คณะรัฐมนตรีรับทราบตามที่กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมรายงานสถานการณ์อุทกภัย อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก และ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ดังนี้
1. สถานการณ์และความเสียหาย
1.1 อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
1) สถานการณ์
พื้นที่เกิดเหตุใน 10 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจาก ห้วยขะเนจือ ห้วยคต ห้วยแม่ระมาดน้อย และห้วยนกแล รวมตัวกันไหลลงสู่ห้วยแม่ระมาด แล้วไหลลงสู่แม่น้ำเมย ต้นน้ำของลำห้วยเหล่านี้ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ และป่าสงวนแห่งชาติแม่ระมาด
ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 มีฝนตกหนักตลอดวันทำให้ปริมาณน้ำสูงมาก น้ำเริ่มหลากเข้าพื้นที่เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 เวลาประมาณ 08.00 น. และระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเวลาประมาณ 15.00 น. น้ำเริ่มลดลงและสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2547 เวลาประมาณ 12.00 น.
2) ความเสียหาย
2.1) ราษฎรเสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บ 105 คน
2.2) หมู่บ้านได้รับความเสียหาย 10 หมู่บ้าน
2.3) บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 378 หลัง แยกเป็นน้ำพัดสูญหาย 43 หลัง เสียหายทั้งหลัง 125 หลัง เสียหายบางส่วน 210 หลัง
2.4) ราษฎร ได้รับความเดือดร้อน 2,135 ครัวเรือน 8,846 คน (อพยพไปที่ปลอดภัย 2,134 ครัวเรือน 8,842 คน)
2.5) ถนน เสียหาย 19 สาย (ดินถล่มทับถนน 9 แห่ง)
2.6) สะพานเสียหาย 4 แห่ง (ถูกน้ำพัดทั้งสะพาน 1 แห่ง)
2.7) ฝายกั้นน้ำ เสียหาย 21 แห่ง
1.2 อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
1) สถานการณ์
พื้นที่เกิดเหตุในพื้นที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลม่อนจองของอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณน้ำฝนตกหนักในช่วงวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2547 (เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดต่อกับอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ซึ่งเกิดเหตุฝนตกหนักในช่วงเวลาเดียวกัน) และเมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2547 เวลาประมาณ 10.00 น. ได้เกิดเหตุอุทกภัยในพื้นที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางจากเชียงใหม่ถึงตำบลแม่ตื่นประมาณ 250 กิโลเมตร ระยะเวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง
2) ความเสียหาย
2.1) หมู่บ้านเสียหาย 2 ตำบล คือ ตำบลแม่ตื่น และตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
2.2) บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 370 หลัง (เสียหายทั้งหลัง 10 หลัง)
2.3) สะพาน เสียหาย 2 แห่ง
2.4) ไม่พบผู้เสียชีวิต
2. สาเหตุ
2.1 ปริมาณน้ำฝนตกหนักมากกว่าเกณฑ์ปกติ
ในระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2547 ปริมาณน้ำฝนหนักมากกว่าปกติ โดยเฉพาะวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 มีปริมาณน้ำฝนมากถึง 160 มิลลิเมตร ทำให้ดินบนภูเขาสูงชันไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ เกิดดินถล่มลงมาอย่างรุนแรงในบริเวณป่าธรรมชาติและไร่ร้าง
2.2 ป่าถูกบุกรุกทำลาย
สภาพป่าธรรมชาติบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารได้ถูกบุกรุกทำลาย รวมทั้งทำไร่หมุนเวียน ทำให้ขาดไม้ธรรมชาติยืนต้นที่มีระบบรากแข็งแรงยึดชั้นดินหลายระดับและปกคลุมหน้าดิน ทำให้หน้าดินและสภาพป่าไม่สามารถดูดซับและอุ้มน้ำได้ตามปกติ
การดำเนินงานเบื้องต้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปตรวจสภาพพื้นที่ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 และได้สั่งการในเบื้องต้น ดังนี้
1. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
1.1 ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พร้อมทั้ง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตากและจังหวัดเชียงใหม่ ประสานกับทางจังหวัด ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตากและอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อย่างต่อเนื่อง
