คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงการคลังเสนอ รายงานผลการดำเนินงานโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก ตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 ที่ได้มอบหมายให้จังหวัดอุบลราชธานีเป็นหน่วยงานหลักในการพิจารณาเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากแปลงที่ดินที่ราชการจะต้องใช้ประโยชน์เพื่อการพัฒนาตามโครงการพัฒนาด่านช่องเม็ก ตามที่กระทรวงมหาดไทยเสนอ โดยใช้งบประมาณโครงการพัฒนาด้านช่องเม็กที่คณะรัฐมนตรีเคยมีมติเห็นชอบไว้แล้วในการดำเนินการ ทั้งนี้ ให้รับข้อสังเกตของคณะรัฐมนตรีไปดำเนินการด้วย ดังนี้
1. ในการเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้ดำเนินการ โดยใช้หลักความเป็นธรรมและหลักเมตตาธรรมบนพื้นฐานการมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
2. ให้กระทรวงมหาดไทยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม ในการใช้พื้นที่และพัฒนาด้านช่องเม็กอย่างบูรณาการ
ผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 มีดังนี้
1. ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย จังหวัดอุบลราชธานีได้ประชุมหารือหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2546 กำหนดเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากแปลงที่ดินที่ราชการจะต้องใช้ประโยชน์ (แปลงที่ 13) ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน (30 มิถุนายน 2547) โดยวางผังเมืองช่องเม็ก จัดระเบียบชุมชนและจัดเตรียมพื้นที่ (แปลงที่ 11 และ 21) เพื่อรองรับราษฎรที่ต้องเคลื่อนย้าย รวมทั้งการสำรวจออกแบบที่อยู่อาศัย ร้านค้า ระบบสาธารณูปโภค ระบบสาธารณูปการ ตลอดจนจัดหางบประมาณมาดำเนินการก่อสร้างเพื่อการดังกล่าว
2. ในส่วนของกระทรวงการคลัง กรมศุลการกรโดยด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร สำนักงานศุลกากรภาคที่2 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านพรมแดนช่องเม็ก ได้ดำเนินการดังนี้
2.1 เนื่องจากที่ตั้ง ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร ในปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากด่านพรมแดนช่องเม็ก เป็นระยะทาง 45 กิโลเมตร ทำให้เกิดความยากลำบากในการควบคุมสินค้านำเข้า-ส่งออกเมื่อผ่านพิธีการศุลกากร จึงได้ประสานงานกับจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอใช้พื้นที่บริเวณช่องเม็กในการดำเนินการก่อสร้างด่านพรมแดนและด่านศุลกากร (แห่งใหม่) ขึ้นในบริเวณเดียวกัน เพื่อรองรับการพัฒนาด่านช่องเม็ก และก่อให้เกิดความสะดวกในการดำเนินพิธีการศุลกากรและพิธีการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผ่านแดนในลักษณะ ONE STOP SERVICE ตามโครงการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนภายใต้กรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน จากการสร้างความมั่งคั่ง และมั่นคงทางเศรษฐกิจ 4 ประเทศ อย่างยั่งยืน
2.2 จังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณด่านชายแดนระดับจังหวัดได้จัดสรรพื้นที่แปลงที่ 12 จำนวน 44-3-12 ไร่ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า) และแปลงที่ 13 จำนวน 39-3-41 ไร่ (ปัจจุบันมีราษฎรบุกรุกอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเคลื่อนย้ายออกตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546) เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านพรมแดน อาคารที่ทำการด่านศุลกากร และศูนย์ราชการที่เกี่ยวข้อง อาคารเอนกประสงค์ อาคารชุดพักอาศัย โรงพัก สินค้า ลานตรวจสินค้า คลังเก็บของกลาง และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออก
2.3 ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารได้จัดทำโครงการก่อสร้างด่านพรมแดน ด่านศุลกากรและอาคารศูนย์ราชการบริเวณพรมแดนช่องเม็ก เสนอกรมศุลกากร และจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำหนดแผนดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านพรมแดน ระยะเวลาโครงการ 8 เดือน (มีนาคม - ตุลาคม 2547) วงเงิน 30 ล้านบาท
ระยะที่ 2 ติดตั้งระบบ IT ระบบปรับอากาศ และตกแต่งภายในที่ทำการด่านพรมแดน ขยายถนนหลวง และปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณด่านพรมแดน สำรวจออกแบบการก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านศุลกากรและอาคารศูนย์ราชการ ตามโครงการระยะที่ 3 ก่อสร้างรั้วถาวรตามแนวทางหลวงบริเวณด่านพรมแดนและรอบพื้นที่โครงการระยะที่ 3 ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน (เมษายน - กันยายน 2547) วงเงิน 49.5 ล้านบาท
ระยะที่ 3 ก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านศุลกากร และศูนย์ราชการ อาคารชุดพักอาศัย เจ้าหน้าที่ ที่จอดรถ โรงพักสินค้า คลังเก็บของกลาง ลานตรวจสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออก ระยะเวลาโครงการ 18 เดือน (ตุลาคม 2547 - มีนาคม 2549) วงเงิน 180 ล้านบาท
2.4 โดยที่วิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัด (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ) คือ "หุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน" และวิสัยทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานี คือ "เป็นต้นแบบเมืองชายแดนที่สมบูรณ์" ซึ่งมียุทธศาสตร์การค้าชายแดนและการท่องเที่ยวอยู่ในลำดับต้น ดังนั้น จังหวัดอุบลราชธานีจึงเสนอโครงการก่อสร้างด่านพรมแดน ด่านศุลกากร และอาคารศูนย์ราชการบริเวณพรมแดนช่องเม็ก เป็นโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเป็นลำดับที่ 1 เพื่อขอให้จัดสรรงบประมาณจากเงินงบกลางปี 2547 ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในชั้นต้นได้รับการจัดสรรเป็นจำนวน 30 ล้านบาท
โดยจังหวัดอุบลราชธานีจะร่วมกับด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารดำเนินการก่อสร้างอาคารด่านพรมแดน (โครงการระยะที่ 1) เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น คร่อมทางหลวงหมายเลข 217 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 87 พื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,167 ตร.ม. จำนวน 1 หลัง พร้อมหลังคา ช่องทางเข้า -ออก ข้างละประมาณ 40 x 12 เมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 240 วัน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้าง กำหนดทำสัญญาว่าจ้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 และกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2547
นอกจากนี้ เพื่อรองรับวิสัยทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานี (เป็นต้นแบบเมืองชายแดนที่สมบูรณ์) ดังกล่าว และรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่ "สามเหลี่ยมมรกต" ซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว และกัมพูชา จังหวัดอุบลราชธานีจึงพิจารณาให้พื้นที่บริเวณด่านช่องเม็กเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี โดยพิจารณากำหนดให้รูปแบบทางด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม ของอาคารด่านพรมแดน ด่านศุลกากร และศูนย์ราชการ มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถสื่อความหมายที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งมีความทันสมัยในระดับสากลที่สามารถรองรับปริมาณการผ่านเข้า-ออกของสินค้า ยานพาหนะ และนักท่องเที่ยวในอนาคต ทั้งนี้ การสำรวจออกแบบและการก่อสร้างจะได้ดำเนินการตามโครงการในระยะที่ 2 และ 3 ต่อไป
เรื่องที่กำลังดำเนินการ
ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารกำลังจัดทำรายละเอียดโครงการตามข้อ 2.3 เสนอกรมศุลกากรเพื่อขอจัดสรรงบประมาณประจำปี 2548 และเสนอจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอให้พิจารณาการสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณกลางปี 2547 วงเงิน 229.5 ล้านบาท เพื่อใช้ในการก่อสร้างด่านพรมแดน ด่านศุลกากร และอาคารศูนย์ราชการ บริเวณพรมแดนช่องเม็ก ตามโครงการฯ ระยะที่ 2 และ 3 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกรมศุลกากรและจังหวัดอุบลราชธานี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ในการเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากพื้นที่ดังกล่าวให้ดำเนินการ โดยใช้หลักความเป็นธรรมและหลักเมตตาธรรมบนพื้นฐานการมีข้อเท็จจริงที่ถูกต้อง
2. ให้กระทรวงมหาดไทยประสานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เช่น กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา กระทรวงคมนาคม ในการใช้พื้นที่และพัฒนาด้านช่องเม็กอย่างบูรณาการ
ผลการดำเนินการตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546 มีดังนี้
1. ในส่วนของกระทรวงมหาดไทย จังหวัดอุบลราชธานีได้ประชุมหารือหัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เมื่อวันที่ 26 ธันวาคม 2546 กำหนดเคลื่อนย้ายราษฎรออกจากแปลงที่ดินที่ราชการจะต้องใช้ประโยชน์ (แปลงที่ 13) ให้เสร็จสิ้นภายใน 6 เดือน (30 มิถุนายน 2547) โดยวางผังเมืองช่องเม็ก จัดระเบียบชุมชนและจัดเตรียมพื้นที่ (แปลงที่ 11 และ 21) เพื่อรองรับราษฎรที่ต้องเคลื่อนย้าย รวมทั้งการสำรวจออกแบบที่อยู่อาศัย ร้านค้า ระบบสาธารณูปโภค ระบบสาธารณูปการ ตลอดจนจัดหางบประมาณมาดำเนินการก่อสร้างเพื่อการดังกล่าว
2. ในส่วนของกระทรวงการคลัง กรมศุลการกรโดยด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร สำนักงานศุลกากรภาคที่2 ซึ่งเป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบด้านพรมแดนช่องเม็ก ได้ดำเนินการดังนี้
2.1 เนื่องจากที่ตั้ง ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหาร ในปัจจุบันตั้งอยู่ห่างจากด่านพรมแดนช่องเม็ก เป็นระยะทาง 45 กิโลเมตร ทำให้เกิดความยากลำบากในการควบคุมสินค้านำเข้า-ส่งออกเมื่อผ่านพิธีการศุลกากร จึงได้ประสานงานกับจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอใช้พื้นที่บริเวณช่องเม็กในการดำเนินการก่อสร้างด่านพรมแดนและด่านศุลกากร (แห่งใหม่) ขึ้นในบริเวณเดียวกัน เพื่อรองรับการพัฒนาด่านช่องเม็ก และก่อให้เกิดความสะดวกในการดำเนินพิธีการศุลกากรและพิธีการอื่นที่เกี่ยวข้องกับการผ่านแดนในลักษณะ ONE STOP SERVICE ตามโครงการจัดระบบเศรษฐกิจตามแนวชายแดนภายใต้กรอบความร่วมมือระดับทวิภาคีที่มีผลประโยชน์ร่วมกัน จากการสร้างความมั่งคั่ง และมั่นคงทางเศรษฐกิจ 4 ประเทศ อย่างยั่งยืน
2.2 จังหวัดอุบลราชธานี โดยคณะอนุกรรมการพัฒนาพื้นที่บริเวณด่านชายแดนระดับจังหวัดได้จัดสรรพื้นที่แปลงที่ 12 จำนวน 44-3-12 ไร่ (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งด่านตรวจสัตว์ป่า) และแปลงที่ 13 จำนวน 39-3-41 ไร่ (ปัจจุบันมีราษฎรบุกรุกอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งจะเคลื่อนย้ายออกตามมติคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2546) เพื่อใช้เป็นพื้นที่ในการก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านพรมแดน อาคารที่ทำการด่านศุลกากร และศูนย์ราชการที่เกี่ยวข้อง อาคารเอนกประสงค์ อาคารชุดพักอาศัย โรงพัก สินค้า ลานตรวจสินค้า คลังเก็บของกลาง และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออก
2.3 ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารได้จัดทำโครงการก่อสร้างด่านพรมแดน ด่านศุลกากรและอาคารศูนย์ราชการบริเวณพรมแดนช่องเม็ก เสนอกรมศุลกากร และจังหวัดอุบลราชธานี โดยกำหนดแผนดำเนินการเป็น 3 ระยะ คือ
