คณะรัฐมนตรีพิจารณากรอบยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปี (2548 — 2551) ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ แล้วมีมติดังนี้
1. รับทราบสถานภาพโครงสร้างและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย และให้ความเห็นชอบกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปีข้างหน้า (2548 — 2551) และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดของกรอบแผนยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย แผนงาน มาตรการ และเป้าหมายในระยะ 4 ปีข้างหน้า ให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2548
2. เห็นชอบให้ สศช. ศึกษาวิเคราะห์และบูรณาการแผนการลงทุนภาครัฐให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. เห็นชอบการปรับภารกิจและโครงสร้างองค์กรของ สศช. ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปีข้างหน้า โดยเน้น (1) การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร การศึกษาวิจัย การปรับปรุงองค์กรไปสู่องค์กรการเรียนรู้ (2) การสนับสนุนนโยบายการกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการบริหารราชการของผู้ว่าราชการแบบบูรณาการ และ (3) การเพิ่มศักยภาพในการเป็นหน่วยงานข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมเชิงลึก (Intelligence Agency) ที่ทันสมัย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และประกอบการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
4. เห็นชอบให้ สศช. ใช้งบประมาณเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 380 ล้านบาท ที่ได้จัดสรรไว้แล้วในปีงบประมาณ 2547 เพื่อใช้ในการจัดทำยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างของประเทศและการปรับภารกิจและโครงสร้างองค์กรของ สศช. และจัดสรรงบประมาณด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้กับ สศช. ใน ปีงบประมาณ 2549 ต่อไป
ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการต่อไปในกรอบของ ราชการประจำ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการเพิ่มเติมด้วย ดังนี้
1. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปดำเนินการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงแนวทาง โอกาส ปัญหาและอุปสรรคอันเนื่องมาจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในประเด็นของเทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายของแรงงาน การเปิดเสรีการค้าสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและอายุ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อการปรับปรุงพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันได้ และเหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ รวมถึงการ ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ และการพัฒนาบุคลากรวัยแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการกับภาคการผลิต
2. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของสินค้าที่นำเข้าและส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของไทย เพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนาการผลิตสินค้าของประเทศให้มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนภายในประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งมีการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) กับสหรัฐอเมริกาต่อไปด้วย
สศช. รายงานว่า
1. สถานภาพเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
1.1 ด้านเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการพัฒนาคู่ขนานไปพร้อมกัน ทั้งด้านการสร้างอุปสงค์ในประเทศและการสร้างเศรษฐกิจรากหญ้าและด้านการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยส่วนรวมฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจมหภาคมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพมาก กล่าวคือ
(1) เศรษฐกิจส่วนรวม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สามารถขยายตัวได้เฉลี่ยร้อยละ 5.2 ในช่วงปี 2544 — 2547 (ร้อยละ 2.2 5.3 6.9 และ 6.2 ตามลำดับ) โดยเป็นการขยายตัวของทุกภาคการผลิต
