เรื่อง กรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ
และมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ 3 หน่วยงาน
คณะรัฐมนตรีพิจารณากรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ และมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ 3 หน่วยงาน ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ
2. เห็นชอบให้ส่วนราชการระดับกระทรวงสำรวจ ประเมินผล และจำแนกข้อมูลภาระหนี้สินของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจรับผิดชอบ โดยดำเนินการตามกรอบแนวทางที่เสนอถ้ามีกรณีที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการปรับปรุงหนี้หรือจำหน่ายหนี้สูญ ให้ส่วนราชการระดับกระทรวงนำเสนอคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ (กบส.) พิจารณาทั้งหมดในคราวเดียวกัน
3. อนุมัติมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกรมส่งเสริมสหกรณ์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) และให้ความเห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณจำนวน 32.39 ล้านบาท เพื่อชดเชยแก่ ธ.ก.ส.แทนเกษตรกรจากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าว
4. อนุมัติหลักการในการปรับปรุงหนี้ให้กับสมาชิกนิคม 17 แห่งของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไปไม่เกิน 10 ปี พร้อมกับงดคิดดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธาน กบส. เสนอว่า
1. กบส. ได้พิจารณากลั่นกรอบเรื่องหรือมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ ซึ่งมีอยู่กับส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามนัยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 กรกฎาคม 2536 ได้ข้อสรุป ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ. 2536 - 2543 กบส. เห็นชอบให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจจำหน่ายหนี้สูญให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร รวม 76 โครงการ หนี้เงินกู้รวม 801.29 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 194,102 ราย และสถาบันเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 4,868 สถาบัน และเห็นชอบให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจปรับปรุงหนี้ให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรรวม 74 โครงการ จำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือ6,862.82 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 244,741 ราย และมีสถาบันเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน105 สถาบัน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีหรือกระทรวงการคลังได้อนุมัติตามข้อเสนอของส่วนราชการทุกโครงการแล้ว
1.2 ผลการดำเนินการปี 2544 - 31 มีนาคม 2547 กบส. เห็นชอบให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจปรับปรุงหนี้และ/หรือจำหน่ายหนี้สูญให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยจำแนกเป็น ดังนี้
1) โครงการหรือมาตรการที่กระทรวงการคลังหรือคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจเสนอแล้วจำนวน 4 โครงการ หนี้เงินกู้ 2,183.34 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 180,455 ราย
2) โครงการหรือมาตรการที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจจะต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีหรือกระทรวงการคลังพิจารณาจำนวน 7 โครงการ หนี้เงินกู้ 1,212.09 ล้านบาท เกษตรกรจะได้ประโยชน์ 14,551 ราย และสถาบันเกษตรกรจะได้ประโยชน์ 7 สถาบัน
