คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีเสนอ สรุปผลการสัมมนา "รัฐบาลสื่อสารสู่สื่อท้องถิ่น" ครั้งที่ 5 และมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะของสื่อมวลชนท้องถิ่นไปดำเนินการต่อไป ดังนี้
สำนักโฆษกได้จัดสัมมนา "รัฐบาลสื่อสารสู่สื่อท้องถิ่น" ครั้งที่ 5 เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2547 ณ จังหวัดภูเก็ต โดยกำหนดพื้นที่การจัดสัมมนาในเขตตรวจราชการ ที่ 15 ได้แก่จังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ในการติดตามกำกับการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) และเขตตรวจราชการที่ 17 ได้แก่ จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งอยู่ในการติดตามกำกับการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) (ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งมอบหมายงานให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคใหม่ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ๒๕๔๗) ในการสัมมนาครั้งนี้มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธาน
สรุปประเด็นการสัมมนา
ภาคเช้า
การสัมมนาในภาคเช้ามีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชน ท้องถิ่นกับคณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวง และการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐ ซึ่งสื่อมวลชนท้องถิ่นได้เสนอความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ ในการทำงาน สรุปได้ดังนี้
- การส่งข้อมูล ข้อเรียกร้อง ไปยังหน่วยงานของรัฐทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผู้ดำเนินการไม่รักษาความลับของผู้ร้องเรียนและไม่ได้รับคำตอบในการถามปัญหาหรือขอข้อมูล
- ได้รับข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐล่าช้า
- ขอให้ส่งบุคลากรของรัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีความสามารถและปฏิบัติงานให้ถูกต้องตรงตามความต้องการของประชาชน
- ขอให้มีการประสานข้อมูลโดยตรงจากภาครัฐไปสู่รายการวิทยุชุมชน โดยมีการ phone in เข้ามาในรายการวิทยุ เพื่อให้ประชาชนที่รับฟังได้รับทราบข้อมูลและทันต่อสถานการณ์
- ขาดงบประมาณในการดำเนินการของหอกระจายข่าวหรือเสียงตามสาย ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลในเรื่องนี้และเสนอให้มีการอบรมเพิ่มทักษะให้แก่ผู้จัดรายการ
- สื่อไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากหน่วยงานของรัฐ และไม่ค่อยได้รับทราบผลการประชุมต่าง ๆ ของจังหวัด ทั้งๆ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งการหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดแล้ว
- สื่อท้องถิ่นไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานส่วนกลางของรัฐที่มาจัดกิจกรรมในจังหวัด เจ้าหน้าที่ไม่อำนวยความสะดวกและกีดกันในการทำงานของสื่อท้องถิ่น จึงต้องการให้ภาครัฐมองเห็นความสำคัญของสื่อท้องถิ่นด้วย
- เสนอให้มีการรับรองสถานภาพของผู้สื่อข่าวประจำตำบล และกรรมการวิทยุชุมชน เพื่อความสะดวกในการทำงาน
ประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะของสื่อมวลชนเหล่านี้ คณะโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกกระทรวงจะนำข้อเสนอและปัญหาที่สำคัญและจำเป็นมาพิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภาคบ่าย
การสัมมนาภาคบ่ายเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถามระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและสื่อมวลชนท้องถิ่น ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ประธานการสัมมนา ได้ชี้แจงนโยบายการบริหารงานของรัฐบาล และได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนท้องถิ่นร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการ คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกกระทรวง ในประเด็นปัญหา ดังนี้
