้เสพ/ผู้ติยาเสพติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
ยุทธศาสตร์การแก้ปัญหาตัวยา/ผู้ค้ายาเสพติด (Supply) ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักด้านการแก้ไขปัญหาตัวยา ผู้ค้ายาเสพติดประกอบด้วย 8 ยุทธศาสตร์ย่อยดังต่อไปนี้
1. ยุทธศาสตร์การทำลายโครงสร้างเครือข่ายการผลิตการค้ารายใหญ่และผู้มีอิทธิพล
การปราบปรามทำลายเครือข่ายการค้ายาเสพติด จำเป็นที่จะต้องทำลายองค์ประกอบของขบวนการค้าในทุกลักษณะทั้งผู้ผลิตผู้ค้าในทุกระดับผลการปราบปรามจับกุมผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในทุกลักษณะความผิดและประเภทตัวยาในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ 2546-มีนาคม 2547 สามารถจับกุมผู้ผลิตได้ 727 คดี ผู้ต้องหา 612 คน จับกุมผู้ค้ารายสำคัญได้ 3,217 คดี ผู้ต้องหา 3,735 คน จำนวนของกลางยาบ้าที่ยึดได้ 51.72 ล้านเม็ด ยึด/อายัดทรัพย์สิน (ตามมาตรการปราบปรามผู้กระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติด) ได้ 2,312.30 ล้านบาท ยึด/อายัดทรัพย์สิน (ตาม พ.ร.บ. ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน) ได้ 1,647.62 ล้านบาท ใช้มาตรการทางภาษีทั้งหมด 553.29 ล้านบาท
นอกจากนี้ได้มีการพิจารณาจ่ายเงินสินบนเงินรางวัลคดียาเสพติดและการจ่ายเงินรางวัล หรือเงินช่วยเหลือแก่เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน ซึ่งได้รับบาดเจ็บหรือเสียชีวิตในปีงบประมาณ 2547 ตั้งแต่เดือนธันวาคม 2546 - มกราคม 2547 รวมทั้งสิ้น 1,406 คดี จำนวนเงิน 47,663,905 บาท
ร่างพระราชบัญญัติที่แก้ไขเสร็จสิ้นและมีผลบังคับใช้ คือ พระราชบัญญัติสถานบริการ (ฉบับที่ 4) พ.ศ. 2546 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา เล่ม 2547 ตอนที่ 6ก ลงวันที่ 12 มกราคม 2547
สาระสำคัญของการแก้ไขร่างพระราชบัญญัติฯ มีดังนี้
1. ให้อำนาจรัฐมนตรีออกกฎกระทรวงกำหนดให้สถานประกอบการเป็นสถานบริการภายใต้พระราชบัญญัติฉบับนี้
2. กำหนดมาตรการป้องกันมิให้ผู้ที่มีอายุต่ำกว่าที่กฎหมายกำหนดเข้าไปใช้บริการในสถานบริการและกำหนดหน้าที่ผู้รับอนุญาตมีหน้าที่ตรวจบัตรประจำตัวประชาชนของผู้ใช้บริการในสถานบริการ
3. ให้เข้มงวดกวดขันการกระทำความผิดเกี่ยวกับยาเสพติดในสถานบริการ
2. ยุทธศาสตร์การควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่
ผลการดำเนินการเพื่อควบคุมการแพร่ระบาดของยาเสพติดในพื้นที่โดยตั้งจุดตรวจ/จุดสกัด 778,619 แห่ง ดำเนินการปิดล้อมตรวจค้น 210,551 ครั้ง จับกุมผู้ค้ารายย่อยได้ 23,709 คดี ผู้ต้องหา 26,775 คน ตรวจค้นสถานบริการ 395,362 แห่ง ตรวจปัสสาวะผลเป็นสีม่วง 4,213 คน ผู้ค้ารายย่อยเข้ามารายงานตัว 44,016 คน ผู้เสพ/ผู้ติดเข้ามารายงานตัว 331,039 คน
3. ยุทธศาสตร์การสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดน
