คณะรัฐมนตรีรับทราบ ตามที่กระทรวงการคลังเสนอรายงานสรุปผลการดำเนินงานของบรรษัทบริหารสินทรัพย์ไทย ไตรมาสที่ 4 ปี 2545 และไตรมาสที่ 1 - 3 ปี 2546 (ระหว่างวันที่ 1 ตุลาคม 2545 ถึงวันที่ 30 กันยายน 2546) ดังนี้
1. การรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 3 ปี2546 บสท. ได้รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาแล้วทั้งสิ้น 16,669 ราย มูลค่าทางบัญชีสุทธิประมาณ 780,873 ล้านบาท โดยมีราคารับโอนต่อมูลค่าทางบัญชีเท่ากับร้อยละ 34.70 นอกจากนี้ ตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2546 บสท. ได้เริ่มรับโอนสินทรัพย์อ้อยคุณภาพที่มียอดหนี้คงค้างตั้งแต่ 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท (รายย่อย) จากสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐ และภายหลังจากที่ บสท. ได้รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และมีการตรวจสอบข้อมูลพร้อมกับยืนยันราคารับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเรียบร้อยแล้ว บสท. ได้ทยอยชำระค่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอน โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 บสท. ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่อาวัลโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปแล้วเป็นมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 239,860 ล้านบาท
2. การบริหารจัดการสินทรัพยด้อยคุณภาพ
2.1 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2546 บสท. ได้บริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจนมีข้อยุติแล้วทั้งสิ้น จำนวน 3,800 ราย มูลค่าตามบัญชีที่รับโอนรวม 632,055 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 80.94 ของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ได้รับโอนสุทธิทั้งหมด
2.2 ลูกหนี้ที่มีข้อยุติส่วนใหญ่อยู่ในประเภทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 31.22 มีมูลค่าทางบัญชีประมาณ 197,349 ล้านบาท รองลงมาคือ ธุรกิจอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 30.81 มีมูลค่าทางบัญชี ประมาณ 194,750 ล้านบาท
2.3 ลูกหนี้ที่ บสท. ได้พิจารณาอนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้/ปรับโครงสร้างกิจการ/ฟื้นฟูกิจการ จำนวน 1,564 ราย มูลค่าทางบัญชี ประมาณ 354,081 ล้านบาท มีมูลค่าตามแผนใหม่รวมประมาณ 225,571 ล้านบาท
2.4 บสท. ได้ประมาณการอัตราที่คาดว่าจะได้ชำระคืนจากแผนการชำระเงินคืนของลูกหนี้ที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้/ปรับโครงสร้างกิจการหรือผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการในศาลล้มละลายกลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 47.11 ของมูลค่าตามบัญชีของหนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้/ปรับโครงสร้างกิจการ/ฟื้นฟูกิจการ
3. การแก้ไขหนี้ภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
3.1 กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจนี้ บสท. ได้บริหารจัดการจนได้ข้อยุติแล้วจำนวน 795 ราย มูลค่าทางบัญชีรวม 197,349 ล้านบาท
3.2 กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2546 บสท. ได้บริหารจัดการลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจนี้ จนได้ข้อยุติแล้วจำนวน 714 ราย มูลค่าตามบัญชีที่รับโอน 194,750 ล้านบาท สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่อยู่ระหว่างการบริหารจัดการจำนวน 724 ราย มูลค่าทางบัญชีประมาณ 48,873 ล้านบาท บสท. คาดว่าจะดำเนินการบริหารจัดการให้ได้ข้อยุติภายในสิ้นปี 2546
4. แผนงานประจำปี 2546 บสท. ได้จัดทำแผนงานประจำปี 2546 โดยกำหนดเป็นกรอบยุทธศาสตร์ 7 ประการที่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ดังนี้
4.1 การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีศักยภาพ
4.2 การปรับโครงสร้างกิจการเป็นรายสาขา
4.3 ส่งเสริมและประสานให้สถาบันการเงิน นักลงทุนและสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนด้านเงินทุนและความเชี่ยวชาญ
4.4 การจำหน่ายสินทรัพย์ที่ บสท. ได้รับจากการตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ หรือจากการบังคับจำนอง/จำนำหลักประกัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพย์ที่รับโอนจากลูกหนี้
4.5 การจัดการให้สถาบันการเงินรับโอนลูกค้าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ /กิจการแล้ว กลับสู่ระบบ
4.6 การพัฒนาปรับปรุงระบบงาน รวมทั้งประสานงานกับสถาบันการเงินและลูกหนี้
4.7 การสร้างความโปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานของ บสท.