(2) เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ - อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทางการกำหนด ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ของ GDP ฐานะการคลังสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้เป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2548 หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 56 ของ GDP ในปี 2541 เป็นร้อยละ 46.2 ของ GDP ในปี 2547 ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยตลอดและสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 49.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2547
(3) การจ้างงานและการกระจายรายได้ การจ้างงานเพิ่มขึ้นโดยตลอด จนทำให้อัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.98 ต่ำกว่าร้อยละ 3.59 ในปี 2543 โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากในภาคอุตสาหกรรมและบริการ การกระจายรายได้มีการปรับตัวดีขึ้น โดยกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางร้อยละ 60 ของประชากรมีส่วนแบ่งในรายได้ประชาชาติร้อยละ 40.6 ในปี 2545 สูงกว่าร้อยละ 38.3 ในปี 2543 ในขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำร้อยละ 20 ของประชากรยังคง ส่วนแบ่งในรายได้ประชาชาติร้อยละ 4.2
1.2 ด้านสังคม พิจารณาจากระดับการศึกษาและสุขภาพของประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ทรัพยากรมนุษย์สามารถสร้างพลังการผลิตของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากตัวชี้วัดที่สำคัญคือ (1) จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 7.8 ปี เพิ่มขึ้นโดยลำดับ ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา (2) หลักประกันสุขภาพ การดำเนินนโยบายสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ตลอดจนการดำเนินนโยบายประกันสังคมที่สามารถครอบคลุมประชากรในวัยแรงงานได้อย่างทั่วถึง ได้ส่งผลให้ประชากรร้อยละ 96 ของประชากรรวม ได้รับหลักประกันร้อยละ 96 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.2 ในปี 2543 และ 2544 ซึ่งนับเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญ (3) อัตราการเจ็บป่วย เนื่องจากการมีหลักประกันทางสุขภาพที่ดีและครอบคลุมประชากรมากขึ้น ทำให้ระบบการรายงานสุขภาพดีขึ้น โดยอัตราการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1,845 รายต่อประชากร 1,000 คน
2. การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนา ในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของโลกจะส่งผลต่อระดับการพัฒนาของประเทศ จึงจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อประเทศไทยใน 5 บริบท ดังนี้
2.1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบ ต่อไทย 4 ประการ ได้แก่ (1) การรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีและพหุภาคี และบทบาทของจีนและอินเดียที่เพิ่มขึ้นจะมีทั้งทำให้ไทยจะต้องแข่งขันและสร้างความร่วมมือเพิ่มขึ้นเพื่อการขยายตลาดการส่งออกสินค้า (2) การแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินในสกุลต่าง ๆ ในเอเชีย และสร้างแรงกดดันต่อความสามารถในการแข่งขัน และการดำเนินนโยบายการเงินมากขึ้น (3) การเคลื่อนย้ายเงินทุนและการเก็งกำไรในเงินตราและ สินค้าในตลาดล่วงหน้า จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารเงินทุนไหลเข้าออกมากยิ่งขึ้น (4) การออกกฎระเบียบการกำกับตรวจสอบในสถาบันการเงินจะมีความเข้มงวดมากขึ้น เช่น Basel ll, COSO2 จะส่งผลให้ไทยต้องปรับตัวให้พร้อม ทั้งด้านบุคลากร ระบบงาน ระบบมาตรฐานบัญชี และการบริหารความเสี่ยงของภาคการเงิน
2.2 การเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของไทย และขาดดุลเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งไม่สามารถปรับระดับของการแข่งขันไปสู่ตลาดบนที่พึ่งพาเทคโนโลยีได้ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีความเชื่อมโยงกับรูปแบบการบริโภคมากขึ้น ทั้งทางด้านพลังงาน อาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
2.3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม มีปัจจัยที่กระทบต่อไทย 4 ประการคือ (1) โครงสร้างประชากรของโลก มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น และกำลังแรงงานวัยทำงานมีแนวโน้มลดลง (2) แนวโน้มของการเกิดการแพร่เชื้อโรคที่มีรหัสพันธุกรรมที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และแนวโน้มของการสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีเอเชีย (3) การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติจะมีความซับซ้อนเป็นเครือข่าย (4) วัฒนธรรมและค่านิยมมีแนวโน้มเอนเอียงมาทางวัฒนธรรมตะวันออกมากขึ้น
