คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) รายงานมติคณะกรรมการพัฒนาขีดความสามารถในการแข่งขันของประเทศ (กพข.) ครั้งที่ 1/2548 ซึ่งได้ประชุม เมื่อวันจันทร์ที่ 29 สิงหาคม 2548 เวลา 10.00 น. ณ ห้องสีเขียว ตึกไทยคู่ฟ้า ทำเนียบรัฐบาล สรุปสาระสำคัญและมติที่ประชุมได้ดังนี้
1. ที่ประชุมเห็นชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นปี และรับทราบมาตรการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 ดังนี้
1.1 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ราคาน้ำมันได้เพิ่มสูงขึ้นมากจาก 29.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล ในปี 2547 เป็น 44.55 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.7 การบริโภคน้ำมันอย่างไม่ประหยัดคือสูงกว่า OECD ถึง 3 เท่า ผลกระทบจากสึนามิทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ภัยแล้ง และภาวะการขาดแคลนน้ำส่งผลให้ผลผลิตของพืชผลที่สำคัญ อาทิ ข้าว และอ้อย ลดลง รวมทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทำให้ความสามารถในการส่งออกลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้น
1.2 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลได้ออกมาตรการระยะสั้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การประหยัดพลังงานโดยสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV ปรับฐานเงินเดือนราชการขึ้นร้อยละ 5 หรือคิดเป็นวงเงิน 8,600 ล้านบาท สนับสนุนการให้ภาคเอกชนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั้งประเทศเพิ่มขึ้น หรือเทียบเท่าวงเงิน 1,260 ล้านบาท ขยายเบี้ยคนชรา วงเงินงบประมาณ จำนวน 486 ล้านบาท เร่งรัดงบ SML โดยให้หมู่บ้านละ 250,000 — 350,000 บาท และเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 80,600 ล้านบาท มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หรือ 94.146 ล้านบาท
2. ที่ประชุมมีความเห็นว่า เงื่อนไขที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต คือ ความเข้าใจและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีใน 4 เรื่อง คือ สินค้าและบริการ เงินทุน มนุษย์ ความรู้ และข้อมูลข่าวสาร ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบและมอบหมายให้คณะทำงานภายใต้การกำกับของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจัดทำยุทธศาสตร์เชิงรุกต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ทั้ง 4 เรื่องดังกล่าว เสนอรายงานการศึกษาและยุทธศาสตร์เชิงรุกต่อคณะกรรมการ กพข. เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ
3. ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ โดยมอบหมายให้ สศช. รับไปทำการศึกษาในรายละเอียดและนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่จะจัดตั้งขึ้น และคณะกรรมการ กพข. ดังนี้
3.1 หลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ที่ประชุมเห็นชอบหลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ใน 4 หลักการ คือ (1) การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและแข่งขันได้ (2) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (3) การดำเนินนโยบายสังคมเชิงรุก และ (4) การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
3.2 การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ ดังนี้
