คณะรัฐมนตรีเห็นชอบให้มีการกำหนดมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้การดำเนินการตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ประสบผลสำเร็จตามเป้าหมายที่วางไว้ ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ดังนี้
1. ยกเลิกการใช้สาร MTBE ในน้ำมันเบนซิน 95 ภายในปี 2549 ทั้งนี้ หากมีการขาดแคลนเอทานอลหรือราคาเอทานอลสูงเกินกว่าที่ยอมรับได้ให้มีการใช้สาร Oxygenate ได้ และเพื่อให้เอทานอลสามารถแข่งขันกับสาร Oxygenate ได้ เห็นควรปรับปรุงอัตราภาษีนำเข้าสาร MTBE ให้มีความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาโดยให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการ เพื่อจูงใจให้มีการนำเอาเอทานอลไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
2. กระทรวงพลังงานจะพิจารณาใช้มาตรการด้านราคา โดยการยกเว้นเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำามันแก๊สโซฮอล์เป็นการชั่วคราว เพื่อจูงใจผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 94 ต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มมากขึ้น
3. กระทรวงพลังงาน ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดคุณลักษณะ (Specification) และโครงสร้างราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้มีการนำเอาเอทานอลไปใช้ทดแทนเนื้อน้ำมันเบนซิน 91 โดยเร็ว
4. กระทรวงพลังงาน จะประสานงานกับสำนักงบประมาณเพิ่มเติมการกำหนดคุณสมบัติรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินของส่วนราชการต่าง ๆ ที่จะจัดหาต้องสามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ด้วย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อสร้างความชัดเจนและการยอมรับให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในนโยบายการส่งเสริมการผลิตและการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของประเทศไทย และจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทั่วไปที่ใช้ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อีกด้วย
5. ให้ทุกหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานสถิติการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่อกระทรวงพลังงานเป็นประจำทุกเดือน
กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า ได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 และวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 เพื่อพิจารณาจัดทำแผนการผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ได้มีมติรับทราบไว้แล้ว รวมทั้งพิจารณากำหนดมาตรการในการดำเนินการเพิ่มเติม ผลปรากฏว่า
1. ด้านการผลิตเอทานอล ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 7 ราย จะสามารถก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลแล้วเสร็จและเริ่มผลิตเอทานอลเพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันต่าง ๆ ได้ดังรายละเอียดในตาราง
โรงงานผลิตเอทานอล กำลังการผลิต(ลิตร/วัน) กำหนดการผลิต
1. บริษัท พรวิไลอินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป 25,000 แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2546 และจำหน่ายเอทานอล
เทรดดิ้ง จำกัด ให้กับบริษัทน้ำมันต่าง ๆ แล้ว
2. บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จำกัด 200,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2547
(มหาชน)
3. บริษัท ไทยง้วนเอทานอล จำกัด 130,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2547
4. บริษัท ไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด 150,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2548
5. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แก๊สโซฮอล์ ระยะที่ 1150,000 ระยะที่ 1 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2548 คอร์ปอเรชั่น จำกัด ระยะที่ 2300,000 ระยะที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2549
ระยะที่ 3500,000 ระยะที่ 3 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2550
6. บริษัท ขอนแก่นแอลกอฮอล์ จำกัด 85,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2548
7. บริษัท ไทยเนชั่นแนล พาวเวอร์ จำกัด 300,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2548
2. ด้านผู้รับซื้อเอทานอล ปัจจุบัน บริษัทน้ำมันที่รับซื้อเอทานอลเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีจำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ คาดว่าทั้งสองบริษัทจะสามารถรับซื้อเอทานอลได้ประมาณ 33,000-38,000 ลิตรต่อวัน ในสิ้นปี 2547 และเพิ่มขึ้นเป็น 130,000 ลิตรต่อวัน ในปี 2548 โดยคาดว่าหากทั้งสองบริษัทมีการนำเอทานอลไปใช้แทนสาร MTBE ในน้ำมันเบนซิน 95 ทั้งหมด จะมีความต้องการใช้เอทานอลรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ลิตรต่อวัน ในปี 2549
กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า หากไม่มีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้บริษัทน้ำมันอื่นหันมาใช้เอทานอล เพื่อนำไปผสมในน้ำมันเบนซิน จะทำให้เกิดปัญหาอุปทานส่วนเกินของเอทานอลเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การที่รัฐบาลได้มีนโยบายแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้มีการนำเอาอ้อยจำนวนหนึ่งไปผลิตเป็นเอทานอลสำหรับนำไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้หากไม่มีตลาดผู้รับซื้อที่ชัดเจน ดังนั้น จึงได้เสนอมาตรการเพิ่มเติมดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. ยกเลิกการใช้สาร MTBE ในน้ำมันเบนซิน 95 ภายในปี 2549 ทั้งนี้ หากมีการขาดแคลนเอทานอลหรือราคาเอทานอลสูงเกินกว่าที่ยอมรับได้ให้มีการใช้สาร Oxygenate ได้ และเพื่อให้เอทานอลสามารถแข่งขันกับสาร Oxygenate ได้ เห็นควรปรับปรุงอัตราภาษีนำเข้าสาร MTBE ให้มีความเหมาะสมในแต่ละช่วงเวลาโดยให้กระทรวงพลังงาน กระทรวงอุตสาหกรรม และกระทรวงการคลังพิจารณาดำเนินการ เพื่อจูงใจให้มีการนำเอาเอทานอลไปใช้เป็นเชื้อเพลิงเพิ่มขึ้น
2. กระทรวงพลังงานจะพิจารณาใช้มาตรการด้านราคา โดยการยกเว้นเงินส่งเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงของน้ำามันแก๊สโซฮอล์เป็นการชั่วคราว เพื่อจูงใจผู้ใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มากยิ่งขึ้น ซึ่งจะทำให้ราคาน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 94 ต่ำกว่าน้ำมันเบนซิน 95 เพิ่มมากขึ้น
3. กระทรวงพลังงาน ร่วมกับกระทรวงอุตสาหกรรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกำหนดคุณลักษณะ (Specification) และโครงสร้างราคาของน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 91 และดำเนินการส่วนที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ เพื่อให้มีการนำเอาเอทานอลไปใช้ทดแทนเนื้อน้ำมันเบนซิน 91 โดยเร็ว
4. กระทรวงพลังงาน จะประสานงานกับสำนักงบประมาณเพิ่มเติมการกำหนดคุณสมบัติรถยนต์ที่ใช้น้ำมันเบนซินของส่วนราชการต่าง ๆ ที่จะจัดหาต้องสามารถใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ได้ด้วย ตั้งแต่ปีงบประมาณ 2548 เป็นต้นไป ทั้งนี้เพื่อสร้างความชัดเจนและการยอมรับให้กับกลุ่มอุตสาหกรรมยานยนต์ในนโยบายการส่งเสริมการผลิตและการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ของประเทศไทย และจะเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาชนทั่วไปที่ใช้ น้ำมันแก๊สโซฮอล์ อีกด้วย
