แท็ก
การท่าเรือแห่งประเทศไทย
การรถไฟแห่งประเทศไทย
กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กระทรวงการคลัง
ธนาคารออมสิน
คณะรัฐมนตรี
คณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบการแก้ไขระบบบำเหน็จบำนาญของรัฐวิสาหกิจ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ ดังนี้
1. หลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และธนาคารออมสิน
2. เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง ตามข้อ 1 พิจารณาการจัดสรรเงินจากผลการดำเนินงานเพื่อเป็นเงินประเดิมในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยระยะเวลาในการจัดสรรเงินเข้าสู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้รัฐวิสาหกิจพิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานะทางการเงินขององค์กร
3. เห็นชอบให้ รฟท. เร่งรัดการปรับโครงสร้างองค์กรทั้งด้านการบริหารการเงิน และการบริหารบุคลากรเพื่อมิให้เป็นภาระกับกระทรวงการคลังต่อไปในอนาคต
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาหาแนวทางจูงใจให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประชาสัมพันธ์ให้พนักงานได้รับทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับเปลี่ยนระบบบำนาญเป็นระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กระทรวงการคลังเสนอรายงานว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจศึกษาแนวทางการแก้ไขระบบบำเหน็จบำนาญของ กทท. และธนาคารออมสิน ซึ่งสามารถสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาระบบบำเหน็จบำนาญของ กทท. รฟท. และธนาคารออมสิน ดังนี้
1. ปัจจุบัน กทท. ต้องรับภาระบำนาญปีละประมาณ 600 ล้านบาท โดย กทท. มีกองทุนสงเคราะห์พนักงานฯ เพื่อรองรับภาระดังกล่าว แต่เนื่องจากกองทุนสงเคราะห์พนักงานฯ มีทรัพย์สินไม่เพียงพอสำหรับไปแสวงหาผลประโยชน์ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายด้านบำนาญ จึงประสบปัญหาขาดทุนปีละประมาณ 540 ล้านบาท สำหรับ รฟท. มีภาระบำนาญปีละประมาณ 1,760 ล้านบาท ปัจจุบันกองทุนสงเคราะห์พนักงาน รฟท. ประสบปัญหาการขาดทุนสะสมถึง 4,890ล้านบาท ซึ่ง รฟท. ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการแก้ไขการขาดทุนของกองทุนสงเคราะห์พนักงานฯ ในขณะที่ธนาคารออมสินมีภาระบำนาญปีละประมาณ 500 ล้านบาท และเนื่องจากรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง จะมีภาระบำนาญเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขระบบบำนาญของรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง เพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจและไม่ให้เป็นภาระของภาครัฐในอนาคต
2. ในส่วนของ รฟท. ที่มีภาระบำนาญเป็นจำนวนมาก และประสบภาวะขาดทุนสะสม ควรเร่งรัดการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาขาดทุน และเมื่อ รฟท. สามารถแก้ไขปัญหาการขาดทุนสะสม และจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว รฟท. ก็ควรจัดทำแผนแม่บทในการปรับปรุงองค์กรทั้งด้านการบริหารเงินและการบริหารบุคลากร เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และไม่สร้างภาระให้แก่กระทรวงการคลังในอนาคต
กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ควรยกเลิกระบบบำเหน็จบำนาญและดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเนื่องจากระบวนการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง ล่าช้ากว่ากำหนดมากว่า 5 ปีแล้ว กระทรวงการคลังจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกำหนดหลักการสมมติฐานในการคำนวณและเงื่อนไขบางประการเพื่อเป็นแรงจูงใจ โดยมีหลักการให้รัฐวิสาหกิจที่มีระบบบำเหน็จบำนาญในปัจจุบันดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้สิทธิแก่พนักงานปัจจุบันที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญสามารถเลือกเข้าเป็นสมาชิกระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งมีหลักการให้ผลประโยชน์ที่ได้รับจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยไปกว่าระบบบำนาญเดิม และองค์กรรัฐวิสาหกิจได้มีการตั้งสำรองภาระเงินบำเหน็จบำนาญโดยการใส่เงินสมทบให้พนักงานในรูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และแต่งตั้งให้ผู้บริหารกองทุนที่เป็นมืออาชีพมาบริหารเงินกองทุน เพื่อแสวงหาผลตอบแทน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. หลักเกณฑ์การจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพสำหรับการท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) การรถไฟแห่งประเทศไทย (รฟท.) และธนาคารออมสิน
