เรื่อง สถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่นขอโอนเงิน
และทรัพย์สินไม่ถาวรของสถาบันให้เป็นเงินทุนประเดิมของรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งมูลนิธิสถาบันความ
ร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง
คณะรัฐมนตรีรับทราบการเปลี่ยนแปลงสถานะสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงจากหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมูลนิธิสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง และเห็นชอบการขอโอนทรัพย์สินที่เป็นเงินสด พัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มิใช่สิ่งก่อสร้างและที่ดินของสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงให้เป็นเงินทุนประเดิมของรัฐบาลไทยเพื่อก่อตั้งมูลนิธิต่อไป โดยเงินทุนประเดิมนี้ให้คิดตามยอดมูลค่าที่มีอยู่จริง ณ วันโอน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และนำประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.1 (ฝ่ายการศึกษา) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นว่า สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยในระยะแรกเริ่มสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลนิวซีแลนด์และงบประมาณสมทบจากกรมวิเทศสหการ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนดให้เป็นรายได้ของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2540ซึ่งเป็นเงินของทางราชการ ดังนั้น เงินทุนประเดิมของรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงจะคิดตามยอดมูลค่าที่มีอยู่จริง ณ วันโอน โดยมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงจะจัดสรรเงินสดจำนวน 200,000 บาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง และยอดเงินที่เหลืออีกส่วนให้เปิดบัญชีเป็นเงินสดสำรองใช้จ่ายของมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงต่อไป สำหรับพัสดุ ครุภัณฑ์ ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มิใช่สิ่งก่อสร้างและที่ดินของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงที่จะโอนไปเป็นของมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง นั้น ให้สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงดำเนินการได้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งหากมหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่สามารถปฏิบัติได้ก็เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่ผู้แทนกระทรวงการคลังชี้แจง
กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอขอปรับเปลี่ยนสถานะสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงจากหน่วยงานในกำกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมูลนิธิ ซึ่งเป็นผลดีแก่สถาบันเองในด้านการบริหารจัดการที่เป็นอิสระคล่องตัว และสามารถแสวงหารายได้พึ่งตนเองได้ และสามารถดำเนินการต่อไปได้ในการเป็นสถาบันระดับภูมิภาคในการจัดฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาและฝึกอบรมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สรุปข้อเท็จจริงผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคของสถาบันฯ มีดังนี้
1. สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงเป็นสถาบันฝึกอบรมสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่เป็นรูปธรรมและมีบทบาทชัดเจนในการจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรทั้งในภาครัฐและเอกชน จนถึงปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้บริหาร และข้าราชการระดับสูงและระดับกลางของประเทศสมาชิกเข้ารับการฝึกอบรมจำนวนมากกว่า 1,100 คน นอกจากนี้ ยังมีการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพและความร่วมมืออันจะขยายเป็นเครือข่ายความร่วมมือต่อกันในอนาคต
2. ระยะแรกเริ่มสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลนิวซีแลนด์เป็นเงินทุนอุดหนุนช่วยเหลือให้กับผู้เข้าร่วมอบรมในเบื้องต้นเป็นระยะเวลา 7 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2538 - 2543 และต่อมาในปี 2544 - 2545ได้ลดจำนวนทุนสนับสนุนเหลือเพียงร้อยละ 60 ของรายได้สถาบันทั้งหมด และในระหว่างปี 2545 - 2546 รัฐบาลนิวซีแลนด์ให้การสนับสนุนหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นระยะเวลาเพียง 24 สัปดาห์ ซึ่งไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงมีศักยภาพในการจัดการฝึกอบรม ปัจจุบันสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงมีพนักงานทั้งหมด 22 คน และมีรายได้และรายจ่ายประจำปีเป็นเงินหมุนเวียนประมาณ 35 ล้านบาท