3.2.1 ปรับโครงสร้างภาคเกษตร โดยมุ่งเน้น 3 เรื่อง คือ (1) ให้เป็นแหล่งผลิตวัสดุไฟเบอร์ (2) ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารและมีความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีอนาคตและสอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และ (3) ให้เป็นแหล่งพืชพลังงานทดแทน (Bio-fuel)
3.2.2 ปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม โดยพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เน้นการสร้างมูลค่า โดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง มีการออกแบบและตราสินค้าของตนเองแทนการรับจ้างผลิตโดยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง รวมถึงการวางรากฐานให้กับอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพและแนวโน้มการตลาดที่ดี เช่น พลังงานชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และโภชนะบำบัด (Nutraceutical) เป็นต้น
3.2.3 ปรับโครงสร้างภาคบริการ เพิ่มประเภทบริการที่เกิดใหม่ตามพัฒนาการของภาคการผลิต และวิถีการดำรงชีวิตสมัยใหม่ที่ต้องการบริการใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น บริการรักษาความปลอดภัย บริษัททำความสะอาด ฯลฯ ไม่พึ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากจนเกินไป ตลอดจนผสมผสานวัฒนธรรมความเป็นไทยในบริการที่แสดงเอกลักษณ์ไทย
3.3 การปรับโครงสร้างการใช้พลังงาน โดยที่การใช้พลังงานของไทยอยู่ในระดับสูง และร้อยละ 80 ของพลังงานต้องนำเข้าจากต่างประเทศตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องผลิตพลังงานทดแทนภายในประเทศจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ ได้แก่ การส่งเสริมและเร่งผลิตพืชพลังงาน การส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์และเรือประมง และการปรับรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift)
3.4 การเร่งรัดการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Mega Projects) เพื่อเป็นฐานรองรับการแข่งขันให้กับประเทศ และเป็นปัจจัยสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นการรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากร ที่สำคัญได้แก่ ระบบโลจิสติกส์ ระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบที่เหมาะสมกับเมืองใหญ่ ๆ ระบบไฟฟ้า และน้ำประปา และระบบคมนาคมทางถนนที่มีประสิทธิภาพ
3.5 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้ง และสร้างความมั่งคงและระบบจัดสรรน้ำที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพให้กับภาคเศรษฐกิจและภาคครัวเรือนประชาชน
3.6 การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ ปัจจุบันโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมและบริการโดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของต่างชาติหรือร่วมทุน จึงมีการตั้งราคาโอนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี (Transfer pricing) ทำให้รายจ่ายภาคบริการ ในหมวดลิขสิทธิ์ ค่ารอยัลตี้ (Royalty) และค่าเครื่องหมายการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางด้านการถ่ายโอนองค์ความรู้จากต่างประเทศ และมียุทธศาสตร์รองรับที่เหมาะสมและคำนึงถึงการต่อยอดภูมิปัญญาไทยกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
3.7 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานล่างเพื่อเป็นฐานรองรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหญ่ของประเทศ โดยสามารถดำเนินการผ่านนโยบาย มาตรการ และกลไกของรัฐบาล เช่น จัดสรรงบประมาณลงสู่หมู่บ้าน SML เพื่อใช้ในกิจกรรมการลงทุนสร้างมูลค่าให้กับฐานทรัพยากร โดยใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ของท้องถิ่น (Value Creation) เร่งสร้างผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเร่งเชื่อมโยงตลาด ฐานการผลิตและทรัพยากรกับประเทศเพื่อนบ้านตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