2.4 การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม มีปัจจัยที่จะกระทบต่อไทยที่สำคัญคือ (1) การนำประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้น (2) การปฏิบัติตามข้อผูกพันระดับโลก เช่น Agenda 21, Montreal Protocal และ Kyoto Protocol จะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตการบริโภคของโลก (3) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจะมีความยากลำบากมากขึ้น (4) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศและสภาพธรณีใต้โลกที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้นาน จะส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจสังคมมากขึ้น
2.5 การเปลี่ยนแปลงด้านแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค ปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดการผลิต สินค้าและบริการในอนาคตจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภค 3 กลุ่มหลักคือ กลุ่มประชากร กลุ่มรายได้ และกลุ่มเมืองชนบท ซึ่งไทยจะต้องปรับตัวโดยสร้างความรู้ความเข้าใจและนำมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สู่ตลาดโลก
3. สาระสำคัญของกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3.1 หลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม
เนื่องจากบริบทการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็วในอนาคต จำเป็นที่ไทยต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถเผชิญกับสภาวะแวดล้อมใหม่เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืน มีความสมดุลมากขึ้นระหว่างการพึ่งพาตนเองและการพึ่งพาตลาดโลก มีการเจริญเติบโตที่สร้างความมั่นคงและกระจายผลประโยชน์ให้กับประชาชนระดับฐานรากได้ดีขึ้น โดยมีระบบการเมืองที่เข้มแข็งที่จะผลักดันการปรับโครงสร้างให้เกิดผลเป็นรูปธรรม หลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมมี 4 ประการ ได้แก่ (1) สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง (Economic Stability) (2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (Value creation from knowledge application) (3) พัฒนาสังคมเชิงรุก (Proactive social policy to crate positive externalities) การดำเนินนโยบายทางด้านสังคมจึงต้องให้ความสำคัญ 4 ด้าน คือ การพัฒนาสังคมไทยโดยใช้จุดแข็งทางด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมไทยเข้าไปประสมประสานกับการพัฒนาธุรกิจบริการระดับชั้นนำของโลก (Social Business) เช่น บริการสุขภาพ การรักษาพยาบาล แพทย์แผนไทย สปา เป็นต้น การลงทุนทางด้านสังคมเพื่อพัฒนาบุคลากรไทยให้เป็นสินทรัพย์ที่สามารถสร้างรายได้และผลผลิตสูงในระยะยาว การลงทุนทางด้านสาธารณสุขที่เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา การสร้างหลักประกันให้กับ ผู้สูงอายุในช่วงหลังเกษียณอายุ (4) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค (Global and regional positioning)
3.2 เป้าหมายของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ (1) เป้าหมายส่วนรวม ได้กำหนดเป้าหมายการเพิ่ม GDP ของประเทศจาก 6.5 ล้านล้านบาท ในปี 2547 เป็น 9.5 ล้านล้านบาท ในปี 2551 โดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ต่อปี (2) สาขาเกษตร กำหนดเป้าหมายการเพิ่ม GDP ของสาขาเกษตรจาก 600,000 ล้านบาท ในปี 2547 เป็น 900,000 ล้านบาท ในปี 2551 คิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 8.5 ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารจัดการอุปสงค์อุปทานของพืชหลัก ปศุสัตว์ ประมง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา (3) สาขาอุตสาหกรรม กำหนดเป้าหมายการเพิ่ม GDP ของสาขาอุตสาหกรรมจาก 2.3 ล้านล้านบาท เป็น 3.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 6.0 ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการโครงสร้างของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก รถยนต์ เป็นต้น (4) สาขาบริการ กำหนดเป้าหมายการเพิ่ม GDP ของสาขาบริการจาก 3.6 ล้านล้านบาท เป็น 5.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างธุรกิจบริการ 7 กลุ่มคือ ธุรกิจท่องเที่ยว การค้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริการทางการเงิน การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ บริการสุขภาพ และบริการทางการศึกษา