ประเด็นคำถามต่าง ๆ ของสื่อมวลชนท้องถิ่นทั้ง 6 จังหวัด รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ตอบคำถามและชี้แจงข้อสงสัยประเด็นคำถามของสื่อมวลชนในเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้แจ้งสื่อมวลชนที่เข้าร่วมสัมมนาว่า จะรวบรวมประเด็นคำถามทั้งหมดของการสัมมนาโดยละเอียดกราบเรียนนายกรัฐมนตรี และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหา รวมทั้งแจ้งผลการดำเนินงานให้สื่อมวลชนและประชาชนทราบต่อไป
การประเมินผลการจัดสัมมนา
1. การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น จำนวน 372 คน แบ่งเป็นสื่อมวลชนท้องถิ่น 130 คน โฆษกกระทรวง 13 คน ผู้ตรวจราชการ 16 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด 4 คน หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ 87 คน สำนักโฆษก 25 คน กรมประชาสัมพันธ์ 53 คน และผู้สังเกตการณ์ 44 คน
2. จากการประเมินผลการสัมมนาโดยการตอบแบบสอบถาม สื่อมวลชนส่วนใหญ่ระบุว่าได้รับประโยชน์จากการสัมมนามาก เพราะได้รับทราบการทำงานของรัฐบาลอย่างชัดเจน สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผย และนำเสนอปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้รัฐบาลได้รับทราบโดยตรง ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและถูกต้อง นอกจากนี้ยังทำให้การทำงานของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกกระทรวงมีความใกล้ชิดเข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การประสานการทำงานในด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเป็นไปด้วยดี
3. ข้อเสนอแนะของสื่อมวลชน
- ต้องการให้จัดโครงการลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรัฐบาลจะได้รับทราบ ข้อมูลระดับท้องถิ่นอย่างชัดเจน
- ต้องการให้คณะรัฐมนตรีนำปัญหาที่สื่อมวลชนท้องถิ่นเสนอไปแก้ไขอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำนักโฆษกได้จัดสัมมนา "รัฐบาลสื่อสารสู่สื่อท้องถิ่น" ครั้งที่ 5 เมื่อวันศุกร์ที่ 12 มีนาคม 2547 ณ จังหวัดภูเก็ต โดยกำหนดพื้นที่การจัดสัมมนาในเขตตรวจราชการ ที่ 15 ได้แก่จังหวัดชุมพร ระนองและสุราษฎร์ธานี ซึ่งอยู่ในการติดตามกำกับการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) และเขตตรวจราชการที่ 17 ได้แก่ จังหวัดกระบี่ พังงา และภูเก็ต ซึ่งอยู่ในการติดตามกำกับการปฏิบัติราชการของรองนายกรัฐมนตรี (นายโภคิน พลกุล) (ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงคำสั่งมอบหมายงานให้รองนายกรัฐมนตรีกำกับติดตามการปฏิบัติราชการในภูมิภาคใหม่ เมื่อวันที่ 11 มีนาคม ๒๕๔๗) ในการสัมมนาครั้งนี้มีรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) เป็นประธาน
สรุปประเด็นการสัมมนา
ภาคเช้า
การสัมมนาในภาคเช้ามีการจัดกิจกรรมสร้างความสัมพันธ์ระหว่างสื่อมวลชน ท้องถิ่นกับคณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรีและโฆษกกระทรวง และการสัมมนาแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในเรื่องแนวทางการทำงานร่วมกันระหว่างสื่อมวลชนกับหน่วยงานประชาสัมพันธ์ภาครัฐ ซึ่งสื่อมวลชนท้องถิ่นได้เสนอความคิดเห็นและปัญหาต่าง ๆ ในการทำงาน สรุปได้ดังนี้
- การส่งข้อมูล ข้อเรียกร้อง ไปยังหน่วยงานของรัฐทางสื่ออิเล็กทรอนิกส์ผู้ดำเนินการไม่รักษาความลับของผู้ร้องเรียนและไม่ได้รับคำตอบในการถามปัญหาหรือขอข้อมูล
- ได้รับข้อมูลข่าวสารจากภาครัฐล่าช้า
- ขอให้ส่งบุคลากรของรัฐที่ไปปฏิบัติหน้าที่ในท้องถิ่นเป็นผู้ที่มีความสามารถและปฏิบัติงานให้ถูกต้องตรงตามความต้องการของประชาชน
- ขอให้มีการประสานข้อมูลโดยตรงจากภาครัฐไปสู่รายการวิทยุชุมชน โดยมีการ phone in เข้ามาในรายการวิทยุ เพื่อให้ประชาชนที่รับฟังได้รับทราบข้อมูลและทันต่อสถานการณ์
