คณะรัฐมนตรีเห็นชอบร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. …. ตามที่กระทรวงการคลังเสนอ และให้ส่งสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกาตรวจพิจารณา แล้วดำเนินการต่อไปได้
ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. ….มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 และนำข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวมากำหนดไว้ในร่างระเบียบนี้
2. แก้ไขนิยามคำว่า "ภัยพิบัติ" ให้รวมถึงภัยสงคราม ภัยอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ก่อการร้าย และกรณีเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง
3. แก้ไขผู้รักษาการตามระเบียบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นปลัดกระทรวงการคลัง
4. ให้กระทรวงการต่างประเทศมีเงินทดรองราชการตามจำนวนที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังเพื่อนำไปใช้ช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมกรณีเกิดภัยพิบัติกรณีต้องโทษในทางอาญา กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีเดินทางกลับภูมิลำเนาในประเทศไทย กรณีจัดการศพคนไทยที่ถึงแก่ความตายในต่างประเทศ และกรณีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
5.กำหนดให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจบริหารจัดการเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริหารจัดการเงินทดรองราชการดังกล่าว
6. การพิจารณาให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศในลักษณะจ่ายขาด หรือในลักษณะที่จะต้องมีการชดใช้เงินคืนทางราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ทังนี้ โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมและหลักความเสมอภาค
7. การให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศ กรณีที่จะต้องมีการชดใช้เงินคืนทางราชการให้กระทรวงการต่างประเทศต้องจัดให้มีการทำหนังสือรับรองการชดใช้เงินคืนและทำสัญญารับสภาพหนี้ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินคืนทั้งหมดเมื่อทวงถามสำหรับหนังสือรับรองการชดใช้เงินคืนและสัญญารับสภาพหนี้ให้เป็นไปตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนดโดยความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด และให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้เรียกเก็บเงินคืนจากผู้ได้รับความช่วยเหลือ แล้วนำเงินนั้นส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
8. ในกรณีที่มีการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ และไม่มีเงินงบประมาณรายจ่ายสนับสนุนเพื่อโอนชดใช้เงินทดรองราชการที่ได้จ่ายไปแล้วในปีงบประมาณนั้นได้ทัน ให้นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปเบิกจากเงินงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณถัดไป โดยให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
ร่างระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. ….มีสาระสำคัญ ดังนี้
1. ให้ยกเลิกระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ พ.ศ. 2541 และนำข้อกำหนดในระเบียบดังกล่าวมากำหนดไว้ในร่างระเบียบนี้
2. แก้ไขนิยามคำว่า "ภัยพิบัติ" ให้รวมถึงภัยสงคราม ภัยอันเนื่องมาจากการกระทำของผู้ก่อการร้าย และกรณีเกิดวิกฤติการณ์ทางการเมือง
3. แก้ไขผู้รักษาการตามระเบียบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังเป็นปลัดกระทรวงการคลัง
4. ให้กระทรวงการต่างประเทศมีเงินทดรองราชการตามจำนวนที่ได้รับอนุญาตจากกระทรวงการคลังเพื่อนำไปใช้ช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศได้ตามความจำเป็นและเหมาะสมกรณีเกิดภัยพิบัติกรณีต้องโทษในทางอาญา กรณีไม่ได้รับความเป็นธรรม กรณีเดินทางกลับภูมิลำเนาในประเทศไทย กรณีจัดการศพคนไทยที่ถึงแก่ความตายในต่างประเทศ และกรณีเหตุจำเป็นเร่งด่วน
5.กำหนดให้ปลัดกระทรวงการต่างประเทศมีอำนาจบริหารจัดการเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือคนไทยในต่างประเทศ รวมทั้งกำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการบริหารจัดการเงินทดรองราชการดังกล่าว
6. การพิจารณาให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศในลักษณะจ่ายขาด หรือในลักษณะที่จะต้องมีการชดใช้เงินคืนทางราชการให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนด โดยความเห็นชอบของกระทรวงการคลัง ทังนี้ โดยคำนึงถึงหลักมนุษยธรรมและหลักความเสมอภาค
7. การให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศ กรณีที่จะต้องมีการชดใช้เงินคืนทางราชการให้กระทรวงการต่างประเทศต้องจัดให้มีการทำหนังสือรับรองการชดใช้เงินคืนและทำสัญญารับสภาพหนี้ในกรณีที่ไม่สามารถเรียกเก็บเงินคืนทั้งหมดเมื่อทวงถามสำหรับหนังสือรับรองการชดใช้เงินคืนและสัญญารับสภาพหนี้ให้เป็นไปตามแบบที่กระทรวงการต่างประเทศกำหนดโดยความเห็นชอบจากสำนักงานอัยการสูงสุด และให้กระทรวงการต่างประเทศเป็นผู้เรียกเก็บเงินคืนจากผู้ได้รับความช่วยเหลือ แล้วนำเงินนั้นส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน
8. ในกรณีที่มีการให้ความช่วยเหลือคนไทยที่ได้รับความเดือดร้อนในต่างประเทศในเดือนสุดท้ายของปีงบประมาณ และไม่มีเงินงบประมาณรายจ่ายสนับสนุนเพื่อโอนชดใช้เงินทดรองราชการที่ได้จ่ายไปแล้วในปีงบประมาณนั้นได้ทัน ให้นำค่าใช้จ่ายดังกล่าวไปเบิกจากเงินงบประมาณรายจ่ายในปีงบประมาณถัดไป โดยให้ถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ได้รับอนุมัติให้ก่อหนี้ผูกพันเกินกว่าหรือนอกเหนือไปจากที่กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีหรือพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติม
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-