คณะรัฐมนตรีเห็นชอบมาตรการประหยัดพลังงาน ตามที่กระทรวงพลังงานเสนอ ซึ่งประกอบด้วยการดำเนินงานใน 7 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1. การรณรงค์โดยอาศัยสื่อสารมวลชน กระทรวงพลังงานได้จัดให้มีการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ระยะเร่งด่วน (พ.ค. - ก.ค. 47) ภายใต้โครงการ "60 ล้านไทย ลดใช้พลังงาน" โดยมีความร่วมมือกับสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน
2. มาตรการจัดการระบบขนส่งมวลชน กระทรวงคมนาคม ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กรุงเทพมหานคร และผู้ประกอบการขนส่งมวลชน ส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ประกอบด้วย
2.1 เร่งรัดกำหนดการเปิดบริการรถไฟฟ้าใต้ดินให้เร็วขึ้น โดยมอบหมายให้บริษัท รถไฟฟ้ามหานครเร่งรัดการเปิดบริการเร็วกว่ากำหนดเดิมในเดือนสิงหาคม 2547
2.2 โครงการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า BTS ระไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟชานเมือง และ ขสมก.) ส่งเสริมการลดราคาและจัดโปรโมชั่นในช่วงเวลาเร่งด่วน เพิ่มจำนวนเที่ยวและโบกี้ในชั่วโมงเร่งด่วนของรถไฟชานเมือง รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น
3. การประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงพลังงาน หอการค้า และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
3.1 การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโดยพิจารณารวมถึงมิติด้านพลังงาน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและแนวทางการส่งเสริมการลงทุน
3.2 การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และให้เกิดแรงจูงใจต่อสถานประกอบการในการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านพลังงานและการลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และกระบวนการผลิต
4. การประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัย : กระทรวงพลังงานร่วมกับการเคหะแห่งชาติ สถาบันการศึกษา และองค์การประชาชน ดำเนินการดังนี้
4.1 สร้างกระแสและให้ความรู้แก่ประชาชนในการปรับปรุงบ้านอยู่อาศัยและเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน รวมทั้งปลูกฝังพฤติกรรมการประหยัดพลังงาน
4.2 สนับสนุนให้สิ่งจูงใจและประชาสัมพันธ์โครงการบ้านจัดสรรที่มีแบบบ้าน หรือ วัสดุอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
5. ความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการส่งเสริมผู้ปกครอง เด็ก และเยาวชนมาใช้ระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่
5.1 มาตรการระยะสั้น : ประกอบด้วย
1) ส่งเสริมการใช้รถโรงเรียนและรถขนส่งมวลชนแทนรถของผู้ปกครองอย่างเพียงพอและปลอดภัย รวมทั้งให้สิ่งจูงใจ เช่น ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS และจัดบริการรถรับ-ส่งจากสถานีขนส่งไปยังปลายทาง ทั้งนี้ให้โรงเรียนใหญ่ ๆ สามารถเสนอแผนการใช้รถโรงเรียนและรถขนส่งมวลชนด้วย
2) โครงการสัปดาห์รณรงค์ประหยัดน้ำมัน "ด.เด็ก ช่วยชาติประหยัดน้ำมัน" จัดสัปดาห์รณรงค์ประหยัดพลังงานในโรงเรียน จัดประกวดคำขวัญประหยัดน้ำมันระดับโรงเรียน โดยกระทรวงพลังงานจะแจกคู่มือ โปสเตอร์ สื่อ VCD
5.2 มาตรการระยะยาว : เป็นการจัดหลักสูตรพิเศษโดยให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรู้จักวิธีขับขี่รถยนต์อย่างประหยัดและปลอดภัย รวมถึงพัฒนาหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยการบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในแต่ละรายวิชาของการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้ สร้างจิตสำนึก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการประหยัดพลังงาน
6. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยศึกษา วิจัย และขยายผลโครงการประหยัดพลังงานสู่ธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
7. กำหนดบทบาทให้ข้าราชการเป็นผู้นำในการประหยัดพลังงาน โดยให้มีการรณรงค์อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ
- ให้หน่วยงานราชการระดับกรมลดปริมาณการใช้พลังงานลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากปริมาณการใช้เฉลี่ยต่อเดือนของปีงบประมาณ 2544 ทั้งนี้หากหน่วยงานใดประหยัดได้มากกว่าเป้าหมายให้นำงบประมาณส่วนที่ประหยัดได้มาเป็นรางวัลแก่หน่วยงานนั้น นอกจากนี้เห็นควรสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่าร้อยละ 5
- ส่งเสริมให้รถยนต์ของหน่วยงานราชการใช้รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์มากขึ้น
- กำหนดบทบาทผู้ว่า CEO เป็นแกนหลักในการจัดทำแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการประหยัดพลังงานในจังหวัด
- ควบคุมการใช้รถยนต์ของทางราชการและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างประหยัด โดยให้มีการลดการใช้รถยนต์ลงเท่าที่จำเป็น
- กวดขัน ดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดอัตราความเร็วของรถยนต์
- การส่งหนังสือของทางราชการ สนับสนุนให้ใช้บริการไปรษณีย์และโทรสาร หากจำเป็นต้องใช้รถยนต์ขนาดเล็ก
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการการประหยัดพลังงานในภาคขนส่งเพื่อเร่งรัดให้เกิดการดำเนินงานการประหยัดพลังงานในภาคขนส่งตามที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเสนอ เพื่อการเร่งรัดให้เกิดการดำเนินงานประหยัดพลังงานในภาคขนส่งได้เร็วขึ้น โดยมีการพิจารณาองค์ประกอบของโครงสร้างระบบขนส่งให้เกิดขึ้นโดยเร็วและครบถ้วน ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงกำหนดการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) ให้เร็วขึ้น 1 เดือน จากเดิมเดือนสิงหาคม เป็นเดือนกรกฎาคม 2547
2. เร่งรัดการปรับปรุงพื้นที่จอดรถ ณ บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ ให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ โดยมอบหมายให้ สนข. ประสานงานกับ รฟท.
