คณะรัฐมนตรีพิจารณาการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ ตามที่สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีเสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. เห็นชอบการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยมีลักษณะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit: SDU) ในสำนักนายกรัฐมนตรี มีรูปแบบการบริหารแบบองค์กรเสมือนจริงและมีความเชื่อมโยง (Virtual & Networking Organization)
2. เห็นชอบและลงนามในร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรายงานว่า ได้นำความเห็นของรองนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะไปพิจารณาและจัดทำเอกสารแนวคิดการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยได้เสนอเอกสารแนวคิดดังกล่าวในการประชุมร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีในระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน (Working lunch) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล : ทางเลือกหนึ่งในการจัดการนโยบายสาธารณะให้บังเกิดผลคือ การสร้างนักพัฒนานโยบายเพื่อดำเนินการถอดแบบนโยบายที่ริเริ่มโดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เพื่อสร้างทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในการบริหารนโยบายแก่นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ในการสร้างนักพัฒนานโยบายที่สามารถเป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติที่มาจากตัวแทนที่มีความรู้ ความสามารถจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนนั้น จะดำเนินการโดย "สถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ" ที่มีลักษณะเป็น virtual and networking organization ในสำนักนายก-รัฐมนตรีก่อนในเบื้องต้น ซึ่งถ้าหากการดำเนินการในลักษณะนี้ได้ผลดีเป็นที่ยอมรับ จึงจะใช้เป็นต้นแบบในการสร้างระบบเสนาธิการในระดับกระทรวงต่อไป
2. วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างนักพัฒนานโยบาย สร้างเครือข่ายพัฒนานโยบายทั้งในภาครัฐด้วยกัน และเครือข่ายรัฐ - เอกชน-ประชาชน รวมทั้งสร้างฐานข้อมูลนโยบาย
3. การดำเนินการ :
3.1 คัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นนักพัฒนานโยบาย 60 คน จากกระทรวง ๆ ละ 1 คน รวม 20 คน จากภาคเอกชน 20 คน และจากนักเรียนทุนจำนวน 20 คน
3.2 ดำเนินการพัฒนานักพัฒนานโยบายโดยเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติในกรณีศึกษาจริงจากนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี โดยนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์หาทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อเสนอนายก-รัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี นอกจากนั้นจะให้มีรับฟังความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากในและต่างประเทศ รวมทั้งให้นักพัฒนานโยบายถ่ายทอดความรู้แก่กันและกันด้วย ทั้งนี้การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ การติดต่อสื่อสารจะเน้นการใช้ internet เป็นหลัก ซึ่งจะทำให้นักพัฒนานโยบายไม่จำเป็นต้องมาอยู่ที่สถาบันเต็มเวลา
4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
4.1 ทางเลือกการบริหารนโยบายใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติ
4.2 บุคลากรด้านนโยบายสาธารณะที่เป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติ อันจะเป็นตัวเลือกแก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการสรรหาคนมาร่วมงานในอนาคต
4.3 เครือข่ายการจัดการนโยบายสาธารณะใน 2 ระดับ คือ ภายในภาคราชการ และภายนอก คือ รัฐ-เอกชน-ประชาชน
4.4 วัฒนธรรมใหม่ในการจัดการนโยบายที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
4.5 เป็นการนำร่องระบบเสนาธิการในระดับนโยบาย (คณะรัฐมนตรี) ก่อนไปสู่ระดับปฏิบัติ (กระทรวง)
5. โครงสร้างและการบริหาร : เป็นหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) ในสำนักนายกรัฐมนตรี มีลักษณะเป็น virtual organization เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน โดยจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการ การดำเนินการ รูปแบบโครงสร้างและการบริหารของสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะแล้ว
เพื่อให้สถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะสามารถจัดตั้งและดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการ มีความจำเป็นจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กรอบทิศทาง และแนวทางการพัฒนานโยบายสาธารณะ การแต่งตั้งนักพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ สังเคราะห์ และถอดแบบนโยบายสาธารณะที่กำหนดโดยนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ตลอดจนการกำหนดนโยบายการบริหารสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ และการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ร่างคำสั่งสำนักนากยกรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายสาธารณะและจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. เห็นชอบการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยมีลักษณะเป็นหน่วยบริการรูปแบบพิเศษ (Service Delivery Unit: SDU) ในสำนักนายกรัฐมนตรี มีรูปแบบการบริหารแบบองค์กรเสมือนจริงและมีความเชื่อมโยง (Virtual & Networking Organization)
