คณะรัฐมนตรีเห็นชอบในหลักการราคาและเงื่อนไขการรับซื้อลำไยอบแห้งประจำปี 2546-2547 ของสาธารณรัฐประชาชนจีน (สปป.จีน) โดยแลกเปลี่ยนกับการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ (ยานเกราะล้อยาง จำนวน 120 คัน) ที่ สปป.จีน เป็นผู้ผลิต ตามความต้องการของกองทัพบก (ทบ.) และ กองทัพเรือ (ทร.) โดยให้ดำเนินการในลักษณะการค้าต่างตอบแทน (BARTER TRADE) พร้อมทั้งมอบหมายให้ส่วนราชการต่าง ๆ ดำเนินการ ในส่วนที่เกี่ยวข้องต่อไป โดย สปป.จีนได้พิจารณาแต่งตั้งให้บริษัท FUJIAN RONGJIANG IMP & EXP.CORP. เป็นผู้แทนการค้าในด้านการซื้อขายลำไยอบแห้งในนามรัฐบาล สปป.จีน ซึ่งจากปริมาณและราคาที่บริษัท FUJIAN RONGJIANG IMP & EXP.CORP. เสนอซื้อลำไยอบแห้งปี 2546-2547 วงเงินรวมประมาณ 2,000 ล้านบาทเศษ เป็นวงเงินที่ใกล้เคียงกับราคายุทโธปกรณ์ที่กระทรวงกลาโหม (กห.) ได้เคยเจรจาไว้กับผู้แทน สปป.จีน เมื่อวันที่ 1 พฤศจิกายน 2547 กล่าวคือ ลำดับความเร่งด่วนแรก ได้แก่ ยานเกราะล้อยางตามมาตรฐานการผลิตของ สปป.จีน โดยกองทัพบก มีความต้องการ 96 คัน, กองทัพเรือ ต้องการ 24 คัน รวม 120 คัน เป็นเงินทั้งสิ้น 48,382,052 USD หรือประมาณ 1,935,282,080 บาท (คิดอัตราแลกเปลี่ยน 1USD = 40 บาท) ดังนั้น จึง สมควรพิจารณาดำเนินการขายลำไยอบแห้งประจำปี 2546-2547 ให้ สปป.จีน โดยแลกเปลี่ยนกับการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ (ยานเกราะล้อยาง) ที่ สปป.จีน เป็นผู้ผลิตตามความต้องการของส่วนราชการในสังกัดกระทรวงกลาโหม
เนื่องจากการดำเนินการแลกเปลี่ยนลำไยอบแห้งกับยานเกราะล้อยางที่ สปป.จีน ผลิตเป็นการดำเนินการในลักษณะการค้าต่างตอบแทน (BARTER TRADE) ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) จะต้องมีหน่วยรับผิดชอบดำเนินการในภาพรวม ทั้งนี้ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์) เห็นว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการราคาเสนอซื้อลำไยอบแห้ง ปี 2546-2547 ของ สปป.จีน แล้ว เห็นสมควรมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.)ที่รับผิดชอบการบริหารจัดการลำไยอบแห้ง ปี 2545-2547 เป็นผู้รับผิดชอบพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผน และกำกับดูแลการดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนลำไยอบแห้ง ปี 2546-2547 กับยุทโธปกรณ์ (ยานเกราะล้อยาง) ตามมาตรฐานการผลิตของ สปป.จีน ให้แล้วเสร็จก่อนผลผลิตลำไยฤดูกาล 2548 ออกสู่ตลาด โดยดำเนินการดังนี้
(1) จัดทำร่าง MOU ระหว่างรัฐบาลไทยกับ สปป.จีน ในลักษณะการค้าต่างตอบแทนร้อยละ 100 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมกับเสนอให้มีการแต่งตั้งผู้แทนรัฐบาลไทยในคราวเดียวกัน
