คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงเกษตรและสหกรณ์รายงานผลการตรวจราชการของนายกรัฐมนตรีในภาคตะวันออก จังหวัดจันทบุรี และจังหวัดตราด ดังนี้
1. ปัญหาความแห้งแล้งและอุทกภัย ในเขตพื้นที่จังหวัดตราดและจันทบุรี ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตรในฤดูแล้ง ขาดแคลนแหล่งกักเก็บน้ำ ถึงแม้ว่าทั้งสองจังหวัดจะมีปริมาณน้ำฝนที่ตกโดยเฉลี่ยสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ซึ่งในฤดูฝนจะประสบปัญหาอุทกภัย โดยในระหว่างการตรวจเยี่ยมจังหวัดทั้งสอง ได้มีบัญชาให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งดำเนินการดังนี้
1.1 จังหวัดตราด ให้กรมชลประทาน เร่งดำเนินการโครงการอ่างเก็บน้ำสะพานหิน ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบเสร็จสิ้นแล้ว ประกอบกับพื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนเขาบรรทัด ไม่มีปัญหาเรื่องการอพยพและพื้นที่ทำกินของเกษตรกร โดยอ่างเก็บน้ำสะพานหินจะสามารกักเก็บน้ำได้ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 260 เมตร ซึ่งจะสามารถจัดส่งน้ำด้วยระบบท่อให้แก่อำเภอเมืองและแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะช้าง ได้ประมาณการงบประมาณก่อสร้าง 467 ล้านบาท
1.2 จังหวัดจันทบุรี ซึ่งประสบปัญหาในลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดตราด แต่จะประสบปัญหาด้านอุทกภัยในฤดูฝนมากกว่า เพราะพื้นที่ลุ่มน้ำหลายแห่งของจังหวัดจันทบุรีมีความลาดชันทำให้เกิดน้ำท่วมบ่าในฤดูฝน โดยจังหวัดจันทบุรี มีลุ่มน้ำที่สำคัญอยู่ 3 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำวังตะโหนด ลุ่มน้ำจันทบุรี
และลุ่มน้ำเวฬุ ซึ่งทางกรมชลประทาน กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จะได้เร่งจัดทำแผนในการกักเก็บน้ำ โดยจะทำการศึกษาออกแบบเขื่อนกักเก็บน้ำในบริเวณลุ่มน้ำจันทบุรี ที่มีศักยภาพในการกักเก็บน้ำได้ประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความต้องการน้ำในฤดูแล้งอย่างเร่งด่วนก่อน และจะได้ทำการสำรวจและวางแผนในการจัดทำอ่างเก็บน้ำเพื่อชะลอน้ำไหลบ่า และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
โดยจะดำเนินการจัดสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และเล็กในบริเวณลุ่มน้ำ ทั้ง 3 ของจังหวัดจันทบุรีต่อไป
2. ปัญหาทางด้านราคาสินค้าผลไม้ตกต่ำ โดยทางจังหวัดตราและจันทบุรี ได้ขอให้ทางกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาแก้ไขปัญหาราคาทุเรียน เงาะ และมังคุด ราคาตกต่ำ โดยได้เสนอแนวทางการแก้ไข การจัดตั้งระบบตลาดกลางผลไม้ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบให้กระทรวงพาณิชย์ ไปดำเนินการนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแผนที่จะดำเนินการเสริมในการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ ดังนี้
2.1 เร่งรัดในการขึ้นทะเบียนสวนผลไม้ ตามระบบมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสม (Good Agriculture Practice : GAP) ให้แก่สวนผลไม้ และตรวจสอบในเรื่องการควบคุมมาตรฐาน เช่น การใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย การตัดทุเรียนอ่อน และดำเนินการกำหนดมาตรฐานของสินค้าดังกล่าว เพื่อเป็นกลไกป้องกันมิให้ชาวสวนผลไม้ถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านราคารับซื้อของพ่อค้าต่อไป
2.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้เร่งรัดให้กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร พิจารณาศึกษาและดำเนินการส่งเสริมในการเปลี่ยนพันธุ์ทุเรียนให้เป็นพันธุ์ดี และเป็นที่ต้องการของตลาดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ยางพารา ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว
