คณะรัฐมนตรีรับทราบเรื่อง การปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศสำหรับอากาศยานปีกแข็งแบบประจำมีกำหนด ตามที่กระทรวงคมนาคมเสนอว่า
สืบเนื่องจากนโยบายส่งเสริมการดำเนินธุรกิจการบินของภาครัฐ ทั้งในด้านนโยบายการเปิดบินเสรีในประเทศ และการปรับปรุงสัดส่วนการถือหุ้นสัญชาติไทยของนิติบุคคลที่จะยื่นขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ทำให้ภาคเอกชนสนใจลงทุนในธุรกิจการบินเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากการประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศเป็นบริการสาธารณูปโภคที่ภาครัฐจะต้องกำกับดูแล เพื่อให้ความคุ้มครองกับสาธารณชนผู้ใช้บริการโดยเฉพาะการให้บริการแบบประจำมีกำหนด ดังนั้น หลักเกณฑ์การพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาก่อนออกใบอนุญาต โดยเฉพาะประเด็นทุนจดทะเบียน (เพื่อแสดงความมั่นคงของกิจการ) และวงเงินประกันภาย (เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ใช้บริการ) จึงสมควรต้องปรับปรุงเพิ่มขึ้นให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม
ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้ค่าเงินบาทลดลงจากประมาณ 25 บาท/เหรียญสหรัฐ เป็นประมาณ 45-50 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเป็นการลดค่าลงประมาณร้อยละ 100 เงินทุนจดทะเบียนของบริษัทการบินส่วนหนึ่งเป็นการกำหนดโดยอาศัยพื้นฐานจากค่าใช้จ่ายหลักที่คาดว่าจะต้องใช้ในการดำเนินการ คือ ค่าเช่าอากาศยาน ค่าบำรุงรักษาอากาศยาน รวมตลอดถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของอากาศยาน และการฝึกบุคลากรด้านการบินให้เป็นไปตามมาตรฐานในด้านความปลอดภัยตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนด ซึ่งต้องใช้เงินทุนดำเนินการจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อค่าเงินบาทลดลง และค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้การบริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพิ่มขึ้น เงินทุนการดำเนินการที่จะต้องใช้ควรต้องเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมตามสภาพการณ์ด้วย
กระทรวงคมนาคมพิจารณาโดยเปรียบเทียบกับทุนจดทะเบียนและวงเงินประกันภัยของบริษัทการบินเอกชนที่ได้รับอนุญาตในปัจจุบันแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นการยกมาตรฐานขั้นต่ำของหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตอันจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีแก่สาธารณชน พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการเพิ่มขึ้น จึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศแบบประจำมีกำหนด สำหรับอากาศยานปีกแข็ง ในประเด็นทุนจดทะเบียนและวงเงินประกันภัยเป็นดังนี้
- ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
- วงเงินประกันภัยสำหรับความเสียหายอันเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่ 3 วงเงินประกันภัยไม่ต่ำว่า 5,000 ล้านบาท/ครั้ง ผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท/คน/ครั้ง และต้องต่ออายุกรมธรรม์ก่อนวันสิ้นสุดไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้แจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการและผู้ประสงจะขอประกอบการได้ทราบเพื่อถือปฏิบัติด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-