รัฐบาลมีนโยบายในการสกัดกั้นยาเสพติดตามแนวชายแดนไม่ให้เข้ามาในราชการอาณาจักรอย่างจริงจัง โดยมีมาตรการที่สำคัญคือ มาตรการเสริมสร้างหมู่บ้าน/ชุมชนเข้มแข็งเพื่อเอาชนะยาเสพติดตามแนวชายแดน ซึ่ง กอ.รมน.ได้กำหนดจำนวนหมู่บ้านเป้าหมายที่เข้าปฏิบัติการไว้ 929 หมู่บ้าน สามารถดำเนินการได้จำนวน 292 หมู่บ้าน (ข้อมูล ณ เดือนมีนาคม 2547) สำหรับมาตรการสกัดกั้นตามแนวชายแดนของ ศตส.กองทัพไทย นับตั้งแต่ห้วงเวลา 1 กุมภาพันธ์ 2546-25 มีนาคม 2547 โดยจัดกำลังลาดตระเวณ/พิสูจน์ทราบพื้นที่เป้าหมาย 65,160 ครั้ง จัดกำลังปิดล้อม/ตรวจค้น 3,832 ครั้ง ตั้งจุดตรวจ/ด่านตรวจตามแนวชายแดน 52,927 ครั้ง ปฏิบัติการจับกุม 2,146 ครั้ง ผู้ต้องหา 3,328 คน ของกลางประกอบด้ายยาบ้า 32.61 ล้านเม็ด เงินสด 12,619,036 บาท
4. ยุทธศาสตร์การควบคุมเคมีภัณฑ์
การควบคุมเคมีที่ใช้ในการผลิตยาเสพติด ที่ถูกส่งผ่านประเทศไทยในห้วงเวลาตั้งแต่ ตุลาคม 2546 -มกราคม 2547 มีสารเคมีที่ได้รับการตรวจสอบและควบคุมการนำเข้ามาทั้งหมด 47,797,372 กิโลกรัม และส่งออก 73,066,900 กิโลกรัม
5. ยุทธศาสตร์การปราบปรามเจ้าหน้าที่รัฐที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
คณะกรรมการกลั่นกรองข้อมูลหรือข่าวสารการกระทำเกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ดำเนินการตรวจสอบตั้งแต่กุมภาพันธ์ 2546-พฤศจิกายน 2546 ได้รับรายงานว่ามีเจ้าหน้าที่ของรัฐที่มีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติด รวมทั้งสิ้น 1,257 ราย ซึ่งได้ดำเนินการทางอาญาจำนวน 28 คน ดำเนินการทางวินัย ทางการปกครองและให้พ้นจากหน้าที่ไปแล้ว จำนวน 515 ราย อยู่ระหว่างดำเนินการ 328 ราย เสียชีวิต 18 ราย และไม่มีพฤติการ 368 ราย ทั้งนี้ตั้งแต่ประกาศชัยชนะสงครามยาเสพติด เมื่อวันที่ 3 ธันวาคม 2546 ได้มีการดำเนินงานอย่างเข้มข้นต่อเนื่องแต่ ณ ปัจจุบันยังไม่มีรายงานว่า มีเจ้าหน้าที่เข้าไปเกี่ยวข้องกับยาเสพติด
6. ยุทธศาสตร์การเฝ้าระวังยาเสพติดชนิดใหม่
สถานการณ์ยาเสพติดที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลาทำให้การเฝ้าระวังยาเสพติดชนิดใหม่มีความจำเป็น และมีกลไกการเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพและพร้อมที่จะรายงานได้ทันที โดยกำหนดระดับความรุนแรงในแต่ละพื้นที่ และหน่วยงานรับผิดชอบอย่างชัดเจนพร้อมทั้งวิธีการป้องกันและแก้ไขซึ่งจะช่วยสกัดกั้นไม่ให้ตัวยานั้น ๆ แพร่ระบาดไปในพื้นที่กว้างขวางมากยิ่งขึ้น
7. ยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบการข่าว และเทคโนโลยีการปราบปราม
งานการข่าวหากได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบสามารถสนับสนุนการปราบปราม การลักลอบนำเข้าหรือส่งออกสารตั้งต้นและเคมีภัณฑ์และตลอดจนเครือข่ายนักค้า และเจ้าหน้าที่รัฐซึ่งมีพฤติการณ์เกี่ยวข้องกับยาเสพติดได้ ดังนั้นหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงควรจัดทำและพัฒนาข้อมูลด้านการข่าวให้มีความเป็นปัจจุบันทันต่อเหตุการณ์และเชื่อถือได้ ตลอดจนสามารถเชื่อมโยงแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารระหว่างหน่วยงานได้ นอกจากนี้การพัฒนาเทคโนโลยีการปราบปรามให้ทันสมัย ก็มีความจำเป็นและสำคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากัน เพื่อก้าวให้ทันเทคโนโลยีซึ่งฝ่ายตรงข้ามใช้ในการลักลอบค้ายาเสพติด
8. ยุทธศาสตร์การสร้างความสัมพันธ์และความร่วมมือระหว่างประเทศ
ความร่วมมือระหว่างประเทศภายใต้กรอบทวิภาคี
