คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการดำรงความต่อเนื่องของการปฏิบัติตามมาตรการในส่วนที่กำลังดำเนินการอยู่แล้ว และการปฏิบัติในส่วนที่เสนอให้มีการเร่งรัด รวมทั้งที่ต้องดำเนินการเพิ่มเติม จะทำให้การปฏิบัติตามคำสั่งนายก-รัฐมนตรีที่ 68/2547 เกิดผลเป็นรูปธรรม นอกจากนี้ยังเป็นการลดเงื่อนไขที่เป็นสาเหตุสำคัญของปัญหา อีกทั้งเป็นการดำเนินการในทุกมิติของการคลี่คลายและแก้ปัญหา รวมทั้งป้องกันปัญหาการใช้ความรุนแรงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ได้อย่างยั่งยืน ตามที่สำนักงานสภาความมั่นคงแห่งชาติเสนอ
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) และรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้ตรวจสอบแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้มีการสั่งการในทางนโยบายไปแล้ว ภายหลังเหตุการณ์วันที่ 4 มกราคม 2547 โดยเฉพาะคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 68/2547 เรื่องนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรากฏว่าโดยส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับข้อเสนอของรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ฯ อย่างไรก็ตามยังมีมาตรการตามที่เสนอไปในบางเรื่องที่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการและในบางเรื่องสมควรมอบเป็นนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปปฏิบัติเพิ่มเติม ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้
1. มาตรการที่กำลังดำเนินการ
1.1 มาตรการด้านการสร้างความปลอดภัยและยุติความรุนแรง โดยส่วนใหญ่ได้มีการสั่งการและหน่วยปฏิบัติกำลังดำเนินการอยู่แล้ว ที่สำคัญได้แก่ 1) การปฏิบัติงานด้านการสืบสวนสอบสวน การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาและผู้ต้องสงสัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใส และใช้วิธีการทางนิติวิทยาศาสตร์เท่าที่ทำได้ ห้ามใช้วิธีการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องโดยเด็ดขาด 2) การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยเฉพาะกองทัพภาคที่ 4 3) การปรับเปลี่ยนบุคลากรของรัฐ ที่สร้างปัญหาและเงื่อนไขในพื้นที่ และ 4) การบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ตามกฎอัยการศึกอย่างจำกัด และมีหลักเกณฑ์โปร่งใส
1.2 มาตรการด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้มีการปฏิบัติอยู่หลายเรื่อง ที่สำคัญได้แก่ 1) การส่งเสริมทางสถาบันการศึกษา เช่น ปอเนาะ ตาดีกา ทั้งในด้านวิชาการ การพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และหลักสูตรพื้นฐานของประเทศ และ 2) การส่งเสริมอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น และการอยู่รวมอย่างสันติสุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
1.3 มาตรการด้านการพัฒนา โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นการเน้นศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโดยให้มีกลไกอย่างเป้นรูปธรรม ด้านการรับฟังความเห็นจากประชาชน ตามแผนพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ และด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547
2. มาตรการที่สมควรเร่งดำเนินการ แม้ว่าเป็นมาตรการที่กำลังดำเนินการอยู่บ้างแล้ว แต่จำเป็นต้องเร่งรัดการดำเนินการ ได้แก่