3.3 การวิเคราะห์กลุ่มสินค้าและบริการ ผลการศึกษาเบื้องต้นโดยใช้ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Index) และดัชนีความน่าสนใจ (Attractiveness Index) สามารถแบ่งประเภทของกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่มที่จะต้องทำการศึกษารายละเอียดและจัดทำยุทธศาสตร์เฉพาะรายอุตสาหกรรม 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มที่มีอนาคตสดใสและมีศักยภาพในการสร้างรายได้ (2) กลุ่มที่ต้องพัฒนาหรือปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น (3) กลุ่มที่ต้องปรับตัวให้อยู่รอดหรือปรับเปลี่ยนการผลิต
3.4 การจัดกลุ่มภารกิจเพื่อปรับโครงสร้าง (Cluster) และหน่วยงานเจ้าภาพ ประกอบด้วย กลุ่มภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างของภาคผลิตสินค้าและบริการโดยตรง (Real Sector) และกลุ่มภารกิจสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคการผลิต (Supporting Sector) รวมทั้งหมด 7 กลุ่มภารกิจหลัก ดังนี้ (1) กลุ่มภาคการผลิตและบริการ (2) กลุ่มการลงทุนด้านสังคม (3) กลุ่มระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน (4) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาวิจัยและนวัตกรรม (5) กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6) กลุ่มความมั่นคงและการต่างประเทศ (7) กลุ่มการบริหารจัดการที่ดี กฎหมายและระเบียบภาครัฐ
3.5 กลไกการประสาน ในแต่ละกลุ่มภารกิจ กำหนดให้มีหน่วยงาน 6 กลุ่มที่ร่วมกันจัดทำรายละเอียดของยุทธศาสตร์ คือ (1) หน่วยงานเจ้าภาพหลัก (2) หน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง (3) สถาบันเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง (4) สถาบันการศึกษา (5) ภาคเอกชน และ (6) หน่วยงานเลขานุการ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานเจ้าภาพหลัก และ สศช. ร่วมกันทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ
3.6 แนวทางยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
(1) ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าภาคเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติปรับปรุงประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิต ขยายการผลิตสินค้าเกษตร จัดระบบการตลาดและการกระจายสินค้าที่สดและตรงถึงผู้ผลิตและผู้บริโภค สร้างเสถียรภาพทางราคาสินค้าเกษตรโดยบริหารจัดการอุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรและการรวมตัวผู้ผลิตสินค้าเกษตรในภูมิภาค รวมทั้งการสร้างความมั่นคงของอุปทานอาหารในภูมิภาค พัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรและความปลอดภัยของอาหารและข้อปฏิบัติ (Good Agricultural Practice. GAP) เพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช ปศุสัตว์และประมง
(2) ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจของประเทศ (Cluster) พัฒนาความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งระบบส่งเสริมและบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ พัฒนาระบบวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแห่งชาติและทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งเสริมเอกชนพัฒนาตราสินค้าและการออกแบบ การศึกษาวิจัยแนวโน้มและรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างๆ ขยายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างให้ไทยเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีสำหรับอนาคต พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางซื้อขาย พลังงานและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม (Green Production)
(3) ยุทธศาสตร์การขยายฐานภาคบริการ ได้แก่ บริการท่องเที่ยว บริการสุขภาพ บริการทางการเงิน และบริการโครงสร้างพื้นฐาน
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมเชิงรุก ศักยภาพคนและการศึกษา สุขภาพ ความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การบริการขั้นพื้นฐานตามสิทธิของมนุษย์และสังคมเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