5. ผลการดำเนินการที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2545 และไตรมาสที่ 1 - 3 ปี 2546
5.1 บสท. ได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่และเพิ่มอัตรากำลังให้มีความเหมาะสมกับภารกิจของ บสท. และรองรับการปฏิบัติงานให้เพียงพอกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น
5.2 บสท. ได้เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งห้องข้อมูลเพื่อเปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินต่อสาธารณชนทั่วไป
5.3 บสท. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการชำระดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินประจำงวดปี 2544 และปี 2545
5.4 บสท. ได้เริ่มโครงสร้างจัดจ้างผู้บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
5.5 บสท. ได้ว่าจ้างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ บสท. โดยมีเป้าหมายให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ส่วนนี้เสร็จสิ้นภายในไตรสานที่ 1 ของปี 2547
5.6 บสท. ได้ว่าจ้างวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานของ บสท.
5.7 บสท. ได้เริ่มให้บริการลูกหนี้ที่ต้องการนำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือทรัพย์สินนอกหลักประกันมาฝากขายกับ บสท.
5.8 ในการดำเนินการจัดการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ บสท. ได้ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกนี้สถาบันการเงิน เจ้าหนี้ และสาธารณชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. การรับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ เมื่อสิ้นไตรมาสที่ 3 ปี2546 บสท. ได้รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพมาแล้วทั้งสิ้น 16,669 ราย มูลค่าทางบัญชีสุทธิประมาณ 780,873 ล้านบาท โดยมีราคารับโอนต่อมูลค่าทางบัญชีเท่ากับร้อยละ 34.70 นอกจากนี้ ตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปี 2546 บสท. ได้เริ่มรับโอนสินทรัพย์อ้อยคุณภาพที่มียอดหนี้คงค้างตั้งแต่ 200,000 บาท แต่ไม่เกิน 20 ล้านบาท (รายย่อย) จากสถาบันการเงินและบริษัทบริหารสินทรัพย์ของรัฐ และภายหลังจากที่ บสท. ได้รับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ และมีการตรวจสอบข้อมูลพร้อมกับยืนยันราคารับโอนสินทรัพย์ด้อยคุณภาพเรียบร้อยแล้ว บสท. ได้ทยอยชำระค่าสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่รับโอน โดย ณ สิ้นเดือนกันยายน 2546 บสท. ได้ออกตั๋วสัญญาใช้เงินที่อาวัลโดยกองทุนเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาระบบสถาบันการเงินไปแล้วเป็นมูลค่าทั้งสิ้นประมาณ 239,860 ล้านบาท
2. การบริหารจัดการสินทรัพยด้อยคุณภาพ
2.1 จนถึงวันที่ 30 กันยายน 2546 บสท. ได้บริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพจนมีข้อยุติแล้วทั้งสิ้น จำนวน 3,800 ราย มูลค่าตามบัญชีที่รับโอนรวม 632,055 ล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 80.94 ของสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่ได้รับโอนสุทธิทั้งหมด
2.2 ลูกหนี้ที่มีข้อยุติส่วนใหญ่อยู่ในประเภทธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ซึ่งคิดเป็นร้อยละ 31.22 มีมูลค่าทางบัญชีประมาณ 197,349 ล้านบาท รองลงมาคือ ธุรกิจอุตสาหกรรม คิดเป็นร้อยละ 30.81 มีมูลค่าทางบัญชี ประมาณ 194,750 ล้านบาท
