คณะรัฐมนตรีอนุมัติให้ยกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2544 เรื่องการดำเนินการตามกรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน ตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) เสนอ
สศช. เสนอรายงานว่า ได้มีการรายงานตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่เป็นทางการแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 10 - 12 พฤศจิกายน 2544 และครั้งที่ 2 ที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส เมื่อวันที่ 29 - 31 มีนาคม 2545 สศช. ได้พิจารณาแล้ว เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2544 ด้วยเหตุผล ดังนี้
1. กรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เป็นกรอบการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมในช่วงที่รัฐบาลเริ่มเข้าบริหารประเทศ และแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจเผชิญข้อจำกัดจากเศรษฐกิจโลก อันอาจทำให้เศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง ต่อมาเมื่อนำแผนไปปฏิบัติ ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับที่ดีขึ้นโดยตลอด ซื่งจะเห็นได้จากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
2. ในปัจจุบันได้มีวาระแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ต่างๆ ของหน่วยงานซึ่งเป็นการจัดทำยุทธศาสตร์ที่มีความต่อเนื่องของวัตถุประสงค์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม ให้มีคุณภาพและยั่งยืนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีการรายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรอบการรายงานการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลโดยหน่วยงานต่างๆ เป็นประจำอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
สศช. เสนอรายงานว่า ได้มีการรายงานตามกรอบแผนยุทธศาสตร์ฯ ต่อที่ประชุมคณะรัฐมนตรีไม่เป็นทางการแล้ว 2 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 ที่จังหวัดบุรีรัมย์ เมื่อวันที่ 10 - 12 พฤศจิกายน 2544 และครั้งที่ 2 ที่จังหวัดยะลา ปัตตานี นราธิวาส เมื่อวันที่ 29 - 31 มีนาคม 2545 สศช. ได้พิจารณาแล้ว เห็นควรเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณายกเลิกมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 21 สิงหาคม 2544 ด้วยเหตุผล ดังนี้
1. กรอบแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศอย่างมีคุณภาพและยั่งยืน เป็นกรอบการบริหารเศรษฐกิจส่วนรวมในช่วงที่รัฐบาลเริ่มเข้าบริหารประเทศ และแนวโน้มการขยายตัวของเศรษฐกิจเผชิญข้อจำกัดจากเศรษฐกิจโลก อันอาจทำให้เศรษฐกิจไทยมีอัตราการขยายตัวที่ลดลง ต่อมาเมื่อนำแผนไปปฏิบัติ ทำให้เศรษฐกิจไทยขยายตัวในระดับที่ดีขึ้นโดยตลอด ซื่งจะเห็นได้จากปัจจุบันภาวะเศรษฐกิจไทยมีเสถียรภาพและสภาพแวดล้อมของเศรษฐกิจโลกได้เปลี่ยนแปลงไปแล้ว
2. ในปัจจุบันได้มีวาระแห่งชาติ และยุทธศาสตร์ต่างๆ ของหน่วยงานซึ่งเป็นการจัดทำยุทธศาสตร์ที่มีความต่อเนื่องของวัตถุประสงค์การบริหารเศรษฐกิจส่วนรวม ให้มีคุณภาพและยั่งยืนที่เหมาะสมกับสถานการณ์ปัจจุบัน และมีการรายงานต่อคณะรัฐมนตรีในกรอบการรายงานการดำเนินงานตามนโยบายรัฐบาลโดยหน่วยงานต่างๆ เป็นประจำอยู่แล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-