2. เห็นชอบและลงนามในร่างคำสั่งสำนักนายกรัฐมนตรี เรื่อง แต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะ
สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีรายงานว่า ได้นำความเห็นของรองนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับแนวคิดในการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะไปพิจารณาและจัดทำเอกสารแนวคิดการจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ โดยได้เสนอเอกสารแนวคิดดังกล่าวในการประชุมร่วมกันระหว่างนายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรีในระหว่างรับประทานอาหารกลางวัน (Working lunch) เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2547 สรุปสาระสำคัญได้ดังนี้
1. หลักการและเหตุผล : ทางเลือกหนึ่งในการจัดการนโยบายสาธารณะให้บังเกิดผลคือ การสร้างนักพัฒนานโยบายเพื่อดำเนินการถอดแบบนโยบายที่ริเริ่มโดยนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรี เพื่อสร้างทางเลือกที่เหมาะสมและเป็นไปได้ในการบริหารนโยบายแก่นายกรัฐมนตรีและรองนายกรัฐมนตรี ทั้งนี้ในการสร้างนักพัฒนานโยบายที่สามารถเป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติที่มาจากตัวแทนที่มีความรู้ ความสามารถจากทั้งภาครัฐ เอกชน และประชาชนนั้น จะดำเนินการโดย "สถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ" ที่มีลักษณะเป็น virtual and networking organization ในสำนักนายก-รัฐมนตรีก่อนในเบื้องต้น ซึ่งถ้าหากการดำเนินการในลักษณะนี้ได้ผลดีเป็นที่ยอมรับ จึงจะใช้เป็นต้นแบบในการสร้างระบบเสนาธิการในระดับกระทรวงต่อไป
2. วัตถุประสงค์ : เพื่อสร้างนักพัฒนานโยบาย สร้างเครือข่ายพัฒนานโยบายทั้งในภาครัฐด้วยกัน และเครือข่ายรัฐ - เอกชน-ประชาชน รวมทั้งสร้างฐานข้อมูลนโยบาย
3. การดำเนินการ :
3.1 คัดเลือกผู้ที่จะมาเป็นนักพัฒนานโยบาย 60 คน จากกระทรวง ๆ ละ 1 คน รวม 20 คน จากภาคเอกชน 20 คน และจากนักเรียนทุนจำนวน 20 คน
3.2 ดำเนินการพัฒนานักพัฒนานโยบายโดยเน้นการเรียนรู้จากการปฏิบัติในกรณีศึกษาจริงจากนโยบายของนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี โดยนำมาวิเคราะห์สังเคราะห์หาทางเลือกที่เหมาะสมเพื่อเสนอนายก-รัฐมนตรี หรือรองนายกรัฐมนตรี นอกจากนั้นจะให้มีรับฟังความรู้จากวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิทั้งจากในและต่างประเทศ รวมทั้งให้นักพัฒนานโยบายถ่ายทอดความรู้แก่กันและกันด้วย ทั้งนี้การแลกเปลี่ยนข้อมูล ความรู้ การติดต่อสื่อสารจะเน้นการใช้ internet เป็นหลัก ซึ่งจะทำให้นักพัฒนานโยบายไม่จำเป็นต้องมาอยู่ที่สถาบันเต็มเวลา
4. ผลที่คาดว่าจะได้รับ :
4.1 ทางเลือกการบริหารนโยบายใหม่ ๆ ที่เป็นประโยชน์ในการปฏิบัติ
4.2 บุคลากรด้านนโยบายสาธารณะที่เป็นทั้งนักคิดและนักปฏิบัติ อันจะเป็นตัวเลือกแก่นายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีในการสรรหาคนมาร่วมงานในอนาคต
4.3 เครือข่ายการจัดการนโยบายสาธารณะใน 2 ระดับ คือ ภายในภาคราชการ และภายนอก คือ รัฐ-เอกชน-ประชาชน
4.4 วัฒนธรรมใหม่ในการจัดการนโยบายที่เน้นการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
4.5 เป็นการนำร่องระบบเสนาธิการในระดับนโยบาย (คณะรัฐมนตรี) ก่อนไปสู่ระดับปฏิบัติ (กระทรวง)
5. โครงสร้างและการบริหาร : เป็นหน่วยงานบริการรูปแบบพิเศษ (SDU) ในสำนักนายกรัฐมนตรี มีลักษณะเป็น virtual organization เพื่อความคล่องตัวในการบริหารงาน โดยจะขอรับการสนับสนุนงบประมาณจากหน่วยงานต่าง ๆ เช่น สำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาล
ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรีได้เห็นชอบในหลักการ การดำเนินการ รูปแบบโครงสร้างและการบริหารของสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะแล้ว
เพื่อให้สถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะสามารถจัดตั้งและดำเนินการให้เป็นไปตามหลักการ มีความจำเป็นจะต้องแต่งตั้งคณะกรรมการพัฒนานโยบายสาธารณะขึ้นเพื่อทำหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย กรอบทิศทาง และแนวทางการพัฒนานโยบายสาธารณะ การแต่งตั้งนักพัฒนานโยบายสาธารณะเพื่อทำหน้าที่วิเคราะห์ สังเคราะห์ และถอดแบบนโยบายสาธารณะที่กำหนดโดยนายกรัฐมนตรีหรือคณะรัฐมนตรี ตลอดจนการกำหนดนโยบายการบริหารสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ และการกำกับดูแลการดำเนินกิจการของสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ สำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรีจึงได้ร่างคำสั่งสำนักนากยกรัฐมนตรีเพื่อแต่งตั้งคณะกรรมการนโยบายสาธารณะและจัดตั้งสถาบันพัฒนานโยบายสาธารณะ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-