3) โครงการหรือมาตรการที่กระทรวงการคลังแจ้งให้ส่วนราชการทำเรื่องเสนอ เพื่อขอความเห็นชอบจากเจ้าของแหล่งเงินทุน จำนวน 2 โครงการ หนี้เงินกู้ 6.58 ล้านบาท เกษตรกรจะได้รับประโยชน์ 143 ราย และสถาบันเกษตรกรจะได้รับประโยชน์ 2 สถาบัน
2. กบส. ขอเสนอกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ สรุปได้ดังนี้
2.1 การวินิจฉัยโครงการเพื่อให้การช่วยเหลือ
1) การวินิจฉัยความเป็นโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ
2) การวินิจฉัยโครงการที่มีสถานะไม่ปกติ
3) การวินิจฉัยการดำเนินงานตามโครงการไม่ประสบผลสำเร็จ
2.2 แนวทางพิจารณาเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
1) กรณีแก้ไขปัญหาโดยวิธีการปรับปรุงหนี้
2) กรณีแก้ไขปัญหาโดยวิธีการจำหน่ายหนี้สูญ
2.3 แนวทางในการดำเนินงานตามกรอบ ให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดแต่ละกระทรวงสำรวจประเมิน และวิเคราะห์โครงการเพื่อจำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบว่า กลุ่มโครงการใดที่สามารถบริหารจัดการเองได้ กลุ่มโครงการใดที่จะต้องได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยผ่าน กบส. ซึ่งจะต้องจำแนกว่าโครงการที่ใช้มาตรการปรับปรุงหนี้หรือใช้มาตรการจำหน่ายหนี้สูญมีจำนวนกี่โครงการ จำนวนเกษตรกรในโครงการกี่ราย จำนวนเงินที่ขอปรับปรุงหนี้หรือจำหน่ายหนี้สูญมีจำนวนเท่าไร มีกลุ่มโครงการใดที่จะขอหรือไม่ขอเงินชดเชยจากรัฐบาล ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการระดับกระทรวงนำกลุ่ม โครงการที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการปรับปรุงหนี้หรือจำหน่ายหนี้สูญเสนอ กบส. พิจารณาทั้งหมดในคราวเดียวกัน
3. ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ ดังนี้
3.1 กรมส่งเสริมสหกรณ์ขอจำหน่ายหนี้สูญโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม จังหวัดพิจิตร จำนวน24.54 ล้านบาท ปัจจุบันมีเกษตรกรค้างชำระหนี้ 64 ราย ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้หยุดคิดดอกเบี้ยกับเกษตรกรตั้งแต่วันที่1 เมษายน 2545 กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงขอจำหน่ายหนี้สูญจำนวนดังกล่าวให้เกษตรกร และขอให้รัฐบาลชดเชยเงินแก่ธ.ก.ส. จำนวน 22.10 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. ต้องรับภาระเอง จำนวน 2.44 ล้านบาท
3.2 ธ.ก.ส. ขอจำหน่ายหนี้ในส่วนที่ให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรในโครงการเกษตรกรรมจอมทอง และโครงการผลิตลูกโคนมพันธุ์ผสมในเขต กรป.กลาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10.28 ล้านบาท ปัจจุบันมีเกษตรกร จำนวน 131 ราย ที่ค้างชำระหนี้ ธ.ก.ส. จึงหยุดคิดดอกเบี้ยกับเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2539 แต่เกษตรกรก็ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. จึงขอจำหน่ายหนี้เงินกู้ดังกล่าวออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ และขอให้รัฐบาลชดเชยเงินแทนเกษตรกร จำนวน 10.28 ล้านบาท
3.3 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขอปรับปรุงหนี้ให้กับสมาชิกนิคม 17 แห่งหนี้เงินกู้ 995.04 ล้านบาท ปัจจุบันมีสมาชิกนิคม จำนวน 17,148 ราย ที่ค้างชำระหนี้ โดยอยู่ในนิคมตามภาคต่าง ๆ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงขอปรับปรุงหนี้ให้กับสมาชิกของนิคมทั้ง 17 แห่ง โดยขอขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไปไม่เกิน 10 ปี พร้อมกับงดคิดดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
และมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ 3 หน่วยงาน
คณะรัฐมนตรีพิจารณากรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ และมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรของส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจ 3 หน่วยงาน ตามที่รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธานกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติเสนอ แล้วมีมติ ดังนี้
1. เห็นชอบกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ
2. เห็นชอบให้ส่วนราชการระดับกระทรวงสำรวจ ประเมินผล และจำแนกข้อมูลภาระหนี้สินของเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจรับผิดชอบ โดยดำเนินการตามกรอบแนวทางที่เสนอถ้ามีกรณีที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการปรับปรุงหนี้หรือจำหน่ายหนี้สูญ ให้ส่วนราชการระดับกระทรวงนำเสนอคณะกรรมการบริหารสินเชื่อเกษตรแห่งชาติ (กบส.) พิจารณาทั้งหมดในคราวเดียวกัน
3. อนุมัติมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของกรมส่งเสริมสหกรณ์และธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธ.ก.ส.) และให้ความเห็นชอบให้สำนักงบประมาณจัดสรรงบประมาณจำนวน 32.39 ล้านบาท เพื่อชดเชยแก่ ธ.ก.ส.แทนเกษตรกรจากการดำเนินงานตามมาตรการดังกล่าว
4. อนุมัติหลักการในการปรับปรุงหนี้ให้กับสมาชิกนิคม 17 แห่งของกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ โดยการขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไปไม่เกิน 10 ปี พร้อมกับงดคิดดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
รองนายกรัฐมนตรี (นายจาตุรนต์ ฉายแสง) ประธาน กบส. เสนอว่า
1. กบส. ได้พิจารณากลั่นกรอบเรื่องหรือมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินของเกษตรกรหรือสถาบันเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ ซึ่งมีอยู่กับส่วนราชการหรือหน่วยงานรัฐวิสาหกิจ ตามหลักเกณฑ์หรือแนวทางการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามนัยมติคณะรัฐมนตรีวันที่ 6 กรกฎาคม 2536 ได้ข้อสรุป ดังนี้
1.1 ผลการดำเนินงานระหว่างปี พ.ศ. 2536 - 2543 กบส. เห็นชอบให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจจำหน่ายหนี้สูญให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร รวม 76 โครงการ หนี้เงินกู้รวม 801.29 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 194,102 ราย และสถาบันเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 4,868 สถาบัน และเห็นชอบให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจปรับปรุงหนี้ให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกรรวม 74 โครงการ จำนวนเงินที่ให้ความช่วยเหลือ6,862.82 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน 244,741 ราย และมีสถาบันเกษตรกรได้รับประโยชน์ จำนวน105 สถาบัน ทั้งนี้ คณะรัฐมนตรีหรือกระทรวงการคลังได้อนุมัติตามข้อเสนอของส่วนราชการทุกโครงการแล้ว
1.2 ผลการดำเนินการปี 2544 - 31 มีนาคม 2547 กบส. เห็นชอบให้ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจปรับปรุงหนี้และ/หรือจำหน่ายหนี้สูญให้กับเกษตรกรและสถาบันเกษตรกร โดยจำแนกเป็น ดังนี้
1) โครงการหรือมาตรการที่กระทรวงการคลังหรือคณะรัฐมนตรีอนุมัติตามที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจเสนอแล้วจำนวน 4 โครงการ หนี้เงินกู้ 2,183.34 ล้านบาท มีเกษตรกรได้รับประโยชน์ 180,455 ราย
