คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอโดยปรับปรุงจากมติคณะรัฐมนตรีที่มีอยู่เดิมจำนวน 10 มติ มารวมให้เป็นมติเดียว ซึ่งมีมาตรการดังต่อไปนี้
1. มาตรการที่กำหนดให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุต้องดำเนินการ
2. มาตรการที่กำหนดให้กระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) ต้องดำเนินการ
3. มาตรการเสริมที่กำหนดให้หน่วยงานอื่นให้การสนับสนุน
ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นว่า มาตรการเพิ่มเติมที่กรมธนารักษ์กำหนดให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุต้องดำเนินการนั้น กรมธนารักษ์ควรมีเกณฑ์ปฏิบัติและกลไกในการกำกับดูแลให้ชัดเจน เช่น การกำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ และตารางเวลาสำหรับให้หน่วยงานผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง เป็นต้น รวมทั้งเรื่องความรับผิดชอบกรณีที่เกิดการบุกรุกที่ราชพัสดุ ควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างกรมธนารักษ์และหน่วยงานผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ
มาตรการในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุเป็นอย่างมาก แม้จะมีมติคณะรัฐมนตรีหลายมติ ที่กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุไม่ว่าจะเป็นมาตรการป้องกันการบุกรุกที่กำหนดให้ส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุมีหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ หรือมาตรการที่กำหนดเพื่อยืนยันสิทธิในที่ดินของรัฐ และเพื่อลดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้ที่ดินในระยะยาวโดยให้กรมธนารักษ์แก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุด้วยการจัดให้เช่า แต่การดำเนินการตามมาตรการเหล่านั้นมีข้อจำกัดซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประเภทที่เอื้ออำนวยเช่น ส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุมิได้ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง การจัดให้เช่าไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ไม่ยินยอมส่งคืนที่ราชพัสดุ หรือการจัดให้เช่าขัดกับกฎหมายผังเมือง เป็นต้น ทำให้ปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
2. ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ แม้จะมีมติคณะรัฐมนตรี และระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติไว้ การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุก็ประสบผลสำเร็จเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
2.1 มาตรการตามมติคณะรัฐมนตรี ไม่มีการถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ส่วนราชการผู้ครอบครองที่ราชพัสดุไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติอย่างจริงจัง เนื่องจากการปฏิบัติมิใช่งานในหน้าที่โดยตรง จึงไม่มีส่วนที่ผู้บังคับบัญชาจะนำผลงานมาพิจารณาความดีความชอบเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมทั้งจำนวนบุคลากรของแต่ละหน่วยงานที่มีจำกัด และบุคลากรผู้รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานที่จะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับที่ราชพัสดุไม่มีความรู้เพียงพอ
2.2 ส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ ไม่ทราบอาณาเขตที่ดินราชพัสดุที่ตนเองครอบครองหรือสงวนไว้ใช้ประโยชน์ โดยอาจมีสาเหตุมาจาก
1) ประกาศสงวนหวงห้าม พระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินไม่ชัดเจน
2) การครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของส่วนราชการไม่มีการส่งมอบ รับมอบ เมื่อมีการโอนย้ายหัวหน้าส่วนราชการ ทำให้ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินที่ตนเองครอบครอง
2.3 หน่วยงานที่มีหน้าที่ออกเอกสารสิทธิ์สำหรับที่ดิน ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมธนารักษ์
2.4 กฎหมายที่ราชพัสดุเป็นกฎหมายบริหารทำให้ไม่มีบทกำหนดโทษ ส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ จึงไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายที่ราชพัสดุ
2.5 การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุตามมติคณะรัฐมนตรี ไม่สอดคล้องกับกฎหมายผังเมือง เช่นพื้นที่ราษฎรบุกรุกกฎหมายผังเมืองกำหนดเป็นพื้นที่สีน้ำเงิน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการบุกรุกจึงไม่อาจดำเนินการจัดให้เช่าตามมติคณะรัฐมนตรีได้
2.6 กรมธนารักษ์ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะตรวจสอบการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุของส่วนราชการที่ครอบครองใช้ประโยชน์
3. กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุสัมฤทธิ์ผลตามนโยบายของรัฐบาล สมควรที่จะนำมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงรวบรวมให้เป็นมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุเพียงมติเดียว ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการอ้างอิงและถือปฏิบัติ โดยกรมธนารักษ์ได้เพิ่มเติมมาตรการบางส่วนเพื่อให้การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุสัมฤทธิ์ผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. มาตรการที่กำหนดให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุต้องดำเนินการ