3. ให้ ขสมก. เร่งปรับแผนและเส้นทางการเดินรถให้สอดคล้องกับการเปิดให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง)ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม 1 เดือน
4. เร่งรัดให้ ขสมก. รฟม. และ BTS ร่วมกันจัดให้มีระบบการขนส่งเป็นโครงข่ายเข้าออกเมืองอย่างเพียงพอ (Bus Corridor and Feeder) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางมาจากชานเมืองและปริมณฑล ในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชน
สำหรับการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่เข้ามาใช้ระบบขนส่งมวลชนในระยะแรกและการเตรียมความพร้อมในการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขจัดอุปสรรคให้การดำเนินงานเกิดผลสัมฤทธิ์มีดังนี้
1. ให้ สนข. เร่งพิจารณานำระบบตั๋วร่วมมาใช้ในระบบขนส่งมวลชนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าใต้ดิน ของ รฟม. กับรถไฟลอยฟ้าของ BTS ในระยะแรกโดยคำนึงถึงระบบขนส่งมวลชนชนิดอื่น ที่คาดว่าจะเข้าร่วมใช้ระบบดังกล่าวเพิ่มเติมในภายหลังด้วย
2. ให้ สนข. เร่งประสานงาน กับ รฟท. และ กทม. เพื่อจัดให้มีสถานที่สำหรับจอดรถยนต์ (Park and Ride) อย่างเพียงพอและปลอดภัย โดยเฉพาะที่สถานีปลายทาง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟบางซื่อ สถานีขนส่งหมอชิต สถานีอ่อนนุช และจุดปลายทางของ รฟม. และ BTS รวมทั้งให้ รฟม. ขสมก. และ BTS บริการรับส่งระหว่างจุดจอดรถกับสถานีรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการในระยะแรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การรณรงค์โดยอาศัยสื่อสารมวลชน กระทรวงพลังงานได้จัดให้มีการรณรงค์ประหยัดพลังงาน ระยะเร่งด่วน (พ.ค. - ก.ค. 47) ภายใต้โครงการ "60 ล้านไทย ลดใช้พลังงาน" โดยมีความร่วมมือกับสื่อสารมวลชนทั้งภาครัฐและเอกชน
2. มาตรการจัดการระบบขนส่งมวลชน กระทรวงคมนาคม ร่วมกับกระทรวงพลังงาน กรุงเทพมหานคร และผู้ประกอบการขนส่งมวลชน ส่งเสริมให้ประชาชนลดการใช้รถยนต์ส่วนบุคคลและหันมาใช้ระบบขนส่งมวลชนมากขึ้น ประกอบด้วย
2.1 เร่งรัดกำหนดการเปิดบริการรถไฟฟ้าใต้ดินให้เร็วขึ้น โดยมอบหมายให้บริษัท รถไฟฟ้ามหานครเร่งรัดการเปิดบริการเร็วกว่ากำหนดเดิมในเดือนสิงหาคม 2547
2.2 โครงการส่งเสริมการใช้ระบบขนส่งมวลชน (รถไฟฟ้า BTS ระไฟฟ้าใต้ดิน รถไฟชานเมือง และ ขสมก.) ส่งเสริมการลดราคาและจัดโปรโมชั่นในช่วงเวลาเร่งด่วน เพิ่มจำนวนเที่ยวและโบกี้ในชั่วโมงเร่งด่วนของรถไฟชานเมือง รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนหันมาใช้รถไฟฟ้ามากขึ้น
3. การประหยัดพลังงานในภาคอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมร่วมกับกระทรวงพลังงาน หอการค้า และสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย ร่วมกันดำเนินการ ดังนี้