- ขาดงบประมาณในการดำเนินการของหอกระจายข่าวหรือเสียงตามสาย ต้องการให้รัฐบาลเข้ามาดูแลในเรื่องนี้และเสนอให้มีการอบรมเพิ่มทักษะให้แก่ผู้จัดรายการ
- สื่อไม่ได้รับข้อมูลที่แท้จริงจากหน่วยงานของรัฐ และไม่ค่อยได้รับทราบผลการประชุมต่าง ๆ ของจังหวัด ทั้งๆ ที่ผู้ว่าราชการจังหวัดได้สั่งการหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดแล้ว
- สื่อท้องถิ่นไม่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานส่วนกลางของรัฐที่มาจัดกิจกรรมในจังหวัด เจ้าหน้าที่ไม่อำนวยความสะดวกและกีดกันในการทำงานของสื่อท้องถิ่น จึงต้องการให้ภาครัฐมองเห็นความสำคัญของสื่อท้องถิ่นด้วย
- เสนอให้มีการรับรองสถานภาพของผู้สื่อข่าวประจำตำบล และกรรมการวิทยุชุมชน เพื่อความสะดวกในการทำงาน
ประเด็นปัญหาและข้อเสนอแนะของสื่อมวลชนเหล่านี้ คณะโฆษกประจำ สำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกกระทรวงจะนำข้อเสนอและปัญหาที่สำคัญและจำเป็นมาพิจารณาดำเนินการร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อให้การประสานงานด้านการประชาสัมพันธ์และเผยแพร่ ข้อมูลข่าวสารของภาครัฐมีประสิทธิภาพมากขึ้น
ภาคบ่าย
การสัมมนาภาคบ่ายเป็นการพบปะแลกเปลี่ยนความคิดเห็นและตอบข้อซักถามระหว่างรองนายกรัฐมนตรีและสื่อมวลชนท้องถิ่น ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ประธานการสัมมนา ได้ชี้แจงนโยบายการบริหารงานของรัฐบาล และได้ตอบข้อซักถามของสื่อมวลชนท้องถิ่นร่วมกับผู้ว่าราชการจังหวัด ผู้ตรวจราชการ คณะโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกกระทรวง ในประเด็นปัญหา ดังนี้
ประเด็นคำถามต่าง ๆ ของสื่อมวลชนท้องถิ่นทั้ง 6 จังหวัด รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ตอบคำถามและชี้แจงข้อสงสัยประเด็นคำถามของสื่อมวลชนในเบื้องต้นแล้ว ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรีได้แจ้งสื่อมวลชนที่เข้าร่วมสัมมนาว่า จะรวบรวมประเด็นคำถามทั้งหมดของการสัมมนาโดยละเอียดกราบเรียนนายกรัฐมนตรี และนำเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อทราบและมอบหมายหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการแก้ปัญหา รวมทั้งแจ้งผลการดำเนินงานให้สื่อมวลชนและประชาชนทราบต่อไป
การประเมินผลการจัดสัมมนา
1. การจัดสัมมนาครั้งนี้ มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมสัมมนาทั้งสิ้น จำนวน 372 คน แบ่งเป็นสื่อมวลชนท้องถิ่น 130 คน โฆษกกระทรวง 13 คน ผู้ตรวจราชการ 16 คน ผู้ว่าราชการจังหวัดและรองผู้ว่าราชการจังหวัด 4 คน หัวหน้าส่วนราชการจังหวัดในเขตพื้นที่ 87 คน สำนักโฆษก 25 คน กรมประชาสัมพันธ์ 53 คน และผู้สังเกตการณ์ 44 คน
2. จากการประเมินผลการสัมมนาโดยการตอบแบบสอบถาม สื่อมวลชนส่วนใหญ่ระบุว่าได้รับประโยชน์จากการสัมมนามาก เพราะได้รับทราบการทำงานของรัฐบาลอย่างชัดเจน สามารถแสดงความคิดเห็นได้อย่างเปิดเผย และนำเสนอปัญหาความต้องการของประชาชนในพื้นที่ให้รัฐบาลได้รับทราบโดยตรง ซึ่งจะทำให้ปัญหาต่าง ๆ ได้รับการแก้ไขอย่างรวดเร็วและถูกต้อง นอกจากนี้ยังทำให้การทำงานของสื่อมวลชนท้องถิ่นกับโฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และโฆษกกระทรวงมีความใกล้ชิดเข้าใจกันมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้การประสานการทำงานในด้านการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารเพื่อสร้างความเข้าใจแก่ประชาชนเป็นไปด้วยดี
3. ข้อเสนอแนะของสื่อมวลชน
- ต้องการให้จัดโครงการลักษณะนี้อย่างต่อเนื่อง เพื่อรัฐบาลจะได้รับทราบ ข้อมูลระดับท้องถิ่นอย่างชัดเจน
- ต้องการให้คณะรัฐมนตรีนำปัญหาที่สื่อมวลชนท้องถิ่นเสนอไปแก้ไขอย่างจริงจังและเป็นรูปธรรม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-