(5) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงและการต่างประเทศ การสร้างระบบเฝ้าระวังเตือนภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในภูมิภาค การเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(6) ยุทธศาสตร์การปรับปรุงประสิทธิภาพภาครัฐ กลไกสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันภาคเอกชน สร้างสังคมสันติสุข สร้างความเจริญในภูมิภาค เสริมสมรรถนะหน่วยงานวางแผนกลางให้เป็นหน่วยงาน ข้อมูลเศรษฐกิจเชิงลึก (Intelligence Agency) เพื่อสนับสนุนการเจรจาการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--
1. รับทราบสถานภาพโครงสร้างและปัจจัยที่มีผลกระทบต่อโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมไทย และให้ความเห็นชอบกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปีข้างหน้า (2548 — 2551) และมอบหมายส่วนราชการที่เกี่ยวข้องจัดทำรายละเอียดของกรอบแผนยุทธศาสตร์ฯ ประกอบด้วย แผนงาน มาตรการ และเป้าหมายในระยะ 4 ปีข้างหน้า ให้แล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2548
2. เห็นชอบให้ สศช. ศึกษาวิเคราะห์และบูรณาการแผนการลงทุนภาครัฐให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3. เห็นชอบการปรับภารกิจและโครงสร้างองค์กรของ สศช. ให้สอดคล้องกับยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศในระยะ 4 ปีข้างหน้า โดยเน้น (1) การพัฒนาขีดความสามารถของบุคลากร การศึกษาวิจัย การปรับปรุงองค์กรไปสู่องค์กรการเรียนรู้ (2) การสนับสนุนนโยบายการกระจายอำนาจไปสู่ภูมิภาคและท้องถิ่น โดยเฉพาะอย่างยิ่งการสนับสนุนการบริหารราชการของผู้ว่าราชการแบบบูรณาการ และ (3) การเพิ่มศักยภาพในการเป็นหน่วยงานข้อมูลเศรษฐกิจและสังคมเชิงลึก (Intelligence Agency) ที่ทันสมัย เพื่อเป็นแนวทางในการกำหนดยุทธศาสตร์การเจรจาการค้าระหว่างประเทศ และประกอบการตัดสินใจของฝ่ายบริหาร
4. เห็นชอบให้ สศช. ใช้งบประมาณเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขัน 380 ล้านบาท ที่ได้จัดสรรไว้แล้วในปีงบประมาณ 2547 เพื่อใช้ในการจัดทำยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างของประเทศและการปรับภารกิจและโครงสร้างองค์กรของ สศช. และจัดสรรงบประมาณด้านการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศให้กับ สศช. ใน ปีงบประมาณ 2549 ต่อไป
ทั้งนี้ ให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติดำเนินการต่อไปในกรอบของ ราชการประจำ และนำเสนอคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ต่อไป โดยให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับความเห็นของคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการเพิ่มเติมด้วย ดังนี้
1. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติรับไปดำเนินการศึกษาวิจัยเพิ่มเติมถึงแนวทาง โอกาส ปัญหาและอุปสรรคอันเนื่องมาจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงของโลกในประเด็นของเทคโนโลยี การเคลื่อนย้ายของแรงงาน การเปิดเสรีการค้าสินค้าและบริการ การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างประชากรและอายุ การเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของผู้บริโภค เทคโนโลยีสารสนเทศ ตลอดจนการใช้ทรัพยากรต่าง ๆ เพื่อการปรับปรุงพัฒนาประเทศให้สามารถแข่งขันได้ และเหมาะสมสอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงของโลกในยุคโลกาภิวัตน์ รวมถึงการ ปรับปรุงกฎหมายและกฎระเบียบ และการพัฒนาบุคลากรวัยแรงงานให้สอดคล้องกับความต้องการกับภาคการผลิต
2. มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติไปศึกษาวิเคราะห์ข้อมูลของสินค้าที่นำเข้าและส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นตลาดใหญ่ที่สำคัญของไทย เพื่อกำหนดแนวทางการปรับปรุงพัฒนาการผลิตสินค้าของประเทศให้มีการใช้วัตถุดิบและชิ้นส่วนภายในประเทศให้มากขึ้น รวมทั้งมีการผลิตเพื่อทดแทนการนำเข้า และสามารถใช้ข้อมูลดังกล่าวเป็นประโยชน์ในการเจรจาจัดทำเขตการค้าเสรี (FTA) กับสหรัฐอเมริกาต่อไปด้วย
สศช. รายงานว่า
1. สถานภาพเศรษฐกิจและสังคมในช่วง 4 ปีที่ผ่านมา
1.1 ด้านเศรษฐกิจ การดำเนินนโยบายของรัฐบาลที่เน้นการพัฒนาคู่ขนานไปพร้อมกัน ทั้งด้านการสร้างอุปสงค์ในประเทศและการสร้างเศรษฐกิจรากหญ้าและด้านการเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศ ได้ส่งผลให้เศรษฐกิจโดยส่วนรวมฟื้นตัว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเศรษฐกิจมหภาคมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพมาก กล่าวคือ