5. ให้ทุกหน่วยราชการและรัฐวิสาหกิจ รายงานสถิติการใช้น้ำมันแก๊สโซฮอล์ต่อกระทรวงพลังงานเป็นประจำทุกเดือน
กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมเสนอว่า ได้จัดให้มีการประชุมหารือร่วมกันระหว่างผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย เมื่อวันที่ 10 พฤษภาคม 2547 และวันที่ 13 พฤษภาคม 2547 เพื่อพิจารณาจัดทำแผนการผลิตและจำหน่ายน้ำมันแก๊สโซฮอล์ให้สอดคล้องกับเป้าหมายที่กำหนดไว้ตามยุทธศาสตร์ส่งเสริมแก๊สโซฮอล์ ซึ่งคณะรัฐมนตรีในคราวประชุมเมื่อวันที่ 9 ธันวาคม 2546 ได้มีมติรับทราบไว้แล้ว รวมทั้งพิจารณากำหนดมาตรการในการดำเนินการเพิ่มเติม ผลปรากฏว่า
1. ด้านการผลิตเอทานอล ผู้ประกอบการที่ได้รับอนุญาตให้ทำการผลิตและจำหน่ายเอทานอลเป็นเชื้อเพลิงจำนวน 7 ราย จะสามารถก่อสร้างโรงงานผลิตเอทานอลแล้วเสร็จและเริ่มผลิตเอทานอลเพื่อจำหน่ายให้กับบริษัทน้ำมันต่าง ๆ ได้ดังรายละเอียดในตาราง
โรงงานผลิตเอทานอล กำลังการผลิต(ลิตร/วัน) กำหนดการผลิต
1. บริษัท พรวิไลอินเตอร์เนชั่นแนลกรุ๊ป 25,000 แล้วเสร็จเมื่อเดือนตุลาคม 2546 และจำหน่ายเอทานอล
เทรดดิ้ง จำกัด ให้กับบริษัทน้ำมันต่าง ๆ แล้ว
2. บริษัท ไทยแอลกอฮอล์ จำกัด 200,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนกรกฎาคม 2547
(มหาชน)
3. บริษัท ไทยง้วนเอทานอล จำกัด 130,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนพฤศจิกายน 2547
4. บริษัท ไทยอะโกร เอ็นเนอร์ยี่ จำกัด 150,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2548
5. บริษัท อินเตอร์เนชั่นแนล แก๊สโซฮอล์ ระยะที่ 1150,000 ระยะที่ 1 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2548 คอร์ปอเรชั่น จำกัด ระยะที่ 2300,000 ระยะที่ 2 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2549
ระยะที่ 3500,000 ระยะที่ 3 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมกราคม 2550
6. บริษัท ขอนแก่นแอลกอฮอล์ จำกัด 85,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนมีนาคม 2548
7. บริษัท ไทยเนชั่นแนล พาวเวอร์ จำกัด 300,000 คาดว่าจะแล้วเสร็จภายในเดือนเมษายน 2548
2. ด้านผู้รับซื้อเอทานอล ปัจจุบัน บริษัทน้ำมันที่รับซื้อเอทานอลเพื่อนำไปผลิตเป็นน้ำมันแก๊สโซฮอล์ 95 มีจำนวน 2 บริษัท คือ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และบริษัทบางจากปิโตรเลียมจำกัด (มหาชน) ทั้งนี้ คาดว่าทั้งสองบริษัทจะสามารถรับซื้อเอทานอลได้ประมาณ 33,000-38,000 ลิตรต่อวัน ในสิ้นปี 2547 และเพิ่มขึ้นเป็น 130,000 ลิตรต่อวัน ในปี 2548 โดยคาดว่าหากทั้งสองบริษัทมีการนำเอทานอลไปใช้แทนสาร MTBE ในน้ำมันเบนซิน 95 ทั้งหมด จะมีความต้องการใช้เอทานอลรวมทั้งสิ้นประมาณ 300,000 ลิตรต่อวัน ในปี 2549
กระทรวงพลังงานและกระทรวงอุตสาหกรรมพิจารณาแล้วเห็นว่า หากไม่มีมาตรการเพิ่มเติมเพื่อให้บริษัทน้ำมันอื่นหันมาใช้เอทานอล เพื่อนำไปผสมในน้ำมันเบนซิน จะทำให้เกิดปัญหาอุปทานส่วนเกินของเอทานอลเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ การที่รัฐบาลได้มีนโยบายแก้ไขปัญหาของอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาลทราย โดยให้มีการนำเอาอ้อยจำนวนหนึ่งไปผลิตเป็นเอทานอลสำหรับนำไปผสมกับน้ำมันเชื้อเพลิงตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 25 พฤศจิกายน 2546 จะไม่สามารถดำเนินการต่อไปได้หากไม่มีตลาดผู้รับซื้อที่ชัดเจน ดังนั้น จึงได้เสนอมาตรการเพิ่มเติมดังกล่าว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-