ความร่วมมือไทย-จีน ระหว่างวันที่ 23-25 กุมภาพันธ์ 2547 ณ จังหวัดภูเก็ต การประชุมใช้รูปแบบ 2 ลักษณะ คือ เป็นการประชุมแบบเต็มคณะ และการประชุมย่อย ซึ่งแบ่งออกเป็น 2 กลุ่มย่อย กล่าวคือ ด้านการปราบปรามยาเสพติด (Law Enforcement) และด้านการลดอุปสงค์ยาเสพติดและการพัฒนาทางเลือก (Demand Reduction and Altemative Development)
การประชุมภายใต้กรอบความร่วมมือ 5 ฝ่าย ด้านการควบคุมเคมีภัณฑ์และสารตั้งต้นที่ใช้ในการผลิตยาเสพติดภายใต้กรอบความร่วมมือ 5 ฝ่าย ระหว่างประเทศไทย สหภาพพม่า สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว สาธารณรัฐประชาชนจีนและสาธารณรัฐอินเดีย
การแต่งตั้งอนุกรรมการด้านความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อการแก้ไขปัญหายาเสพติด
การพัฒนาทางเลือกสำหรับเจ้าหน้าที่ประสานงานยาเสพติดต่างปรเทศประจำประเทศไทยและคณะทำงานด้านการพัฒนาทางเลือก ณ พื้นที่จังหวัดเชียงรายและจังหวัดท่าขี้เหล็ก ประเทศพม่า ระหว่างวันที่ 16-18 กุมภาพันธ์ 2547
ยุทธศาสตร์การแก้ไขปัญหาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด (Demand) ภายใต้ยุทธศาสตร์หลักด้านการแก้ไขปัญหายาเสพติด/ผู้ติดยาเสพติดประกอบด้วย 4 ยุทธศาสตร์ย่อย ดังนี้
1. ยุทธศาสตร์การสำรวจค้นหา ชักจูงให้ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดเข้ารับการบำบัดรักษาฟื้นฟูและพัฒนา
โครงการประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทย ปี 2546
โครงการประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยประจำปี พ.ศ. 2546 เป็นการดำเนินการครั้งที่ 2 โดยดำเนินการครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ. 2543 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อต้องการประมาณการผู้เสพยาเสพติดในประเทศไทย การศึกษาพฤติกรรมการเสพ ความคิดเห็นของสมาชิกในครัวเรือนต่อผู้เสพ ตลอดจนผลกระทบที่เกิดขึ้นจากผู้เสพในระดับต่าง ๆ ทั้งระดับบุคคล ครัวเรือนและสังคม ระยะเวลาดำเนินการระหว่าง พ.ศ. 2546-2547 ขณะนี้อยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยระยะสุดท้าย โดยในช่วงเดือนพฤศจิกายน 2546 -มกราคม 2547 จะทำการประมวลผล วิเคราะห์และสังเคราะห์ข้อมูล และคาดว่าจะจะสามารถนำเสนอผลการศึกษาประมาณการผู้เกี่ยวข้องกับยาเสพติดในประเทศไทยได้ในเดือนพฤษภาคม 2547
โครงการพัฒนาระบบข้อมูลผู้ใช้/ผู้ติดยาเสพติด
ระบบข้อมูลด้านการบำบัดรักษาได้มีการปรับปรุงและพัฒนามาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ครอบคลุมในการกำหนดนโยบายและวางแผนป้องกันและแก้ไขปัญหายาเสพติดของประเทศให้มีประสิทธิภาพสูงสุด ดังนั้นกระทรวงสาธารณสุขร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น สำนักงาน ป.ป.ส. กระทรวงมหาดไทย กระทรวงกลาโหม กรมราชทัณฑ์ กรมพินิจและคุ้มครองเด็กและเยาวชน สถาบันยาเสพติดธัญญารักษ์ เป็นต้น ได้มีการพัฒนาและจัดทำแบบรายงานข้อมูลผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดขึ้นแทนการจัดเก็บตามแบบรายงานผู้ผ่านการบำบัดรักษา (แบบ ป.ป.ส.1-2541) เดิม ซึ่งแบบรายงานที่ปรับปรุงและพัฒนาขึ้นใหม่คือ แบบรายงาน "แบบติดตามและเฝ้าระวังปัญหายาเสพติด" (แบบ บสต. 1-5)