3. ในด้านการอนุรักษ์ปลาพะยูนในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน ขณะนี้ทางกรมประมง ได้จัดทำแผนการอนุรักษ์ปลาพะยูน และหญ้าทะเล เสนอทางกระทรวงเกษตรฯ พิจารณาสนับสนุนงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-พธ-
1. ปัญหาความแห้งแล้งและอุทกภัย ในเขตพื้นที่จังหวัดตราดและจันทบุรี ซึ่งประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ทั้งเพื่ออุปโภคบริโภคและการเกษตรในฤดูแล้ง ขาดแคลนแหล่งกักเก็บน้ำ ถึงแม้ว่าทั้งสองจังหวัดจะมีปริมาณน้ำฝนที่ตกโดยเฉลี่ยสูงกว่าพื้นที่อื่นๆ ซึ่งในฤดูฝนจะประสบปัญหาอุทกภัย โดยในระหว่างการตรวจเยี่ยมจังหวัดทั้งสอง ได้มีบัญชาให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เร่งดำเนินการดังนี้
1.1 จังหวัดตราด ให้กรมชลประทาน เร่งดำเนินการโครงการอ่างเก็บน้ำสะพานหิน ซึ่งปัจจุบันได้ดำเนินการสำรวจและออกแบบเสร็จสิ้นแล้ว ประกอบกับพื้นที่ดำเนินการอยู่ในเขตพื้นที่ป่าสงวนเขาบรรทัด ไม่มีปัญหาเรื่องการอพยพและพื้นที่ทำกินของเกษตรกร โดยอ่างเก็บน้ำสะพานหินจะสามารกักเก็บน้ำได้ 20 ล้านลูกบาศก์เมตร และมีความสูงเหนือระดับน้ำทะเลประมาณ 260 เมตร ซึ่งจะสามารถจัดส่งน้ำด้วยระบบท่อให้แก่อำเภอเมืองและแหล่งท่องเที่ยวบริเวณเกาะช้าง ได้ประมาณการงบประมาณก่อสร้าง 467 ล้านบาท
1.2 จังหวัดจันทบุรี ซึ่งประสบปัญหาในลักษณะคล้ายคลึงกับจังหวัดตราด แต่จะประสบปัญหาด้านอุทกภัยในฤดูฝนมากกว่า เพราะพื้นที่ลุ่มน้ำหลายแห่งของจังหวัดจันทบุรีมีความลาดชันทำให้เกิดน้ำท่วมบ่าในฤดูฝน โดยจังหวัดจันทบุรี มีลุ่มน้ำที่สำคัญอยู่ 3 ลุ่มน้ำ คือ ลุ่มน้ำวังตะโหนด ลุ่มน้ำจันทบุรี
และลุ่มน้ำเวฬุ ซึ่งทางกรมชลประทาน กระทรวงการเกษตรและสหกรณ์ จะได้เร่งจัดทำแผนในการกักเก็บน้ำ โดยจะทำการศึกษาออกแบบเขื่อนกักเก็บน้ำในบริเวณลุ่มน้ำจันทบุรี ที่มีศักยภาพในการกักเก็บน้ำได้ประมาณ 40 ล้านลูกบาศก์เมตร เพื่อเป็นการบรรเทาปัญหาความต้องการน้ำในฤดูแล้งอย่างเร่งด่วนก่อน และจะได้ทำการสำรวจและวางแผนในการจัดทำอ่างเก็บน้ำเพื่อชะลอน้ำไหลบ่า และกักเก็บน้ำไว้ใช้ในฤดูแล้ง
โดยจะดำเนินการจัดสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง และเล็กในบริเวณลุ่มน้ำ ทั้ง 3 ของจังหวัดจันทบุรีต่อไป
2. ปัญหาทางด้านราคาสินค้าผลไม้ตกต่ำ โดยทางจังหวัดตราและจันทบุรี ได้ขอให้ทางกระทรวงพาณิชย์ พิจารณาแก้ไขปัญหาราคาทุเรียน เงาะ และมังคุด ราคาตกต่ำ โดยได้เสนอแนวทางการแก้ไข การจัดตั้งระบบตลาดกลางผลไม้ ซึ่ง ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี ได้มอบให้กระทรวงพาณิชย์ ไปดำเนินการนั้น กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ได้มีแผนที่จะดำเนินการเสริมในการแก้ไขปัญหาราคาผลไม้ตกต่ำ ดังนี้
2.1 เร่งรัดในการขึ้นทะเบียนสวนผลไม้ ตามระบบมาตรฐานฟาร์มที่เหมาะสม (Good Agriculture Practice : GAP) ให้แก่สวนผลไม้ และตรวจสอบในเรื่องการควบคุมมาตรฐาน เช่น การใช้สารเคมีที่เป็นอันตราย การตัดทุเรียนอ่อน และดำเนินการกำหนดมาตรฐานของสินค้าดังกล่าว เพื่อเป็นกลไกป้องกันมิให้ชาวสวนผลไม้ถูกเอารัดเอาเปรียบในด้านราคารับซื้อของพ่อค้าต่อไป
2.2 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จะได้เร่งรัดให้กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร พิจารณาศึกษาและดำเนินการส่งเสริมในการเปลี่ยนพันธุ์ทุเรียนให้เป็นพันธุ์ดี และเป็นที่ต้องการของตลาดในลักษณะเช่นเดียวกับที่ดำเนินการเปลี่ยนแปลงพันธุ์ยางพารา ที่ประสบความสำเร็จมาแล้ว
3. ในด้านการอนุรักษ์ปลาพะยูนในบริเวณอ่าวคุ้งกระเบน ขณะนี้ทางกรมประมง ได้จัดทำแผนการอนุรักษ์ปลาพะยูน และหญ้าทะเล เสนอทางกระทรวงเกษตรฯ พิจารณาสนับสนุนงบประมาณ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 4 พฤษภาคม 2547--จบ--
-พธ-