แท็ก
สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรี
จังหวัดสมุทรสงคราม
จังหวัดสมุทรสาคร
จังหวัดนครปฐม
คณะรัฐมนตรี
น้ำท่วม
คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักเลขาธิการนายกรัฐมนตรีรายงานผลการตรวจราชการต่างจังหวัดของนายกรัฐมนตรี เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 13 พฤษภาคม 2547 ได้แก่ จังหวัดสมุทรสาคร จังหวัดสมุทรสงคราม จังหวัดนครปฐม สรุปได้ดังนี้
1. จังหวัดสมุทรสาคร ได้ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ปัญหาน้ำท่วม
- นายกรัฐมนตรีรับหลักการและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเป็นภาพรวมทั้งหมดของจังหวัด
1.2 ปัญหาด้านการวางผังเมือง
- นายกรัฐมนตรี มีบัญชามอบหมายให้อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปดำเนินการศึกษาเรื่องผังเมืองของจังหวัดสมุทรสาครโดยอาจจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย
1.3 ระบบคมนาคมขนส่งและปัญหาด้านการขนส่งสินค้า
- นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การคมนาคมโดยรถไฟถึงสมุทรสาครนั้น ใช้งานมานานต่อเรื่อง จะหาระบบขนส่งมวลชนระบบไฟฟ้ามาใช้เชื่อมระหว่าง กทม. กับสมุทรสาคร เพราะถือว่าเป็นเมืองบริวารของ กทม.
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ไปศึกษาเรื่องการขนส่งสินค้าทางเรือเพื่อประหยัดงบประมาณและแก้ปัญหาถนนชำรุด
1.4 โครงการก่อสร้างศูนย์การท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกปากแม่น้ำท่าจีน
- นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าจะสนับสนุนงบประมาณเฉพาะการสร้างศูนย์ OTOP ส่วนการสร้างหอสูงไม่สนับสนุนให้ใช้งบประมาณของรัฐบาล ให้คหบดีของจังหวัดสมุทรสาครร่วมมือกันจัดสร้าง
1.5 ปัญหาการประมงนอกน่านน้ำ
- นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าจะสั่งการให้อธิบดีกรมอาเซียนดูแลและขอให้ไปพบกับอธิบดีอาเซียนได้
- ส่วนเรื่องให้ทูตทหารเรือดูแลเป็นข้อเสนอที่ดี
1.6 ปัญหามลภาวะ (สภาพแวดล้อม)
- นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ รมว.ทส. ไปดูแลเรื่องมลภาวะให้กับจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาโดยด่วน
2. จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ถนนและการขุดคูคลองเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนน
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ประสานกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนามาช่วยซ่อมผิวถนนให้
2.2 ปัญหาขาดแคลนน้ำ
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาดำเนินการขุดน้ำผิวดินเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำก่อน และให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการขยายการบริการต่อไป
2.3 ปัญหาลำคลองตื้นเขิน
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาดำเนินการขุดลอกคลอง
2.4 โครงการจัดสร้างศูนย์จำลองวิถีชีวิตหิ่งห้อยและธรรมชาติวิทยา
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการ และใช้งบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นค่าก่อสร้าง
2.5 ปัญหาผลผลิตลิ้นจี่ล้นตลาด
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพิจารณาความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงงานผลิตลิ้นจี่กระป๋อง โดยรัฐบาลจะสนับสนุนเงินก่อสร้างโรงงาน
2.6 การจัดตั้งศูนย์ OTOP
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดหาพื้นที่เพื่อก่อสร้าง โดยอาจใช้ที่ของราชพัสดุ
2.7 โครงการก่อสร้างเส้นทางจักรยานเลี่ยงแม่น้ำแม่กลอง
- นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจ แต่ขอให้กรมชลประทานช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วยและขอให้มีการศึกษาเรื่องนี้ก่อน
3. จังหวัดนครปฐม ได้ขอให้รัฐบาลดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
3.1 การย้ายเรือนจำกลางนครปฐม
- นายกรัฐมนตรีเห็นชอบที่จะให้มีการย้ายเรือนจำจังหวัด แต่ไม่สนับสนุนให้มีเรือนจำกลาง และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้งบประมาณของจังหวัดเป็นเงิน 350 ล้านบาท
3.2 โครงการก่อสร้างถนนและสะพาน
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายกรมทางหลวงพิจารณาขยายถนนให้เป็น 4 ช่องจราจร รวมทั้งการก่อสร้างสะพานด้วย โดยให้พิจารณาว่าหากไม่ใช่ถนนสายหลักไม่ต้องทำเกาะกลางถนน จะประหยัดงบประมาณได้มาก
3.3 การพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มสุกร
- นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการพัฒนาระบบฟาร์มสุกรบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน โดยใช้งบประมาณ 120 ล้านบาท
- ปัญหาโรงงานฆ่าสัตว์ที่ไม่เพียงพอขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน โดยรัฐบาลอาจลงทุนสร้างโรงฆ่าสัตว์ให้
3.4 การศึกษา
- ขอให้จังหวัดฯ เป็นจังหวัดนำร่อง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานงานกับนักวิชาการ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตั้งประชาคมผู้มีความรู้ร่วมกันหาวิธีสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับประชาชนในจังหวัด โดยรัฐบาลจะหาแหล่งทุนให้
- ที่วิทยาเขตกำแพงแสน หากจัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจร โดยทำลักษณะ Edu-tainment จะดีมาก เพราะอยู่ไม่ไกลจาก กทม.