2.3 ลูกหนี้ที่ บสท. ได้พิจารณาอนุมัติให้ปรับปรุงโครงสร้างหนี้/ปรับโครงสร้างกิจการ/ฟื้นฟูกิจการ จำนวน 1,564 ราย มูลค่าทางบัญชี ประมาณ 354,081 ล้านบาท มีมูลค่าตามแผนใหม่รวมประมาณ 225,571 ล้านบาท
2.4 บสท. ได้ประมาณการอัตราที่คาดว่าจะได้ชำระคืนจากแผนการชำระเงินคืนของลูกหนี้ที่ได้ปรับโครงสร้างหนี้/ปรับโครงสร้างกิจการหรือผ่านกระบวนการฟื้นฟูกิจการในศาลล้มละลายกลางอยู่ที่ประมาณร้อยละ 47.11 ของมูลค่าตามบัญชีของหนี้ที่ได้รับการปรับโครงสร้างหนี้/ปรับโครงสร้างกิจการ/ฟื้นฟูกิจการ
3. การแก้ไขหนี้ภาคธุรกิจต่างๆ เพื่อสนับสนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
3.1 กลุ่มธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจนี้ บสท. ได้บริหารจัดการจนได้ข้อยุติแล้วจำนวน 795 ราย มูลค่าทางบัญชีรวม 197,349 ล้านบาท
3.2 กลุ่มธุรกิจอุตสาหกรรม จนถึงสิ้นเดือนกันยายน 2546 บสท. ได้บริหารจัดการลูกหนี้ในกลุ่มธุรกิจนี้ จนได้ข้อยุติแล้วจำนวน 714 ราย มูลค่าตามบัญชีที่รับโอน 194,750 ล้านบาท สำหรับสินทรัพย์ด้อยคุณภาพที่อยู่ระหว่างการบริหารจัดการจำนวน 724 ราย มูลค่าทางบัญชีประมาณ 48,873 ล้านบาท บสท. คาดว่าจะดำเนินการบริหารจัดการให้ได้ข้อยุติภายในสิ้นปี 2546
4. แผนงานประจำปี 2546 บสท. ได้จัดทำแผนงานประจำปี 2546 โดยกำหนดเป็นกรอบยุทธศาสตร์ 7 ประการที่สอดคล้องกับกรอบยุทธศาสตร์ของรัฐบาล ดังนี้
4.1 การฟื้นฟูกิจการของลูกหนี้ที่มีศักยภาพ
4.2 การปรับโครงสร้างกิจการเป็นรายสาขา
4.3 ส่งเสริมและประสานให้สถาบันการเงิน นักลงทุนและสถาบันอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนด้านเงินทุนและความเชี่ยวชาญ
4.4 การจำหน่ายสินทรัพย์ที่ บสท. ได้รับจากการตีโอนทรัพย์ชำระหนี้ หรือจากการบังคับจำนอง/จำนำหลักประกัน และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ทรัพย์ที่รับโอนจากลูกหนี้
4.5 การจัดการให้สถาบันการเงินรับโอนลูกค้าที่ผ่านการปรับโครงสร้างหนี้ /กิจการแล้ว กลับสู่ระบบ
4.6 การพัฒนาปรับปรุงระบบงาน รวมทั้งประสานงานกับสถาบันการเงินและลูกหนี้
4.7 การสร้างความโปร่งใส และเปิดเผยข้อมูลการดำเนินงานของ บสท.
5. ผลการดำเนินการที่สำคัญในไตรมาสที่ 4 ปี 2545 และไตรมาสที่ 1 - 3 ปี 2546
5.1 บสท. ได้ปรับปรุงโครงสร้างองค์กรใหม่และเพิ่มอัตรากำลังให้มีความเหมาะสมกับภารกิจของ บสท. และรองรับการปฏิบัติงานให้เพียงพอกับปริมาณงานที่เพิ่มขึ้น
5.2 บสท. ได้เริ่มดำเนินการโครงการจัดตั้งห้องข้อมูลเพื่อเปิดเผยข้อมูลการบริหารจัดการสินทรัพย์ด้อยคุณภาพและทรัพย์สินต่อสาธารณชนทั่วไป
5.3 บสท. ได้กำหนดแนวทางปฏิบัติในการชำระดอกเบี้ยตั๋วสัญญาใช้เงินประจำงวดปี 2544 และปี 2545
5.4 บสท. ได้เริ่มโครงสร้างจัดจ้างผู้บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพ
5.5 บสท. ได้ว่าจ้างธนาคารกรุงไทย จำกัด (มหาชน) ให้เป็นผู้บริหารสินทรัพย์ด้อยคุณภาพให้ บสท. โดยมีเป้าหมายให้การบริหารจัดการสินทรัพย์ส่วนนี้เสร็จสิ้นภายในไตรสานที่ 1 ของปี 2547
5.6 บสท. ได้ว่าจ้างวิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล รวบรวมและปรับปรุงคู่มือการปฏิบัติงานของ บสท.
5.7 บสท. ได้เริ่มให้บริการลูกหนี้ที่ต้องการนำทรัพย์สินที่เป็นหลักประกันหรือทรัพย์สินนอกหลักประกันมาฝากขายกับ บสท.
5.8 ในการดำเนินการจัดการบริหารหนี้ด้อยคุณภาพ บสท. ได้ยึดหลักการกำกับดูแลกิจการที่ดี เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมั่นให้แก่ลูกนี้สถาบันการเงิน เจ้าหนี้ และสาธารณชน
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-