3.8 การเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นฐานสังคมแห่งภูมิปัญญา (Wisdom Based Society) โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของแรงงานทั้งด้านวิชาความรู้พื้นฐานและจริยธรรม มากกว่าปริมาณที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งสร้างสิ่งแวดล้อมนอกระบบการศึกษาให้สามารถกระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่นำไปสู่การพัฒนาภูมิปัญญาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
4. ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทาง มาตรการ และแผนปฏิบัติการการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธาน รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ โดย สศช. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
5. ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการให้จัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ในวงเงิน 2,000 ล้านบาท จากรายการงบกลางค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง (วงเงิน 27,200 ล้านบาท) เพื่อเป็นงบประมาณที่ใช้สำหรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมีหลักการใช้เงินงบประมาณจำนวนนี้ 2 ประเภท คือ (1) เพื่อสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานและบุคลากรทั้งของภาครัฐและเอกชน และ (2) เพื่อจัดทำโครงการนำร่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยมอบหมายให้ สศช. เป็นผู้บริหารจัดการ ทั้งนี้ให้ สศช. จัดทำรายละเอียดเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--
1. ที่ประชุมเห็นชอบเกี่ยวกับการวิเคราะห์สถานการณ์เศรษฐกิจที่เปลี่ยนแปลงไปจากต้นปี และรับทราบมาตรการเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจในช่วงครึ่งปีหลังของปี 2548 ดังนี้
1.1 ในช่วงครึ่งแรกของปี 2548 ราคาน้ำมันได้เพิ่มสูงขึ้นมากจาก 29.3 ดอลลาร์ สรอ. ต่อบาเรล ในปี 2547 เป็น 44.55 ดอลลาร์ สรอ. เพิ่มขึ้นถึงร้อยละ 40.7 การบริโภคน้ำมันอย่างไม่ประหยัดคือสูงกว่า OECD ถึง 3 เท่า ผลกระทบจากสึนามิทำให้จำนวนนักท่องเที่ยวลดลงร้อยละ 4.2 จากระยะเดียวกันของปีที่แล้ว ภัยแล้ง และภาวะการขาดแคลนน้ำส่งผลให้ผลผลิตของพืชผลที่สำคัญ อาทิ ข้าว และอ้อย ลดลง รวมทั้งเศรษฐกิจโลกชะลอตัวทำให้ความสามารถในการส่งออกลดลง ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นปัจจัยที่ส่งผลกระทบต่อการขยายตัวทางเศรษฐกิจในระยะสั้น
1.2 ดังนั้น จึงมีความจำเป็นที่รัฐบาลได้ออกมาตรการระยะสั้นในช่วงครึ่งปีหลัง โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเสริมสร้างเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ ประกอบด้วย การประหยัดพลังงานโดยสนับสนุนการใช้ก๊าซ NGV ปรับฐานเงินเดือนราชการขึ้นร้อยละ 5 หรือคิดเป็นวงเงิน 8,600 ล้านบาท สนับสนุนการให้ภาคเอกชนปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำทั้งประเทศเพิ่มขึ้น หรือเทียบเท่าวงเงิน 1,260 ล้านบาท ขยายเบี้ยคนชรา วงเงินงบประมาณ จำนวน 486 ล้านบาท เร่งรัดงบ SML โดยให้หมู่บ้านละ 250,000 — 350,000 บาท และเร่งรัดการส่งเสริมการส่งออกเพิ่มขึ้นอีก 80,600 ล้านบาท มาตรการดังกล่าวจะช่วยให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมของประเทศเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.6 หรือ 94.146 ล้านบาท
