คณะรัฐมนตรีรับทราบรายงานผลการร่วมจัดงานระหว่างโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ร่วมกับ โครงการ "Silk Road To Milan" ของ บริษัท การบินไทย (มหาชน) จำกัด ซึ่งทำการเปิดสายการบิน กรุงเทพฯ-มิลาน อย่างเป็นทางการ โดยจัดให้มีการแสดงแฟชั่นของนักออกแบบไทยและกิจกรรมอื่นๆ ในระหว่างวันที่ 19-20 พฤษภาคม 2547
สำหรับการร่วมงานครั้งนี้ มีการดำเนินการใน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1. การจัดแสดงแฟชั่นโชว์โดยนักออกแบบไทย ได้แก่ พิจิตรา แม่ฟ้าหลวง พาซาย่า และ จิม ทอมสัน ถือเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทยในการเปิดตัวสู่กรุงมิลาน เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านแฟชั่นของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งได้สร้างกระแสการตอบรับในระดับสูง เพราะนอกจากจะได้แสดงความสามารถของนักออกแบบไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของนักธุรกิจด้านแฟชั่นอิตาลีแล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นในฝีมือและศักยภาพของนักออกแบบไทยและผ้าไทยเพิ่มขึ้นด้วย
2. การจัดกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นของไทยได้พบปะกับนักธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นของอิตาลี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในวงการแฟชั่น ตลอดจนร่วมกันสร้างสถาบันแฟชั่นในประเทศไทยอีกด้วย
3. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการระหว่างสำนักงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ร่วมกับประธานคณะทำงาน 11 โครงการย่อย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการะดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเปิดกว้าง เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพด้านวิสัยทัศน์และแนวทางปฏิบัติอันจะนำไปสู่การดำเนินงานของแต่ละโครงการย่อยอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถบูรณาการกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
สำหรับการร่วมงานครั้งนี้ มีการดำเนินการใน 3 กิจกรรมหลัก ได้แก่
1. การจัดแสดงแฟชั่นโชว์โดยนักออกแบบไทย ได้แก่ พิจิตรา แม่ฟ้าหลวง พาซาย่า และ จิม ทอมสัน ถือเป็นก้าวสำคัญของอุตสาหกรรมแฟชั่นของไทยในการเปิดตัวสู่กรุงมิลาน เพื่อเผยแพร่ผลงานด้านแฟชั่นของไทยให้เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่งได้สร้างกระแสการตอบรับในระดับสูง เพราะนอกจากจะได้แสดงความสามารถของนักออกแบบไทยให้เป็นที่ประจักษ์แก่สายตาของนักธุรกิจด้านแฟชั่นอิตาลีแล้ว ยังสร้างความเชื่อมั่นในฝีมือและศักยภาพของนักออกแบบไทยและผ้าไทยเพิ่มขึ้นด้วย
2. การจัดกิจกรรมจับคู่ทางธุรกิจ ซึ่งเป็นการเปิดโอกาสให้นักธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นของไทยได้พบปะกับนักธุรกิจและผู้ที่เกี่ยวข้องกับแฟชั่นของอิตาลี เพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความเคลื่อนไหวในวงการแฟชั่น ตลอดจนร่วมกันสร้างสถาบันแฟชั่นในประเทศไทยอีกด้วย
3. การสัมมนาเชิงปฏิบัติการระหว่างสำนักงานโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น ร่วมกับประธานคณะทำงาน 11 โครงการย่อย ซึ่งมีวัตถุประสงค์ในการะดมสมองและแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกันอย่างเปิดกว้าง เพื่อให้เกิดความเป็นเอกภาพด้านวิสัยทัศน์และแนวทางปฏิบัติอันจะนำไปสู่การดำเนินงานของแต่ละโครงการย่อยอย่างมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น และสามารถบูรณาการกันอย่างต่อเนื่องเพื่อให้สามารถบรรลุวัตถุประสงค์ของโครงการกรุงเทพฯ เมืองแฟชั่น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-