คณะรัฐมนตรีพิจารณาเรื่อง การปรับปรุงอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอแล้วให้ความเห็นชอบ ดังนี้
1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2518 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 เรื่อง การปรับปรุงอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจ และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เรื่อง การยกเลิกมาตรการปรับลดอัตราเบี้ยประชุมของรัฐวิสาหกิจ
2. การกำหนดอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจใหม่ โดยแบ่งรัฐวิสาหกิจออกเป็น 5 กลุ่ม ซึ่งพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น นโยบายในการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ภาวะการแข่งขัน ขนาดของสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ รายจ่าย ขอบเขตความรับผิดชอบ พื้นที่ในการให้บริการ รวมถึงการเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ(ปัจจัยพื้นฐาน) ดังนี้
กลุ่มที่ 1 สาระสำคัญ อัตราเบี้ยกรรมการ
(บาท/เดือน)
1 รัฐวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่ มีนโยบายในการแปลงสภาพเป็นหน่วยงาน ไม่เกิน 10,000
ให้บริการพื้นฐาน มีพื้นที่ในการให้บริการทั่วประเทศ และมีการแข่งขัน
กับภาคเอกชนในระดับหนึ่ง
2 รัฐวิสาหกิจที่มีขนาดปานกลาง ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ ไม่เกิน 8,000
ที่ต้องแข่งขันกับภาคเอกชน และมีลักษณะการดำเนินงานไม่ครอบคลุม
ทั่วประเทศ
3 รัฐวิสาหกิจขนาดเล็ก มีกิจกรรมไม่สลับซับซ้อน มีการแข่งขันน้อย ไม่เกิน 6,000
โดยบางแห่งเป็นประเภทส่งเสริม
4 รัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่เกิน 10,000
5 รัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
3. ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้รับเบี้ยกรรมการสูงกว่าอัตราตามข้อ 2 โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายแล้วให้เป็นไปตามเดิม
4. ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่บางประการตามที่ได้รับมอบหมาย โดยกรรมการรัฐวิสาหกิจที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานให้ได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเท่ากับเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ หากกรรมการรัฐวิสาหกิจท่านใดได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอื่นฯ มากกว่า 1 คณะ ก็ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงคณะใดคณะหนึ่งเท่านั้น สำหรับกรรมการอื่นฯ ที่มิใช่กรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งสูงสุดไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท
5. อนุมัติเป็นหลักการในการจ่ายเบี้ยประชุมประธานและรองประธานในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการอื่น ๆ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่นที่คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เฉพาะเรื่อง ให้ประธานกรรมการได้รับสูงกว่ากรรมการร้อยละ 25 และรองประธานกรรมการได้สูงกว่ากรรมการร้อยละ 12.5 และให้กรรมการเสียภาษีเงินได้เอง
6. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
6.1 ในการประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้กรรมการมีระยะเวลาในการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งในรอบปีบัญชีนั้น
6.2 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจควรมีส่วนร่วมในการกำหนด/ให้ความเห็นชอบ/ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ นโยบายในการดำเนินงาน และแผนงานต่าง ๆ รวมถึงแผนเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี
กระทรวงการคลังเสนอเรื่องดังกล่าวเนื่องจากมีความเห็นว่า สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจใหม่ โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้
1. รัฐวิสาหกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2539 - 2544 มีปริมาณของทรัพย์สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.99 หนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.31 รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.44 และรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.37
2. รัฐบาลมีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้บทบาทของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนแปลงไป โดยจะต้องกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐวิสาหกิจและผู้ถือหุ้น
3. เนื่องจากอัตราเบี้ยกรรมการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการกำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2532 ในอัตราสูงสุดคนละไม่เกิน 6,000 บาทต่อเดือน ซึ่งปัจจุบันภาวะค่าครองชีพได้ปรับตัวสูงขึ้นโดยดัชนีราคาผู้บริโภคมีปัจจุบัน (มีนาคม 2546)เพิ่มขึ้นจากปี 2532 ถึงร้อยละ 43.70
4. อัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจที่บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้ทำการศึกษาจะอยู่ในระหว่าง 7,500 - 69,000บาท โดยแบ่งตามขนาดรายได้ขององค์กรเทียบเคียงกับการแบ่งระดับองค์กรของรัฐวิสาหกิจตามค่างานของผู้บริหารสูงสุด(CEO) ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า อัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจตามผลการศึกษาดังกล่าวเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง หากปรับอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจให้เท่ากับหรือใกล้เคียงกับภาคเอกชนจะทำให้เป็นภาระทางการเงิน และอาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจได้
การปรับปรุงอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจจะทำให้ค่าใช้จ่ายรัฐวิสาหกิจทุกแห่งเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 26ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 75 ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการจูงใจให้กรรมการรัฐวิสาหกิจได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารจัดการและพัฒนารัฐวิสาหกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 15 กรกฎาคม 2518 วันที่ 28 พฤศจิกายน 2532 เรื่อง การปรับปรุงอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจ และเมื่อวันที่ 19 กันยายน 2543 เรื่อง การยกเลิกมาตรการปรับลดอัตราเบี้ยประชุมของรัฐวิสาหกิจ
2. การกำหนดอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจใหม่ โดยแบ่งรัฐวิสาหกิจออกเป็น 5 กลุ่ม ซึ่งพิจารณาจากองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น นโยบายในการแปลงสภาพรัฐวิสาหกิจ ภาวะการแข่งขัน ขนาดของสินทรัพย์ หนี้สิน รายได้ รายจ่าย ขอบเขตความรับผิดชอบ พื้นที่ในการให้บริการ รวมถึงการเป็นหน่วยงานสาธารณูปโภคและสาธารณูปการ(ปัจจัยพื้นฐาน) ดังนี้
กลุ่มที่ 1 สาระสำคัญ อัตราเบี้ยกรรมการ
(บาท/เดือน)
1 รัฐวิสาหกิจที่มีขนาดใหญ่ มีนโยบายในการแปลงสภาพเป็นหน่วยงาน ไม่เกิน 10,000
ให้บริการพื้นฐาน มีพื้นที่ในการให้บริการทั่วประเทศ และมีการแข่งขัน
กับภาคเอกชนในระดับหนึ่ง
2 รัฐวิสาหกิจที่มีขนาดปานกลาง ส่วนใหญ่มีการดำเนินงานในเชิงพาณิชย์ ไม่เกิน 8,000
ที่ต้องแข่งขันกับภาคเอกชน และมีลักษณะการดำเนินงานไม่ครอบคลุม
ทั่วประเทศ
3 รัฐวิสาหกิจขนาดเล็ก มีกิจกรรมไม่สลับซับซ้อน มีการแข่งขันน้อย ไม่เกิน 6,000
โดยบางแห่งเป็นประเภทส่งเสริม
4 รัฐวิสาหกิจประเภทสถาบันการเงินเฉพาะกิจ ไม่เกิน 10,000
5 รัฐวิสาหกิจที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ฯ ตามมติที่ประชุมผู้ถือหุ้น
3. ในกรณีที่รัฐวิสาหกิจใดได้รับเบี้ยกรรมการสูงกว่าอัตราตามข้อ 2 โดยได้รับอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีหรือผู้มีอำนาจตามกฎหมายแล้วให้เป็นไปตามเดิม
