คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานความก้าวหน้าการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองบริเวณ ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
(ครั้งที่ 2) (ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 11 พฤษภาคม 2547) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
การดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งย้ายและแต่งตั้งข้าราชการในพื้นที่จังหวัดสระบุรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ราย ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2547 เป็นต้นไป
2. สำนักงานป่าไม้จังหวัดสระบุรี ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ระหว่างวันที่ 22 เมษายน - 11 พฤษภาคม 2547 จำนวน 29 พื้นที่ สามารถจับกุมและดำเนินคดีกับผู้บุกรุกป่าในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน และพื้นที่ใกล้เคียงได้รวมทั้งสิ้น 14 ราย จำนวนเนื้อที่ป่าไม้ 401-1-92 ไร่ พบอุปกรณ์การกระทำผิดได้แก่ รถแบ็คโฮ 2 คัน รถเจาะตีนตะขาบ 2 คัน และแอร์ปั๊มลม 1 เครื่อง
3. กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการประสานกับจังหวัดสระบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ณ ศาลากลางจังหวัดสระบุรี
4. กรมควบคุมมลพิษ ดำเนินการตรวจวัดฝุ่นขนาดเล็กในบรรยากาศจากสถานีตรวจวัดแบบอัตโนมัติบริเวณโรงเรียนหน้าพระลาน พบว่าแนวโน้มของฝุ่นขนาดเล็กเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าลดลงจากช่วงเดือนมกราคม -เมษายน 2547 (ต้นเดือน) โดยตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน -11 พฤษภาคม มีจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นขนาดเล็กสูงเกินมาตรฐาน 4 วัน และมีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดเท่ากับ 150 มคก./ลบ.ม. (มาตรฐานเท่ากับ 120 มคก./ลบ.ม.)
5. กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 สระบุรีได้ดำเนินการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศเพิ่มเติม โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดแบบ Hi-Volume Air Sampler ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ได้แก่ บริเวณโรงเรียนบ้านคุ้งเขาเขียว โรงเรียนบ้านเขารวก พื้นที่เขตเทศบาลตำบลหน้าพระลาน พื้นที่เขต อบต. หน้าพระลาน เป็นต้น เพื่อให้ตรวจสอบคุณภาพอากาศให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น
6. กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 สระบุรี ได้ดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมโรงโม่บดและย่อยหินและการทำเหมืองหินในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ผลการตรวจวัดพบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
7. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ดำเนินการตรวจสอบเหมืองหิน 8 แห่ง ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2547 ผลการตรวจสอบพบว่าโครงการทั้งหมดยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ได้เปิดหน้าเหมืองเป็นลักษณะขั้นบันได ไม่มีการติดตั้งระบบสเปรย์น้ำบริเวณโรงโม่หินทุกจุดที่เกิดฝุ่นละออง รวมทั้งไม่ได้ปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่ Buffer Zone นอกจากนี้ยังไม่ได้จัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการในรายงานฯ ทั้งนี้ สผ. ได้แจ้งผลการตรวจสอบให้เจ้าของโครงการปฏิบัติตามมาตรการในรายงานฯ แล้ว และแจ้งกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการทำเหมืองแร่ (กพร.) กำกับดูแลการดำเนินงานของโครงการต่อไปแล้ว
8. กรมควบคุมมลพิษ อยู่ระหว่างการจัดทำประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อประกาศให้ตำบลหน้าพระลานทั้งตำบลเป็นเขตควบคุมมลพิษ
9. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างการจัดทำข้อกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมประเภทโรงโม่บดและย่อยหินทุกขนาดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 สั่งให้โรงงานโม่บด และย่อยหินในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน จำนวน 24 แห่ง ระงับการเดินเครื่องจักร เป็นเวลา 60 วัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพระบบป้องกันและกำจัดฝุ่นละออง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2547 จำนวน 11 แห่ง
- ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 จำนวน 4 แห่ง
- ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 จำนวน 9 แห่ง
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
1) จัดทำโครงการตรวจสุขภาพพนักงานโรงโม่บด และย่อยหิน ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ปี 2547 โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมควบคุมมลพิษ) จำนวน 200,000 บาท ขณะนี้กำลังดำเนินการเตรียมสัมภาษณ์ข้อมูลด้านสุขภาพคนงานโรงโม่บด และย่อยหิน จำนวน 27 แห่ง (800 คน)
2) จัดทำโครงการตรวจสุขภาพประชาชนที่มีบ้านอยู่รอบบริเวณโรงโม่บดและย่อยหิน ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ปี 2547 โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงทรัพยากร- ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมควบคุมมลพิษ) จำนวน 500,000 บาท