3.1 การปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมโดยพิจารณารวมถึงมิติด้านพลังงาน เพื่อหาแนวทางที่เหมาะสมในการปรับโครงสร้างอุตสาหกรรมและแนวทางการส่งเสริมการลงทุน
3.2 การให้สิทธิประโยชน์ด้านภาษีเพื่อส่งเสริมการอนุรักษ์พลังงาน และให้เกิดแรงจูงใจต่อสถานประกอบการในการใช้พลังงานอย่างประหยัดและมีประสิทธิภาพ โดยการปรับปรุงระบบบริหารจัดการด้านพลังงานและการลงทุนปรับเปลี่ยนอุปกรณ์และกระบวนการผลิต
4. การประหยัดพลังงานในภาคที่อยู่อาศัย : กระทรวงพลังงานร่วมกับการเคหะแห่งชาติ สถาบันการศึกษา และองค์การประชาชน ดำเนินการดังนี้
4.1 สร้างกระแสและให้ความรู้แก่ประชาชนในการปรับปรุงบ้านอยู่อาศัยและเลือกใช้อุปกรณ์ประหยัดพลังงาน รวมทั้งปลูกฝังพฤติกรรมการประหยัดพลังงาน
4.2 สนับสนุนให้สิ่งจูงใจและประชาสัมพันธ์โครงการบ้านจัดสรรที่มีแบบบ้าน หรือ วัสดุอุปกรณ์ประหยัดพลังงาน
5. ความร่วมมือกับกระทรวงศึกษาธิการ ในการส่งเสริมผู้ปกครอง เด็ก และเยาวชนมาใช้ระบบขนส่งมวลชน รวมทั้งการปลูกฝังจิตสำนึกในการประหยัดพลังงาน ประกอบด้วย 2 มาตรการ ได้แก่
5.1 มาตรการระยะสั้น : ประกอบด้วย
1) ส่งเสริมการใช้รถโรงเรียนและรถขนส่งมวลชนแทนรถของผู้ปกครองอย่างเพียงพอและปลอดภัย รวมทั้งให้สิ่งจูงใจ เช่น ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้า BTS และจัดบริการรถรับ-ส่งจากสถานีขนส่งไปยังปลายทาง ทั้งนี้ให้โรงเรียนใหญ่ ๆ สามารถเสนอแผนการใช้รถโรงเรียนและรถขนส่งมวลชนด้วย
2) โครงการสัปดาห์รณรงค์ประหยัดน้ำมัน "ด.เด็ก ช่วยชาติประหยัดน้ำมัน" จัดสัปดาห์รณรงค์ประหยัดพลังงานในโรงเรียน จัดประกวดคำขวัญประหยัดน้ำมันระดับโรงเรียน โดยกระทรวงพลังงานจะแจกคู่มือ โปสเตอร์ สื่อ VCD
5.2 มาตรการระยะยาว : เป็นการจัดหลักสูตรพิเศษโดยให้นักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลายรู้จักวิธีขับขี่รถยนต์อย่างประหยัดและปลอดภัย รวมถึงพัฒนาหลักสูตรการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อมในโรงเรียนโดยการบูรณาการเนื้อหาหลักสูตรด้านการอนุรักษ์พลังงานและสิ่งแวดล้อม ในแต่ละรายวิชาของการเรียนการสอน เพื่อให้ความรู้ สร้างจิตสำนึก และปรับเปลี่ยนพฤติกรรมด้านการประหยัดพลังงาน
6. ความร่วมมือระหว่างภาครัฐและภาคเอกชน โดยศึกษา วิจัย และขยายผลโครงการประหยัดพลังงานสู่ธุรกิจและอุตสาหกรรมอย่างเป็นรูปธรรม
7. กำหนดบทบาทให้ข้าราชการเป็นผู้นำในการประหยัดพลังงาน โดยให้มีการรณรงค์อย่างเป็นรูปธรรม อาทิ
- ให้หน่วยงานราชการระดับกรมลดปริมาณการใช้พลังงานลงไม่น้อยกว่าร้อยละ 5 จากปริมาณการใช้เฉลี่ยต่อเดือนของปีงบประมาณ 2544 ทั้งนี้หากหน่วยงานใดประหยัดได้มากกว่าเป้าหมายให้นำงบประมาณส่วนที่ประหยัดได้มาเป็นรางวัลแก่หน่วยงานนั้น นอกจากนี้เห็นควรสนับสนุนและส่งเสริมให้มีการปรับเปลี่ยนอุปกรณ์ที่มีประสิทธิภาพเพื่อให้สามารถประหยัดพลังงานได้มากกว่าร้อยละ 5
- ส่งเสริมให้รถยนต์ของหน่วยงานราชการใช้รถยนต์ที่ใช้เชื้อเพลิงแก๊สโซฮอล์มากขึ้น