(1) เศรษฐกิจส่วนรวม ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) สามารถขยายตัวได้เฉลี่ยร้อยละ 5.2 ในช่วงปี 2544 — 2547 (ร้อยละ 2.2 5.3 6.9 และ 6.2 ตามลำดับ) โดยเป็นการขยายตัวของทุกภาคการผลิต
(2) เสถียรภาพและความมั่นคงทางเศรษฐกิจ - อัตราเงินเฟ้อเฉลี่ยร้อยละ 2.7 ต่ำกว่าเป้าหมายเงินเฟ้อที่ทางการกำหนด ดุลบัญชีเดินสะพัดเกินดุลอย่างต่อเนื่องเฉลี่ยร้อยละ 6.2 ของ GDP ฐานะการคลังสามารถจัดทำงบประมาณสมดุลได้เป็นครั้งแรกในปีงบประมาณ 2548 หนี้สาธารณะลดลงจากร้อยละ 56 ของ GDP ในปี 2541 เป็นร้อยละ 46.2 ของ GDP ในปี 2547 ทุนสำรองระหว่างประเทศเพิ่มขึ้นโดยตลอดและสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่ 49.1 พันล้านเหรียญสหรัฐฯ ณ วันที่ 24 ธันวาคม 2547
(3) การจ้างงานและการกระจายรายได้ การจ้างงานเพิ่มขึ้นโดยตลอด จนทำให้อัตราการว่างงานเฉลี่ยอยู่ที่ร้อยละ 1.98 ต่ำกว่าร้อยละ 3.59 ในปี 2543 โดยมีการจ้างงานเพิ่มขึ้นมากในภาคอุตสาหกรรมและบริการ การกระจายรายได้มีการปรับตัวดีขึ้น โดยกลุ่มผู้มีรายได้ปานกลางร้อยละ 60 ของประชากรมีส่วนแบ่งในรายได้ประชาชาติร้อยละ 40.6 ในปี 2545 สูงกว่าร้อยละ 38.3 ในปี 2543 ในขณะที่กลุ่มผู้มีรายได้ต่ำร้อยละ 20 ของประชากรยังคง ส่วนแบ่งในรายได้ประชาชาติร้อยละ 4.2
1.2 ด้านสังคม พิจารณาจากระดับการศึกษาและสุขภาพของประชาชน ซึ่งถือว่าเป็นปัจจัยส่งเสริมให้ทรัพยากรมนุษย์สามารถสร้างพลังการผลิตของประเทศให้มีประสิทธิภาพ ดังจะเห็นได้จากตัวชี้วัดที่สำคัญคือ (1) จำนวนปีการศึกษาเฉลี่ยในปี 2546 เพิ่มขึ้นเป็น 7.8 ปี เพิ่มขึ้นโดยลำดับ ตั้งแต่ปี 2543 เป็นต้นมา (2) หลักประกันสุขภาพ การดำเนินนโยบายสุขภาพถ้วนหน้า 30 บาท ตลอดจนการดำเนินนโยบายประกันสังคมที่สามารถครอบคลุมประชากรในวัยแรงงานได้อย่างทั่วถึง ได้ส่งผลให้ประชากรร้อยละ 96 ของประชากรรวม ได้รับหลักประกันร้อยละ 96 เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 78.2 ในปี 2543 และ 2544 ซึ่งนับเป็นก้าวกระโดดที่สำคัญ (3) อัตราการเจ็บป่วย เนื่องจากการมีหลักประกันทางสุขภาพที่ดีและครอบคลุมประชากรมากขึ้น ทำให้ระบบการรายงานสุขภาพดีขึ้น โดยอัตราการเจ็บป่วยเพิ่มขึ้นเป็น 1,845 รายต่อประชากร 1,000 คน
2. การเปลี่ยนแปลงของบริบทการพัฒนา ในอนาคตการเปลี่ยนแปลงของโลกจะส่งผลต่อระดับการพัฒนาของประเทศ จึงจำเป็นต้องพิจารณาปัจจัยของการเปลี่ยนแปลงและผลกระทบต่อประเทศไทยใน 5 บริบท ดังนี้
2.1 การรวมตัวของกลุ่มเศรษฐกิจและการเปลี่ยนแปลงในตลาดเงินของโลก ปัจจัยที่จะส่งผลกระทบ ต่อไทย 4 ประการ ได้แก่ (1) การรวมตัวทางเศรษฐกิจระดับทวิภาคีและพหุภาคี และบทบาทของจีนและอินเดียที่เพิ่มขึ้นจะมีทั้งทำให้ไทยจะต้องแข่งขันและสร้างความร่วมมือเพิ่มขึ้นเพื่อการขยายตลาดการส่งออกสินค้า (2) การแก้ไขปัญหาความไม่สมดุลของเศรษฐกิจสหรัฐอเมริกา จะส่งผลกระทบต่อค่าเงินในสกุลต่าง ๆ ในเอเชีย และสร้างแรงกดดันต่อความสามารถในการแข่งขัน และการดำเนินนโยบายการเงินมากขึ้น (3) การเคลื่อนย้ายเงินทุนและการเก็งกำไรในเงินตราและ สินค้าในตลาดล่วงหน้า จะทำให้เกิดความเสี่ยงในการบริหารเงินทุนไหลเข้าออกมากยิ่งขึ้น (4) การออกกฎระเบียบการกำกับตรวจสอบในสถาบันการเงินจะมีความเข้มงวดมากขึ้น เช่น Basel ll, COSO2 จะส่งผลให้ไทยต้องปรับตัวให้พร้อม ทั้งด้านบุคลากร ระบบงาน ระบบมาตรฐานบัญชี และการบริหารความเสี่ยงของภาคการเงิน
2.2 การเปลี่ยนแปลงด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จะส่งผลกระทบต่อศักยภาพการแข่งขันของไทย และขาดดุลเทคโนโลยีมากขึ้น รวมทั้งไม่สามารถปรับระดับของการแข่งขันไปสู่ตลาดบนที่พึ่งพาเทคโนโลยีได้ นอกจากนี้ความก้าวหน้าทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะมีความเชื่อมโยงกับรูปแบบการบริโภคมากขึ้น ทั้งทางด้านพลังงาน อาหาร และสิ่งอำนวยความสะดวกในชีวิตประจำวัน
2.3 การเปลี่ยนแปลงด้านสังคม มีปัจจัยที่กระทบต่อไทย 4 ประการคือ (1) โครงสร้างประชากรของโลก มีแนวโน้มเปลี่ยนแปลงไปสู่สังคมผู้สูงอายุมากขึ้น และกำลังแรงงานวัยทำงานมีแนวโน้มลดลง (2) แนวโน้มของการเกิดการแพร่เชื้อโรคที่มีรหัสพันธุกรรมที่ไม่สามารถคาดการณ์ได้ และแนวโน้มของการสร้างเสริมสุขภาพตามวิถีเอเชีย (3) การก่อการร้ายและอาชญากรรมข้ามชาติจะมีความซับซ้อนเป็นเครือข่าย (4) วัฒนธรรมและค่านิยมมีแนวโน้มเอนเอียงมาทางวัฒนธรรมตะวันออกมากขึ้น