3) จัดทำแผนปฏิบัติการการเฝ้าระวังด้านสุขภาพอนามัย ปี 2547 เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
3. จังหวัดสระบุรี
1) แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษในจังหวัดสระบุรี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ
2) แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลการใช้วัตถุระเบิด รวมทั้งควบคุมเวลาและปริมาณการระเบิดหินให้เป็นไปตามมาตรการของราชการ
3) จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากเหมืองหินจังหวัดสระบุรี โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดฝุ่นละอองที่เกิดจากการระเบิดและย่อยหิน การลดจำนวนผู้ป่วยจากฝุ่นหิน และการจัดระบบตรวจระวัง เพื่อดูแลสภาพปัญหาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีแผนดำเนินการในทุกอำเภอที่มีการะเบิดและย่อยหิน โดยเฉพาะบริเวณหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
4) การตรวจสอบใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และการขอประทานบัตร การขออนุญาตก่อสร้างแผ้วถางป่า และการอนุญาตอื่น ๆ ตามกฎหมาย
5) การตั้งด่านตรวจสภาพยานพาหนะและการขนส่งมิให้มีการปฏิบัติให้วัสดุร่วงหล่นและเกิดฝุ่นละอองบนถนน
6) สั่งการให้นายอำเภอ หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยต้องรายงานผลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีทุก 15 วัน
4. กพร. ทำการตรวจสอบโรงโม่บดและย่อยหิน ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ระหว่างวันที่ 22 เมษายน -7 พฤษภาคม 2547 รวมทั้งสิ้น 55 ใบอนุญาต และสั่งระงับการประกอบกิจการโรงโม่ฯ จำนวน 27 แห่ง สั่งปรับปรุงบริเวณโรงโม่ฯ จำนวน 20 แห่ง (หมายเหตุ โรงโม่ฯ ที่ถูกสั่งระงับประกอบกิจการได้ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบและเปิดดำเนินการได้แล้ว 9 แห่ง)
แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
1. กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดการจัดประชุมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในเขตตำบลหน้าพระลาน และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 2547 เพื่อจะนำเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
2. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำเสนอเรื่องการกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมประเภทโรงโม่บดและย่อยหินทุกขนาดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ทำการฟื้นฟูสภาพเหมืองหินร้าง ให้คืนสู่สภาพเดิมทางธรรมชาติ และร่วมกันตรวจสอบการให้อนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้เพื่อการทำเหมือง รวมทั้งอนุญาตให้ประทานบัตรการทำเหมืองทั่วประเทศ
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะติดตามตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก และจะดำเนินคดีกับเหมืองแร่ที่ทำผิดกฎหมายทั้งหมดให้ได้ภายใน 1 เดือน
ในการนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมความก้าวหน้าผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน และนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบทุก 30 วันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
(ครั้งที่ 2) (ระหว่างวันที่ 25 เมษายน - 11 พฤษภาคม 2547) ตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมเสนอ ดังนี้
การดำเนินงานของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
1. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม มีคำสั่งย้ายและแต่งตั้งข้าราชการในพื้นที่จังหวัดสระบุรีที่เกี่ยวข้อง จำนวน 8 ราย ซึ่งมีผลตั้งแต่วันที่ 26 เมษายน 2547 เป็นต้นไป
2. สำนักงานป่าไม้จังหวัดสระบุรี ได้ทำการตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ ตาม พ.ร.บ. ป่าไม้ พ.ศ. 2484 ระหว่างวันที่ 22 เมษายน - 11 พฤษภาคม 2547 จำนวน 29 พื้นที่ สามารถจับกุมและดำเนินคดีกับผู้บุกรุกป่าในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน และพื้นที่ใกล้เคียงได้รวมทั้งสิ้น 14 ราย จำนวนเนื้อที่ป่าไม้ 401-1-92 ไร่ พบอุปกรณ์การกระทำผิดได้แก่ รถแบ็คโฮ 2 คัน รถเจาะตีนตะขาบ 2 คัน และแอร์ปั๊มลม 1 เครื่อง
3. กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยการประสานกับจังหวัดสระบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจัดประชุมแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษ พร้อมทั้งกำหนดมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมในเขตตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 ณ ศาลากลางจังหวัดสระบุรี
4. กรมควบคุมมลพิษ ดำเนินการตรวจวัดฝุ่นขนาดเล็กในบรรยากาศจากสถานีตรวจวัดแบบอัตโนมัติบริเวณโรงเรียนหน้าพระลาน พบว่าแนวโน้มของฝุ่นขนาดเล็กเฉลี่ย 24 ชั่วโมง มีค่าลดลงจากช่วงเดือนมกราคม -เมษายน 2547 (ต้นเดือน) โดยตั้งแต่วันที่ 25 เมษายน -11 พฤษภาคม มีจำนวนวันที่มีค่าฝุ่นขนาดเล็กสูงเกินมาตรฐาน 4 วัน และมีค่าเฉลี่ย 24 ชั่วโมงสูงสุดเท่ากับ 150 มคก./ลบ.ม. (มาตรฐานเท่ากับ 120 มคก./ลบ.ม.)
5. กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 สระบุรีได้ดำเนินการตรวจวัดฝุ่นละอองในบรรยากาศเพิ่มเติม โดยใช้เครื่องมือตรวจวัดแบบ Hi-Volume Air Sampler ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ได้แก่ บริเวณโรงเรียนบ้านคุ้งเขาเขียว โรงเรียนบ้านเขารวก พื้นที่เขตเทศบาลตำบลหน้าพระลาน พื้นที่เขต อบต. หน้าพระลาน เป็นต้น เพื่อให้ตรวจสอบคุณภาพอากาศให้ครอบคลุมพื้นที่ต่าง ๆ มากขึ้น
6. กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานสิ่งแวดล้อมภาคที่ 7 สระบุรี ได้ดำเนินการตรวจวัดระดับเสียงและความสั่นสะเทือนจากกิจกรรมโรงโม่บดและย่อยหินและการทำเหมืองหินในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ผลการตรวจวัดพบว่ามีค่าอยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน
7. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (สผ.) ได้ดำเนินการตรวจสอบเหมืองหิน 8 แห่ง ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ระหว่างวันที่ 27-29 เมษายน 2547 ผลการตรวจสอบพบว่าโครงการทั้งหมดยังไม่ได้ปฏิบัติตามมาตรการที่กำหนดในรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม เช่น ไม่ได้เปิดหน้าเหมืองเป็นลักษณะขั้นบันได ไม่มีการติดตั้งระบบสเปรย์น้ำบริเวณโรงโม่หินทุกจุดที่เกิดฝุ่นละออง รวมทั้งไม่ได้ปลูกต้นไม้บริเวณพื้นที่ Buffer Zone นอกจากนี้ยังไม่ได้จัดส่งรายงานผลการปฏิบัติตามมาตรการในรายงานฯ ทั้งนี้ สผ. ได้แจ้งผลการตรวจสอบให้เจ้าของโครงการปฏิบัติตามมาตรการในรายงานฯ แล้ว และแจ้งกรมอุตสาหกรรมพื้นฐานและการทำเหมืองแร่ (กพร.) กำกับดูแลการดำเนินงานของโครงการต่อไปแล้ว
8. กรมควบคุมมลพิษ อยู่ระหว่างการจัดทำประกาศคณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ เพื่อประกาศให้ตำบลหน้าพระลานทั้งตำบลเป็นเขตควบคุมมลพิษ
9. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม อยู่ระหว่างการจัดทำข้อกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมประเภทโรงโม่บดและย่อยหินทุกขนาดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม
การดำเนินการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
1. ผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี ในฐานะพนักงานเจ้าหน้าที่ได้ใช้อำนาจตามมาตรา 37 แห่ง พ.ร.บ. โรงงาน พ.ศ. 2535 สั่งให้โรงงานโม่บด และย่อยหินในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน จำนวน 24 แห่ง ระงับการเดินเครื่องจักร เป็นเวลา 60 วัน เพื่อปรับปรุงประสิทธิภาพระบบป้องกันและกำจัดฝุ่นละออง ดังนี้
- ครั้งที่ 1 เมื่อวันที่ 21 เมษายน 2547 จำนวน 11 แห่ง
- ครั้งที่ 2 เมื่อวันที่ 29 เมษายน 2547 จำนวน 4 แห่ง
- ครั้งที่ 3 เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2547 จำนวน 9 แห่ง
2. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสระบุรี
1) จัดทำโครงการตรวจสุขภาพพนักงานโรงโม่บด และย่อยหิน ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ปี 2547 โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมควบคุมมลพิษ) จำนวน 200,000 บาท ขณะนี้กำลังดำเนินการเตรียมสัมภาษณ์ข้อมูลด้านสุขภาพคนงานโรงโม่บด และย่อยหิน จำนวน 27 แห่ง (800 คน)
2) จัดทำโครงการตรวจสุขภาพประชาชนที่มีบ้านอยู่รอบบริเวณโรงโม่บดและย่อยหิน ตำบลหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี ปี 2547 โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกระทรวงทรัพยากร- ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (กรมควบคุมมลพิษ) จำนวน 500,000 บาท