1.2 ให้เคลื่อนย้ายต้นไม้ เศษไม้ และปลายไม้ ที่กระจายอยู่ทั่วไปและกีดขวางทางน้ำในบริเวณเกิดเหตุกรณีไม้ที่ไหลตามน้ำ มีลักษณะเป็นทั้งไม้แห้งและไม้สด ได้สั่งการให้ป่าไม้จังหวัดตากและป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ ทำการตรวจสอบแยกชนิดขนาด และลักษณะของไม้ให้แล้วเสร็จ ภายใน 10 วัน
1.3 สำนักงานบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ตาก) สำนักงานป่าไม้จังหวัดตาก สำนักงานบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) และสำนักงานป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในพื้นที่ทุกหน่วยเข้าช่วยเหลือราษฎรร่วมกับฝ่ายปกครองในเบื้องต้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2547 รวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือราษฎรในท้องที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ รวม 46 นาย
2. การแก้ปัญหาระยะยาว
2.1 ให้กรมทรัพยากรธรณี และกรมทรัพยากรน้ำ ตรวจสอบและสำรวจพื้นที่โดยละเอียด เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง โดยด่วน และจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและเตือนภัยดินถล่มและน้ำท่วมให้ครอบคลุมทั้งประเทศต่อไป รวมทั้งให้ย้ำประกาศเตือนภัยและเฝ้าระวังภัยดินถล่มเป็นพิเศษ โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน
2.2 ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ดำเนินการตรวจสอบและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธารและส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นและวนเกษตรทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย พร้อมทั้ง กำชับให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบดำเนินคดีกับผู้บุกรุกแผ้วถางป่าอย่างจริงจังและเข้มงวด โดยให้ติดตามตรวจสอบผลคดีด้วย ถ้าหากเป็นนายทุนให้ทำการดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดและให้ประสานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ตามกฎหมาย ปปง. ด้วย และในการป้องกันรักษาป่าควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย
2.3 ให้สำนักงานปลัดกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับศักยภาพและสมรรถนะของพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-
1. สถานการณ์และความเสียหาย
1.1 อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก
1) สถานการณ์
พื้นที่เกิดเหตุใน 10 หมู่บ้าน ซึ่งเป็นพื้นที่รับน้ำจาก ห้วยขะเนจือ ห้วยคต ห้วยแม่ระมาดน้อย และห้วยนกแล รวมตัวกันไหลลงสู่ห้วยแม่ระมาด แล้วไหลลงสู่แม่น้ำเมย ต้นน้ำของลำห้วยเหล่านี้ คือ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น อุทยานแห่งชาติขุนพะวอ และป่าสงวนแห่งชาติแม่ระมาด
ในวันที่ 19 พฤษภาคม 2547 มีฝนตกหนักตลอดวันทำให้ปริมาณน้ำสูงมาก น้ำเริ่มหลากเข้าพื้นที่เมื่อวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 เวลาประมาณ 08.00 น. และระดับน้ำสูงขึ้นเรื่อย ๆ จนเวลาประมาณ 15.00 น. น้ำเริ่มลดลงและสิ้นสุดลงเมื่อวันที่ 21 พฤษภาคม 2547 เวลาประมาณ 12.00 น.
2) ความเสียหาย
2.1) ราษฎรเสียชีวิต 5 คน บาดเจ็บ 105 คน
2.2) หมู่บ้านได้รับความเสียหาย 10 หมู่บ้าน
2.3) บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 378 หลัง แยกเป็นน้ำพัดสูญหาย 43 หลัง เสียหายทั้งหลัง 125 หลัง เสียหายบางส่วน 210 หลัง
2.4) ราษฎร ได้รับความเดือดร้อน 2,135 ครัวเรือน 8,846 คน (อพยพไปที่ปลอดภัย 2,134 ครัวเรือน 8,842 คน)
2.5) ถนน เสียหาย 19 สาย (ดินถล่มทับถนน 9 แห่ง)
2.6) สะพานเสียหาย 4 แห่ง (ถูกน้ำพัดทั้งสะพาน 1 แห่ง)
2.7) ฝายกั้นน้ำ เสียหาย 21 แห่ง
1.2 อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
1) สถานการณ์
พื้นที่เกิดเหตุในพื้นที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลม่อนจองของอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ปริมาณน้ำฝนตกหนักในช่วงวันที่ 19-21 พฤษภาคม 2547 (เนื่องจากเป็นพื้นที่ติดต่อกับอำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก ซึ่งเกิดเหตุฝนตกหนักในช่วงเวลาเดียวกัน) และเมื่อวันศุกร์ที่ 21 พฤษภาคม 2547 เวลาประมาณ 10.00 น. ได้เกิดเหตุอุทกภัยในพื้นที่ตำบลแม่ตื่นและตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ ระยะทางจากเชียงใหม่ถึงตำบลแม่ตื่นประมาณ 250 กิโลเมตร ระยะเวลาเดินทางโดยรถยนต์ประมาณ 4 ชั่วโมงครึ่ง