2.1 มาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยและยุติความรุนแรง สมควรให้หน่วยปฏิบัติเร่งดำเนินการในเรื่อง 1) การจัดตั้งกำลังประชาชนอาสาสมัครป้องกันตนเอง 2) การทำความชัดเจนในคดีที่เกี่ยวโยงกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สาธารณชนให้ความสนใจ และการมอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพรับผิดชอบการสืบสวนคดีที่มีข้อครหาว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจากพนักงานสอบสวนชุดปัจจุบัน 3) การชดเชยค่าเสียหายแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง และ 4) การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดและแนวร่วมที่หลงผิดอย่างเพื่อนร่วมชาติ โดยมีมาตรการให้กลับมาอยู่ร่วมในสังคมอย่างสันติสุข ด้วยการใช้กระบวนการทางกฎหมายเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหา
2.2 มาตรการด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เห็นควรเร่งดำเนินการในเรื่อง 1) ส่งเสริมการจัดการการศึกษาศาสนา ที่สอดคล้องกับหลักศาสนาที่ถูกต้อง 2) การพัฒนาศักยภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นศูนย์การศึกษาอิสลามระดับอุดมศึกษาในภูมิภาค และ 3) ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดี และให้มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการที่ดีเพิ่มเติม ให้เหมาะสมกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.3 มาตรการด้านการพัฒนา เร่งดำเนินการในเรื่องการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. มาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มเติม มาตรการที่ควรมีการสั่งการจากระดับนโยบาย คือ การเสริมสร้างสายสัมพันธ์อันเข้มแข็งระหว่างประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับคนในภาคอื่น ๆ ของประเทศ โดยการดำเนินการตามมาตรการนี้ จะต้องครอบคลุมทั้งในมิติทางด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการประชาสัมพันธ์รวมทั้งให้มีกิจกรรมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นพลังดำรงความสมานฉันท์ของคนในชาติที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ให้มีความเข้าใจเพื่อนร่วมชาติและสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอกชวลิต ยงใจยุทธ) และรองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ได้ตรวจสอบแนวทางแก้ไขปัญหาที่ได้มีการสั่งการในทางนโยบายไปแล้ว ภายหลังเหตุการณ์วันที่ 4 มกราคม 2547 โดยเฉพาะคำสั่งนายกรัฐมนตรีที่ 68/2547 เรื่องนโยบายเสริมสร้างสันติสุขในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปรากฏว่าโดยส่วนใหญ่มีความสอดคล้องกับข้อเสนอของรองนายกรัฐมนตรี นายจาตุรนต์ฯ อย่างไรก็ตามยังมีมาตรการตามที่เสนอไปในบางเรื่องที่มีความจำเป็นต้องเร่งดำเนินการและในบางเรื่องสมควรมอบเป็นนโยบายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปปฏิบัติเพิ่มเติม ซึ่งพิจารณาได้ดังนี้
1. มาตรการที่กำลังดำเนินการ
1.1 มาตรการด้านการสร้างความปลอดภัยและยุติความรุนแรง โดยส่วนใหญ่ได้มีการสั่งการและหน่วยปฏิบัติกำลังดำเนินการอยู่แล้ว ที่สำคัญได้แก่ 1) การปฏิบัติงานด้านการสืบสวนสอบสวน การปฏิบัติต่อผู้ต้องหาและผู้ต้องสงสัย ซึ่งเจ้าหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โปร่งใส และใช้วิธีการทางนิติวิทยาศาสตร์เท่าที่ทำได้ ห้ามใช้วิธีการใด ๆ ที่ไม่ถูกต้องโดยเด็ดขาด 2) การปฏิบัติการของเจ้าหน้าที่จากส่วนกลางต้องประสานงานอย่างใกล้ชิดกับหน่วยงานในพื้นที่ โดยเฉพาะกองทัพภาคที่ 4 3) การปรับเปลี่ยนบุคลากรของรัฐ ที่สร้างปัญหาและเงื่อนไขในพื้นที่ และ 4) การบังคับใช้มาตรการต่าง ๆ ตามกฎอัยการศึกอย่างจำกัด และมีหลักเกณฑ์โปร่งใส
