คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่องที่รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) พบสื่อมวลชน ตามที่สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีเสนอ
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) เห็นชอบมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายก-รัฐมนตรีดำเนินโครงการรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) พบสื่อมวลชน ในลักษณะ "เที่ยงวันกันเองกับพลเอก ชวลิตฯ" เพื่อเพิ่มความคุ้นเคยและให้สื่อมวลชนให้ความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชนซึ่งในครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2547 ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส กรุงเทพฯ สรุปผลการประชุมพบปะสนทนาในโครงการดังกล่าว ดังนี้
ผู้บริหารระดับสูงของสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ให้ความสนใจร่วมประชุมจำนวนประมาณ 50 คน ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของสื่อมวลชนที่ร่วมพบปะได้สอบถามเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาของชาติโดยการนำเสนอข่าวที่เป็นจริง ไม่สร้างความแตกแยกของคนในชาติ ดังนี้
1. บทบาทสำคัญของสื่อมวลชน
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้สรุปแนวรบต่าง ๆ ให้สื่อมวลชนรับทราบว่าแนวรบที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่มี 4 ด้าน คือ ด้านยุทธศาสตร์โลก ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจและการเงิน และด้านสื่อสารมวลชน โดยเน้นว่าแนวรบด้านที่ 4 เป็นด้านที่มีแสนยานุภาพมาก ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำเสนอข่าวสารให้ประชาชนทั้งชาวไทยและประชาชนทั่วโลกได้รับทราบ สื่อมวลชนจึงมีความสำคัญในการช่วยเหลือประเทศชาติ โดยเฉพาะในสถานการณ์ไม่ปกติ โดยช่วยนำเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่ผู้รับได้ถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลา รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ
2. สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
1) ได้เน้นย้ำว่าสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาหลักเกิดจากปัจจัยภายในประเทศที่เกิดจาการกระทำของกลุ่มผู้มีอิทธิพลอำนาจมืด ทั้งที่เป็นข้าราชการ กลุ่มบุคคลในพื้นที่ กลุ่มการเมือง และพวกมิจฉาชีพซึ่งมีปัจจัยความขาดแคลนทางวัตถุและความคับแค้นทางจิตใจเป็นปัจจัยเสริม และไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ระบุชัดว่าต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงได้เร่งรัดกำหนดยุทธศาสตร์ และแผนงาน โครงการพัฒนาเป็นการเร่งด่วน
2) การขาดแคลนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เดิมมีอัตราเจ้าหน้าที่ประมาณ 6,800 อัตรา เมื่อ 10 ปีก่อน แต่ปัจจุบันมีกำลังจริงเพียงพันกว่าอัตรา ทำให้ต้องใช้กำลังทหารเข้าไปเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการประกาศกฎอัยการศึก เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน
3) รัฐบาลได้เร่งแก้ไขทุ่มเทการพัฒนา เช่น การสร้างงาน การศึกษา การทำความเข้าใจ และผดุงความเป็นธรรมเพื่อลบล้างความคับแค้นทางจิตใจ
4) รัฐบาลได้จัดทำโครงการพัฒนาศาสนสถานสำคัญของจังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะวัดช้างไห้ มัสยิดกรือแซะ และศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการหารือกับผู้นำศาสนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาบูรณะดังกล่าว
3. การตอบข้อซักถาม ความต้องการของสื่อมวลชน และการขอความร่วมมือ
1) ได้ตอบข้อซักภามในประเด็นต่าง ๆ เช่น ความชัดเจนของปัญหาที่เกิดขึ้น ความเชื่อมโยงกับต่างประเทศ และนโยบายต่างประเทศ การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ซึ่งสื่อมวลชนต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดบอกกล่าวกับประชาชนว่าผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในระดับผู้วางแผนและผู้บงการเป็นใคร และต้องการให้เร่งรัดให้คณะอนุกรรมการฯ ที่มีนายธงทอง จันทรางศุ เป็นประธาน เร่งรัดดำเนินการให้เป็นผลเพื่อให้เหล่าคนร้ายและเครือข่ายต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
2) รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการช่วยเหลือเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาในภาคใต้ โดยอาจตั้งเป็น "ชมรมสื่อมวลชนเพื่อชาติ"
3) ให้มีการรวมพลังเพื่อแก้ไขตำนานของมัสยิดกรือเซะที่เป็นภาพเชิงลบต่อความสามัคคีของกลุ่มชน โดยมอบให้องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นผู้ดำเนินการ
4) ให้เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารประสานกับกองทัพภาคที่ 4 ช่วยอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลข่าวสารกับสื่อมวลชนในการเสนอข่าว
4. ข้อเสนอแนะจากการประชุม
1) รัฐควรต้องเร่งเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกแทนเชิงรับ หรือแทนการคอยแก้ข่าว
2) ควรระมัดระวังการเผยแพร่ข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวที่มิได้พิจารณาระมัดระวังอย่างเพียงพอ ทำให้ก่อให้เกิดผลเสียแก่ประโยชน์ของชาติ
ข้อสั่งการและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้สั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
1. เร่งเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกโดยมีการจัดตั้งศูนย์ประมวลข่าวและเผยแพร่ข่าวเพื่อป้องกันไม่ให้มีข่าวในลักษณะเชิงลบ โดยมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับ อ.ส.ม.ท. รับไปดำเนินการภายใต้การกำกับของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2. ควรมีการจัดพบปะสนทนาในลักษณะเดียวกันนี้เดือนละ 1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม โดยแต่ละครั้งจะให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในกระแสเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงและทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และถ้าเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ให้เชิญนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานด้วยตนเอง
3. ควรจะได้เสนอคำขวัญหลักในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ที่ตรงกับปัญหาและภาระหน้าที่ของรัฐ เช่น "พลังแผ่นดินขจัดสิ้นความขัดแย้ง" หรือ "คืนการดำรงอยู่อย่างสันติบนความแตกต่าง" เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
ทั้งนี้ รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) เห็นชอบมอบหมายให้สำนักงานปลัดสำนักนายก-รัฐมนตรีดำเนินโครงการรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) พบสื่อมวลชน ในลักษณะ "เที่ยงวันกันเองกับพลเอก ชวลิตฯ" เพื่อเพิ่มความคุ้นเคยและให้สื่อมวลชนให้ความสำคัญในการเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้องแก่ประชาชนซึ่งในครั้งแรกจัดขึ้นเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม 2547 ณ ห้องราชดำเนิน โรงแรมรอยัลปริ๊นเซส กรุงเทพฯ สรุปผลการประชุมพบปะสนทนาในโครงการดังกล่าว ดังนี้
ผู้บริหารระดับสูงของสื่อมวลชนทั้งโทรทัศน์ วิทยุ และหนังสือพิมพ์ให้ความสนใจร่วมประชุมจำนวนประมาณ 50 คน ซึ่งผู้บริหารระดับสูงของสื่อมวลชนที่ร่วมพบปะได้สอบถามเกี่ยวกับประเด็นปัญหาต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นใน3 จังหวัดชายแดนภาคใต้อย่างกว้างขวาง ซึ่งรองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ชี้แจงทำความเข้าใจเกี่ยวกับข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้น พร้อมทั้งขอความร่วมมือในการแก้ปัญหาของชาติโดยการนำเสนอข่าวที่เป็นจริง ไม่สร้างความแตกแยกของคนในชาติ ดังนี้
1. บทบาทสำคัญของสื่อมวลชน
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้สรุปแนวรบต่าง ๆ ให้สื่อมวลชนรับทราบว่าแนวรบที่ประเทศกำลังเผชิญอยู่มี 4 ด้าน คือ ด้านยุทธศาสตร์โลก ด้านวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจและการเงิน และด้านสื่อสารมวลชน โดยเน้นว่าแนวรบด้านที่ 4 เป็นด้านที่มีแสนยานุภาพมาก ซึ่งเป็นเครื่องมือสำคัญในการนำเสนอข่าวสารให้ประชาชนทั้งชาวไทยและประชาชนทั่วโลกได้รับทราบ สื่อมวลชนจึงมีความสำคัญในการช่วยเหลือประเทศชาติ โดยเฉพาะในสถานการณ์ไม่ปกติ โดยช่วยนำเสนอข้อมูลข่าวสารไปสู่ผู้รับได้ถูกต้อง รวดเร็ว และทันเวลา รวมทั้งไม่มีผลกระทบต่อผลประโยชน์ของประเทศชาติ