2.4 การเปลี่ยนแปลงทางสิ่งแวดล้อม มีปัจจัยที่จะกระทบต่อไทยที่สำคัญคือ (1) การนำประเด็นทางด้านสิ่งแวดล้อมมาเป็นมาตรการกีดกันทางการค้ามากขึ้น (2) การปฏิบัติตามข้อผูกพันระดับโลก เช่น Agenda 21, Montreal Protocal และ Kyoto Protocol จะส่งผลต่อการปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตการบริโภคของโลก (3) การใช้ประโยชน์จากทรัพยากรธรรมชาติจะมีความยากลำบากมากขึ้น (4) การเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิประเทศและสภาพธรณีใต้โลกที่ไม่อาจคาดการณ์ล่วงหน้าได้นาน จะส่งผลต่อทรัพยากรธรรมชาติและสร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจสังคมมากขึ้น
2.5 การเปลี่ยนแปลงด้านแนวโน้มพฤติกรรมของผู้บริโภค ปัจจัยที่จะเป็นตัวกำหนดการผลิต สินค้าและบริการในอนาคตจะต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมของผู้บริโภค 3 กลุ่มหลักคือ กลุ่มประชากร กลุ่มรายได้ และกลุ่มเมืองชนบท ซึ่งไทยจะต้องปรับตัวโดยสร้างความรู้ความเข้าใจและนำมาพัฒนารูปแบบผลิตภัณฑ์สู่ตลาดโลก
3. สาระสำคัญของกรอบการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
3.1 หลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม
เนื่องจากบริบทการพัฒนาและการเปลี่ยนแปลงของโลกที่รวดเร็วในอนาคต จำเป็นที่ไทยต้องปรับตัวเพื่อให้สามารถเผชิญกับสภาวะแวดล้อมใหม่เพื่อให้เศรษฐกิจขยายตัวอย่างต่อเนื่องได้อย่างยั่งยืน มีความสมดุลมากขึ้นระหว่างการพึ่งพาตนเองและการพึ่งพาตลาดโลก มีการเจริญเติบโตที่สร้างความมั่นคงและกระจายผลประโยชน์ให้กับประชาชนระดับฐานรากได้ดีขึ้น โดยมีระบบการเมืองที่เข้มแข็งที่จะผลักดันการปรับโครงสร้างให้เกิดผลเป็นรูปธรรม หลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมมี 4 ประการ ได้แก่ (1) สร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคง (Economic Stability) (2) เพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (Value creation from knowledge application) (3) พัฒนาสังคมเชิงรุก (Proactive social policy to crate positive externalities) การดำเนินนโยบายทางด้านสังคมจึงต้องให้ความสำคัญ 4 ด้าน คือ การพัฒนาสังคมไทยโดยใช้จุดแข็งทางด้านธรรมชาติและวัฒนธรรมไทยเข้าไปประสมประสานกับการพัฒนาธุรกิจบริการระดับชั้นนำของโลก (Social Business) เช่น บริการสุขภาพ การรักษาพยาบาล แพทย์แผนไทย สปา เป็นต้น การลงทุนทางด้านสังคมเพื่อพัฒนาบุคลากรไทยให้เป็นสินทรัพย์ที่สามารถสร้างรายได้และผลผลิตสูงในระยะยาว การลงทุนทางด้านสาธารณสุขที่เน้นการป้องกันมากกว่าการรักษา การสร้างหลักประกันให้กับ ผู้สูงอายุในช่วงหลังเกษียณอายุ (4) เชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค (Global and regional positioning)
3.2 เป้าหมายของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคม ได้แก่ (1) เป้าหมายส่วนรวม ได้กำหนดเป้าหมายการเพิ่ม GDP ของประเทศจาก 6.5 ล้านล้านบาท ในปี 2547 เป็น 9.5 ล้านล้านบาท ในปี 2551 โดยมีอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 6.6 ต่อปี (2) สาขาเกษตร กำหนดเป้าหมายการเพิ่ม GDP ของสาขาเกษตรจาก 600,000 ล้านบาท ในปี 2547 เป็น 900,000 ล้านบาท ในปี 2551 คิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 8.5 ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและการบริหารจัดการอุปสงค์อุปทานของพืชหลัก ปศุสัตว์ ประมง ปาล์มน้ำมัน และยางพารา (3) สาขาอุตสาหกรรม กำหนดเป้าหมายการเพิ่ม GDP ของสาขาอุตสาหกรรมจาก 2.3 ล้านล้านบาท เป็น 3.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 6.0 ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการโครงสร้างของกลุ่มอุตสาหกรรมอาหาร สิ่งทอ เสื้อผ้าสำเร็จรูป ปิโตรเคมี ผลิตภัณฑ์ยางและพลาสติก รถยนต์ เป็นต้น (4) สาขาบริการ กำหนดเป้าหมายการเพิ่ม GDP ของสาขาบริการจาก 3.6 ล้านล้านบาท เป็น 5.3 ล้านล้านบาท คิดเป็นอัตราเพิ่มเฉลี่ยร้อยละ 6.7 ต่อปี โดยให้ความสำคัญกับการปรับโครงสร้างธุรกิจบริการ 7 กลุ่มคือ ธุรกิจท่องเที่ยว การค้า เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร บริการทางการเงิน การก่อสร้างและอสังหาริมทรัพย์ บริการสุขภาพ และบริการทางการศึกษา