(2) จัดทำร่างข้อตกลงแทนการทำสัญญาซื้อขาย (PROTOCOL หรือ AGREEMENT) สำหรับการแลกเปลี่ยนลำไยอบแห้งปี 2546-2547 กับยุทโธปกรณ์ (ยานเกราะล้อยาง จำนวน 120 คัน ) ภายใต้ปริมาณและราคาที่ฝ่าย สปป.จีน เสนอ โดยใช้รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะตามมาตรฐานการผลิตของ สปป.จีนและราคาเสนอขายตามที่กระทรวงกลาโหม ได้เจรจาไว้แล้ว เมื่อวันที่ 1พฤศจิกายน 2547 เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงซื้อขายแทนการทำสัญญา
(3) ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อได้รับการร้องขอทุกกรณี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 มีนาคม 2548--จบ--
เนื่องจากการดำเนินการแลกเปลี่ยนลำไยอบแห้งกับยานเกราะล้อยางที่ สปป.จีน ผลิตเป็นการดำเนินการในลักษณะการค้าต่างตอบแทน (BARTER TRADE) ระหว่างรัฐบาลต่อรัฐบาล (G to G) จะต้องมีหน่วยรับผิดชอบดำเนินการในภาพรวม ทั้งนี้ ที่ปรึกษานายกรัฐมนตรี (พลเอก สัมพันธ์ บุญญานันต์) เห็นว่า ภายหลังคณะรัฐมนตรีมีมติรับหลักการราคาเสนอซื้อลำไยอบแห้ง ปี 2546-2547 ของ สปป.จีน แล้ว เห็นสมควรมอบหมายให้รองนายกรัฐมนตรี ประธานคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.)ที่รับผิดชอบการบริหารจัดการลำไยอบแห้ง ปี 2545-2547 เป็นผู้รับผิดชอบพิจารณากำหนดนโยบาย วางแผน และกำกับดูแลการดำเนินการโครงการแลกเปลี่ยนลำไยอบแห้ง ปี 2546-2547 กับยุทโธปกรณ์ (ยานเกราะล้อยาง) ตามมาตรฐานการผลิตของ สปป.จีน ให้แล้วเสร็จก่อนผลผลิตลำไยฤดูกาล 2548 ออกสู่ตลาด โดยดำเนินการดังนี้
(1) จัดทำร่าง MOU ระหว่างรัฐบาลไทยกับ สปป.จีน ในลักษณะการค้าต่างตอบแทนร้อยละ 100 เพื่อนำเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณา พร้อมกับเสนอให้มีการแต่งตั้งผู้แทนรัฐบาลไทยในคราวเดียวกัน
(2) จัดทำร่างข้อตกลงแทนการทำสัญญาซื้อขาย (PROTOCOL หรือ AGREEMENT) สำหรับการแลกเปลี่ยนลำไยอบแห้งปี 2546-2547 กับยุทโธปกรณ์ (ยานเกราะล้อยาง จำนวน 120 คัน ) ภายใต้ปริมาณและราคาที่ฝ่าย สปป.จีน เสนอ โดยใช้รายละเอียดคุณลักษณะเฉพาะตามมาตรฐานการผลิตของ สปป.จีนและราคาเสนอขายตามที่กระทรวงกลาโหม ได้เจรจาไว้แล้ว เมื่อวันที่ 1พฤศจิกายน 2547 เป็นข้อมูลพื้นฐานในการจัดทำข้อตกลงซื้อขายแทนการทำสัญญา
(3) ให้ส่วนราชการที่เกี่ยวข้องเช่น กระทรวงกลาโหม กระทรวงการต่างประเทศ กระทรวงการคลัง กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ องค์การคลังสินค้า (อคส.) องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) ให้ความร่วมมือกับคณะกรรมการนโยบายและมาตรการช่วยเหลือเกษตรกร (คชก.) เมื่อได้รับการร้องขอทุกกรณี
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 29 มีนาคม 2548--จบ--