คณะรัฐมนตรีเห็นชอบการหาเชื้อเพลิงทางเลือกในภาวะน้ำมันแพง ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ซึ่งมีสาระสำคัญสรุปได้ ดังนี้
1. การพัฒนาและส่งเสริมก๊าซโซฮอล์(Gasohol) กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำแผนการผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2546 และได้กำหนดมาตรการเพิ่มเติม รายละเอียดตามวาระยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีข้างต้น
2. โครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินโครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์เพื่อบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์ (NGV) โดยมอบหมายให้ ปตท. ดำเนินการปรับปรุงรถเก่าและรถใหม่โดยเฉพาะรถยนต์สาธารณะและรถยนต์ที่มีการใช้เชื้อเพลิงต่อวันในปริมาณมาก ได้แก่ รถแท็กซี่ รถโดยสาร ขสมก. รถโดยสารเอกชน รถขนส่งเอกชน และรถของหน่วยงานราชการ ให้มาใช้ NGVมากขึ้น รวมถึงการขยายสถานีบริการ NGV อย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ ได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในการเพิ่มแรงจูงใจให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ผลิตและประกอบรถยนต์และอุปกรณ์ใช้ก๊าซ NGV ด้านการส่งเสริมการลงทุน และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้าอุปกรณ์ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือเงินลงทุนในการติดตั้งอุปกรณ์การใช้ก๊าซ NGV และการซื้อรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV
3. การพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซล (Biodiesel) กระทรวงพลังงาน ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดเป้าหมายการใช้ไบโอดีเซลร้อยละ 3 ของการใช้น้ำมันดีเซลในปี พ.ศ. 2554 หรือประมาณวันละ 2.4 ล้านลิตร รวมถึงการกำหนดแผนการผลิตวัตถุดิบให้เพียงพอกับการนำมาผลิตไบโอดีเซล โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผสมร้อยละ 2 ในน้ำมันดีเซล (วันละ 1.6 ล้านลิตร) และอีกร้อยละ 1 (วันละ 0.8 ล้านลิตร) ใช้ผสมในสัดส่วนอื่น ๆ เพื่อการใช้ในวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การผลิตเพื่อใช้ในเครื่องจักรกลเกษตรของชุมชน การใช้ร่วมกับแก๊สธรรมชาติในรถยนต์ขนส่งของ ขสมก. และได้กำหนด Road Map การพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซลแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 : บังคับใช้เฉพาะพื้นที่เป้าหมายภายในปี 2549-2553 และ ระยะที่ 2 : บังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2553 โดยได้ดำเนินโครงการนำร่อง 2 โครงการ ได้แก่
โครงการสาธิตการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์รับจ้างสองแถวในจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กรมอู่ทหารเรือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์องค์กรท้องถิ่น กลุ่มรถยนต์สาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่ บริษัทลีฟู้ด บริษัทฟิตโตโลย์ บริษัทเทสโก้โลตัส ชุมชนแคบหมู ปตท. บางจาก กรมธุรกิจพลังงาน กรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงสาธารณสุข โดยได้จัดทำโครงการสาธิตการใช้ไบโอดีเซลผสมน้ำมันดีเซลกับรถยนต์โดยสารรับจ้างสาธารณะในเทศบาลนครเชียงใหม่ ระยะเวลา 8 เดือน กำหนดเปิดตัวโครงการที่จังหวัดเชียงใหม่และ กทม. ภายในเดือนมิถุนายน 2547 นี้ และมีแผนที่จะขยายการนำระบบการผลิตไบโอดีเซล (Biodiesel plant) ระดับชุมชนสาธิตในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบและความร่วมมือจากองค์กรท้องถิ่นในภาคใต้และภาคตะวันออก
ไบโอดีเซลผสมก๊าซธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กองทัพเรือ ทำการวิจัยเพื่อศึกษาทางเทคนิคเศรษฐกิจและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับไบโอดีเซลในเครื่องยนต์ดีเซล โดยทำการทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์เป็นระยะทางกว่า 100,000 กม. สรุปได้ว่าเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงร่วมก๊าซธรรมชาติและไบโอดีเซลจะมีแรงม้าและแรงบิดสูงกว่าเครื่องยนต์เดียวกันที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล และสามารถลดควันดำได้ถึงร้อยละ 60 และประหยัดน้ำมันได้ร้อยละ 30-35