3.5 การพัฒนาเด็กให้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- นายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้นักเรียนมีการค้นคว้าอย่างไม่มีข้อจำกัด โดยจะสนับสนุนให้นักเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาทุกคน ขอให้ทางโรงเรียนสำรวจ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ Facilitator ให้ เพื่อให้เด็กค้นคว้าได้อย่างรวดเร็ว
- ควรพิจารณาจัดตั้งโรงเรียนลักษณะเช่นนี้ในภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย
3.6 มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) วิทยาเขตอำนาจเจริญ และนครสวรรค์
- กรณีการก่อสร้างวิทยาเขตอำนาจเจริญ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าทางผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญของบประมาณ 60 ล้านให้ ม.มหิดลจัดสร้างอาคารเรียน ซึ่งอยากให้เด็กยากจนในต่างจังหวัดได้เรียน ซึ่งหากเปิดคณะแพทย์ด้วยก็อยากให้เด็กต่างจังหวัดได้เรียน แล้วทำงานในท้องถิ่นของตนเอง และปัญหาการขาดแคลนผู้สอน อาจดำเนินการในลักษณะที่เป็น Virtual Learning Campus
- ส่วนกรณีของจังหวัดนครสวรรค์ขอให้ ผช.รมต. ประจำ นร. (นายพรชัยฯ) และอธิการบดีฯ หารือกันว่าจะทำอย่างไรจะได้ตัดสินใจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. จังหวัดสมุทรสาคร ได้ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
1.1 ปัญหาน้ำท่วม
- นายกรัฐมนตรีรับหลักการและมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณาแก้ไขปัญหาน้ำท่วมเป็นภาพรวมทั้งหมดของจังหวัด
1.2 ปัญหาด้านการวางผังเมือง
- นายกรัฐมนตรี มีบัญชามอบหมายให้อธิบดีกรมโยธาธิการและผังเมืองร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ไปดำเนินการศึกษาเรื่องผังเมืองของจังหวัดสมุทรสาครโดยอาจจ้างบริษัทเอกชนเข้ามาร่วมดำเนินการด้วย
1.3 ระบบคมนาคมขนส่งและปัญหาด้านการขนส่งสินค้า
- นายกรัฐมนตรีกล่าวว่า การคมนาคมโดยรถไฟถึงสมุทรสาครนั้น ใช้งานมานานต่อเรื่อง จะหาระบบขนส่งมวลชนระบบไฟฟ้ามาใช้เชื่อมระหว่าง กทม. กับสมุทรสาคร เพราะถือว่าเป็นเมืองบริวารของ กทม.
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ไปศึกษาเรื่องการขนส่งสินค้าทางเรือเพื่อประหยัดงบประมาณและแก้ปัญหาถนนชำรุด
1.4 โครงการก่อสร้างศูนย์การท่องเที่ยวฝั่งตะวันตกปากแม่น้ำท่าจีน
- นายกรัฐมนตรีแจ้งว่าจะสนับสนุนงบประมาณเฉพาะการสร้างศูนย์ OTOP ส่วนการสร้างหอสูงไม่สนับสนุนให้ใช้งบประมาณของรัฐบาล ให้คหบดีของจังหวัดสมุทรสาครร่วมมือกันจัดสร้าง
1.5 ปัญหาการประมงนอกน่านน้ำ
- นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าจะสั่งการให้อธิบดีกรมอาเซียนดูแลและขอให้ไปพบกับอธิบดีอาเซียนได้
- ส่วนเรื่องให้ทูตทหารเรือดูแลเป็นข้อเสนอที่ดี
1.6 ปัญหามลภาวะ (สภาพแวดล้อม)
- นายกรัฐมนตรีสั่งการให้ รมว.ทส. ไปดูแลเรื่องมลภาวะให้กับจังหวัดเพื่อแก้ปัญหาโดยด่วน
2. จังหวัดสมุทรสงคราม ได้ขอให้รัฐบาลแก้ไขปัญหาต่าง ๆ ดังนี้
2.1 ถนนและการขุดคูคลองเพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วมถนน
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ ประสานกับหน่วยบัญชาการทหารพัฒนามาช่วยซ่อมผิวถนนให้
2.2 ปัญหาขาดแคลนน้ำ
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาดำเนินการขุดน้ำผิวดินเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำก่อน และให้การประปาส่วนภูมิภาคดำเนินการขยายการบริการต่อไป
2.3 ปัญหาลำคลองตื้นเขิน
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้หน่วยบัญชาการทหารพัฒนาดำเนินการขุดลอกคลอง
