คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองบริเวณหน้าพระลาน จังหวัดสระบุรี ระหว่างวันที่ 21 เมษายน 2547 จนถึงปัจจุบัน ตามที่กระทรวงอุตสาหกรรมเสนอ ดังนี้
1. ผลการตรวจสอบโรงโม่หินในบริเวณหน้าพระลาน และในบริเวณอื่น ๆ ของจังหวัดสระบุรีซึ่งมีจำนวนโรงโม่หินที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการทั้งสิ้น 55 โรง ปรากฏว่ามีโรงโม่หินที่ไม่ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดจำนวนทั้งสิ้น 28 โรง อย่างไรก็ดีในจำนวนโรงโม่หินที่สั่งให้หยุดการผลิตทั้งหมดนั้นมีโรงโม่หินจำนวน 11 โรงที่สามารถปรับปรุงสภาพเครื่องจักรและบริเวณสถานประกอบกิจการ ซึ่งการผลิตหินต่อไปจะไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐานของราชการ และไม่เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง จึงได้อนุญาตให้เปิดการผลิตได้ต่อไป
2. ผลการตรวจสอบการทำเหมืองหินเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีประทานบัตรถูกต้องในเขตพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอพระพุทธบาท ซึ่งเปิดการทำเหมืองอยู่ในปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 28 แปลง โดยมีผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรและผู้รับช่วงการทำเหมืองรวมกันจำนวนทั้งสิ้น 39 ราย โดยได้ตรวจสอบการทำเหมืองครบทุกแปลงแล้ว ได้สั่งการให้หยุดการทำเหมืองเนื่องจากใช้คนห้อยโหนในการเจาะระเบิดหินจำนวน 7 แปลง 13 ราย และสั่งการให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีใบอนุญาตมี ซื้อ และใช้วัตถุระเบิดและใบอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ของรัฐ มาขอหยุดการทำเหมืองจำนวน 3 แปลง 3 ราย
3. กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขยายผลการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการทำเหมืองหินและการประกอบกิจการโม่ บด ย่อยหินไปทุกจังหวัดที่มีการทำเหมืองหินและโรงโม่หิน ขณะนี้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เพื่อสั่งการให้โรงโม่หินจำนวน 10 โรง ระงับการเดินเครื่องจักรในสายการผลิต เนื่องจากมีปริมาณฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการในจังหวัดอื่น ๆ กระทรวงอุตสาหกรรมจะรายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ผลการตรวจสอบโรงโม่หินในบริเวณหน้าพระลาน และในบริเวณอื่น ๆ ของจังหวัดสระบุรีซึ่งมีจำนวนโรงโม่หินที่ได้รับอนุญาตประกอบกิจการทั้งสิ้น 55 โรง ปรากฏว่ามีโรงโม่หินที่ไม่ผ่านการตรวจสอบตามเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนดจำนวนทั้งสิ้น 28 โรง อย่างไรก็ดีในจำนวนโรงโม่หินที่สั่งให้หยุดการผลิตทั้งหมดนั้นมีโรงโม่หินจำนวน 11 โรงที่สามารถปรับปรุงสภาพเครื่องจักรและบริเวณสถานประกอบกิจการ ซึ่งการผลิตหินต่อไปจะไม่ก่อให้เกิดฝุ่นละอองเกินเกณฑ์มาตรฐานของราชการ และไม่เกิดความเดือดร้อนรำคาญแก่ประชาชนที่อยู่ใกล้เคียง จึงได้อนุญาตให้เปิดการผลิตได้ต่อไป
2. ผลการตรวจสอบการทำเหมืองหินเพื่ออุตสาหกรรมก่อสร้างที่มีประทานบัตรถูกต้องในเขตพื้นที่อำเภอเฉลิมพระเกียรติ และอำเภอพระพุทธบาท ซึ่งเปิดการทำเหมืองอยู่ในปัจจุบันมีจำนวนทั้งสิ้น 28 แปลง โดยมีผู้ประกอบการซึ่งเป็นผู้ถือประทานบัตรและผู้รับช่วงการทำเหมืองรวมกันจำนวนทั้งสิ้น 39 ราย โดยได้ตรวจสอบการทำเหมืองครบทุกแปลงแล้ว ได้สั่งการให้หยุดการทำเหมืองเนื่องจากใช้คนห้อยโหนในการเจาะระเบิดหินจำนวน 7 แปลง 13 ราย และสั่งการให้ผู้ประกอบการที่ไม่มีใบอนุญาตมี ซื้อ และใช้วัตถุระเบิดและใบอนุญาตเข้าทำประโยชน์ในพื้นที่ของรัฐ มาขอหยุดการทำเหมืองจำนวน 3 แปลง 3 ราย
3. กระทรวงอุตสาหกรรมได้ขยายผลการปฏิบัติเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการทำเหมืองหินและการประกอบกิจการโม่ บด ย่อยหินไปทุกจังหวัดที่มีการทำเหมืองหินและโรงโม่หิน ขณะนี้กรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการเหมืองแร่ ได้มีหนังสือถึงผู้ว่าราชการจังหวัดราชบุรี เพื่อสั่งการให้โรงโม่หินจำนวน 10 โรง ระงับการเดินเครื่องจักรในสายการผลิต เนื่องจากมีปริมาณฝุ่นละอองเกินมาตรฐาน สำหรับความคืบหน้าในการดำเนินการในจังหวัดอื่น ๆ กระทรวงอุตสาหกรรมจะรายงานให้ทราบในโอกาสต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-