คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงมหาดไทยรายงานสรุปสถานการณ์น้ำป่าไหลหลากและโคลนถล่ม ในพื้นที่ภาคเหนือตอนบนดังนี้
1. สถานการณ์
1.1 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศแจ้งเตือน ฉบับที่ 2 (5/2547ป เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 เวลา 11.00 น. เรื่อง พายุไซโคลน 02B ในอ่าวเบงกอลตอนบน เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศพม่าทางตะวันออกค่อนทางเหนือ และได้อ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชั่น ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2547 ปริมาณฝนตกในบริเวณดอยสามหมื่นระหว่างรอยต่อจังหวัดตากและจังหวัดเชียงใหม่ วัดได้ 124.7 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และโคลนถล่ม ในพื้นที่ลาดเชิงเขา โดยเฉพาะที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แยกสถานการณ์ได้ดังนี้
1) จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 ปริมาณน้ำในลำห้วยแม่ระมาด และลำห้วยขะเนจื้อ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและล้นฝั่งทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร หมู่ที่ 2 3 4 5 6 และหมู่ที่ 8 ตำบลแม่ระมาด รวม 7 หมู่บ้าน โดยน้ำป่าได้นำโคลนและไม้ซุงขนาดต่าง ๆ ไหลเข้าสู่หมู่บ้าน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลตำบลแม่ระมาด ได้รับความเสียหายมาก
2) จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 12 หมู่บ้าน ตำบลแม่ตื่น ม่อนจอง และตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย
3) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ตำบลแม่สวด และตำบลแม่ทะลุ อำเภอสบเมย
2. ความเสียหาย
- มีพื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ 3 จังหวัด (อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน)
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,483 ครัวเรือน 5,905 คน มีผู้เสียชีวิต 6 คน (จังหวัดตาก 5 คน จังหวัดเชียงใหม่ 1 คน)
- บ้านเรือนเสียหาย 624 หลัง แบ่งเป็นเสียหายทั้งหลัง 229 หลัง เสียหายบางส่วน 395 หลัง
- สิ่งสาธารณะประโยชน์ ถนน ทำนบ เหมือง ฝาย และพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมาก
3. การให้ความช่วยเหลือ
3.1 การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี) พร้อมด้วย นายพงศ์โพยม วาศภูติ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และคณะ ได้เดินทางไปในพื้นที่ประสบภัยที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจสภาพความเสียหาย และสั่งการให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นโดยเร่งด่วนแล้ว
3.2 การช่วยเหลือที่ต้องดำเนินการต่อไป
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการฟื้นฟูบูรณะสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายในระยะต่อไปแล้ว ดังนี้
1) ด้านการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหาย ซากปรักหักพัง บ้านเรือนราษฎร การขนย้ายท่อนซุง เศษไม้ และโคลนที่ถล่ม โดยขอให้กระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการ พร้อมเครื่องจักรกล ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
2) ด้านเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหาย โดยขอให้กระทรวงคมนาคม เข้าดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมถนน สะพานที่ได้รับความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
3) ด้านการฟื้นฟูจิตใจ โดยขอให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าดำเนินการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัย และครอบครัว ตลอดจนการสงเคราะห์การประกอบอาชีพในระยะสั้น