2) โครงการหรือมาตรการที่ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจจะต้องเสนอเรื่องให้คณะรัฐมนตรีหรือกระทรวงการคลังพิจารณาจำนวน 7 โครงการ หนี้เงินกู้ 1,212.09 ล้านบาท เกษตรกรจะได้ประโยชน์ 14,551 ราย และสถาบันเกษตรกรจะได้ประโยชน์ 7 สถาบัน
3) โครงการหรือมาตรการที่กระทรวงการคลังแจ้งให้ส่วนราชการทำเรื่องเสนอ เพื่อขอความเห็นชอบจากเจ้าของแหล่งเงินทุน จำนวน 2 โครงการ หนี้เงินกู้ 6.58 ล้านบาท เกษตรกรจะได้รับประโยชน์ 143 ราย และสถาบันเกษตรกรจะได้รับประโยชน์ 2 สถาบัน
2. กบส. ขอเสนอกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ สรุปได้ดังนี้
2.1 การวินิจฉัยโครงการเพื่อให้การช่วยเหลือ
1) การวินิจฉัยความเป็นโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ
2) การวินิจฉัยโครงการที่มีสถานะไม่ปกติ
3) การวินิจฉัยการดำเนินงานตามโครงการไม่ประสบผลสำเร็จ
2.2 แนวทางพิจารณาเพื่อกำหนดมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สิน
1) กรณีแก้ไขปัญหาโดยวิธีการปรับปรุงหนี้
2) กรณีแก้ไขปัญหาโดยวิธีการจำหน่ายหนี้สูญ
2.3 แนวทางในการดำเนินงานตามกรอบ ให้ส่วนราชการหรือรัฐวิสาหกิจในสังกัดแต่ละกระทรวงสำรวจประเมิน และวิเคราะห์โครงการเพื่อจำแนกและจัดกลุ่มโครงการที่อยู่ในความรับผิดชอบว่า กลุ่มโครงการใดที่สามารถบริหารจัดการเองได้ กลุ่มโครงการใดที่จะต้องได้รับการแก้ไขปัญหาหนี้สินโดยผ่าน กบส. ซึ่งจะต้องจำแนกว่าโครงการที่ใช้มาตรการปรับปรุงหนี้หรือใช้มาตรการจำหน่ายหนี้สูญมีจำนวนกี่โครงการ จำนวนเกษตรกรในโครงการกี่ราย จำนวนเงินที่ขอปรับปรุงหนี้หรือจำหน่ายหนี้สูญมีจำนวนเท่าไร มีกลุ่มโครงการใดที่จะขอหรือไม่ขอเงินชดเชยจากรัฐบาล ทั้งนี้ ให้ส่วนราชการระดับกระทรวงนำกลุ่ม โครงการที่จะแก้ไขปัญหาด้วยการปรับปรุงหนี้หรือจำหน่ายหนี้สูญเสนอ กบส. พิจารณาทั้งหมดในคราวเดียวกัน
3. ส่วนราชการ/รัฐวิสาหกิจเสนอมาตรการแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามกรอบแนวทางแก้ไขปัญหาหนี้สินเกษตรกรตามโครงการส่งเสริมหรือสงเคราะห์ของรัฐ ดังนี้
3.1 กรมส่งเสริมสหกรณ์ขอจำหน่ายหนี้สูญโครงการส่งเสริมการเลี้ยงโคนม จังหวัดพิจิตร จำนวน24.54 ล้านบาท ปัจจุบันมีเกษตรกรค้างชำระหนี้ 64 ราย ทั้งนี้ ธ.ก.ส. ได้หยุดคิดดอกเบี้ยกับเกษตรกรตั้งแต่วันที่1 เมษายน 2545 กรมส่งเสริมสหกรณ์จึงขอจำหน่ายหนี้สูญจำนวนดังกล่าวให้เกษตรกร และขอให้รัฐบาลชดเชยเงินแก่ธ.ก.ส. จำนวน 22.10 ล้านบาท โดย ธ.ก.ส. ต้องรับภาระเอง จำนวน 2.44 ล้านบาท
3.2 ธ.ก.ส. ขอจำหน่ายหนี้ในส่วนที่ให้การสนับสนุนสินเชื่อแก่เกษตรกรในโครงการเกษตรกรรมจอมทอง และโครงการผลิตลูกโคนมพันธุ์ผสมในเขต กรป.กลาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 10.28 ล้านบาท ปัจจุบันมีเกษตรกร จำนวน 131 ราย ที่ค้างชำระหนี้ ธ.ก.ส. จึงหยุดคิดดอกเบี้ยกับเกษตรกร ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2539 แต่เกษตรกรก็ยังไม่สามารถชำระหนี้ได้ ธ.ก.ส. จึงขอจำหน่ายหนี้เงินกู้ดังกล่าวออกจากบัญชีเป็นหนี้สูญ และขอให้รัฐบาลชดเชยเงินแทนเกษตรกร จำนวน 10.28 ล้านบาท
3.3 กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ขอปรับปรุงหนี้ให้กับสมาชิกนิคม 17 แห่งหนี้เงินกู้ 995.04 ล้านบาท ปัจจุบันมีสมาชิกนิคม จำนวน 17,148 ราย ที่ค้างชำระหนี้ โดยอยู่ในนิคมตามภาคต่าง ๆ กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์จึงขอปรับปรุงหนี้ให้กับสมาชิกของนิคมทั้ง 17 แห่ง โดยขอขยายเวลาชำระหนี้เดิมออกไปไม่เกิน 10 ปี พร้อมกับงดคิดดอกเบี้ยที่จะเกิดขึ้นในอนาคต
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-