2. สถานการณ์ในจังหวัดชายแดนภาคใต้
1) ได้เน้นย้ำว่าสถานการณ์ใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ปัญหาหลักเกิดจากปัจจัยภายในประเทศที่เกิดจาการกระทำของกลุ่มผู้มีอิทธิพลอำนาจมืด ทั้งที่เป็นข้าราชการ กลุ่มบุคคลในพื้นที่ กลุ่มการเมือง และพวกมิจฉาชีพซึ่งมีปัจจัยความขาดแคลนทางวัตถุและความคับแค้นทางจิตใจเป็นปัจจัยเสริม และไม่มีหลักฐานใด ๆ ที่ระบุชัดว่าต่างประเทศมีส่วนเกี่ยวข้อง รัฐบาลจึงได้เร่งรัดกำหนดยุทธศาสตร์ และแผนงาน โครงการพัฒนาเป็นการเร่งด่วน
2) การขาดแคลนกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ เดิมมีอัตราเจ้าหน้าที่ประมาณ 6,800 อัตรา เมื่อ 10 ปีก่อน แต่ปัจจุบันมีกำลังจริงเพียงพันกว่าอัตรา ทำให้ต้องใช้กำลังทหารเข้าไปเสริมกำลังเจ้าหน้าที่ตำรวจ และการประกาศกฎอัยการศึก เพื่อเป็นการเพิ่มความปลอดภัยให้กับพี่น้องประชาชน และเจ้าหน้าที่ที่ปฏิบัติงาน
3) รัฐบาลได้เร่งแก้ไขทุ่มเทการพัฒนา เช่น การสร้างงาน การศึกษา การทำความเข้าใจ และผดุงความเป็นธรรมเพื่อลบล้างความคับแค้นทางจิตใจ
4) รัฐบาลได้จัดทำโครงการพัฒนาศาสนสถานสำคัญของจังหวัดปัตตานี โดยเฉพาะวัดช้างไห้ มัสยิดกรือแซะ และศาลเจ้าแม่ลิ้มกอเหนี่ยว ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการหารือกับผู้นำศาสนาที่เกี่ยวข้อง เพื่อการพัฒนาบูรณะดังกล่าว
3. การตอบข้อซักถาม ความต้องการของสื่อมวลชน และการขอความร่วมมือ
1) ได้ตอบข้อซักภามในประเด็นต่าง ๆ เช่น ความชัดเจนของปัญหาที่เกิดขึ้น ความเชื่อมโยงกับต่างประเทศ และนโยบายต่างประเทศ การปราบปรามผู้มีอิทธิพล ซึ่งสื่อมวลชนต้องการให้รัฐบาลเร่งรัดบอกกล่าวกับประชาชนว่าผู้ก่อความไม่สงบในพื้นที่ชายแดนภาคใต้ในระดับผู้วางแผนและผู้บงการเป็นใคร และต้องการให้เร่งรัดให้คณะอนุกรรมการฯ ที่มีนายธงทอง จันทรางศุ เป็นประธาน เร่งรัดดำเนินการให้เป็นผลเพื่อให้เหล่าคนร้ายและเครือข่ายต้องได้รับโทษตามกฎหมาย
2) รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้ขอความร่วมมือจากสื่อมวลชนในการช่วยเหลือเพื่อร่วมแก้ไขปัญหาในภาคใต้ โดยอาจตั้งเป็น "ชมรมสื่อมวลชนเพื่อชาติ"
3) ให้มีการรวมพลังเพื่อแก้ไขตำนานของมัสยิดกรือเซะที่เป็นภาพเชิงลบต่อความสามัคคีของกลุ่มชน โดยมอบให้องค์การสื่อสารมวลชนแห่งประเทศไทย (อ.ส.ม.ท.) เป็นผู้ดำเนินการ
4) ให้เจ้ากรมกิจการพลเรือนทหารประสานกับกองทัพภาคที่ 4 ช่วยอำนวยความสะดวกในการให้ข้อมูลข่าวสารกับสื่อมวลชนในการเสนอข่าว
4. ข้อเสนอแนะจากการประชุม
1) รัฐควรต้องเร่งเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกแทนเชิงรับ หรือแทนการคอยแก้ข่าว
2) ควรระมัดระวังการเผยแพร่ข่าวโดยอ้างแหล่งข่าวที่มิได้พิจารณาระมัดระวังอย่างเพียงพอ ทำให้ก่อให้เกิดผลเสียแก่ประโยชน์ของชาติ
ข้อสั่งการและข้อเสนอแนะเพิ่มเติม
รองนายกรัฐมนตรี (พลเอก ชวลิต ยงใจยุทธ) ได้สั่งการให้หน่วยงานของรัฐดำเนินการเพิ่มเติม ดังนี้
1. เร่งเพิ่มการประชาสัมพันธ์ในเชิงรุกโดยมีการจัดตั้งศูนย์ประมวลข่าวและเผยแพร่ข่าวเพื่อป้องกันไม่ให้มีข่าวในลักษณะเชิงลบ โดยมอบหมายให้กรมประชาสัมพันธ์ร่วมกับ อ.ส.ม.ท. รับไปดำเนินการภายใต้การกำกับของสำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรี
2. ควรมีการจัดพบปะสนทนาในลักษณะเดียวกันนี้เดือนละ 1 ครั้ง หรือตามความเหมาะสม โดยแต่ละครั้งจะให้รองนายกรัฐมนตรีหรือรัฐมนตรีที่เกี่ยวข้องกับเรื่องที่กำลังเป็นข่าวอยู่ในกระแสเป็นผู้เสนอข้อเท็จจริงและทิศทางที่เป็นประโยชน์ต่อประเทศชาติ และถ้าเป็นเรื่องสำคัญเร่งด่วน ให้เชิญนายกรัฐมนตรีมาเป็นประธานด้วยตนเอง
3. ควรจะได้เสนอคำขวัญหลักในการแก้ไขปัญหาชายแดนภาคใต้ที่ตรงกับปัญหาและภาระหน้าที่ของรัฐ เช่น "พลังแผ่นดินขจัดสิ้นความขัดแย้ง" หรือ "คืนการดำรงอยู่อย่างสันติบนความแตกต่าง" เป็นต้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-