3. การปรับเปลี่ยนสถานะสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงจากหน่วยงานให้กำกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงเป็นผลดีแก่สถาบันเองในด้านการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ คล่องตัว และสามารถแสวงหารายได้พึ่งตนเองได้ และสามารถดำเนินการต่อไปได้ในการเป็นสถาบันระดับภูมิภาคในการจัดฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาและฝึกอบรมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
4. การขอโอนทรัพย์สินที่เป็นเงินสด พัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มิใช่สิ่งก่อสร้างและที่ดินของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง มีมูลค่าคิดเป็นยอดเงินทั้งสิ้นจำนวน 33,327,198 บาท รอบบัญชีปีสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 ไปเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง ทั้งนี้ เงินทุนประเดิมของรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งมูลนิธิสถาบันฯลุ่มน้ำโขงจะคิดตามยอดที่มีอยู่จริง ณ วันโอน โดยมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงจะจัดสรรเงินสด จำนวน 200,000 บาทเพื่อใช้เป็นเงินทุนจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง และยอดเงินที่เหลืออีกส่วนให้เปิดบัญชีเป็นเงินสดสำรองใช้จ่ายของมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงต่อไป
อุปสรรคและความจำเป็น
1. ด้านโครงสร้างการบริหารและการจัดการ : สถานะการบริหารและการจัดการของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงอยู่ภายใต้การบริหารและการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและรัฐบาลไทย จึงทำให้รัฐบาลของกลุ่มประเทศสมาชิกอื่น ๆ มองว่าสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงมิได้เป็นอิสระด้านการบริหารและไม่มีอิสระในการแสดงบทบาทของสถาบันในระดับภูมิภาคได้
2. ด้านการเงิน : สถานภาพหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่นของสถาบันเป็นตัวสร้างกรอบและข้อจำกัดในการขอรับการสนับสนุนจากแหล่งเงินทุนสำคัญแหล่งอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น และสหประชาชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
และทรัพย์สินไม่ถาวรของสถาบันให้เป็นเงินทุนประเดิมของรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งมูลนิธิสถาบันความ
ร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง
คณะรัฐมนตรีรับทราบการเปลี่ยนแปลงสถานะสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงจากหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมูลนิธิสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง และเห็นชอบการขอโอนทรัพย์สินที่เป็นเงินสด พัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มิใช่สิ่งก่อสร้างและที่ดินของสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงให้เป็นเงินทุนประเดิมของรัฐบาลไทยเพื่อก่อตั้งมูลนิธิต่อไป โดยเงินทุนประเดิมนี้ให้คิดตามยอดมูลค่าที่มีอยู่จริง ณ วันโอน ตามที่กระทรวงศึกษาธิการเสนอ และนำประเด็นอภิปรายของคณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรี คณะที่ 4.1 (ฝ่ายการศึกษา) ไปพิจารณาดำเนินการต่อไป
คณะกรรมการกลั่นกรองเรื่องเสนอคณะรัฐมนตรีเห็นว่า สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงมีฐานะเป็นหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่น โดยในระยะแรกเริ่มสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงได้รับความช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลนิวซีแลนด์และงบประมาณสมทบจากกรมวิเทศสหการ ซึ่งมหาวิทยาลัยขอนแก่นกำหนดให้เป็นรายได้ของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง ตามระเบียบมหาวิทยาลัยขอนแก่นว่าด้วยสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงมหาวิทยาลัยขอนแก่น พ.ศ. 2540ซึ่งเป็นเงินของทางราชการ ดังนั้น เงินทุนประเดิมของรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงจะคิดตามยอดมูลค่าที่มีอยู่จริง ณ วันโอน โดยมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงจะจัดสรรเงินสดจำนวน 200,000 บาท เพื่อใช้เป็นเงินทุนจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง และยอดเงินที่เหลืออีกส่วนให้เปิดบัญชีเป็นเงินสดสำรองใช้จ่ายของมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงต่อไป สำหรับพัสดุ ครุภัณฑ์ ทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มิใช่สิ่งก่อสร้างและที่ดินของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงที่จะโอนไปเป็นของมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง นั้น ให้สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงดำเนินการได้ตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุพ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ซึ่งหากมหาวิทยาลัยขอนแก่นไม่สามารถปฏิบัติได้ก็เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีเพื่อยกเว้นการปฏิบัติตามระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยการพัสดุ พ.ศ. 2535 และที่แก้ไขเพิ่มเติม ตามที่ผู้แทนกระทรวงการคลังชี้แจง