2.4 โครงการจัดสร้างศูนย์จำลองวิถีชีวิตหิ่งห้อยและธรรมชาติวิทยา
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม (นายวิเชษฐ์ เกษมทองศรี) ศึกษาความเหมาะสมในการดำเนินการ และใช้งบประมาณจากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลเป็นค่าก่อสร้าง
2.5 ปัญหาผลผลิตลิ้นจี่ล้นตลาด
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดร่วมกับกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรพิจารณาความเหมาะสมในการก่อสร้างโรงงานผลิตลิ้นจี่กระป๋อง โดยรัฐบาลจะสนับสนุนเงินก่อสร้างโรงงาน
2.6 การจัดตั้งศูนย์ OTOP
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายให้ผู้ว่าราชการจังหวัดจัดหาพื้นที่เพื่อก่อสร้าง โดยอาจใช้ที่ของราชพัสดุ
2.7 โครงการก่อสร้างเส้นทางจักรยานเลี่ยงแม่น้ำแม่กลอง
- นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าเป็นโครงการที่น่าสนใจ แต่ขอให้กรมชลประทานช่วยดูแลเรื่องนี้ด้วยและขอให้มีการศึกษาเรื่องนี้ก่อน
3. จังหวัดนครปฐม ได้ขอให้รัฐบาลดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ดังนี้
3.1 การย้ายเรือนจำกลางนครปฐม
- นายกรัฐมนตรีเห็นชอบที่จะให้มีการย้ายเรือนจำจังหวัด แต่ไม่สนับสนุนให้มีเรือนจำกลาง และมอบหมายให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงยุติธรรมเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้งบประมาณของจังหวัดเป็นเงิน 350 ล้านบาท
3.2 โครงการก่อสร้างถนนและสะพาน
- นายกรัฐมนตรีมอบหมายกรมทางหลวงพิจารณาขยายถนนให้เป็น 4 ช่องจราจร รวมทั้งการก่อสร้างสะพานด้วย โดยให้พิจารณาว่าหากไม่ใช่ถนนสายหลักไม่ต้องทำเกาะกลางถนน จะประหยัดงบประมาณได้มาก
3.3 การพัฒนาระบบการจัดการฟาร์มสุกร
- นายกรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการพัฒนาระบบฟาร์มสุกรบริเวณลุ่มแม่น้ำท่าจีน โดยใช้งบประมาณ 120 ล้านบาท
- ปัญหาโรงงานฆ่าสัตว์ที่ไม่เพียงพอขอให้ผู้ว่าราชการจังหวัดฯ อธิบดีกรมปศุสัตว์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ไปศึกษาโครงสร้างพื้นฐาน โดยรัฐบาลอาจลงทุนสร้างโรงฆ่าสัตว์ให้
3.4 การศึกษา
- ขอให้จังหวัดฯ เป็นจังหวัดนำร่อง ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดประสานงานกับนักวิชาการ สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ตั้งประชาคมผู้มีความรู้ร่วมกันหาวิธีสร้างรายได้ สร้างอาชีพให้กับประชาชนในจังหวัด โดยรัฐบาลจะหาแหล่งทุนให้
- ที่วิทยาเขตกำแพงแสน หากจัดทำเป็นศูนย์การเรียนรู้ครบวงจร โดยทำลักษณะ Edu-tainment จะดีมาก เพราะอยู่ไม่ไกลจาก กทม.
3.5 การพัฒนาเด็กให้มีความสามารถทางวิทยาศาสตร์และคณิตศาสตร์
- นายกรัฐมนตรีสนับสนุนให้นักเรียนมีการค้นคว้าอย่างไม่มีข้อจำกัด โดยจะสนับสนุนให้นักเรียนมีเครื่องคอมพิวเตอร์แบบพกพาทุกคน ขอให้ทางโรงเรียนสำรวจ ซึ่งรัฐบาลจะเป็นผู้ Facilitator ให้ เพื่อให้เด็กค้นคว้าได้อย่างรวดเร็ว
- ควรพิจารณาจัดตั้งโรงเรียนลักษณะเช่นนี้ในภูมิภาคต่าง ๆ ด้วย
3.6 มหาวิทยาลัยมหิดล (ศาลายา) วิทยาเขตอำนาจเจริญ และนครสวรรค์
- กรณีการก่อสร้างวิทยาเขตอำนาจเจริญ นายกรัฐมนตรีกล่าวว่าทางผู้ว่าราชการจังหวัดอำนาจเจริญของบประมาณ 60 ล้านให้ ม.มหิดลจัดสร้างอาคารเรียน ซึ่งอยากให้เด็กยากจนในต่างจังหวัดได้เรียน ซึ่งหากเปิดคณะแพทย์ด้วยก็อยากให้เด็กต่างจังหวัดได้เรียน แล้วทำงานในท้องถิ่นของตนเอง และปัญหาการขาดแคลนผู้สอน อาจดำเนินการในลักษณะที่เป็น Virtual Learning Campus
- ส่วนกรณีของจังหวัดนครสวรรค์ขอให้ ผช.รมต. ประจำ นร. (นายพรชัยฯ) และอธิการบดีฯ หารือกันว่าจะทำอย่างไรจะได้ตัดสินใจ
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-