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานมีแผนจะดำเนินการสาธิตการใช้ไบโอดีเซลร่วมกับก๊าซธรรมชาติในรถขนส่งมวลชนของ ขสมก. รถขยะ กทม. และขยายผลสู่รถตู้ร่วมบริการ และรถขนส่งเอกชนที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การพัฒนาและส่งเสริมก๊าซโซฮอล์(Gasohol) กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กระทรวงอุตสาหกรรมและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการจัดทำแผนการผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ ตามที่คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 5 ธันวาคม 2546 และได้กำหนดมาตรการเพิ่มเติม รายละเอียดตามวาระยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ที่เสนอต่อคณะรัฐมนตรีข้างต้น
2. โครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์ (NGV) กระทรวงพลังงาน ได้ดำเนินโครงการก๊าซธรรมชาติสำหรับยานยนต์เพื่อบรรเทาผลกระทบราคาน้ำมันที่สูงขึ้น โดยส่งเสริมการใช้ก๊าซธรรมชาติในยานยนต์ (NGV) โดยมอบหมายให้ ปตท. ดำเนินการปรับปรุงรถเก่าและรถใหม่โดยเฉพาะรถยนต์สาธารณะและรถยนต์ที่มีการใช้เชื้อเพลิงต่อวันในปริมาณมาก ได้แก่ รถแท็กซี่ รถโดยสาร ขสมก. รถโดยสารเอกชน รถขนส่งเอกชน และรถของหน่วยงานราชการ ให้มาใช้ NGVมากขึ้น รวมถึงการขยายสถานีบริการ NGV อย่างทั่วถึง
นอกจากนี้ ได้ประสานงานกับกระทรวงการคลัง และสำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุน ในการเพิ่มแรงจูงใจให้ภาคเอกชน โดยเฉพาะผู้ผลิตและประกอบรถยนต์และอุปกรณ์ใช้ก๊าซ NGV ด้านการส่งเสริมการลงทุน และการให้สิทธิประโยชน์ทางภาษีนำเข้าอุปกรณ์ ตลอดจนการให้ความช่วยเหลือเงินลงทุนในการติดตั้งอุปกรณ์การใช้ก๊าซ NGV และการซื้อรถยนต์ที่ใช้ก๊าซ NGV
3. การพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซล (Biodiesel) กระทรวงพลังงาน ได้จัดตั้งคณะกรรมการร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม กระทรวงเกษตรฯ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ในการกำหนดเป้าหมายการใช้ไบโอดีเซลร้อยละ 3 ของการใช้น้ำมันดีเซลในปี พ.ศ. 2554 หรือประมาณวันละ 2.4 ล้านลิตร รวมถึงการกำหนดแผนการผลิตวัตถุดิบให้เพียงพอกับการนำมาผลิตไบโอดีเซล โดยแบ่งกลุ่มเป้าหมายออกเป็น 2 กลุ่ม คือ ผสมร้อยละ 2 ในน้ำมันดีเซล (วันละ 1.6 ล้านลิตร) และอีกร้อยละ 1 (วันละ 0.8 ล้านลิตร) ใช้ผสมในสัดส่วนอื่น ๆ เพื่อการใช้ในวัตถุประสงค์เฉพาะ เช่น การผลิตเพื่อใช้ในเครื่องจักรกลเกษตรของชุมชน การใช้ร่วมกับแก๊สธรรมชาติในรถยนต์ขนส่งของ ขสมก. และได้กำหนด Road Map การพัฒนาและส่งเสริมไบโอดีเซลแบ่งเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 : บังคับใช้เฉพาะพื้นที่เป้าหมายภายในปี 2549-2553 และ ระยะที่ 2 : บังคับใช้ทั่วประเทศตั้งแต่ปี 2553 โดยได้ดำเนินโครงการนำร่อง 2 โครงการ ได้แก่
โครงการสาธิตการผลิตและการใช้ไบโอดีเซลเป็นเชื้อเพลิงในรถยนต์รับจ้างสองแถวในจังหวัดเชียงใหม่ กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กรมอู่ทหารเรือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์องค์กรท้องถิ่น กลุ่มรถยนต์สาธารณะในจังหวัดเชียงใหม่ บริษัทลีฟู้ด บริษัทฟิตโตโลย์ บริษัทเทสโก้โลตัส ชุมชนแคบหมู ปตท. บางจาก กรมธุรกิจพลังงาน กรมควบคุมมลพิษ และกระทรวงสาธารณสุข โดยได้จัดทำโครงการสาธิตการใช้ไบโอดีเซลผสมน้ำมันดีเซลกับรถยนต์โดยสารรับจ้างสาธารณะในเทศบาลนครเชียงใหม่ ระยะเวลา 8 เดือน กำหนดเปิดตัวโครงการที่จังหวัดเชียงใหม่และ กทม. ภายในเดือนมิถุนายน 2547 นี้ และมีแผนที่จะขยายการนำระบบการผลิตไบโอดีเซล (Biodiesel plant) ระดับชุมชนสาธิตในพื้นที่ที่มีความพร้อมด้านวัตถุดิบและความร่วมมือจากองค์กรท้องถิ่นในภาคใต้และภาคตะวันออก
ไบโอดีเซลผสมก๊าซธรรมชาติ กระทรวงพลังงาน ร่วมกับ กองทัพเรือ ทำการวิจัยเพื่อศึกษาทางเทคนิคเศรษฐกิจและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมของการใช้ก๊าซธรรมชาติร่วมกับไบโอดีเซลในเครื่องยนต์ดีเซล โดยทำการทดสอบสมรรถนะเครื่องยนต์เป็นระยะทางกว่า 100,000 กม. สรุปได้ว่าเครื่องยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงร่วมก๊าซธรรมชาติและไบโอดีเซลจะมีแรงม้าและแรงบิดสูงกว่าเครื่องยนต์เดียวกันที่ใช้น้ำมันเชื้อเพลิงดีเซล และสามารถลดควันดำได้ถึงร้อยละ 60 และประหยัดน้ำมันได้ร้อยละ 30-35
นอกจากนี้ กระทรวงพลังงานมีแผนจะดำเนินการสาธิตการใช้ไบโอดีเซลร่วมกับก๊าซธรรมชาติในรถขนส่งมวลชนของ ขสมก. รถขยะ กทม. และขยายผลสู่รถตู้ร่วมบริการ และรถขนส่งเอกชนที่ใช้เครื่องยนต์ดีเซล
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-