สำหรับการดำเนินการในการจัดทำระบบรายงาน ระบบติดตาม และเฝ้าระวังปัญหายาเสพติดนั้น กระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบในการบำบัดรักษาผู้ใช้สารเสพติด (จัดทำแบบรายงาน บสต. 3) ได้ให้หน่วยงานที่รับผิดชอบในการบำบัดรักษาจัดทำแบบรายงาน บสต. 3 ซึ่งมีการรายงานผ่านระบบอินเตอร์เน็ตที่ http://antidrug-hass.moph.go.th ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2546 เป็นต้นมา นอกจากนี้กรมสนับสนุนการบริการ กระทรวงสาธารณสุขได้จัดประชุมหารือร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องด้านบำบัดรักษาทุกระบบ เพื่อสร้างความเป็นเอกภาพในการรายงานข้อมูลตามแบบ บสต. เมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ 2547
2. ยุทธศาสตร์การบำบัดรักษาฟื้นฟูและพัฒนาผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
การบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด กระทรวงสาธารณสุขในฐานะผู้รับผิดชอบหลักในงานด้านการบำบัดและฟื้นฟูสมรรถภาพผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด ได้สรุปผลการดำเนินงานตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ 2546-25 มีนาคม 2547 ได้ดังนี้ จำนวนผู้เข้ารับการบำบัดรักษาในระบบสมัครใจ 497,511 ราย ในระบบบังคับบำบัด 13,477 ราย และระบบต้องโทษ 27,193 ราย
การดำเนินการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดตาม พ.ร.บ.ฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติด พ.ศ. 2545 โดยกรมควบคุมประพฤติ กระทรวงยุติธรรม เพื่อเป็นการจำแนกกลุ่มเป้าหมายให้ชัดเจน และสนับสนุนให้มีมาตรการดูแลบำบัดรักษาหรือฟื้นฟูสมรรถภาพที่เหมาะสมทั่วประเทศและมีจำนวนผู้เข้ารับการตรวจพิสูจน์ระหว่างวันที่ 3 มีนาคม 2546 - 28 มีนาคม 2547 รวม 14,391 คน
3. ยุทธศาสตร์การติดตาม ดูแลช่วยเหลือผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติด
เพื่อให้ผู้ที่ผ่านการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาสมรรถภาพ สามารถดำรงชีวิตอย่างปกติสุขในสังคม พึ่งตนเองได้และได้รับการยอมรับ โดยให้โอกาสในการเข้ารับการศึกษาต่อ และประกอบสัมมาอาชีพไม่กลับไปใช้ยาเสพติดซ้ำ ดังนั้น การติดตามดูแลช่วยเหลือผู้ที่ผ่านการบำบัด ฟื้นฟูและพัฒนาจึงเป็นกลไกสำคัญในการแก้ไขปัญหาผู้เสพผู้ติดยาเสพติดอย่างยั่งยืน
ในการสร้างแรงจูงใจแก่สถานประกอบการที่ให้ความร่วมมือในการสร้างงานสร้างอาชีพรองรับผู้ผ่านการบำบัดรักษาและฟื้นฟูสมรรถภาพจึงได้จัดพิจารณาให้สิทธิประโยชน์แก่สถานประกอบการดังกล่าว เช่น การลดหย่อน/ยกเว้นภาษี การสนับสนุนเงินทุนตามโควต้าที่รับผู้ผ่านการบำบัดฟื้นฟูเข้าทำงาน และการเชิดชูเกียรติ เป็นต้น
4. ยุทธศาสตร์การปรับทัศนคติ เตรียมความพร้อมของชุมชน อาสาสมัคร เพื่อดูแลช่วยเหลือให้ผู้เสพ/ผู้ติดยาเสพติดกลับคืนสู่ชุมชน
โครงการสู่ชีวิตใหม่คนดีศรีสังคม การรณรงค์ประชาสัมพันธ์เพื่อปรับเจตคติของสังคมให้ยอมรับ ให้โอกาสและเอื้ออาทรต่อผู้เสพ/ผู้ติยาเสพติด
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-