4) ด้านการเกษตร โดยขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ สนับสนุนให้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัย และปรับปรุงสภาพพื้นที่การเกษตรที่ถูกโคลน ทราบทับถม
5) ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดที่อยู่อาศัย โดยขอให้กระทรวงทรัพยากร-ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าดำเนินการจัดหาที่ดินของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่กรณีที่ไม่ประสงค์จะอยู่ในพื้นที่เดิมอีกต่อไป
6) ด้านการจัดหาอาชีพ โดยขอให้กระทรวงแรงงาน เข้าดำเนินการฝึกอบรมอาชีพระยะสิ้น และจัดหางานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประสบภัย
4. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว
จากการตรวจสอบพบว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และโคลนถล่มดังกล่าว เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าเป็นจำนวนมากในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นภูเขาสูง และมีการอพยพตั้งถิ่นฐานในบริเวณริมลำห้วย ในพื้นที่ลาดเชิงเขาซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจากโคลนถล่มเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาว เห็นควรให้จังหวัดที่ประสบภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1) เร่งรัดให้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ในบริเวณต้นน้ำให้มากขึ้น
2) ขุดลอกลำห้วย ลำคลอง และแม่น้ำ เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวกขึ้น
3) เพิ่มมาตรการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า และปลูกป่าทดแทนให้มากยิ่งขึ้น โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
4) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดระบบการอพยพตั้งถิ่นฐานของประชาชนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวทุกแห่ง เพื่อป้องกันอันตราที่อาจจะเกิดขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. สถานการณ์
1.1 กรมอุตุนิยมวิทยา ได้ประกาศแจ้งเตือน ฉบับที่ 2 (5/2547ป เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 เวลา 11.00 น. เรื่อง พายุไซโคลน 02B ในอ่าวเบงกอลตอนบน เคลื่อนตัวขึ้นฝั่งประเทศพม่าทางตะวันออกค่อนทางเหนือ และได้อ่อนกำลังเป็นพายุดีเปรสชั่น ทำให้ประเทศไทยตอนบนมีฝนตกหนักติดต่อกัน ตั้งแต่วันที่ 19-20 พฤษภาคม 2547 ปริมาณฝนตกในบริเวณดอยสามหมื่นระหว่างรอยต่อจังหวัดตากและจังหวัดเชียงใหม่ วัดได้ 124.7 มิลลิเมตร ส่งผลให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และโคลนถล่ม ในพื้นที่ลาดเชิงเขา โดยเฉพาะที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน ได้รับผลกระทบอย่างรุนแรง แยกสถานการณ์ได้ดังนี้
1) จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 ปริมาณน้ำในลำห้วยแม่ระมาด และลำห้วยขะเนจื้อ ได้เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วและล้นฝั่งทำให้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎร หมู่ที่ 2 3 4 5 6 และหมู่ที่ 8 ตำบลแม่ระมาด รวม 7 หมู่บ้าน โดยน้ำป่าได้นำโคลนและไม้ซุงขนาดต่าง ๆ ไหลเข้าสู่หมู่บ้าน โดยเฉพาะในเขตเทศบาลตำบลแม่ระมาด ได้รับความเสียหายมาก
2) จังหวัดเชียงใหม่ เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากเข้าท่วมในพื้นที่ 12 หมู่บ้าน ตำบลแม่ตื่น ม่อนจอง และตำบลยางเปียง อำเภออมก๋อย
3) จังหวัดแม่ฮ่องสอน เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 ได้เกิดน้ำป่าไหลหลากในพื้นที่ตำบลแม่สวด และตำบลแม่ทะลุ อำเภอสบเมย
2. ความเสียหาย
- มีพื้นที่ประสบภัย 3 อำเภอ 3 จังหวัด (อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก อำเภอออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ และอำเภอสบเมย จังหวัดแม่ฮ่องสอน)