ระยะที่ 1 ก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านพรมแดน ระยะเวลาโครงการ 8 เดือน (มีนาคม - ตุลาคม 2547) วงเงิน 30 ล้านบาท
ระยะที่ 2 ติดตั้งระบบ IT ระบบปรับอากาศ และตกแต่งภายในที่ทำการด่านพรมแดน ขยายถนนหลวง และปรับปรุงภูมิทัศน์ บริเวณด่านพรมแดน สำรวจออกแบบการก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านศุลกากรและอาคารศูนย์ราชการ ตามโครงการระยะที่ 3 ก่อสร้างรั้วถาวรตามแนวทางหลวงบริเวณด่านพรมแดนและรอบพื้นที่โครงการระยะที่ 3 ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน (เมษายน - กันยายน 2547) วงเงิน 49.5 ล้านบาท
ระยะที่ 3 ก่อสร้างอาคารที่ทำการด่านศุลกากร และศูนย์ราชการ อาคารชุดพักอาศัย เจ้าหน้าที่ ที่จอดรถ โรงพักสินค้า คลังเก็บของกลาง ลานตรวจสินค้า และสิ่งอำนวยความสะดวกในการตรวจปล่อยสินค้าขาเข้าและขาออก ระยะเวลาโครงการ 18 เดือน (ตุลาคม 2547 - มีนาคม 2549) วงเงิน 180 ล้านบาท
2.4 โดยที่วิสัยทัศน์ของกลุ่มจังหวัด (จังหวัดอุบลราชธานี ศรีสะเกษ ยโสธร และอำนาจเจริญ) คือ "หุ้นส่วนเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน" และวิสัยทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานี คือ "เป็นต้นแบบเมืองชายแดนที่สมบูรณ์" ซึ่งมียุทธศาสตร์การค้าชายแดนและการท่องเที่ยวอยู่ในลำดับต้น ดังนั้น จังหวัดอุบลราชธานีจึงเสนอโครงการก่อสร้างด่านพรมแดน ด่านศุลกากร และอาคารศูนย์ราชการบริเวณพรมแดนช่องเม็ก เป็นโครงการตามยุทธศาสตร์การพัฒนาจังหวัดเป็นลำดับที่ 1 เพื่อขอให้จัดสรรงบประมาณจากเงินงบกลางปี 2547 ของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งในชั้นต้นได้รับการจัดสรรเป็นจำนวน 30 ล้านบาท
โดยจังหวัดอุบลราชธานีจะร่วมกับด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารดำเนินการก่อสร้างอาคารด่านพรมแดน (โครงการระยะที่ 1) เป็นอาคาร คสล. 3 ชั้น คร่อมทางหลวงหมายเลข 217 บริเวณหลักกิโลเมตรที่ 87 พื้นที่ใช้สอยประมาณ 4,167 ตร.ม. จำนวน 1 หลัง พร้อมหลังคา ช่องทางเข้า -ออก ข้างละประมาณ 40 x 12 เมตร ระยะเวลาก่อสร้าง 240 วัน ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการเตรียมการจัดซื้อจัดจ้าง กำหนดทำสัญญาว่าจ้างในเดือนกุมภาพันธ์ 2547 และกำหนดการก่อสร้างแล้วเสร็จในเดือนตุลาคม 2547
นอกจากนี้ เพื่อรองรับวิสัยทัศน์ของจังหวัดอุบลราชธานี (เป็นต้นแบบเมืองชายแดนที่สมบูรณ์) ดังกล่าว และรองรับการพัฒนาการท่องเที่ยวตามนโยบายการพัฒนาพื้นที่ "สามเหลี่ยมมรกต" ซึ่งเป็นพื้นที่เขตติดต่อระหว่าง 3 ประเทศ คือ ไทย ลาว และกัมพูชา จังหวัดอุบลราชธานีจึงพิจารณาให้พื้นที่บริเวณด่านช่องเม็กเป็นหนึ่งในแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดอุบลราชธานี โดยพิจารณากำหนดให้รูปแบบทางด้านสถาปัตยกรรม และวิศวกรรม ของอาคารด่านพรมแดน ด่านศุลกากร และศูนย์ราชการ มีความสวยงามเป็นเอกลักษณ์ที่สามารถสื่อความหมายที่เป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดอุบลราชธานี รวมทั้งมีความทันสมัยในระดับสากลที่สามารถรองรับปริมาณการผ่านเข้า-ออกของสินค้า ยานพาหนะ และนักท่องเที่ยวในอนาคต ทั้งนี้ การสำรวจออกแบบและการก่อสร้างจะได้ดำเนินการตามโครงการในระยะที่ 2 และ 3 ต่อไป
เรื่องที่กำลังดำเนินการ
ด่านศุลกากรพิบูลมังสาหารกำลังจัดทำรายละเอียดโครงการตามข้อ 2.3 เสนอกรมศุลกากรเพื่อขอจัดสรรงบประมาณประจำปี 2548 และเสนอจังหวัดอุบลราชธานี เพื่อขอให้พิจารณาการสนับสนุนและจัดสรรงบประมาณกลางปี 2547 วงเงิน 229.5 ล้านบาท เพื่อใช้ในการก่อสร้างด่านพรมแดน ด่านศุลกากร และอาคารศูนย์ราชการ บริเวณพรมแดนช่องเม็ก ตามโครงการฯ ระยะที่ 2 และ 3 ขณะนี้อยู่ในขั้นตอนการพิจารณาของกรมศุลกากรและจังหวัดอุบลราชธานี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-