สืบเนื่องจากนโยบายส่งเสริมการดำเนินธุรกิจการบินของภาครัฐ ทั้งในด้านนโยบายการเปิดบินเสรีในประเทศ และการปรับปรุงสัดส่วนการถือหุ้นสัญชาติไทยของนิติบุคคลที่จะยื่นขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ทำให้ภาคเอกชนสนใจลงทุนในธุรกิจการบินเพิ่มมากขึ้น ทั้งนี้ เนื่องจากการประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศเป็นบริการสาธารณูปโภคที่ภาครัฐจะต้องกำกับดูแล เพื่อให้ความคุ้มครองกับสาธารณชนผู้ใช้บริการโดยเฉพาะการให้บริการแบบประจำมีกำหนด ดังนั้น หลักเกณฑ์การพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ซึ่งเป็นบรรทัดฐานในการพิจารณาก่อนออกใบอนุญาต โดยเฉพาะประเด็นทุนจดทะเบียน (เพื่อแสดงความมั่นคงของกิจการ) และวงเงินประกันภาย (เพื่อให้ความคุ้มครองกับผู้ใช้บริการ) จึงสมควรต้องปรับปรุงเพิ่มขึ้นให้อยู่ในอัตราที่เหมาะสม
ประเทศไทยประสบภาวะวิกฤตเศรษฐกิจในปี 2540 ทำให้ค่าเงินบาทลดลงจากประมาณ 25 บาท/เหรียญสหรัฐ เป็นประมาณ 45-50 บาท/เหรียญสหรัฐ ซึ่งจะเป็นการลดค่าลงประมาณร้อยละ 100 เงินทุนจดทะเบียนของบริษัทการบินส่วนหนึ่งเป็นการกำหนดโดยอาศัยพื้นฐานจากค่าใช้จ่ายหลักที่คาดว่าจะต้องใช้ในการดำเนินการ คือ ค่าเช่าอากาศยาน ค่าบำรุงรักษาอากาศยาน รวมตลอดถึงค่าใช้จ่ายที่เกี่ยวกับการดำเนินการเพื่อความปลอดภัยของอากาศยาน และการฝึกบุคลากรด้านการบินให้เป็นไปตามมาตรฐานในด้านความปลอดภัยตามที่องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) กำหนด ซึ่งต้องใช้เงินทุนดำเนินการจำนวนมาก และส่วนใหญ่จะเป็นเงินตราต่างประเทศ ดังนั้น เมื่อค่าเงินบาทลดลง และค่าใช้จ่ายในด้านต่าง ๆ ที่จำเป็นต้องดำเนินการเพื่อให้การบริการเป็นไปตามมาตรฐานที่กำหนดเพิ่มขึ้น เงินทุนการดำเนินการที่จะต้องใช้ควรต้องเพิ่มขึ้นให้เหมาะสมตามสภาพการณ์ด้วย
กระทรวงคมนาคมพิจารณาโดยเปรียบเทียบกับทุนจดทะเบียนและวงเงินประกันภัยของบริษัทการบินเอกชนที่ได้รับอนุญาตในปัจจุบันแล้วเห็นว่า เพื่อให้เป็นการยกมาตรฐานขั้นต่ำของหลักเกณฑ์ในการพิจารณาคำขออนุญาตอันจะก่อให้เกิดทัศนคติที่ดีแก่สาธารณชน พร้อมทั้งเป็นการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกิดความมั่นใจในการใช้บริการเพิ่มขึ้น จึงเห็นสมควรปรับปรุงหลักเกณฑ์การพิจารณาคำขออนุญาตประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศแบบประจำมีกำหนด สำหรับอากาศยานปีกแข็ง ในประเด็นทุนจดทะเบียนและวงเงินประกันภัยเป็นดังนี้
- ทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้วไม่ต่ำกว่า 200 ล้านบาท
- วงเงินประกันภัยสำหรับความเสียหายอันเกิดแก่ร่างกาย ชีวิต ตลอดจนทรัพย์สินของบุคคลที่ 3 วงเงินประกันภัยไม่ต่ำว่า 5,000 ล้านบาท/ครั้ง ผู้โดยสารไม่ต่ำกว่า 2 ล้านบาท/คน/ครั้ง และต้องต่ออายุกรมธรรม์ก่อนวันสิ้นสุดไม่น้อยกว่า 30 วัน ซึ่งกระทรวงคมนาคมได้แจ้งให้ผู้ได้รับอนุญาตให้ประกอบการและผู้ประสงจะขอประกอบการได้ทราบเพื่อถือปฏิบัติด้วยแล้ว
--ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ชุดพ.ต.ท.ดร.ทักษิณ ชินวัตร) วันที่ 1 มิถุนายน 2547--จบ--
-กภ-