2. มาตรการที่กำหนดให้กระทรวงการคลัง (กรมธนารักษ์) ต้องดำเนินการ
3. มาตรการเสริมที่กำหนดให้หน่วยงานอื่นให้การสนับสนุน
ที่ประชุมคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นว่า มาตรการเพิ่มเติมที่กรมธนารักษ์กำหนดให้ส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุต้องดำเนินการนั้น กรมธนารักษ์ควรมีเกณฑ์ปฏิบัติและกลไกในการกำกับดูแลให้ชัดเจน เช่น การกำหนดบทบาท อำนาจหน้าที่ของส่วนราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ และองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นที่ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ และตารางเวลาสำหรับให้หน่วยงานผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง เป็นต้น รวมทั้งเรื่องความรับผิดชอบกรณีที่เกิดการบุกรุกที่ราชพัสดุ ควรเป็นความรับผิดชอบร่วมกันระหว่างกรมธนารักษ์และหน่วยงานผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ
มาตรการในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ เป็นอุปสรรคในการบริหารจัดการที่ราชพัสดุเป็นอย่างมาก แม้จะมีมติคณะรัฐมนตรีหลายมติ ที่กำหนดมาตรการในการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุไม่ว่าจะเป็นมาตรการป้องกันการบุกรุกที่กำหนดให้ส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุมีหน้าที่ดำเนินการต่าง ๆ หรือมาตรการที่กำหนดเพื่อยืนยันสิทธิในที่ดินของรัฐ และเพื่อลดข้อขัดแย้งเกี่ยวกับการใช้ที่ดินในระยะยาวโดยให้กรมธนารักษ์แก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุด้วยการจัดให้เช่า แต่การดำเนินการตามมาตรการเหล่านั้นมีข้อจำกัดซึ่งเกิดจากปัจจัยหลายประเภทที่เอื้ออำนวยเช่น ส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุมิได้ถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่องและจริงจัง การจัดให้เช่าไม่สามารถกระทำได้ เนื่องจากส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ไม่ยินยอมส่งคืนที่ราชพัสดุ หรือการจัดให้เช่าขัดกับกฎหมายผังเมือง เป็นต้น ทำให้ปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุยังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร
2. ในการป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุ แม้จะมีมติคณะรัฐมนตรี และระเบียบนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ดินของรัฐ พ.ศ. 2545 กำหนดหลักเกณฑ์และแนวทางปฏิบัติไว้ การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุก็ประสบผลสำเร็จเพียงส่วนหนึ่งเท่านั้น ทั้งนี้ เนื่องจากสาเหตุดังต่อไปนี้
2.1 มาตรการตามมติคณะรัฐมนตรี ไม่มีการถือปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ส่วนราชการผู้ครอบครองที่ราชพัสดุไม่ใส่ใจที่จะปฏิบัติอย่างจริงจัง เนื่องจากการปฏิบัติมิใช่งานในหน้าที่โดยตรง จึงไม่มีส่วนที่ผู้บังคับบัญชาจะนำผลงานมาพิจารณาความดีความชอบเพื่อเลื่อนขั้นเงินเดือน รวมทั้งจำนวนบุคลากรของแต่ละหน่วยงานที่มีจำกัด และบุคลากรผู้รับผิดชอบของแต่ละหน่วยงานที่จะปฏิบัติหน้าที่เกี่ยวกับที่ราชพัสดุไม่มีความรู้เพียงพอ
2.2 ส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ ไม่ทราบอาณาเขตที่ดินราชพัสดุที่ตนเองครอบครองหรือสงวนไว้ใช้ประโยชน์ โดยอาจมีสาเหตุมาจาก
1) ประกาศสงวนหวงห้าม พระราชกฤษฎีกาหวงห้ามที่ดินไม่ชัดเจน
2) การครอบครองทำประโยชน์ในที่ดินของส่วนราชการไม่มีการส่งมอบ รับมอบ เมื่อมีการโอนย้ายหัวหน้าส่วนราชการ ทำให้ไม่มีหลักฐานเกี่ยวกับที่ดินที่ตนเองครอบครอง
2.3 หน่วยงานที่มีหน้าที่ออกเอกสารสิทธิ์สำหรับที่ดิน ปฏิบัติหน้าที่ของตนโดยไม่มีการประสานงานอย่างใกล้ชิดกับกรมธนารักษ์
2.4 กฎหมายที่ราชพัสดุเป็นกฎหมายบริหารทำให้ไม่มีบทกำหนดโทษ ส่วนราชการผู้ครอบครองใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุ จึงไม่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติตามกฎหมายที่ราชพัสดุ
2.5 การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุตามมติคณะรัฐมนตรี ไม่สอดคล้องกับกฎหมายผังเมือง เช่นพื้นที่ราษฎรบุกรุกกฎหมายผังเมืองกำหนดเป็นพื้นที่สีน้ำเงิน ดังนั้น การแก้ไขปัญหาการบุกรุกจึงไม่อาจดำเนินการจัดให้เช่าตามมติคณะรัฐมนตรีได้
2.6 กรมธนารักษ์ไม่มีอำนาจตามกฎหมายที่จะตรวจสอบการใช้ประโยชน์ในที่ราชพัสดุของส่วนราชการที่ครอบครองใช้ประโยชน์
3. กระทรวงการคลังพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อให้การป้องกันและแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุสัมฤทธิ์ผลตามนโยบายของรัฐบาล สมควรที่จะนำมติคณะรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องทั้งหมดเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อปรับปรุงรวบรวมให้เป็นมติคณะรัฐมนตรีในเรื่องการแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุเพียงมติเดียว ทั้งนี้ เพื่อสะดวกในการอ้างอิงและถือปฏิบัติ โดยกรมธนารักษ์ได้เพิ่มเติมมาตรการบางส่วนเพื่อให้การแก้ไขปัญหาการบุกรุกที่ราชพัสดุสัมฤทธิ์ผล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-