2) ความเสียหาย
2.1) หมู่บ้านเสียหาย 2 ตำบล คือ ตำบลแม่ตื่น และตำบลม่อนจอง อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
2.2) บ้านเรือนได้รับความเสียหาย 370 หลัง (เสียหายทั้งหลัง 10 หลัง)
2.3) สะพาน เสียหาย 2 แห่ง
2.4) ไม่พบผู้เสียชีวิต
2. สาเหตุ
2.1 ปริมาณน้ำฝนตกหนักมากกว่าเกณฑ์ปกติ
ในระหว่างวันที่ 18-20 พฤษภาคม 2547 ปริมาณน้ำฝนหนักมากกว่าปกติ โดยเฉพาะวันที่ 20 พฤษภาคม 2547 มีปริมาณน้ำฝนมากถึง 160 มิลลิเมตร ทำให้ดินบนภูเขาสูงชันไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ เกิดดินถล่มลงมาอย่างรุนแรงในบริเวณป่าธรรมชาติและไร่ร้าง
2.2 ป่าถูกบุกรุกทำลาย
สภาพป่าธรรมชาติบนพื้นที่ต้นน้ำลำธารได้ถูกบุกรุกทำลาย รวมทั้งทำไร่หมุนเวียน ทำให้ขาดไม้ธรรมชาติยืนต้นที่มีระบบรากแข็งแรงยึดชั้นดินหลายระดับและปกคลุมหน้าดิน ทำให้หน้าดินและสภาพป่าไม่สามารถดูดซับและอุ้มน้ำได้ตามปกติ
การดำเนินงานเบื้องต้น
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ได้เดินทางไปตรวจสภาพพื้นที่ อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตาก เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2547 และได้สั่งการในเบื้องต้น ดังนี้
1. การแก้ปัญหาเฉพาะหน้า
1.1 ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช กรมป่าไม้ และองค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ พร้อมทั้ง สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัดตากและจังหวัดเชียงใหม่ ประสานกับทางจังหวัด ให้ความช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับความเดือดร้อนในพื้นที่อำเภอแม่ระมาด จังหวัดตากและอำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ อย่างต่อเนื่อง
1.2 ให้เคลื่อนย้ายต้นไม้ เศษไม้ และปลายไม้ ที่กระจายอยู่ทั่วไปและกีดขวางทางน้ำในบริเวณเกิดเหตุกรณีไม้ที่ไหลตามน้ำ มีลักษณะเป็นทั้งไม้แห้งและไม้สด ได้สั่งการให้ป่าไม้จังหวัดตากและป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ ทำการตรวจสอบแยกชนิดขนาด และลักษณะของไม้ให้แล้วเสร็จ ภายใน 10 วัน
1.3 สำนักงานบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 2 (ตาก) สำนักงานป่าไม้จังหวัดตาก สำนักงานบริหารจัดการพื้นที่อนุรักษ์ที่ 16 (เชียงใหม่) และสำนักงานป่าไม้จังหวัดเชียงใหม่ ได้มอบหมายให้หน่วยงานในพื้นที่ทุกหน่วยเข้าช่วยเหลือราษฎรร่วมกับฝ่ายปกครองในเบื้องต้นแล้ว ตั้งแต่วันที่ 21 พฤษภาคม 2547 รวมทั้งส่งเจ้าหน้าที่เข้าไปช่วยเหลือราษฎรในท้องที่ อำเภออมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่ รวม 46 นาย
2. การแก้ปัญหาระยะยาว
2.1 ให้กรมทรัพยากรธรณี และกรมทรัพยากรน้ำ ตรวจสอบและสำรวจพื้นที่โดยละเอียด เพื่อวิเคราะห์หาสาเหตุและแนวทางป้องกันและแก้ไขปัญหาพื้นที่ทั้ง 2 แห่ง โดยด่วน และจัดตั้งเครือข่ายเฝ้าระวังและเตือนภัยดินถล่มและน้ำท่วมให้ครอบคลุมทั้งประเทศต่อไป รวมทั้งให้ย้ำประกาศเตือนภัยและเฝ้าระวังภัยดินถล่มเป็นพิเศษ โดยการมีส่วนร่วมของเครือข่ายภาคประชาชน
2.2 ให้กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่าและพันธุ์พืช และกรมป่าไม้ ดำเนินการตรวจสอบและปราบปรามการบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ ตลอดจนการฟื้นฟูสภาพป่าในพื้นที่ต้นน้ำลำธารและส่งเสริมการปลูกไม้ยืนต้นและวนเกษตรทดแทนการทำไร่เลื่อนลอย พร้อมทั้ง กำชับให้เจ้าหน้าที่ทำการตรวจสอบดำเนินคดีกับผู้บุกรุกแผ้วถางป่าอย่างจริงจังและเข้มงวด โดยให้ติดตามตรวจสอบผลคดีด้วย ถ้าหากเป็นนายทุนให้ทำการดำเนินคดีอย่างเด็ดขาดและให้ประสานกับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินการยึดทรัพย์ตามกฎหมาย ปปง. ด้วย และในการป้องกันรักษาป่าควรให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการดำเนินการด้วย
2.3 ให้สำนักงานปลัดกระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องพิจารณากำหนดเขตการใช้ประโยชน์ที่ดินให้เหมาะสมกับศักยภาพและสมรรถนะของพื้นที่
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 25 พฤษภาคม 2547--จบ--
-กภ-