3.3 การวิเคราะห์กลุ่มสินค้าและบริการ ผลการศึกษาเบื้องต้นโดยใช้ดัชนีความสามารถในการแข่งขัน (Competitiveness Index) และดัชนีความน่าสนใจ (Attractiveness Index) สามารถแบ่งประเภทของกลุ่มอุตสาหกรรม กลุ่มใหญ่ ๆ ได้ 3 กลุ่มที่จะต้องทำการศึกษารายละเอียดและจัดทำยุทธศาสตร์เฉพาะรายอุตสาหกรรม 3 กลุ่ม ดังนี้ (1) กลุ่มที่มีอนาคตสดใสและมีศักยภาพในการสร้างรายได้ (2) กลุ่มที่ต้องพัฒนาหรือปรับตัวให้สามารถแข่งขันได้ดีขึ้น (3) กลุ่มที่ต้องปรับตัวให้อยู่รอดหรือปรับเปลี่ยนการผลิต
3.4 การจัดกลุ่มภารกิจเพื่อปรับโครงสร้าง (Cluster) และหน่วยงานเจ้าภาพ ประกอบด้วย กลุ่มภารกิจที่เกี่ยวข้องกับการปรับโครงสร้างของภาคผลิตสินค้าและบริการโดยตรง (Real Sector) และกลุ่มภารกิจสนับสนุนการปรับโครงสร้างของภาคการผลิต (Supporting Sector) รวมทั้งหมด 7 กลุ่มภารกิจหลัก ดังนี้ (1) กลุ่มภาคการผลิตและบริการ (2) กลุ่มการลงทุนด้านสังคม (3) กลุ่มระบบโลจิสติกส์และโครงสร้างพื้นฐาน (4) กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี การศึกษาวิจัยและนวัตกรรม (5) กลุ่มทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (6) กลุ่มความมั่นคงและการต่างประเทศ (7) กลุ่มการบริหารจัดการที่ดี กฎหมายและระเบียบภาครัฐ
3.5 กลไกการประสาน ในแต่ละกลุ่มภารกิจ กำหนดให้มีหน่วยงาน 6 กลุ่มที่ร่วมกันจัดทำรายละเอียดของยุทธศาสตร์ คือ (1) หน่วยงานเจ้าภาพหลัก (2) หน่วยงานสนับสนุนที่เกี่ยวข้อง (3) สถาบันเฉพาะทางที่เกี่ยวข้อง (4) สถาบันการศึกษา (5) ภาคเอกชน และ (6) หน่วยงานเลขานุการ ซึ่งประกอบด้วยหน่วยงานเจ้าภาพหลัก และ สศช. ร่วมกันทำหน้าที่ฝ่ายเลขานุการ
3.6 แนวทางยุทธศาสตร์การปรับโครงสร้างเศรษฐกิจและสังคมของประเทศ
(1) ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าภาคเกษตรและการจัดการทรัพยากรธรรมชาติปรับปรุงประสิทธิภาพของปัจจัยการผลิต ขยายการผลิตสินค้าเกษตร จัดระบบการตลาดและการกระจายสินค้าที่สดและตรงถึงผู้ผลิตและผู้บริโภค สร้างเสถียรภาพทางราคาสินค้าเกษตรโดยบริหารจัดการอุปสงค์และอุปทานสินค้าเกษตรและการรวมตัวผู้ผลิตสินค้าเกษตรในภูมิภาค รวมทั้งการสร้างความมั่นคงของอุปทานอาหารในภูมิภาค พัฒนาระบบมาตรฐานสินค้าเกษตรและความปลอดภัยของอาหารและข้อปฏิบัติ (Good Agricultural Practice. GAP) เพิ่มการลงทุนด้านการวิจัยและพัฒนาพันธุ์พืช ปศุสัตว์และประมง
(2) ยุทธศาสตร์การเพิ่มมูลค่าภาคอุตสาหกรรมและการค้าระหว่างประเทศพัฒนาเครือข่ายวิสาหกิจของประเทศ (Cluster) พัฒนาความเข้มแข็งของผู้ประกอบการ SMEs และวิสาหกิจชุมชน รวมทั้งระบบส่งเสริมและบ่มเพาะผู้ประกอบการใหม่ พัฒนาระบบวิจัยและพัฒนานวัตกรรมแห่งชาติและทรัพย์สินทางปัญญา รวมทั้งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีส่งเสริมเอกชนพัฒนาตราสินค้าและการออกแบบ การศึกษาวิจัยแนวโน้มและรสนิยมของผู้บริโภคในตลาดต่างๆ ขยายการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศในวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม และสร้างให้ไทยเป็นศูนย์ความเป็นเลิศทางเทคโนโลยีสำหรับอนาคต พัฒนาประเทศไทยให้เป็นศูนย์กลางซื้อขาย พลังงานและสร้างความมั่นคงด้านพลังงานในภูมิภาค ส่งเสริมอุตสาหกรรมที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและสังคม (Green Production)
(3) ยุทธศาสตร์การขยายฐานภาคบริการ ได้แก่ บริการท่องเที่ยว บริการสุขภาพ บริการทางการเงิน และบริการโครงสร้างพื้นฐาน
(4) ยุทธศาสตร์การพัฒนาสังคมเชิงรุก ศักยภาพคนและการศึกษา สุขภาพ ความมั่นคงและปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน การบริการขั้นพื้นฐานตามสิทธิของมนุษย์และสังคมเตรียมเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ
(5) ยุทธศาสตร์ความมั่นคงและการต่างประเทศ การสร้างระบบเฝ้าระวังเตือนภัยธรรมชาติที่อาจก่อให้เกิดความเสียหายต่อเศรษฐกิจและสังคมของประเทศและสร้างเครือข่ายความร่วมมือในภูมิภาค การเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ
(6) ยุทธศาสตร์การปรับปรุงประสิทธิภาพภาครัฐ กลไกสนับสนุนความสามารถในการแข่งขันภาคเอกชน สร้างสังคมสันติสุข สร้างความเจริญในภูมิภาค เสริมสมรรถนะหน่วยงานวางแผนกลางให้เป็นหน่วยงาน ข้อมูลเศรษฐกิจเชิงลึก (Intelligence Agency) เพื่อสนับสนุนการเจรจาการค้าและความร่วมมือระหว่างประเทศ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 11 มกราคม 2548--จบ--