กระทรวงศึกษาธิการได้เสนอขอปรับเปลี่ยนสถานะสถาบันความร่วมมือเพื่อพัฒนาเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงจากหน่วยงานในกำกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมูลนิธิ ซึ่งเป็นผลดีแก่สถาบันเองในด้านการบริหารจัดการที่เป็นอิสระคล่องตัว และสามารถแสวงหารายได้พึ่งตนเองได้ และสามารถดำเนินการต่อไปได้ในการเป็นสถาบันระดับภูมิภาคในการจัดฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาและฝึกอบรมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง สรุปข้อเท็จจริงผลการดำเนินงานและปัญหาอุปสรรคของสถาบันฯ มีดังนี้
1. สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงเป็นสถาบันฝึกอบรมสำหรับการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของประเทศสมาชิกอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงที่เป็นรูปธรรมและมีบทบาทชัดเจนในการจัดฝึกอบรมให้แก่บุคลากรทั้งในภาครัฐและเอกชน จนถึงปัจจุบันมีเจ้าหน้าที่ภาครัฐ ผู้บริหาร และข้าราชการระดับสูงและระดับกลางของประเทศสมาชิกเข้ารับการฝึกอบรมจำนวนมากกว่า 1,100 คน นอกจากนี้ ยังมีการทำกิจกรรมร่วมกันระหว่างผู้เข้ารับการฝึกอบรมเพื่อเสริมสร้างมิตรภาพและความร่วมมืออันจะขยายเป็นเครือข่ายความร่วมมือต่อกันในอนาคต
2. ระยะแรกเริ่มสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงได้รับงบประมาณสนับสนุนจากรัฐบาลนิวซีแลนด์เป็นเงินทุนอุดหนุนช่วยเหลือให้กับผู้เข้าร่วมอบรมในเบื้องต้นเป็นระยะเวลา 7 ปี เริ่มตั้งแต่ปี 2538 - 2543 และต่อมาในปี 2544 - 2545ได้ลดจำนวนทุนสนับสนุนเหลือเพียงร้อยละ 60 ของรายได้สถาบันทั้งหมด และในระหว่างปี 2545 - 2546 รัฐบาลนิวซีแลนด์ให้การสนับสนุนหลักสูตรการฝึกอบรมเป็นระยะเวลาเพียง 24 สัปดาห์ ซึ่งไม่ถึงครึ่งหนึ่งที่สถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงมีศักยภาพในการจัดการฝึกอบรม ปัจจุบันสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงมีพนักงานทั้งหมด 22 คน และมีรายได้และรายจ่ายประจำปีเป็นเงินหมุนเวียนประมาณ 35 ล้านบาท
3. การปรับเปลี่ยนสถานะสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงจากหน่วยงานให้กำกับมหาวิทยาลัยขอนแก่นเป็นมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงเป็นผลดีแก่สถาบันเองในด้านการบริหารจัดการที่เป็นอิสระ คล่องตัว และสามารถแสวงหารายได้พึ่งตนเองได้ และสามารถดำเนินการต่อไปได้ในการเป็นสถาบันระดับภูมิภาคในการจัดฝึกอบรมทรัพยากรมนุษย์ให้แก่ประเทศสมาชิกในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลในเรื่องการส่งเสริมให้ไทยเป็นศูนย์กลางการศึกษาและฝึกอบรมในอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขง
4. การขอโอนทรัพย์สินที่เป็นเงินสด พัสดุ ครุภัณฑ์ และทรัพย์สินต่าง ๆ ที่มิใช่สิ่งก่อสร้างและที่ดินของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง มีมูลค่าคิดเป็นยอดเงินทั้งสิ้นจำนวน 33,327,198 บาท รอบบัญชีปีสิ้นสุด ณ วันที่ 30 มิถุนายน 2546 ไปเป็นทรัพย์สินของมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง ทั้งนี้ เงินทุนประเดิมของรัฐบาลไทยเพื่อจัดตั้งมูลนิธิสถาบันฯลุ่มน้ำโขงจะคิดตามยอดที่มีอยู่จริง ณ วันโอน โดยมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงจะจัดสรรเงินสด จำนวน 200,000 บาทเพื่อใช้เป็นเงินทุนจดทะเบียนก่อตั้งมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขง และยอดเงินที่เหลืออีกส่วนให้เปิดบัญชีเป็นเงินสดสำรองใช้จ่ายของมูลนิธิสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงต่อไป
อุปสรรคและความจำเป็น
1. ด้านโครงสร้างการบริหารและการจัดการ : สถานะการบริหารและการจัดการของสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงอยู่ภายใต้การบริหารและการกำกับดูแลของมหาวิทยาลัยขอนแก่นและรัฐบาลไทย จึงทำให้รัฐบาลของกลุ่มประเทศสมาชิกอื่น ๆ มองว่าสถาบันฯ ลุ่มน้ำโขงมิได้เป็นอิสระด้านการบริหารและไม่มีอิสระในการแสดงบทบาทของสถาบันในระดับภูมิภาคได้
2. ด้านการเงิน : สถานภาพหน่วยงานในกำกับของมหาวิทยาลัยขอนแก่นของสถาบันเป็นตัวสร้างกรอบและข้อจำกัดในการขอรับการสนับสนุนจากแหล่งเงินทุนสำคัญแหล่งอื่น ๆ เช่น ญี่ปุ่น และสหประชาชาติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-