3) จัดทำแผนปฏิบัติการการเฝ้าระวังด้านสุขภาพอนามัย ปี 2547 เสนอผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี
3. จังหวัดสระบุรี
1) แต่งตั้งคณะกรรมการแก้ไขปัญหามลพิษในจังหวัดสระบุรี โดยมีผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรี เป็นประธาน และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเป็นคณะกรรมการ
2) แต่งตั้งคณะกรรมการควบคุมดูแลการใช้วัตถุระเบิด รวมทั้งควบคุมเวลาและปริมาณการระเบิดหินให้เป็นไปตามมาตรการของราชการ
3) จัดทำแผนปฏิบัติการแก้ไขปัญหาฝุ่นละอองจากเหมืองหินจังหวัดสระบุรี โดยมีเป้าหมายเพื่อกำจัดฝุ่นละอองที่เกิดจากการระเบิดและย่อยหิน การลดจำนวนผู้ป่วยจากฝุ่นหิน และการจัดระบบตรวจระวัง เพื่อดูแลสภาพปัญหาให้อยู่ในเกณฑ์มาตรฐาน โดยมีแผนดำเนินการในทุกอำเภอที่มีการะเบิดและย่อยหิน โดยเฉพาะบริเวณหน้าพระลาน อำเภอเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดสระบุรี
4) การตรวจสอบใบอนุญาตให้ตั้งโรงงาน และการขอประทานบัตร การขออนุญาตก่อสร้างแผ้วถางป่า และการอนุญาตอื่น ๆ ตามกฎหมาย
5) การตั้งด่านตรวจสภาพยานพาหนะและการขนส่งมิให้มีการปฏิบัติให้วัสดุร่วงหล่นและเกิดฝุ่นละอองบนถนน
6) สั่งการให้นายอำเภอ หัวหน้าหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด โดยต้องรายงานผลต่อผู้ว่าราชการจังหวัดสระบุรีทุก 15 วัน
4. กพร. ทำการตรวจสอบโรงโม่บดและย่อยหิน ในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน ระหว่างวันที่ 22 เมษายน -7 พฤษภาคม 2547 รวมทั้งสิ้น 55 ใบอนุญาต และสั่งระงับการประกอบกิจการโรงโม่ฯ จำนวน 27 แห่ง สั่งปรับปรุงบริเวณโรงโม่ฯ จำนวน 20 แห่ง (หมายเหตุ โรงโม่ฯ ที่ถูกสั่งระงับประกอบกิจการได้ผ่านเกณฑ์การตรวจสอบและเปิดดำเนินการได้แล้ว 9 แห่ง)
แผนการดำเนินงานในระยะต่อไป
1. กรมควบคุมมลพิษ และสำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้กำหนดการจัดประชุมเพื่อจัดทำแผนปฏิบัติการลดและขจัดมลพิษในเขตตำบลหน้าพระลาน และมาตรการคุ้มครองสิ่งแวดล้อมฉบับสมบูรณ์ภายในเดือนมิถุนายน 2547 เพื่อจะนำเสนอให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
2. สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะนำเสนอเรื่องการกำหนดให้โรงงานอุตสาหกรรมประเภทโรงโม่บดและย่อยหินทุกขนาดตามกฎหมายว่าด้วยโรงงานต้องจัดทำรายงานการวิเคราะห์ผลกระทบสิ่งแวดล้อม ให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ และคณะรัฐมนตรีให้ความเห็นชอบต่อไป
3. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม ทำการฟื้นฟูสภาพเหมืองหินร้าง ให้คืนสู่สภาพเดิมทางธรรมชาติ และร่วมกันตรวจสอบการให้อนุญาตใช้พื้นที่ป่าไม้เพื่อการทำเหมือง รวมทั้งอนุญาตให้ประทานบัตรการทำเหมืองทั่วประเทศ
4. กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะติดตามตรวจสอบพื้นที่ป่าไม้ที่ถูกบุกรุก และจะดำเนินคดีกับเหมืองแร่ที่ทำผิดกฎหมายทั้งหมดให้ได้ภายใน 1 เดือน
ในการนี้ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จะประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อรวบรวมความก้าวหน้าผลการดำเนินการแก้ไขปัญหาในพื้นที่ตำบลหน้าพระลาน และนำเสนอให้คณะรัฐมนตรีทราบทุก 30 วันต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-