2. เห็นชอบให้รัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง ตามข้อ 1 พิจารณาการจัดสรรเงินจากผลการดำเนินงานเพื่อเป็นเงินประเดิมในการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยระยะเวลาในการจัดสรรเงินเข้าสู่กองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้รัฐวิสาหกิจพิจารณาถึงความเหมาะสมของสถานะทางการเงินขององค์กร
3. เห็นชอบให้ รฟท. เร่งรัดการปรับโครงสร้างองค์กรทั้งด้านการบริหารการเงิน และการบริหารบุคลากรเพื่อมิให้เป็นภาระกับกระทรวงการคลังต่อไปในอนาคต
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีขอให้กระทรวงการคลังพิจารณาหาแนวทางจูงใจให้พนักงานรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง เข้าร่วมเป็นสมาชิกกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และประชาสัมพันธ์ให้พนักงานได้รับทราบถึงประโยชน์ที่จะได้รับจากการปรับเปลี่ยนระบบบำนาญเป็นระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
กระทรวงการคลังเสนอรายงานว่า ได้มอบหมายให้สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจศึกษาแนวทางการแก้ไขระบบบำเหน็จบำนาญของ กทท. และธนาคารออมสิน ซึ่งสามารถสรุปข้อเท็จจริง พร้อมทั้งความเห็นเพื่อใช้เป็นแนวทางแก้ไขปัญหาระบบบำเหน็จบำนาญของ กทท. รฟท. และธนาคารออมสิน ดังนี้
1. ปัจจุบัน กทท. ต้องรับภาระบำนาญปีละประมาณ 600 ล้านบาท โดย กทท. มีกองทุนสงเคราะห์พนักงานฯ เพื่อรองรับภาระดังกล่าว แต่เนื่องจากกองทุนสงเคราะห์พนักงานฯ มีทรัพย์สินไม่เพียงพอสำหรับไปแสวงหาผลประโยชน์ เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายด้านบำนาญ จึงประสบปัญหาขาดทุนปีละประมาณ 540 ล้านบาท สำหรับ รฟท. มีภาระบำนาญปีละประมาณ 1,760 ล้านบาท ปัจจุบันกองทุนสงเคราะห์พนักงาน รฟท. ประสบปัญหาการขาดทุนสะสมถึง 4,890ล้านบาท ซึ่ง รฟท. ยังไม่มีแนวทางที่ชัดเจนในการแก้ไขการขาดทุนของกองทุนสงเคราะห์พนักงานฯ ในขณะที่ธนาคารออมสินมีภาระบำนาญปีละประมาณ 500 ล้านบาท และเนื่องจากรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง จะมีภาระบำนาญเพิ่มสูงขึ้นในแต่ละปี จึงจำเป็นต้องมีการแก้ไขระบบบำนาญของรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง เพื่อไม่ให้กระทบต่อฐานะทางการเงินของรัฐวิสาหกิจและไม่ให้เป็นภาระของภาครัฐในอนาคต
2. ในส่วนของ รฟท. ที่มีภาระบำนาญเป็นจำนวนมาก และประสบภาวะขาดทุนสะสม ควรเร่งรัดการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพควบคู่ไปกับการแก้ไขปัญหาขาดทุน และเมื่อ รฟท. สามารถแก้ไขปัญหาการขาดทุนสะสม และจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพแล้ว รฟท. ก็ควรจัดทำแผนแม่บทในการปรับปรุงองค์กรทั้งด้านการบริหารเงินและการบริหารบุคลากร เพื่อให้เกิดการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และไม่สร้างภาระให้แก่กระทรวงการคลังในอนาคต
กระทรวงการคลังได้พิจารณาแล้วเห็นว่ารัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่งดังกล่าว ควรยกเลิกระบบบำเหน็จบำนาญและดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพให้แล้วเสร็จโดยเร็ว และเนื่องจากระบวนการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพของรัฐวิสาหกิจทั้ง 3 แห่ง ล่าช้ากว่ากำหนดมากว่า 5 ปีแล้ว กระทรวงการคลังจึงได้กำหนดหลักเกณฑ์ในการแก้ไขปัญหา โดยใช้ระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกำหนดหลักการสมมติฐานในการคำนวณและเงื่อนไขบางประการเพื่อเป็นแรงจูงใจ โดยมีหลักการให้รัฐวิสาหกิจที่มีระบบบำเหน็จบำนาญในปัจจุบันดำเนินการจัดตั้งกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ โดยให้สิทธิแก่พนักงานปัจจุบันที่อยู่ในระบบบำเหน็จบำนาญสามารถเลือกเข้าเป็นสมาชิกระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ ซึ่งมีหลักการให้ผลประโยชน์ที่ได้รับจากระบบกองทุนสำรองเลี้ยงชีพไม่น้อยไปกว่าระบบบำนาญเดิม และองค์กรรัฐวิสาหกิจได้มีการตั้งสำรองภาระเงินบำเหน็จบำนาญโดยการใส่เงินสมทบให้พนักงานในรูปแบบของกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และแต่งตั้งให้ผู้บริหารกองทุนที่เป็นมืออาชีพมาบริหารเงินกองทุน เพื่อแสวงหาผลตอบแทน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-