4. ให้คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจมีอำนาจในการแต่งตั้งคณะอนุกรรมการหรือคณะทำงาน เพื่อทำหน้าที่บางประการตามที่ได้รับมอบหมาย โดยกรรมการรัฐวิสาหกิจที่ได้รับแต่งตั้งให้เป็นคณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานให้ได้รับเบี้ยประชุมในอัตราเหมาจ่ายเป็นรายเดือนเท่ากับเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจ ทั้งนี้ หากกรรมการรัฐวิสาหกิจท่านใดได้รับการแต่งตั้งเป็นกรรมการในคณะกรรมการอื่นฯ มากกว่า 1 คณะ ก็ให้ได้รับเบี้ยประชุมเพียงคณะใดคณะหนึ่งเท่านั้น สำหรับกรรมการอื่นฯ ที่มิใช่กรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้ได้รับเบี้ยประชุมเป็นรายครั้งสูงสุดไม่เกินครั้งละ 1,000 บาท
5. อนุมัติเป็นหลักการในการจ่ายเบี้ยประชุมประธานและรองประธานในคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ คณะกรรมการบริหาร หรือคณะกรรมการอื่น ๆ คณะอนุกรรมการ หรือคณะทำงานอื่นที่คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจแต่งตั้งขึ้นเพื่อทำหน้าที่เฉพาะเรื่อง ให้ประธานกรรมการได้รับสูงกว่ากรรมการร้อยละ 25 และรองประธานกรรมการได้สูงกว่ากรรมการร้อยละ 12.5 และให้กรรมการเสียภาษีเงินได้เอง
6. ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ดังนี้
6.1 ในการประชุมคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจ ให้กรรมการมีระยะเวลาในการเข้าร่วมประชุมไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของระยะเวลาที่ดำรงตำแหน่งในรอบปีบัญชีนั้น
6.2 คณะกรรมการรัฐวิสาหกิจควรมีส่วนร่วมในการกำหนด/ให้ความเห็นชอบ/ทบทวนวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ กลยุทธ์ นโยบายในการดำเนินงาน และแผนงานต่าง ๆ รวมถึงแผนเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ นอกเหนือจากอำนาจหน้าที่ที่ระบุไว้ตามกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับในการจัดตั้งรัฐวิสาหกิจ แล้วแต่กรณี
กระทรวงการคลังเสนอเรื่องดังกล่าวเนื่องจากมีความเห็นว่า สมควรปรับปรุงอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจใหม่ โดยมีเหตุผลดังต่อไปนี้
1. รัฐวิสาหกิจมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยในปี 2539 - 2544 มีปริมาณของทรัพย์สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 61.99 หนี้สินเพิ่มขึ้นร้อยละ 92.31 รายได้เพิ่มขึ้นร้อยละ 50.44 และรายจ่ายเพิ่มขึ้นร้อยละ 59.37
2. รัฐบาลมีนโยบายในการเพิ่มประสิทธิภาพของรัฐวิสาหกิจ เพื่อเป็นเครื่องมือของรัฐในการแก้ไขปัญหาเศรษฐกิจของประเทศ ทำให้บทบาทของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเปลี่ยนแปลงไป โดยจะต้องกำกับดูแลรัฐวิสาหกิจให้ดำเนินการอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลมากยิ่งขึ้น เพื่อเพิ่มมูลค่าทางเศรษฐกิจให้แก่รัฐวิสาหกิจและผู้ถือหุ้น
3. เนื่องจากอัตราเบี้ยกรรมการที่ใช้อยู่ในปัจจุบันเป็นการกำหนดไว้ตั้งแต่ปี 2532 ในอัตราสูงสุดคนละไม่เกิน 6,000 บาทต่อเดือน ซึ่งปัจจุบันภาวะค่าครองชีพได้ปรับตัวสูงขึ้นโดยดัชนีราคาผู้บริโภคมีปัจจุบัน (มีนาคม 2546)เพิ่มขึ้นจากปี 2532 ถึงร้อยละ 43.70
4. อัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจที่บริษัทที่ปรึกษาฯ ได้ทำการศึกษาจะอยู่ในระหว่าง 7,500 - 69,000บาท โดยแบ่งตามขนาดรายได้ขององค์กรเทียบเคียงกับการแบ่งระดับองค์กรของรัฐวิสาหกิจตามค่างานของผู้บริหารสูงสุด(CEO) ซึ่งกระทรวงการคลังเห็นว่า อัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจตามผลการศึกษาดังกล่าวเป็นอัตราที่ค่อนข้างสูง หากปรับอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจให้เท่ากับหรือใกล้เคียงกับภาคเอกชนจะทำให้เป็นภาระทางการเงิน และอาจส่งผลกระทบต่อฐานะการเงินของรัฐวิสาหกิจได้
การปรับปรุงอัตราเบี้ยกรรมการรัฐวิสาหกิจจะทำให้ค่าใช้จ่ายรัฐวิสาหกิจทุกแห่งเพิ่มขึ้นประมาณปีละ 26ล้านบาท หรือเพิ่มขึ้นร้อยละ 75 ซึ่งเป็นจำนวนที่เหมาะสมเมื่อเทียบกับภาระหน้าที่และความรับผิดชอบของคณะกรรมการรัฐวิสาหกิจเพิ่มขึ้น และเพื่อเป็นการจูงใจให้กรรมการรัฐวิสาหกิจได้ปฏิบัติหน้าที่ในการบริหารจัดการและพัฒนารัฐวิสาหกิจอย่างมีประสิทธิภาพ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-