2. ที่ประชุมมีความเห็นว่า เงื่อนไขที่จะทำให้เศรษฐกิจไทยสามารถเจริญเติบโตได้อย่างยั่งยืนในอนาคต คือ ความเข้าใจและพร้อมรับการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ ทำให้เกิดการเคลื่อนย้ายได้อย่างเสรีใน 4 เรื่อง คือ สินค้าและบริการ เงินทุน มนุษย์ ความรู้ และข้อมูลข่าวสาร ที่ประชุมจึงมีมติเห็นชอบและมอบหมายให้คณะทำงานภายใต้การกำกับของรองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีที่ได้รับมอบหมายจัดทำยุทธศาสตร์เชิงรุกต่อการเปลี่ยนแปลงของกระแสโลกาภิวัตน์ทั้ง 4 เรื่องดังกล่าว เสนอรายงานการศึกษาและยุทธศาสตร์เชิงรุกต่อคณะกรรมการ กพข. เพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงกับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ
3. ที่ประชุมเห็นชอบแนวทางการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ โดยมอบหมายให้ สศช. รับไปทำการศึกษาในรายละเอียดและนำเสนอต่อคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศที่จะจัดตั้งขึ้น และคณะกรรมการ กพข. ดังนี้
3.1 หลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจให้สมดุลและแข่งขันได้ ที่ประชุมเห็นชอบหลักการพื้นฐานของการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจตามที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ความเห็นชอบ เมื่อวันที่ 11 มกราคม 2548 ใน 4 หลักการ คือ (1) การสร้างฐานเศรษฐกิจที่มั่นคงและแข่งขันได้ (2) การเพิ่มมูลค่าผลผลิตด้วยฐานความรู้ (3) การดำเนินนโยบายสังคมเชิงรุก และ (4) การสร้างความเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกและภูมิภาค
3.2 การปรับโครงสร้างภาคการผลิตและบริการ ดังนี้
3.2.1 ปรับโครงสร้างภาคเกษตร โดยมุ่งเน้น 3 เรื่อง คือ (1) ให้เป็นแหล่งผลิตวัสดุไฟเบอร์ (2) ให้เป็นแหล่งผลิตอาหารและมีความมั่นคงด้านอาหาร โดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่มีอนาคตและสอดคล้องกับรสนิยมของผู้บริโภคที่เปลี่ยนไป และ (3) ให้เป็นแหล่งพืชพลังงานทดแทน (Bio-fuel)
3.2.2 ปรับโครงสร้างภาคอุตสาหกรรม โดยพัฒนาผู้ประกอบการไทยให้เน้นการสร้างมูลค่า โดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม เพื่อสร้างผลิตภัณฑ์ที่มีความแตกต่าง มีการออกแบบและตราสินค้าของตนเองแทนการรับจ้างผลิตโดยเพิ่มความเข้มแข็งให้กับอุตสาหกรรมที่มีศักยภาพสูง รวมถึงการวางรากฐานให้กับอุตสาหกรรมใหม่ที่มีศักยภาพและแนวโน้มการตลาดที่ดี เช่น พลังงานชีวภาพ วัสดุชีวภาพ และโภชนะบำบัด (Nutraceutical) เป็นต้น
3.2.3 ปรับโครงสร้างภาคบริการ เพิ่มประเภทบริการที่เกิดใหม่ตามพัฒนาการของภาคการผลิต และวิถีการดำรงชีวิตสมัยใหม่ที่ต้องการบริการใหม่ ๆ มากขึ้น เช่น บริการรักษาความปลอดภัย บริษัททำความสะอาด ฯลฯ ไม่พึ่งการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากจนเกินไป ตลอดจนผสมผสานวัฒนธรรมความเป็นไทยในบริการที่แสดงเอกลักษณ์ไทย
3.3 การปรับโครงสร้างการใช้พลังงาน โดยที่การใช้พลังงานของไทยอยู่ในระดับสูง และร้อยละ 80 ของพลังงานต้องนำเข้าจากต่างประเทศตามภาวะเศรษฐกิจที่ขยายตัว ดังนั้น จึงมีความจำเป็นจะต้องผลิตพลังงานทดแทนภายในประเทศจากแหล่งต่าง ๆ ซึ่งจะช่วยประหยัดเงินตราต่างประเทศ ได้แก่ การส่งเสริมและเร่งผลิตพืชพลังงาน การส่งเสริมการใช้ NGV ในรถยนต์และเรือประมง และการปรับรูปแบบการขนส่ง (Modal Shift)