- กำหนดบทบาทผู้ว่า CEO เป็นแกนหลักในการจัดทำแผนการใช้พลังงานอย่างมีประสิทธิภาพและส่งเสริมการประหยัดพลังงานในจังหวัด
- ควบคุมการใช้รถยนต์ของทางราชการและการใช้น้ำมันเชื้อเพลิงอย่างประหยัด โดยให้มีการลดการใช้รถยนต์ลงเท่าที่จำเป็น
- กวดขัน ดูแลให้มีการปฏิบัติตามกฎจราจรอย่างเคร่งครัด โดยเฉพาะเรื่องการกำหนดอัตราความเร็วของรถยนต์
- การส่งหนังสือของทางราชการ สนับสนุนให้ใช้บริการไปรษณีย์และโทรสาร หากจำเป็นต้องใช้รถยนต์ขนาดเล็ก
นอกจากนี้คณะรัฐมนตรีรับทราบสรุปผลการประชุมหารือเกี่ยวกับมาตรการการประหยัดพลังงานในภาคขนส่งเพื่อเร่งรัดให้เกิดการดำเนินงานการประหยัดพลังงานในภาคขนส่งตามที่สำนักงานนโยบายและแผนพลังงานเสนอ เพื่อการเร่งรัดให้เกิดการดำเนินงานประหยัดพลังงานในภาคขนส่งได้เร็วขึ้น โดยมีการพิจารณาองค์ประกอบของโครงสร้างระบบขนส่งให้เกิดขึ้นโดยเร็วและครบถ้วน ดังนี้
1. เปลี่ยนแปลงกำหนดการเปิดให้บริการรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง) ให้เร็วขึ้น 1 เดือน จากเดิมเดือนสิงหาคม เป็นเดือนกรกฎาคม 2547
2. เร่งรัดการปรับปรุงพื้นที่จอดรถ ณ บริเวณสถานีรถไฟบางซื่อ ให้แล้วเสร็จภายใน 2 สัปดาห์ โดยมอบหมายให้ สนข. ประสานงานกับ รฟท.
3. ให้ ขสมก. เร่งปรับแผนและเส้นทางการเดินรถให้สอดคล้องกับการเปิดให้บริการระบบรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนสายสีน้ำเงิน (บางซื่อ-หัวลำโพง)ที่เร็วขึ้นกว่าเดิม 1 เดือน
4. เร่งรัดให้ ขสมก. รฟม. และ BTS ร่วมกันจัดให้มีระบบการขนส่งเป็นโครงข่ายเข้าออกเมืองอย่างเพียงพอ (Bus Corridor and Feeder) เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับประชาชนที่เดินทางมาจากชานเมืองและปริมณฑล ในการใช้บริการระบบขนส่งมวลชน
สำหรับการอำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่เข้ามาใช้ระบบขนส่งมวลชนในระยะแรกและการเตรียมความพร้อมในการประสานงานของหน่วยงานต่าง ๆ เพื่อขจัดอุปสรรคให้การดำเนินงานเกิดผลสัมฤทธิ์มีดังนี้
1. ให้ สนข. เร่งพิจารณานำระบบตั๋วร่วมมาใช้ในระบบขนส่งมวลชนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเดินทางเชื่อมต่อระหว่างรถไฟฟ้าใต้ดิน ของ รฟม. กับรถไฟลอยฟ้าของ BTS ในระยะแรกโดยคำนึงถึงระบบขนส่งมวลชนชนิดอื่น ที่คาดว่าจะเข้าร่วมใช้ระบบดังกล่าวเพิ่มเติมในภายหลังด้วย
2. ให้ สนข. เร่งประสานงาน กับ รฟท. และ กทม. เพื่อจัดให้มีสถานที่สำหรับจอดรถยนต์ (Park and Ride) อย่างเพียงพอและปลอดภัย โดยเฉพาะที่สถานีปลายทาง 3 แห่ง ได้แก่ สถานีรถไฟบางซื่อ สถานีขนส่งหมอชิต สถานีอ่อนนุช และจุดปลายทางของ รฟม. และ BTS รวมทั้งให้ รฟม. ขสมก. และ BTS บริการรับส่งระหว่างจุดจอดรถกับสถานีรถไฟฟ้า เพื่ออำนวยความสะดวกแก่ประชาชนที่จะเข้ามาใช้บริการในระยะแรก
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 18 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-