1.2 มาตรการด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้มีการปฏิบัติอยู่หลายเรื่อง ที่สำคัญได้แก่ 1) การส่งเสริมทางสถาบันการศึกษา เช่น ปอเนาะ ตาดีกา ทั้งในด้านวิชาการ การพัฒนาอาชีพ และคุณภาพชีวิต ให้สอดคล้องกับความต้องการของประชาชน และหลักสูตรพื้นฐานของประเทศ และ 2) การส่งเสริมอัตลักษณ์ของวัฒนธรรมท้องถิ่น และการอยู่รวมอย่างสันติสุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
1.3 มาตรการด้านการพัฒนา โดยเฉพาะการส่งเสริมการพัฒนาที่เป็นการเน้นศักยภาพและสอดคล้องกับความต้องการของท้องถิ่น และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการพัฒนาโดยให้มีกลไกอย่างเป้นรูปธรรม ด้านการรับฟังความเห็นจากประชาชน ตามแผนพัฒนาด้านสังคม เศรษฐกิจ และด้านความมั่นคงในจังหวัดชายแดนภาคใต้ ซึ่งขณะนี้อยู่ระหว่างการดำเนินการให้เป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2547
2. มาตรการที่สมควรเร่งดำเนินการ แม้ว่าเป็นมาตรการที่กำลังดำเนินการอยู่บ้างแล้ว แต่จำเป็นต้องเร่งรัดการดำเนินการ ได้แก่
2.1 มาตรการด้านการรักษาความปลอดภัยและยุติความรุนแรง สมควรให้หน่วยปฏิบัติเร่งดำเนินการในเรื่อง 1) การจัดตั้งกำลังประชาชนอาสาสมัครป้องกันตนเอง 2) การทำความชัดเจนในคดีที่เกี่ยวโยงกับปัญหาจังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่สาธารณชนให้ความสนใจ และการมอบให้กรมสอบสวนคดีพิเศษและกรมคุ้มครองสิทธิและเสรีภาพรับผิดชอบการสืบสวนคดีที่มีข้อครหาว่าไม่ได้รับความยุติธรรมจากพนักงานสอบสวนชุดปัจจุบัน 3) การชดเชยค่าเสียหายแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่ที่เสียชีวิตและบาดเจ็บจากเหตุการณ์ใช้ความรุนแรง และ 4) การปฏิบัติต่อผู้กระทำผิดผู้ที่ถูกกล่าวหาว่ากระทำผิดและแนวร่วมที่หลงผิดอย่างเพื่อนร่วมชาติ โดยมีมาตรการให้กลับมาอยู่ร่วมในสังคมอย่างสันติสุข ด้วยการใช้กระบวนการทางกฎหมายเป็นพื้นฐานในการแก้ปัญหา
2.2 มาตรการด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม เห็นควรเร่งดำเนินการในเรื่อง 1) ส่งเสริมการจัดการการศึกษาศาสนา ที่สอดคล้องกับหลักศาสนาที่ถูกต้อง 2) การพัฒนาศักยภาพจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้เป็นศูนย์การศึกษาอิสลามระดับอุดมศึกษาในภูมิภาค และ 3) ส่งเสริมให้เจ้าหน้าที่ในพื้นที่มีความรู้ ความเข้าใจ และเจตคติที่ดี และให้มีการออกระเบียบสำนักนายกรัฐมนตรีว่าด้วยหลักเกณฑ์และวิธีการในการปฏิบัติราชการที่ดีเพิ่มเติม ให้เหมาะสมกับจังหวัดชายแดนภาคใต้
2.3 มาตรการด้านการพัฒนา เร่งดำเนินการในเรื่องการส่งเสริมและอำนวยความสะดวกการไปทำงานในประเทศเพื่อนบ้านของประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้
3. มาตรการที่จำเป็นต้องดำเนินการเพิ่มเติม มาตรการที่ควรมีการสั่งการจากระดับนโยบาย คือ การเสริมสร้างสายสัมพันธ์อันเข้มแข็งระหว่างประชาชนในจังหวัดชายแดนภาคใต้กับคนในภาคอื่น ๆ ของประเทศ โดยการดำเนินการตามมาตรการนี้ จะต้องครอบคลุมทั้งในมิติทางด้านการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม และการประชาสัมพันธ์รวมทั้งให้มีกิจกรรมทางสังคมอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้เพื่อเป็นพลังดำรงความสมานฉันท์ของคนในชาติที่มีความแตกต่างทางวัฒนธรรม ให้มีความเข้าใจเพื่อนร่วมชาติและสามารถอาศัยอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-