3.4 การเร่งรัดการลงทุนในโครงการลงทุนขนาดใหญ่ด้านโครงสร้างพื้นฐาน (Mega Projects) เพื่อเป็นฐานรองรับการแข่งขันให้กับประเทศ และเป็นปัจจัยสนับสนุนการเจริญเติบโตของเศรษฐกิจ รวมทั้งเป็นการรองรับความต้องการที่เพิ่มขึ้นตามแนวโน้มการขยายตัวทางเศรษฐกิจ สังคม และประชากร ที่สำคัญได้แก่ ระบบโลจิสติกส์ ระบบขนส่งมวลชนในรูปแบบที่เหมาะสมกับเมืองใหญ่ ๆ ระบบไฟฟ้า และน้ำประปา และระบบคมนาคมทางถนนที่มีประสิทธิภาพ
3.5 การพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานและระบบบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ เพื่อลดผลกระทบจากภัยแล้ง และสร้างความมั่งคงและระบบจัดสรรน้ำที่เพียงพอและมีประสิทธิภาพให้กับภาคเศรษฐกิจและภาคครัวเรือนประชาชน
3.6 การสร้างเศรษฐกิจฐานความรู้ ปัจจุบันโครงสร้างการผลิตอุตสาหกรรมและบริการโดยส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของต่างชาติหรือร่วมทุน จึงมีการตั้งราคาโอนเพื่อหลีกเลี่ยงภาษี (Transfer pricing) ทำให้รายจ่ายภาคบริการ ในหมวดลิขสิทธิ์ ค่ารอยัลตี้ (Royalty) และค่าเครื่องหมายการค้าเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องศึกษารายละเอียดเกี่ยวกับค่าใช้จ่ายทางด้านการถ่ายโอนองค์ความรู้จากต่างประเทศ และมียุทธศาสตร์รองรับที่เหมาะสมและคำนึงถึงการต่อยอดภูมิปัญญาไทยกับเทคโนโลยีสมัยใหม่
3.7 การสร้างความเข้มแข็งให้กับเศรษฐกิจฐานล่างเพื่อเป็นฐานรองรับโครงสร้างเศรษฐกิจใหญ่ของประเทศ โดยสามารถดำเนินการผ่านนโยบาย มาตรการ และกลไกของรัฐบาล เช่น จัดสรรงบประมาณลงสู่หมู่บ้าน SML เพื่อใช้ในกิจกรรมการลงทุนสร้างมูลค่าให้กับฐานทรัพยากร โดยใช้ประโยชน์จากองค์ความรู้ของท้องถิ่น (Value Creation) เร่งสร้างผู้ประกอบการรายย่อยในชุมชน โดยเฉพาะกลุ่มสินค้าหนึ่งตำบลหนึ่งผลิตภัณฑ์ ตลอดจนเร่งเชื่อมโยงตลาด ฐานการผลิตและทรัพยากรกับประเทศเพื่อนบ้านตามกรอบความร่วมมือทางเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน
3.8 การเร่งรัดพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เพื่อเป็นฐานสังคมแห่งภูมิปัญญา (Wisdom Based Society) โดยให้ความสำคัญกับคุณภาพของแรงงานทั้งด้านวิชาความรู้พื้นฐานและจริยธรรม มากกว่าปริมาณที่สำเร็จการศึกษาจากสถาบันการศึกษา รวมทั้งสร้างสิ่งแวดล้อมนอกระบบการศึกษาให้สามารถกระตุ้นความคิดริเริ่มสร้างสรรค์ที่นำไปสู่การพัฒนาภูมิปัญญาและสร้างนวัตกรรมใหม่ ๆ
4. ที่ประชุมเห็นชอบให้มีการจัดตั้งคณะอนุกรรมการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ เพื่อทำหน้าที่กำหนดแนวทาง มาตรการ และแผนปฏิบัติการการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศอย่างเป็นระบบ รวมทั้งกำกับและประเมินผลการดำเนินงานของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้เกิดผลเป็นรูปธรรม โดยมี รองนายกรัฐมนตรี (นายสมคิด จาตุศรีพิทักษ์) เป็นประธาน รัฐมนตรี และปลัดกระทรวงที่เกี่ยวข้องเป็นอนุกรรมการ โดย สศช. ทำหน้าที่เป็นฝ่ายเลขานุการ
5. ที่ประชุมเห็นชอบในหลักการให้จัดสรรงบประมาณประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2549 ในวงเงิน 2,000 ล้านบาท จากรายการงบกลางค่าใช้จ่ายเพื่อปรับกลยุทธ์และรองรับการเปลี่ยนแปลง (วงเงิน 27,200 ล้านบาท) เพื่อเป็นงบประมาณที่ใช้สำหรับการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจ โดยมีหลักการใช้เงินงบประมาณจำนวนนี้ 2 ประเภท คือ (1) เพื่อสร้างขีดความสามารถของหน่วยงานและบุคลากรทั้งของภาครัฐและเอกชน และ (2) เพื่อจัดทำโครงการนำร่องการปรับโครงสร้างเศรษฐกิจของประเทศ โดยมอบหมายให้ สศช. เป็นผู้บริหารจัดการ ทั้งนี้ให้ สศช. จัดทำรายละเอียดเสนอคณะรัฐมนตรีพิจารณาต่อไป
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 6 กันยายน 2548--จบ--