- ราษฎรได้รับความเดือดร้อน 1,483 ครัวเรือน 5,905 คน มีผู้เสียชีวิต 6 คน (จังหวัดตาก 5 คน จังหวัดเชียงใหม่ 1 คน)
- บ้านเรือนเสียหาย 624 หลัง แบ่งเป็นเสียหายทั้งหลัง 229 หลัง เสียหายบางส่วน 395 หลัง
- สิ่งสาธารณะประโยชน์ ถนน ทำนบ เหมือง ฝาย และพื้นที่การเกษตรได้รับความเสียหายจำนวนมาก
3. การให้ความช่วยเหลือ
3.1 การให้ความช่วยเหลือเบื้องต้น
รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงมหาดไทย (นายประมวล รุจนเสรี) พร้อมด้วย นายพงศ์โพยม วาศภูติ อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย และคณะ ได้เดินทางไปในพื้นที่ประสบภัยที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อตรวจสภาพความเสียหาย และสั่งการให้จังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเบื้องต้นโดยเร่งด่วนแล้ว
3.2 การช่วยเหลือที่ต้องดำเนินการต่อไป
กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย ได้ประสานให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยในการฟื้นฟูบูรณะสิ่งสาธารณประโยชน์ที่ชำรุดเสียหายในระยะต่อไปแล้ว ดังนี้
1) ด้านการรื้อถอนสิ่งปลูกสร้างที่ได้รับความเสียหาย ซากปรักหักพัง บ้านเรือนราษฎร การขนย้ายท่อนซุง เศษไม้ และโคลนที่ถล่ม โดยขอให้กระทรวงกลาโหม และสำนักงานตำรวจแห่งชาติ จัดส่งเจ้าหน้าที่เข้าดำเนินการ พร้อมเครื่องจักรกล ร่วมกับจังหวัดและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในพื้นที่
2) ด้านเส้นทางคมนาคมที่ได้รับความเสียหาย โดยขอให้กระทรวงคมนาคม เข้าดำเนินการปรับปรุง ซ่อมแซมถนน สะพานที่ได้รับความเสียหายให้กลับคืนสู่สภาพเดิมโดยเร็ว
3) ด้านการฟื้นฟูจิตใจ โดยขอให้กระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เข้าดำเนินการฟื้นฟูสภาพจิตใจของผู้ประสบภัย และครอบครัว ตลอดจนการสงเคราะห์การประกอบอาชีพในระยะสั้น
4) ด้านการเกษตร โดยขอให้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ จัดพันธุ์พืช พันธุ์สัตว์ สนับสนุนให้แก่เกษตรกรผู้ประสบภัย และปรับปรุงสภาพพื้นที่การเกษตรที่ถูกโคลน ทราบทับถม
5) ด้านการฟื้นฟูทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดที่อยู่อาศัย โดยขอให้กระทรวงทรัพยากร-ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เข้าดำเนินการจัดหาที่ดินของกระทรวง ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม เพื่อให้ประชาชนเข้าอยู่อาศัยในพื้นที่กรณีที่ไม่ประสงค์จะอยู่ในพื้นที่เดิมอีกต่อไป
6) ด้านการจัดหาอาชีพ โดยขอให้กระทรวงแรงงาน เข้าดำเนินการฝึกอบรมอาชีพระยะสิ้น และจัดหางานเพื่อสร้างรายได้ให้แก่ผู้ประสบภัย
4. แนวทางการป้องกันและแก้ไขปัญหาในระยะยาว
จากการตรวจสอบพบว่า สาเหตุสำคัญของการเกิดน้ำท่วมฉับพลัน น้ำป่าไหลหลาก และโคลนถล่มดังกล่าว เกิดจากการตัดไม้ทำลายป่าเป็นจำนวนมากในบริเวณพื้นที่ต้นน้ำซึ่งเป็นภูเขาสูง และมีการอพยพตั้งถิ่นฐานในบริเวณริมลำห้วย ในพื้นที่ลาดเชิงเขาซึ่งเป็นพื้นที่เสี่ยงภัยจากโคลนถล่มเพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อเป็นการป้องกันและแก้ไขปัญหาดังกล่าวในระยะยาว เห็นควรให้จังหวัดที่ประสบภัย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้
1) เร่งรัดให้มีการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำขนาดเล็ก ในบริเวณต้นน้ำให้มากขึ้น
2) ขุดลอกลำห้วย ลำคลอง และแม่น้ำ เพื่อให้น้ำไหลผ่านได้สะดวกขึ้น
3) เพิ่มมาตรการป้องกันและปราบปรามการตัดไม้ทำลายป่า และปลูกป่าทดแทนให้มากยิ่งขึ้น โดยให้ผู้ว่าราชการจังหวัด และนายอำเภอ ดำเนินการตามกฎหมายที่เกี่ยวข้องโดยเคร่งครัด
4) ให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม จัดระบบการอพยพตั้งถิ่นฐานของประชาชนในบริเวณพื้นที่เสี่ยงภัยดังกล่าวทุกแห่ง เพื่อป้องกันอันตราที่อาจจะเกิดขึ้น
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-